คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 38

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 38 ของไทย (5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519)

คณะรัฐมนตรีเสนีย์ 4
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 38 แห่งราชอาณาจักรไทย
5 ตุลาคม - 6 ตุลาคม​ พ.ศ. 2519
วันแต่งตั้ง5 ตุลาคม พ.ศ.​ 2519
วันสิ้นสุด6 ตุลาคม พ.ศ.​ 2519
(0 ปี 1 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หัวหน้ารัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 37
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 39
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีคณะที่ 38 เข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณ ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 38 ของไทย แก้

ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519[1] มีคณะรัฐมนตรี ดังนี้

  1. พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  3. พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  4. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  5. นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  6. นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  7. พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  8. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  9. นายพิชัย รัตตกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  10. พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  11. นายทวิช กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  12. นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  13. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  14. นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  15. พลตรีศิริ สิริโยธิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  16. พลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  17. พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  18. นายนิพนธ์ ศศิธร เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
  19. นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  20. นาวาอากาศโททินกร พันธุ์กระวี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  21. นายเล็ก นานา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  22. นายไกรสร ตันติพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  23. นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  24. นายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  25. นายประชุม รัตนเพียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  26. นายคล้าย ละอองมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  27. นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  28. นายแผน สิริเวชชะพันธ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  29. นายดาบชัย อัคราช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  30. นายชูสง่า ฤทธิประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  31. นายสิดดิก สารีฟ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  32. นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  33. นายปรีชา มุสิกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 38 ของไทย แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อันมี พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้า ได้กระทำการยึดอำนาจ การปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519[2] เป็นผลทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 สิ้นสุดลงพร้อมกับ รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี นับเป็นคณะรัฐมนตรีที่มีอายุสั้นที่สุดด้วยคือ 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง ทำให้ได้รับฉายาว่า "รัฐบาลวันเดียว"

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๙ก วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง) เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๒๐ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

แหล่งข้อมูลอื่น แก้