คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Faculty of Engineering, Khon Kaen University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นพร้อมกับคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิทยาศาสตร์) และคณะเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้ถือว่าเป็นคณะแรกตั้งของการสถาปนามหาวิทยาลัย ถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์แห่งแรกในส่วนภูมิภาค

คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Faculty of Engineering,
Khon Kaen University
ชื่อย่อวศ. / EN
สถาปนา24 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)[1]
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณบดีรศ. ดร. รัชพล สันติวรากร
ที่อยู่
วารสารวารสารวิศวกรรมสาร มข.
สี███ สีเลือดหมู
มาสคอต
เกียร์
เว็บไซต์www.en.kku.ac.th

ประวัติ แก้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตวิศวกรที่มีทักษะและมีความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีเนื้อที่และประชากรประมาณหนึ่งในสามของประเทศ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด คำบรรยายที่ดีที่สุดเกี่ยวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปรากฏในคำกล่าวของอดีตนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2504 - 2509 ดังนี้[2]

"...ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ..."

"...ภูมิภาคนี้มีปัญหาที่สำคัญยิ่งสองประการคือการคมนาคมที่ไม่เพียงพอ และการขาดแคลนน้ำ โดยทั่วไปน้ำจะท่วมในฤดูฝนและไม่มีน้ำในฤดูร้อน สิ่งเหล่านี้คือสาเหตุของความล้มเหลวของการผลิตข้าว และพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ..."

เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2505 คณะกรรมการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงด้านวิศวกรรมศาสตร์และเกษตรศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น และให้ชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า "Khon Kaen Institute of Technology" ใช้อักษรย่อว่า "K.I.T." ต่อมา เพื่อให้สอดคล้องกับการขอความช่วยเหลือเงินทุนพิเศษสหประชาชาติ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงมอบให้สภาการศึกษาแห่งชาติเป็นเจ้าของโครงการและให้ชื่อสถาบันนี้ว่า "มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" โดยใช้ช่วงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 Mr.D.J.Rohner จาก Swiss Federal Institute of Technology ผู้แทนของ UNESCO ได้สำรวจและเขียนรายงานถึงความจำเป็นทางวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ อันเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2506 รัฐบาลแคนาดาได้ส่ง ศาสตราจารย์ R.M.Dillan จาก University of Westem Ontario ร่วมสำรวจเพื่อจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[3]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2507 มีนักศึกษาทั้งสิ้น 58 คน ซึ่งการเรียนการสอนในสองปีแรกนั้น ใช้สถานที่ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ในปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหิดล) อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์[4]

ในปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติตั้งคณะกรรมการการจัดตั้งมหาวิทยาลัย โดยมี ฯพณฯ รัฐมนตรี พจน์ สารสิน เป็นประธานกรรมการ และคณะรัฐมนตรีมีมติให้มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีชื่อใหม่ว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามชื่อเมืองที่ตั้ง

สัญลักษณ์ แก้

  • สัญลักษณ์ประจำคณะ

สัญลักษณ์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ เกียร์

  • สีประจำคณะ

  สีเลือดหมู

หลักสูตร แก้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[5]
กลุ่มวิชา/ภาควิชา/สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (โครงการพิเศษ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (โครงการพิเศษ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม (นานาชาติ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโลจีสติกส์ (นานาชาติ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (โครงการพิเศษ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (นานาชาติ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ภาควิชาวิศวกรรมสื่อดิจิทัล

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมสื่อดิจิทัล (นานาชาติ)

คณบดี แก้

ทำเนียบคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร.วิทยา เพียรวิจิตร พ.ศ. 2507 - 2516
2. รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์จีรวัฒน์ จักรพันธุ์ พ.ศ. 2516 - 2517
3. ศาสตราจารย์ พิมล กลกิจ พ.ศ. 2517 - 2517
4. ศาสตราจารย์ ชลิต เวชชาชีวะ พ.ศ. 2517 - 2518
5. รองศาสตราจารย์ ฉลอง เกิดพิทักษ์ พ.ศ. 2518 - 2521
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รังษี นันทสาร พ.ศ. 2521 - 2526
7. รองศาสตราจารย์ ดร.สัจจะ เสถบุตร พ.ศ. 2526 - 2528
8. ศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ

พ.ศ. 2528 - 2532
พ.ศ. 2532 - 2535

9. ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ พ.ศ. 2535 - 2539
10. รองศาสตราจารย์ ดำรงค์ หอมดี พ.ศ. 2539 - 2543
11. รองศาสตราจารย์ วินิต ชินวุวรรณ พ.ศ. 2543 - 2547
12. รองศาสตราจารย์.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย พ.ศ. 2547 - 2550
13. รองศาสตราจารย์ ดร.สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ พ.ศ. 2550 - 2554
พ.ศ. 2554 - 2558
14. ศาสตราจารย์ ดร.อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร พ.ศ. 2558 - 2562
15. รองศาสตราจารย์ ดร. รัชพล สันติวรากร พ.ศ. 2562 - ปัจจบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้

ดูเพิ่ม รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

อ้างอิง แก้

  1. สำนักงานจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ได้เปิดรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรุ่นแรกขึ้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 107 คน แยกเป็นนักศึกษาวิชาเกษตรศาสตร์ 49 คน และวิศวกรรมศาสตร์ 58 คน ดังนั้นผู้เขียนจึงขอยึดตามวันที่ดังกล่าว ดูเพิ่มที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "ประวัติของมหาวิทยาลัยขอนแก่น", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 6
  2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะวิศวกรรมศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 81
  3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะวิศวกรรมศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 81
  4. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "ประวัติของมหาวิทยาลัยขอนแก่น", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 6
  5. ระบบฐานข้อมูลหลักสูตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดูเพิ่ม แก้

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะวิศวกรรมศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 77 - 86
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะวิศวกรรมศาสตร์", 30 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537, หน้า 36 - 40

แหล่งข้อมูลอื่น แก้