ความตลกขบขัน
ความตลกขบขัน[1] (อังกฤษ: humour, humor) เป็นประสบการณ์ทางการรู้คิดที่มักทำให้หัวเราะและสร้างความบันเทิงสนุกสนาน คำจากภาษาอังกฤษมาจากศัพท์ทางการแพทย์ของชาวกรีกโบราณ ซึ่งสอนว่า ความสมดุลของธาตุน้ำต่าง ๆ ในร่างกายที่เรียกในภาษาละติน ว่า humor (แปลว่า ของเหลวในร่างกาย) เป็นตัวควบคุมสุขภาพและอารมณ์ของมนุษย์ มนุษย์ทุกยุคสมัยและทุกวัฒนธรรมตอบสนองต่อเรื่องขบขัน มนุษย์โดยมากประสบความขำขัน คือรู้สึกบันเทิงใจ ยิ้ม หรือหัวเราะต่ออะไรที่ขำ ๆ และดังนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นคนมีอารมณ์ขำ (คือมี sense of humour) คนสมมุติที่ไม่มีอารมณ์ขำน่าจะพบเหตุการณ์ที่ทำให้ขำว่า อธิบายไม่ได้ แปลก หรือว่าไม่สมเหตุผล แม้ว่าปกติความขำขันจะขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว ขอบเขตที่บุคคลพบว่าอะไรน่าขำจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง รวมทั้งอยู่ในภูมิประเทศไหน ในวัฒนธรรมอะไร อายุ ระดับการศึกษา ความเฉลียวฉลาด และพื้นเพหรือบริบท ยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็ก ๆ อาจชอบเรื่องตลกที่มีการตีกัน (ภาษาอังกฤษเรียกว่า slapstick) ดังที่พบในการ์ตูน เช่นรายการ ทอมกับเจอร์รี่ ที่การกระทบกระทั่งทางกายทำให้เด็กเข้าใจได้ เทียบกับเรื่องตลกที่ซับซ้อนกว่า เช่น แบบที่ใช้การล้อเลียนเสียดสี (satire) ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจสถานะทางสังคมและดังนั้น ผู้ใหญ่จะชอบใจมากกว่า
ทฤษฎี
แก้มีทฤษฎีหลายอย่างว่า อะไรคือความตลกขบขันและหน้าที่ทางสังคมของมันคืออะไร ทฤษฎีที่แพร่หลายมองความตลกขบขันในแนวจิตวิทยา โดยมากมองพฤติกรรมที่เกิดจากความขำขันว่าเป็นเรื่องดีมากต่อสุขภาพ หรือมองในแนวจิตวิญญาณ ซึ่งอาจจะมองความตลกขบขันว่าเป็น "ของขวัญจากพระเจ้า" หรือมองความตลกขบขันว่าเป็นเรื่องอธิบายไม่ได้ เหมือนกับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณบางอย่าง[2]
ทฤษฎีทางจิตวิทยา คือ benign-violation theory (ไม่เป็นไร-มีการล่วงละเมิด) อธิบายความตลกขบขันว่า "ความตลกขบขันจะเกิดขึ้นเมื่อมีอะไรดูผิดปกติ น่ากังวล หรืออันตราย แต่ก็ยังโอเค ยอมรับได้ และปลอดภัยไปด้วยพร้อม ๆ กัน"[3] อารมณ์ขันสามารถช่วยให้เริ่มคุยกับคนอื่นโดยกำจัดความรู้สึกเคอะเขิน ไม่สบาย หรือกระวนกระวายที่มาจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ส่วนคนอื่น ๆ เชื่อว่า "การใช้ความตลกขบขันที่สมควรสามารถช่วยอำนวยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม"[4]
มุมมอง
แก้บางคนยืนยันว่า ความตลกขบขันไม่สามารถและไม่ควรจะอธิบาย นักเขียนนายอี.บี. ไวท์ ได้กล่าวไว้ว่า "ความตลกขบขันสามารถผ่าดูได้เหมือนผ่ากบ แต่มันก็จะตาย และเครื่องในของมันจะไม่น่าชมนอกจากสำหรับพวกนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น"[5] แต่ว่าโดยคัดค้านข้ออ้างนี้ ก็มีบุคคลหรือกลุ่มชนผู้ไม่ชอบการ์ตูนน่ารังเกียจ ที่ชวนให้พิจารณาความตลกขบขันหรือความไร้ความตลกของมัน กระบวนการผ่าดูความตลกขบขันเช่นนี้ไม่ได้กำจัดอารมณ์ขำแต่แนะให้ใส่ใจในเรื่องการเมือง และว่ามันอาจไม่ตลกสำหรับทุกกลุ่มชน[6]
นักปรัชญาชาวเยอรมันอาเทอร์ โชเพนเฮาเออร์ บ่นถึงการใช้คำว่า "humour" (ซึ่งเป็นคำที่ยืมใช้ในภาษาเยอรมันจากอังกฤษ) เพื่อหมายถึงสุขนาฏกรรม (comedy) อะไรก็ได้ แม้คำภาษาอังกฤษว่า humour และ comic จะใช้ด้วยกันเมื่อกล่าวถึงเรื่องตลก แต่ว่าก็มีบางคนที่แยก humour ว่าเป็นการตอบสนอง เปรียบเทียบกับ comic ซึ่งเป็นสิ่งเร้าให้ตอบสนอง นอกจากนั้นแล้ว คำว่า humour ยังเชื่อว่ารวมทั้งความน่าหัวเราะและไหวพริบของบุคคล ชาวฝรั่งเศสล่าช้าในการรับคำว่า humour ที่หมายถึงเรื่องตลกมาใช้ คือในภาษาฝรั่งเศส ยังมีทั้งคำว่า humeur และ humour โดยคำแรกหมายถึงอารมณ์หรือหมายถึงแนวคิดล้าสมัยเกี่ยวกับพื้นอารมณ์แต่กำเนิด 4 อย่าง (temperaments) [ต้องการอ้างอิง] สุขนาฏกรรมที่ไม่ใช่เป็นแบบเสียดสี (non-satirical) สามารถเรียกอย่างเฉพาะเจาะจงในภาษาอังกฤษว่า droll humour หรือ recreational drollery[7][8]
ในที่ทำงาน
แก้ในประสบการณ์มนุษย์ ความตลกขบขันเป็นสิ่งที่มีทั่วไป เป็นธรรมชาติ และมีความหมาย และดังนั้น จึงมีความสำคัญสำหรับองค์กรต่าง ๆ เช่นในที่ทำงาน[9]
บทบาทสำคัญของการหัวเราะและความสนุกสนานในที่ทำงานพิจารณาว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม และปรากฏเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ช่วยผู้ทำงานให้รู้สึกมีส่วนร่วม[10] อารมณ์ขันในที่ทำงานไม่เพียงช่วยบรรเทาความเบื่อเท่านั้น แต่สามารถสร้างความสัมพันธ์ เสริมความเป็นมิตรระหว่างเพื่อนร่วมงาน และทำให้รู้สึกดีในที่ทำงาน[9]
