สิดดิก สารีฟ
สิดดิก สารีฟ (7 เมษายน พ.ศ. 2472 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2534) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส 2 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
สิดดิก สารีฟ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2519 | |
ดำรงตำแหน่ง 25 กันยายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 เมษายน พ.ศ. 2472 อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส |
เสียชีวิต | 19 มีนาคม พ.ศ. 2534 (61 ปี) |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2518—2526) ชาติประชาธิปไตย (2526—2534) |
คู่สมรส | นางประคอง สารีฟ |
ประวัติ
แก้สิดดิก สารีฟ เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2472 เป็นบุตรของนายสารีฟ ฮุสเซ็น ชาวอินโดนีเซีย กับ นางยารียะห์ [1] สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และ ระดับวิชาชีพจากโรงเรียนสากลการบัญชี[2] สมรสกับนางประคอง สารีฟ
สิดดิก สารีฟ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2534 สิริอายุ 61 ปี
การทำงาน
แก้สิดดิก ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[3] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[4] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย [5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สิดดิก สารีฟ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ‘สิดดิก สารีฟ’ เส้นทางการเมือง จาก ‘กบฏ’สู่ ‘เสนาบดี’[ลิงก์เสีย]
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดนราธิวาส. รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2558
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
- ↑ ‘สิดดิก สารีฟ’ เส้นทางการเมือง จาก ‘กบฏ’สู่ ‘เสนาบดี’ (จบ)[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๘๓, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