อารมณ์ขันในที่ทำงานยังสามารถลดความเครียดและใช้เป็นกลยุทธ์รับมือความเครียด[9] จริง ๆ แล้วที่นักวิชาการมีมติร่วมกันมากที่สุดถึงประโยชน์ของอารมณ์ขันก็คือผลต่อความอยู่เป็นสุข (well being) โดยใช้มุกตลกเป็นกลยุทธ์รับมือความเครียดในชีวิตประจำวัน อุปสรรค และความยากลำบากต่าง ๆ[9] การแชร์เรื่องตลกกับผู้ร่วมงานอาจช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ทำให้มีความสุข ซึ่งช่วยให้รู้สึกว่าสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น[9] ความสนุกและความเพลิดเพลินเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ในชีวิต และการที่ผู้ร่วมงานหัวเราะในช่วงการทำงานไม่ว่าจะโดยการพูดเย้าแหย่หรือวิธีการอื่น ๆ จะช่วยเสริมความกลมกลืนสามัคคีและความเป็นกลุ่มก้อน[9]
มุกตลกยังสามารถใช้ลดความรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับงานที่ต้องทำและช่วยลดการใช้ถ้อยคำหยาบคาย หรือกลยุทธ์การรับมืออื่น ๆ ที่อาจรับไม่ได้ทางสังคม[9] ความตลกขบขันไม่เพียงแค่ช่วยลดอารมณ์เชิงลบ แต่ยังสามารถใช้เป็นวิธีการระบายประสบการณ์ที่ทำให้เจ็บใจ โดยพูดแบบเบา ๆ กว่า ซึ่งในที่สุดช่วยลดความวิตกกังวลและช่วยให้อารมณ์สุข เป็นบวก เกิดขึ้นได้บ่อยกว่า[9]
นอกจากนั้นแล้ว มุกตลกยังสามารถใช้ลดความเจ้ากี้เจ้าการของเจ้านายเมื่อสั่งลูกน้อง เจ้านายยังสามารถพูดถึงตนเองแบบขำ ๆ เพื่อให้ลูกน้องรู้สึกว่าเจ้านายเหมือนคนอื่น ๆ มากขึ้น[9] ยิ่งไปกว่านั้น งานศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณนา (ethnography) ในที่ทำงาน ยืนยันว่า ความสนุกสนานสำคัญในที่ทำงาน[10]
เพราะบริษัทนำสมัยเริ่มให้ความสำคัญกับความสนุกสนาน จึงเปลี่ยนการบริหารผู้ทำงานโดยมองว่าความสนุกสนานในที่ทำงานจะมีผลบวก และไม่จำเป็นต้องตัดทอนประสิทธิภาพการทำงานของลูกจ้าง[10] การหัวเราะและการเล่นสามารถทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และช่วยเพิ่มขวัญและกำลังใจ ดังนั้นเพื่อที่จะให้ลูกจ้างยอมรับความเร่งรีบในการทำงาน นักบริหารบ่อยครั้งจะไม่สนใจ ยอมทน หรือแม้แต่สนับสนุนให้มีการเล่น เพื่อประโยชน์ต่อจุดมุ่งหมายขององค์กร[10] คือ โดยทั่วไปแล้ว ความสนุกสนานในที่ทำงานปัจจุบันไม่พิจารณาว่าเป็นเรื่องเหลวไหล[10]
วิธีการล่าสุดในเรื่องนี้มากจากทวีปอเมริกาเหนือที่ศาสตร์รุ่งเรืองถึงกับว่ามีผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มความสนุกสนานในที่ทำงาน และบางรัฐถึงกับมีวัน "สนุกในที่ทำงาน" เป็นทางการ[10] ผลที่ได้มีผู้อ้างว่ามีประโยชน์ต่อความอยู่เป็นสุขของผู้ทำงาน ช่วยให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน[10]
ส่วนนักวิชาการอื่น ๆ พิจารณาขบวนการนี้จากมุมมองของวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสุข ซึ่งพุ่งความสนใจไปในเรื่องสุขภาพจิต แรงจูงใจ การพัฒนาชุมชน และความอยู่เป็นสุขของประชากรทั้งประเทศ รวมทั้งสมรรถภาพในการสร้าง flow (คือการมีสมาธิทำงานอย่างรู้สึกมีกำลัง มีส่วนร่วม และความสุขในการกระทำนั้น ๆ) ผ่านการเล่น และช่วยกระตุ้นให้คิดสร้างสรรค์นอกแบบ[10]
ศาสตร์ขนานกับกระบวนการนี้ ก็คือ จิตวิทยาเชิงบวก ซึ่งมุ่งพัฒนาศักยภาพของมนุษย์โดยใช้ทฤษฎีที่รับรองโดยหลักฐาน[10] และเสนอว่า การลงทุนในที่ทำงานโดยให้มีการหัวเราะและการเล่นไม่เพียงแต่สร้างความเพลิดเพลินและความรู้สึกเป็นอยู่ที่ดี แต่ยังจะช่วยเพิ่มพลัง ประสิทธิภาพ และความมุ่งมั่นในการทำงาน[10]
ปัจจัยทางสังคม
แก้เหมือนกับรูปแบบศิลปะอื่น ๆ ความขำขันในสไตล์หรือเหตุการณ์ตลกขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคม และจะต่างกันในแต่ละคน ตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ สุขนาฏกรรมใช้เป็นการบันเทิงรูปแบบหนึ่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในมหาราชวังหรือในหมู่บ้าน ทั้งมารยาททางสังคมและเชาวน์ปัญญาบางอย่างสามารถแสดงออกเป็นไหวพริบและการพูดตลกแบบถากถาง มีนักวิทยาศาสตร์และนักเขียนชาวเยอรมัน (Georg Lichtenberg) ผู้ถึงกับกล่าวว่า "คุณยิ่งรู้จักมุกตลกเท่าไร คุณก็จะเป็นคนที่ละเอียดลออมากยิ่งขึ้นเท่านั้น"[ต้องการอ้างอิง]
กรีกโบราณ
แก้ทฤษฎีความตลกขบขันของชาวตะวันตกมีจุดกำเนิดที่นักปราชญ์เพลโต ผู้ให้เครดิตกับโสกราตีส โดยเป็นตัวละครเชิงประวัติศาสตร์ในบทสนทนาเรื่อง Philebus (หน้า 49b) ซึ่งมองว่าหัวใจของเรื่องน่าหัวเราะก็คือความเขลาของคนอ่อนแอ ที่ไม่สามารถโต้ตอบได้เมื่อถูกหัวเราะเยาะ ต่อมาในปรัชญากรีกโบราณ ในหนังสือทฤษฎีวรรณกรรม Poetics (1449a, หน้า 34-35) อาริสโตเติลได้เสนอว่า ความไม่น่าชมแต่ไม่ถึงกับขยะแขยงเป็นหัวใจของความน่าขำ
อินเดีย
แก้ในละครสันสกฤตโบราณ นาฏยศาสตร์ ภารตะมุนีได้นิยามความตลกขบขัน (hāsyam) ว่าเป็นรสหนึ่งในเก้ารส (nava rasas) ซึ่งเป็นการตอบสนองทางอารมณ์โดยกระตุ้นให้ผู้ชมมีสภาวะเลียนอารมณ์ของผู้แสดง "รส" แต่ละรสจะสัมพันธ์กับ "ภาวะ" ที่แสดง
ในอาหรับและเปอร์เซีย
แก้ส่วนคำว่าสุขนาฏกรรม (comedy) และละครเสียดสี (satire) กลายเป็นไวพจน์ของกันและกันเมื่อหนังสือทฤษฎีวรรณกรรม Poetics ของอาริสโตเติล ได้แปลเป็นภาษาอาหรับในยุค Islamic Golden Age (ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 8-13) แล้วขยายเพิ่มเติมโดยนักเขียนชาวอาหรับและนักปรัชญาชาวมุสลิมต่าง ๆ รวมทั้ง Abu Bishr Matta ibn Yunus, Al-Farabi, แอวิเซนนา และอิบนุ รุชด์ เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม พวกเขาได้เปลี่ยนสุขนาฏกรรมจากสิ่งที่ชาวกรีกได้ระบุ โดยรวมมันกับกวีนิพนธ์อาหรับเช่น hija ซึ่งเป็น กวีนิพนธ์เชิงเสียดสี พวกเขามองสุขนาฏกรรมว่าเป็นเพียง "ศิลปะในการตำหนิ" และจะไม่พูดถึงเหตุการณ์ที่รื่นเริงเบา ๆ หรือเป็นปัญหาในตอนต้น และความสุขตอนอวสาน เหมือนกับสุขนาฏกรรมกรีกแบบคลาสสิก ดังนั้น หลังจากการแปลหนังสืออาหรับเป็นภาษาละตินในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 12 คำว่า comedy จึงได้เปลี่ยนความหมายไปในวรรณกรรมชาวตะวันตกยุคกลาง[11]
เขตแคริบเบียน
แก้นักดนตรีชาวจาเมกาชื่อดังคนหนึ่ง (Lord Flea) กล่าวว่า "ชาวเวสต์อินเดียนเป็นคนที่มีอารมณ์ขันที่สุดในโลก" แม้แต่ในเพลงที่ขึงขังจริงจังที่สุดของพวกเขา เช่นเพลง Las Kean Fine (หายและไม่สามารถหาคืนได้) ซึ่งเล่าเรื่องการระเบิดของหม้อน้ำในไร่อ้อยที่ทำให้คนงานเสียชีวิตหลายคน แต่ว่าทั้งไหวพริบและมุกตลกก็ยังส่องแสงออกให้เห็นได้"[12]
จีน
แก้ความเชื่อดั้งเดิมของลัทธิขงจื๊อใหม่ (Neo-Confucian) ที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมและมารยาท ตามประวัติแล้วดูถูกมุกตลกว่า เป็นอะไรที่หักล้างหรือไม่เหมาะสม ส่วนคัมภีร์หลุน-อฺวี่ที่รวบรวมขึ้นหลังการเสียชีวิตของขงจื๊อเอง แสดงว่าขงจื๊อชอบใจมุกตลกที่ถ่อมตัวเอง เช่น เคยเทียบการท่องเที่ยวของตนเหมือนกับชีวิตสุนัขจรจัด[13] ส่วนคัมภีร์ลัทธิเต๋าต้น ๆ รวมทั้งของจวงจื่อหัวเราะเยาะความเคร่งขรึมของลัทธิขงจื๊อโดยเฉพาะเจาะจง แล้วกล่าวถึงขงจื๊อโดยเป็นตัวตลกมีไหวพริบช้า[14] และหนังสือตลกที่เล่นคำ คำสองแง่สองง่าม เหตุการณ์ตลก หรือเรื่องต้องห้ามเช่นเรื่องเพศและเรื่องหยาบคาย ก็เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมเป็นศตวรรษ ๆ ศิลปะการแสดง การเล่านิทาน นิยายท้องถิ่น และกวีนิพนธ์ต่าง ๆ ก็มีมุกและรูปแบบตลกมากมาย มีนักตลกจีนทั้งในโบราณ (Chunyu Kun, Dongfang Shuo, Feng Menglong, Li Yu[15], Wu Jingzi) และในปัจจุบัน (Lu Xun, Lin Yutang, Lao She, Qian Zhongshu, Wang Xiaobo, Wang Shuo, Ge You, Guo Degang, Zhou Libo)
มุกตลกจีนปัจจุบันได้รับอิทธิพลไม่ใช่จากวัฒนธรรมดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังได้จากชาวต่างชาติ ผ่านวรรณกรรม ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต[16] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ "humor" เป็นคำจีน ก็กลายเป็นศัพท์ใหม่สำหรับความหมายนี้ ทำให้เกิดแฟชั่นสมัยนิยมในวรรณกรรมตลก และข้อขัดแย้งที่เผ็ดร้อนว่า รูปแบบตลกเช่นไรเหมาะกับประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่จน อ่อนแอ ที่อยู่ใต้การปกครองของประเทศอื่นเป็นบางส่วน[17][18] แม้ว่าจะมีสุขนาฏกรรมที่อนุญาตในสมัยของนายเหมา เจ๋อตง แต่เรื่องขำขันในหลาย ๆ เรื่องก็ยังเป็นของต้องห้าม[19] แต่ว่า การผ่อนคลายนโยบายทางสังคมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980, การค้าขายที่มีผลต่อวัฒนธรรมในช่วงทศวรรษ 1990, และการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต ช่วยให้เกิดรูปแบบตลกใหม่ ๆ ในประเทศจีนในทศวรรษหลัง ๆ แม้ว่ารัฐยังตรวจพิจารณาสื่ออย่างเข้มงวด[20]
แบบจำลองการเปลี่ยนสภาพทางสังคม
แก้แบบจำลองการเปลี่ยนสภาพทางสังคม (social transformation model) พยากรณ์ว่า ลักษณะโดยเฉพาะ ๆ บางอย่าง เช่น รูปหล่อหรืองาม จะมีปฏิสัมพันธ์กับความตลก[21] แบบจำลองนี้เชื่อมคนพูดตลก คนฟัง และประเด็นของเรื่องตลก[21] มีการเปลี่ยนสภาพที่เกิดขึ้นสองอย่างเนื่องกับเรื่องตลก คือเปลี่ยนความรู้สึกของคนฟังต่อคนพูด และดังนั้น จะช่วยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนพูดกับคนฟัง[21]
แบบจำลองนี้มองความตลกว่าเป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) เพราะมันสื่อความต้องการให้ขำในขณะนี้ และความมุ่งหมายจะทำให้ขำในอนาคต[21] แบบจำลองนี้ใช้กับความตลกที่ถ่อมตัวเองเมื่อบุคคลสื่อสารเพื่อต้องการให้คนอื่นยอมรับเข้ากลุ่มสังคมโดยเฉพาะ[21] แม้ว่าเรื่องตลกถ่อมตัวเองจะสื่อความอ่อนแอและความผิดพลาดได้ของบุคคลเพื่อเรียกความเห็นใจจากผู้อื่น แต่ก็สามารถสรุปได้จากแบบจำลองนี้ว่า เรื่องตลกเช่นนี้สามารถสนับสนุนความรู้สึกรักแบบโรแมนติกต่อคนพูดเมื่อตัวแปรอื่น ๆ ก็สนับสนุนด้วย[21]
แบบจำลองนี้สามารถตามดูในการเรียนการสอนที่ใช้เรื่องตลกเพื่อปรับปรุงสถานภาพการรู้คิดของนักเรียนนักศึกษา ความตลกอาจช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนในเชิงบวกและไม่ให้เคร่งเครียด ซึ่งอาจจุดชนวนความกระตือรือร้นและความสนใจของนักเรียน[22]
ความรูปงาม
แก้นักศึกษามหาวิทยาลัยชาย 90% และหญิง 81% รายงานว่าเมื่อหาคู่ ความมีอารมณ์ขำเป็นคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่ง[23] ความมีอารมณ์ขำและความซื่อสัตย์จัดเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในคู่รัก[24] มีหลักฐานว่า ความมีอารมณ์ขำจะปรากฏยิ่งขึ้นและสำคัญมากขึ้น เมื่อความใกล้ชิดแบบโรแมนติดเพิ่มมากขึ้น[25]
งานศึกษาปี 2541 แสดงว่า อารมณ์ขำที่สัมพันธ์กับรูปงามเป็นปัจจัยสำคัญสองอย่างเพื่อดำรงความสัมพันธ์ให้คงยืน[21] แต่ว่า หญิงจะสนใจความรูปงามน้อยกว่าชายเมื่อออกเดต มีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง และมีเพศสัมพันธ์[21] หญิงยังเห็นชายที่มีอารมณ์ขำว่าน่าสนใจกว่าคนที่ไม่มีสำหรับความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งหรือเมื่อแต่งงาน แต่ก็ต่อเมื่อชายมีรูปงาม[21] นอกจากนั้นแล้ว คนยังมองคนมีอารมณ์ขำว่าร่าเริงกว่าแต่ฉลาดน้อยกว่า อารมณ์ขำแบบถ่อมตัวเองมีหลักฐานว่าเพิ่มความน่าต้องการสำหรับคนมีรูปงามอื่น ๆ เพื่อความสัมพันธ์แบบผูกขาด[21]
งานศึกษาหนึ่งพบว่า อารมณ์ขันอาจมีผลต่อความน่าต้องการของบุคคลในความสัมพันธ์กับคนโดยเฉพาะ ๆ แต่จะมีโอกาสต่อเมื่อเป็นฝ่ายชายที่มีอารมณ์ขันเมื่อประเมินโดยฝ่ายหญิง[26] ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าชายชอบหญิงที่มีอารมณ์ขันเพื่อเป็นคู่ และหญิงก็ไม่ได้ชอบหญิงอื่นที่มีอารมณ์ขันเพื่อเป็นคู่[26] เมื่อใช้วิธีการศึกษาแบบบังคับให้เลือก (forced-choice) หญิงจะเลือกชายที่มีอารมณ์ขันเพื่อจะคบเป็นคู่แม้ว่าอาจจะคิดว่าชายซื่อตรงและฉลาดน้อยกว่า[26] และการวิเคราะห์แบบไม่ได้กำหนดก่อนการทดลอง (Post-Hoc) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของอารมณ์ขันกับการได้รับการประเมินที่ดี[26]
ความอยู่เป็นสุขทางจิตใจ
แก้เป็นเรื่องที่ชัดเจนดีว่า อารมณ์ขันช่วยให้อยู่เป็นสุขทั้งทางกายและใจดีกว่า (โดยรายงานเอง)[27] งานวิจัยก่อน ๆ เกี่ยวกับอารมณ์ขันกับความอยู่เป็นสุขทางจิตพบว่า อารมณ์ขันจริง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงและธำรงความอยู่เป็นสุขทางจิตใจที่ดีกว่า[27][28] สมมติฐานนี้เรียกว่า general facilitative hypothesis for humour (สมมติฐานอำนวยแบบทั่วไป)[27] คือ อารมณ์ขันเชิงบวกนำไปสู่สุขภาพที่ดี
แต่ว่างานวิจัยในปัจจุบันไม่ได้สนับสนุนสมมติฐานนี้ทุกงาน[29] ข้อจำกัดของงานศึกษาก่อน ๆ ก็คือ มักจะเป็นวิธีการวัดในมิติเดียวเพราะอนุมานว่า อารมณ์ขันดีอย่างเดียว โดยไม่ได้พิจารณารูปแบบหรือสไตล์ของความขำขัน ยกตัวอย่างเช่น อารมณ์ขันที่หักล้างตัวเองหรือก้าวร้าว[30]
งานวิจัยต่อ ๆ มาเสนอรูปแบบอารมณ์ขัน 2 ชนิด แต่ละชนิดมี 2 สไตล์ รวมทั้งหมดเป็น 4 สไตล์ 2 ชนิดรวมทั้งแบบปรับตัวดี (adaptive) เทียบกับปรับตัวผิด (maladaptive)[30] แบบปรับตัวดีเป็นตัวอำนวยความสัมพันธ์หรือเสริมตัวเอง และแบบปรับตัวผิดเป็นการหักล้างตัวเองหรือเป็นการก้าวร้าว สไตล์แต่ละอย่างเหล่านี้สามารถมีผลต่อสภาพจิตใจและความอยู่เป็นสุขของบุคคลต่าง ๆ กัน[30]
- แบบอำนวยความผูกพัน (Affiliative) โดยใช้เรื่องตลกเป็นตัวอำนวยความสัมพันธ์กับคนอื่น ทำให้คนอื่นรู้สึกสนุก หรือช่วยลดความตึงเครียด[30]
- แบบเสริมตัวเอง (Self-enhancing) โดยมองชีวิตในแง่ตลก บุคคลที่มีมุกตลกแบบนี้มักใช้มันเพื่อรับมือกับความเครียด[30]
- แบบก้าวร้าว (Aggressive) โดยใช้มุกตลกที่เป็นเรื่องชาติผิวพรรณ การเหน็บแหนม และการดูถูกดูหมิ่นคนอื่นเพื่อความบันเทิง ผู้ใช้อารมณ์ขันเช่นนี้อาจไม่พิจารณาถึงผลที่ตามมาของมุกตลก แต่สนใจเพียงเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ฟัง[30]
- แบบหักล้างตัวเอง (Self-defeating) คือใช้อารมณ์ขันให้ความบันเทิงต่อผู้อื่นโดยหักล้างตัวเอง แล้วมักจะหัวเราะไปพร้อม ๆ กับคนอื่นเมื่อถูกล้อ มีสมมติฐานว่า คนที่ใช้มุกตลกเช่นนี้ทำเพื่อที่จะได้ความยอมรับ และอาจรู้สึกไม่ดีต่อตัวเองใต้จิตสำนึก และดังนั้นจึงใช้สไตล์ตลกเช่นนี้เพื่อซ่อนความรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตน[30]
ในงานศึกษาเกี่ยวกับอารมณ์ขันกับความเป็นสุขทางจิตใจ งานวิจัยได้สรุปว่า อารมณ์ขันที่เป็นการปรับตัวดีในระดับสูง (คือแบบอำนวยความสัมพันธ์หรือเสริมตนเอง) สัมพันธ์กับความภูมิใจในตน อารมณ์เชิงบวก สมรรถภาพในบุคคล การควบคุมความวิตกกังวล และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีกว่า[31] ซึ่งล้วนแต่เป็นส่วนของความรู้สึกเป็นสุขที่ดี นอกจากนั้นแล้ว สไตล์ตลกที่เป็นการปรับตัวที่ดีอาจช่วยรักษาความรู้สึกเป็นสุขแม้เมื่อมีปัญหาทางจิตใจ[28] เปรียบเทียบกันแล้ว สไตล์ตลกแบบปรับตัวผิด (คือก้าวร้าวหรือหักล้างตัวเอง) สัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นสุขทางจิตใจที่แย่กว่า[31] โดยเฉพาะก็คือมีระดับความวิตกกังวลและความซึมเศร้ามากกว่า และดังนั้น มุกตลกอาจมีผลลบต่อความเป็นสุขทางจิตใจ ทางมุกนั้นมีลักษณะเชิงลบ[31]
ผลทางสรีรภาพ
แก้มุกตลกบ่อยครั้งใช้เพื่อทำให้สถานการณ์ที่เครียดหรือลำบากเบาลง และช่วยปรับสถานการณ์ทางสังคมโดยทั่วไป เพราะว่าคนจำนวนมากพบว่ามันเป็นประสบการณ์เชิงบวกที่สนุก ดังนั้น มันน่าจะสมเหตุผลว่า มุกตลกอาจจะมีผลที่ดีทางสรีรภาพ
งานศึกษาปี 2537 (ทำโดย Karen Zwyer, Barbara Velker, และ Willibald Ruch) ที่ตรวจสอบผลบวกทางสรีรภาพของมุกตลก คือว่าตรวจดูความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ขำกับความอดทนต่อความไม่สบายกายโดยเฉพาะ โดยเปิดคลิปวิดีโอตลกสั้น ๆ ให้ผู้ร่วมการทดลองดูแล้วให้จุ่มมือลงในน้ำเย็น (Cold pressor test) เพื่อระบุลักษณะของความขำขันที่อาจช่วยเพิ่มความอดทนต่อความไม่สบายกาย งานศึกษาแบ่งกลุ่มผู้ร่วมการทดลองหญิง 56 คน ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มร่าเริง (cheerfulness) กลุ่มตื่นเต้นดีใจ (exhilaration) และกลุ่มสร้างความขำ (humour production) แต่ละกลุ่มยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม คือ บุคลิกร่าเริง (high Trait-Cheerfulness) และบุคลิกเคร่งขรึม (high Trait-Seriousness) ซึ่งวัดด้วยแบบวัด State-Trait-Cheerfulness-Inventory แล้วบอกกลุ่ม 3 กลุ่มแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้ กลุ่มร่าเริงบอกให้ตื่นตัวชอบใจในคลิปวิดีโอโดยไม่ถึงกับหัวเราะหรือยิ้ม กลุ่มตื่นเต้นดีใจให้หัวเราะและยิ้มเกินความรู้สึกที่มีจริง ๆ ของตน และกลุ่มสร้างความขำให้พูดอะไร ๆ ขำ ๆ เกี่ยวกับคลิปวิดีโอเมื่อกำลังชม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ร่วมการทดลองคิดว่าคลิปวิดีโอน่าขำจริง ๆ และวิดีโอมีผลตามที่ต้องการ จึงได้สำรวจผู้ร่วมการทดลองในเรื่องนั้นโดยได้คะแนนมัชฌิม 3.64 จาก 5 การทดสอบโดยจุ่มมือในน้ำเย็นแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองทั้ง 3 กลุ่มมีขีดที่เริ่มรู้สึกไม่สบายที่สูงกว่า และอดทนต่อความรู้สึกไม่สบายได้นานกว่า เทียบกับก่อนดูคลิปวิดีโอ โดยผลไม่ต่างกันระหว่างกลุ่มทั้ง 3[32] อารมณ์ขำยังมีโอกาสสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกันที่ดีอีกด้วย เช่น SIgA เป็นสารภูมิต้านทาน (antibody) ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ โดยใช้วิธีที่คล้ายกับการทดลองก่อน ผู้ร่วมการทดลองชมคลิปวิดีโอสั้น ๆ ที่ตลกแล้ววัดระดับ SIgA ซึ่งปรากฏกว่าเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญ[33]
มีการอ้างว่า การหัวเราะสามารถช่วยเพิ่มผลการออกกำลังกายคือให้ประโยชน์ทางด้านหัวใจและหลอดเลือด และสามารถทำให้กล้ามเนื้อสมบูรณ์ขึ้น[34] แต่ว่างานหนึ่งแสดงว่า การหัวเราะอาจจะลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อโครงกระดูก (skeletal muscle) เพราะว่า การหัวเราะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวแบบสั้น ๆ แต่ก็ทำให้คลายตัวเป็นระยะเวลาที่นานกว่าด้วย ประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดก็ดูจะเป็นเรื่องแค่คิดขึ้นเท่านั้น เพราะว่า งานศึกษาที่ตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนแสดงว่า แม้ว่าการหัวเราะจะทำให้หายใจลึก ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ว่ากลับไม่มีผลต่อระดับความอิ่มตัวของออกซิเจน[35]
เนื่องจากมุกตลกมักใช้เพื่อคลายความตึงเครียด ดังนั้น ก็น่าจะมีผลอย่างเดียวกันต่อความวิตกกังวลด้วย งานศึกษาปี 2533 ออกแบบเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนี้ โดยบอกผู้ร่วมการทดลองว่า เดี๋ยวจะช็อคด้วยไฟฟ้า แล้วให้กลุ่มหนึ่งรับเรื่องตลก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้รับ ระดับความวิตกกังวลวัดทั้งโดยการแจ้งเอง และการวัดอัตราหัวใจเต้น ผู้ร่วมการทดลองที่มีอารมณ์ขันสูงรายงานความวิตกกังวลที่น้อยกว่าในทั้งสองกลุ่ม ในขณะที่ผู้ร่วมการทดลองที่มีอารมณ์ขันต่ำในกลุ่มที่รับเรื่องตลกรายงานความวิตกกังวลที่น้อยกว่า แต่ว่า อัตราการเต้นหัวใจไม่แตกต่างกันอย่างสำคัญระหว่างผู้ร่วมการทดลองกลุ่มต่าง ๆ[36]
งานศึกษา
แก้การหัวเราะ
แก้ประเด็นหลักอย่างหนึ่งของงานวิจัยและทฤษฎีความตลกขบขันทางจิตวิทยา ก็เพื่อค้นหาและทำให้ชัดเจนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความตลกกับการหัวเราะ สิ่งที่พบหลักโดยหลักฐานอย่างหนึ่งก็คือ การหัวเราะและความตลกขบขันไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แม้ว่าทฤษฎีก่อน ๆ จะสมมุติความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งสองจนกระทั่งกับเหมือนเป็นสิ่งเดียวกัน นักวิชาการทางจิตวิทยาก็ได้แยกศึกษาโดยหลักวิทยาศาสตร์และโดยหลักฐานถึงความสัมพันธ์ที่อาจจะมี ผลติดตาม และความสำคัญของมัน
งานปี 2552 ตรวจสอบว่า การหัวเราะสามารถสื่ออารมณ์ต่าง ๆ ให้ผู้ฟังรับทราบได้หรือไม่ พวกเขาได้จ้างนักแสดงให้หัวเราะอัดเสียงโดยใช้อารมณ์ 4 อย่างที่ทำให้เกิดเอง โดยนักแสดงจะสนใจแต่อารมณ์ของตนอย่างเดียว ไม่สนใจว่าจะต้องแสดงออกอย่างไร แล้วพบว่า ในงานทดลองแรก ผู้ร่วมการทดลองสามารถระบุอารมณ์ที่ถูกต้องจากเสียงหัวเราะที่อัตรา 44% โดยความเบิกบานใจ (joy) ที่ 44% จั๊กจี้ (tickle) ที่ 45% ตลกเพราะคนอื่นลำบาก (schadenfreude) ที่ 37% และคำพูดเสียดสี (taunt) ที่ 50%[37]: 399 งานทดลองที่สองตรวจสอบการระบุมิติต่าง ๆ (ความตื่นตัว, dominance, receiver valence, sender valence) ของเสียงหัวเราะเดียวกัน แล้วพบว่า ผู้ร่วมการทดลองระบุมิติ 4 อย่างของเสียงหัวเราะ 4 อย่าง ในระดับต่าง ๆ กัน ซึ่งแสดงว่าผู้ฟังสามารถกำหนดความแตกต่างของการหัวเราะได้แม้จะไม่ได้รับอิทธิพลจากการเลือกประเภทเสียงหัวเราะจาก 4 อย่างที่กำหนดล่วงหน้า[37]: 401–402
งานศึกษานี้แสดงว่า การหัวเราะสามารถสัมพันธ์กับทั้งอารมณ์เชิงบวก (ความเบิกบานใจและความจั๊กจี้) และอารมณ์เชิงลบ (ตลกเพราะคนอื่นลำบากและคำพูดเสียดสี) โดยมีระดับความตื่นตัวในระดับต่าง ๆ จึงนำมาสู่ประเด็นว่าความตลกขบขันมีนิยามว่าอย่างไรกันแน่ ซึ่งก็คือเป็นกระบวนการทางการรู้คิดที่ประกอบด้วยการหัวเราะ และดังนั้น ความตลกขบขันจะรวมทั้งอารมณ์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่าง ๆ แต่ว่า ถ้าจะจำกัดความตลกขบขันว่าเป็นแค่อารมณ์เชิงบวกและสิ่งที่ให้ผลบวกเท่านั้น ก็จะจำเป็นที่จะต้องจำแนกจากการหัวเราะ และความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลก็ควรจะให้นิยามด้วย
สุขภาพ
แก้ความตลกขบขันมีหลักฐานว่าช่วยให้ฟื้นสภาพจากความทุกข์และช่วยแก้อารมณ์เชิงลบ งานวิจัยปี 2552 พบว่ามันช่วยให้สนใจไปในเรื่องอื่นสำหรับบุคคลที่กำลังเป็นทุกข์[38]: 574–578 มีการให้ผู้ร่วมการทดลองดูรูปและประโยคเชิงลบต่าง ๆ หลายอย่าง แล้วพบว่า การบำบัดด้วยความตลก (humorous therapy) ช่วยลดอารมณ์เชิงลบที่เกิดหลังจากดูรูปและประโยคเชิงลบ นอกจากนั้นแล้ว การบำบัดด้วยความตลกยังมีประสิทธิภาพในการลดอารมณ์เชิงลบ เมื่ออารมณ์แรงขึ้น[38]: 575–576
มุกตลกช่วยรับมือกับความทุกข์ได้ทันที การเป็นกลไกรับมือแบบหลบแสดงว่า มันจะมีประโยชน์ที่สุดสำหรับความเครียดแบบชั่วขณะ และดังนั้น สิ่งเร้าเชิงลบที่มีกำลังยิ่งกว่านั้นจำเป็นต้องใช้วิธีการบำบัดอย่างอื่น[ต้องการอ้างอิง]
อารมณ์ขันเป็นลักษณะนิสัย (character trait) พื้นฐานอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับอารมณ์เชิงบวกในทฤษฎีพัฒนาการรู้คิด broaden-and-build ที่แนะให้มีพฤติกรรมและความคิดรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งในระยะเวลายาวจะพัฒนาเป็นทักษะความสามารถและทรัพยากรในชีวิต งานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งที่ทดสอบสมมติฐาน undoing ของ นพ. ซิกมุนด์ ฟรอยด์ และลูกสาวของเขา[39]: 313 แสดงผลบวกของอารมณ์ขันโดยปรากฏเป็นลักษณะนิสัยเช่น ความช่างสนุก (amusement) และความช่างเล่น (playfulness)
งานศึกษาอีกหลายงานแสดงว่า อารมณ์เชิงบวกสามารถทำให้คืนสภาพสู่ความสงบอัตโนวัติ (autonomic quiescence) หลังจากเผชิญกับเหตุการณ์เชิงลบ ยกตัวอย่างอย่างเช่น งานศึกษางานหนึ่งพบว่า บุคคลที่ยิ้มโดยใช้ทั้งกล้ามเนื้อที่มุมปากและมุมตา (Duchenne smile) เมื่อเกิดตื่นตัวในเชิงลบเพราะเหตุการณ์ที่น่าเศร้าหรือเป็นปัญหา จะฟื้นสภาพจากอารมณ์เชิงลบ 20% เร็วกว่าบุคคลที่ไม่ยิ้ม[39]: 314
อารมณ์ขันสามารถใช้เป็นกลไกลแยกตัวออกห่าง/ลดการยึดติดเมื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่ทุกข์ลำบาก งานศึกษาปี 2540 พบว่า การหัวเราะที่ใช้กล้ามเนื้อทั้งที่มุมปากและมุมตา (Duchenne laughter) สัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นทุกข์ที่ลดลง[40]
อารมณ์เชิงบวกช่วยลดการยึดติดกับอารมณ์เชิงลบในความคิด การลดความยึดติดจะช่วยลดการตอบสนองฝ่ายเดียวหรืออย่างเดียวที่บุคคลมักจะมีเมื่ออารมณ์ไม่ดี ในฐานะที่การไม่ยึดติดช่วยรับมือกับความเครียด มันก็สนับสนุนทฤษฎี broaden and build ด้วยว่า อารมณ์เชิงบวกช่วยเพิ่มทางเลือกในการตอบสนองทางการรู้คิดและช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางสังคม
อายุ
แก้อารมณ์ขันช่วยให้รับมือกับการมีอายุมากขึ้นในด้าน 3 ด้าน คือ สุขภาพกาย การสื่อสารทางสังคม และความพอใจในชีวิต งานศึกษาแสดงว่า อารมณ์ขันที่สม่ำเสมอเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นมีประโยชน์ทางสุขภาพต่อบุคคล เช่น มีความภูมิใจในตนที่ดีว่า มีความซึมเศร้าน้อยกว่า มีความวิตกกังวลน้อยกว่า และรู้สึกเครียดน้อยกว่า[41][42] แม้แต่คนที่มีโรคก็ยังปรับตัวกับการสูงอายุได้ดีขึ้นถ้ามีอารมณ์ขัน[43]
โดยทั่วไปแล้ว อารมณ์ขันเมื่อมีอายุมากขึ้นมีสหสัมพันธ์ที่มีกำลังกับสุขภาพที่ดีขึ้นในบุคคล งานวิจัยยังแสดงอีกด้วยว่า อารมณ์ขันช่วยสร้างและดำรงความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีเมื่อชีวิตกำลังเปลี่ยนไป[43] เช่น เมื่อผู้มีอายุย้ายไปอยู่ในสถานพยาบาลหรือสถานดูแลผู้สูงอายุอื่น ๆ ในความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวอาจจำกัดลงทำให้ต้องหาเพื่อนใหม่ อารมณ์ขันมีหลักฐานว่าทำให้ปรับตัวได้ดีกว่า เพราะว่า อารมณ์ขันช่วยลดความเครียด อำนวยการสังคมและช่วยสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น[44]
อารมณ์ขันอาจช่วยรักษาความรู้สึกที่ดีต่อบุคคลที่บังคับให้เปลี่ยนวิถีชีวิต ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมใหม่ ๆ เหล่านี้อาจเป็นเรื่องจำเป็นเมื่อชีวิตเปลี่ยนไป และอารมณ์ขันจะช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์และปรับตัวเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น
อารมณ์ขันยังช่วยรักษาความรู้สึกพึงพอใจในชีวิตไว้ได้ การมีอายุสูงขึ้นอาจเปลี่ยนสมรรถภาพการดำเนินชีวิต เช่น ไม่สามารถขับรถได้อีกต่อไป ซึ่งอาจลดความพึงพอใจในชีวิตของบุคคล อารมณ์ขันช่วยชะลอการลดระดับความพึงพอใจในชีวิตเพราะช่วยคลายความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลง[43] การหัวเราะและอารมณ์ขันอาจเป็นตัวทดแทนการลดลงของความพอใจในชีวิตโดยช่วยให้รู้สึกดีกับสถานการณ์และลดความเครียด[41] ซึ่งอาจช่วยรักษาความรู้สึกพึงพอใจในชีวิตกับวิถีชีวิตใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม
องค์ประกอบต่าง ๆ
แก้ความตลกสามารถเป็นคำพูด สิ่งที่เห็น หรือการถูกต้องสัมผัส การสื่อสารที่ไม่ได้ใช้คำพูด เช่น ดนตรีหรือภาพศิลป์ก็สามารถสร้างความขำขันได้
องค์ประกอบมูลฐาน
แก้- เรื่องตลกที่วิจารณ์หรือเลียนแบบความจริง
- ความแปลกใจ / การหลอกไปอีกทาง, ความขัดแย้ง / ปฏิทรรศน์, ความคลุมเครือ
วิธีการ/กระบวนการ
แก้- Farce (ละครตลก) ซึ่งเป็นการแสดงตลกโดยใช้สถานการณ์ที่ทำเกินจริง ฟู่ฟ่า และดังนั้น จึงไม่สมจริง
- อติพจน์ เป็นโวหารภาพพจน์อย่างหนึ่งที่กล่าวเกินจริงเพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึก พบบ่อยในงานวรรณกรรมและงานศิลป์หลายรูปแบบ
- อุปลักษณ์ เป็นการแสดงภาพพจน์ของสิ่งหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจถึงอีกสิ่งหนึ่ง เป็นการวาดภาพทางภาษาซึ่งเปรียบเทียบของสองสิ่งหรือแนวคิดสองอย่าง
- Pun เป็นการเล่นคำเพื่อสื่อความหมายหลายอย่าง
- Reframing เป็นการเปลี่ยน/แนะแนวคิดและมโนคติว่า บุคคล กลุ่ม หรือสังคม จัดระเบียบ รับรู้ และสื่อสารเกี่ยวกับความจริงอย่างไร
- Comic timing เป็นการใช้จังหวะ ความเร็ว และการพักเพื่อเพิ่มความตลก
พฤติกรรม สถานที่ และขนาด
แก้นักตลกชาวอังกฤษคนหนึ่ง (Rowan Atkinson) เล็กเช่อร์ในภาพยนตร์สารคดี Funny Business[45] ว่า วัตถุหรือบุคคลสามารถกลายเป็นของตลกได้โดย 3 วิธีคือ
- โดยทำอะไรที่แปลก
- โดยอยู่ในสถานที่ที่แปลก
- โดยมีขนาดที่ไม่สมจริง
การแสดงภาพตลกมักจะตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งสามอย่างนี้
การแสดงเกินจริง
แก้นักทฤษฎีตลกบางท่านพิจารณาว่าการแสดงเกินจริงเป็นวิธีการเล่นตลกที่ทั่วไปอย่างหนึ่ง[46] ซึ่งอาจแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ แต่ทั้งหมดล้วนแต่อาศัยความจริงว่า วิธีง่ายที่สุดที่จะทำตลกก็คือทำสิ่งที่ชัดเจนในเรื่องนั้นให้เกินจริงจนกระทั่งดูเหลวไหล[47]
วัฒนธรรมต่าง ๆ
แก้วัฒนธรรมต่าง ๆ มองว่าอะไรตลกต่างกัน และดังนั้น รายการตลกจากวัฒนธรรมหนึ่งอาจจะไม่ตลกในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ข่าวของบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษปี 2547 กล่าวถึงทัศนคติทั่วไปของนักตลกชาวอังกฤษอย่างหนึ่งก็คือว่า ชาวอเมริกันและชาวเยอรมันไม่เข้าใจเรื่อง irony (เป็นการแสดงออกเพื่อสื่อความหมายตรงข้ามกับที่สื่อตรง ๆ) และดังนั้น ชนเหล่านั้นก็จะไม่ชอบซิตคอมของชาวอังกฤษ[48]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Humour", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546,
ความตลกขบขัน
- ↑ Smullyan, Raymond (1980). "Planet Without Laughter". This Book Needs No Title: A Budget of Living Paradoxes. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-19. สืบค้นเมื่อ 2017-01-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ doi:10.1177/0956797612443831
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ Nicholas Kuiper, "Prudence and Racial Humor: Troubling Epithets"
- ↑ White, EB. "Quotation #984 from Michael Moncur's (Cynical) Quotations:". สืบค้นเมื่อ 2017-01-04.
Humor can be dissected as a frog can, but the thing dies in the process and the innards are discouraging to any but the pure scientific mind
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Khanduri, Ritu Gairola (2014). Caricaturing Culture in India: Cartoons and History of the Modern World. Cambridge: Cambridge University Press.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Graham, Seth Benedict (2003). "A cultural analysis of the Russo-Soviet Anekdot" (PDF). p. 13.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Bakhtin, Mikhail (1941, 1965). Rabelais and His World. Bloomington: Indiana University Press. p. 12.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 9.8 Plester, Barbara (2009-01-01). "Healthy humour: Using humour to cope at work". Kōtuitui: New Zealand Journal of Social Sciences Online. 4 (1): 89–102. doi:10.1080/1177083X.2009.9522446.
- ↑ 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 "Are we having fun yet? A consideration of workplace fun and engagement". Employee Relations. 31 (6): 556–568. 2009-10-02. doi:10.1108/01425450910991721. ISSN 0142-5455.
- ↑ Webber, Edwin J. (Jan 1958). "Comedy as Satire in Hispano-Arabic Spain". Hispanic Review. University of Pennsylvania Press. 26 (1): 1–11. doi:10.2307/470561. JSTOR 470561.
- ↑ Garnice, Michael (2012-03-11). "Mento Music Lord Flea". สืบค้นเมื่อ 2013-04-14.
- ↑ Harbsmeier, C. "Confucius-Ridens, Humor in the Analects". Harvard Journal of Asiatic Studies. 50 (1): 131–61.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Chey, Jocelyn; Davis, Jessica Milner, บ.ก. (2011). Humour in Chinese Life and Letters: Classical and Traditional Approaches. HKUP.
- ↑ "The Invention of Li Yu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-07. สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
- ↑ "Comic Visions of Modern China" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-12.
- ↑
Rea, Christopher (2015). The Age of Irreverence: A New History of Laughter in China. University of California Press.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Suoqiao, Qian (2007). "Translating 'humor' into Chinese culture". Humor – International Journal of Humor Research. 20 (3): 277–295. doi:10.1515/HUMOR.2007.014.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Moser, David. "Stifled Laughter".
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Davis, Jessica Milner; Chey, Jocelyn, บ.ก. (2013). Humour in Chinese Life and Culture: Resistance and Control in Modern Times. HKUP.
- ↑ 21.00 21.01 21.02 21.03 21.04 21.05 21.06 21.07 21.08 21.09 Lundy, Tan, Cunningham (1998). "Heterosexual romantic preferences: The importance of humor and physical attractiveness for different types of relationships". Personal Relationships. 5: 311–325. doi:10.1111/j.1475-6811.1998.tb00174.x.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Nasiri, F; Mafakheri, F (2015). "Higher Education Lecturing and Humor: From Perspectives to Strategies". Higher Education Studies. 5 (5): 26–31. doi:10.5539/hes.v5n5p26.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Hewitt, L (1958). "Student perceptions of traits desired in themselves as dating and marriage partners". Marriage and Family Living. 20: 344. doi:10.2307/348256.
- ↑ Goodwin, R (1990). "Sex differences among partner preferences: Are the sexes really very similar?". Sex Roles. 23: 501–513. doi:10.1007/bf00289765.
- ↑ Kenrick, Sadalla, Groth, Trost (1990). "Evolution, traits, and the stages of the parental investment model". Journal of Personality. 58: 97–116. doi:10.1111/j.1467-6494.1990.tb00909.x.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 26.0 26.1 26.2 26.3 Bressler, Balshine (2006). "The influence of humour on desirability". Evolution and Human Behavior. 27: 29–39. doi:10.1016/j.evolhumbehav.2005.06.002.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 Kuiper & Martin (1993). "Humor and self-concept". Humor-International Journal of Humor Research. 6. doi:10.1515/humr.1993.6.3.251.
- ↑ 28.0 28.1 Bos, E.H.; Snippe, E.; de Jonge, P.; Jeronimus, B.F. (2016). "Preserving Subjective Wellbeing in the Face of Psychopathology: Buffering Effects of Personal Strengths and Resources". PLOS ONE. 11: e0150867. doi:10.1371/journal.pone.0150867. PMID 26963923.
- ↑ Kuiper & Martin (1998). "Laughter and stress in daily life: Relation to positive and negative affect". Motivation and emotion.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 30.4 30.5 30.6 Martin, Puhlik-Doris, Larsen, Gray., & Weir (2003). "Individual differences in uses of humor and their relation to psychological well-being: Development of the humor styles questionnaire". Journal of Research in Personality. 37: 48–75. doi:10.1016/s0092-6566(02)00534-2.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 31.0 31.1 31.2 Kuiper, Grimshaw, Leite., & Kirsh (2004). "Humor is not always the best medicine: Specific components of sense of humor and psychological well-being". Humor: International journal of Humor Research. 17. doi:10.1515/humr.2004.002.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Zweyer, K; Velker, B; Ruch, W (2004). "Do cheerfulness, exhilaration, and humor production moderate pain tolerance? A FACS study" (PDF). International Journal of Humor Research. 17 (Sense of Humor and Health (1/2)): 85–119. doi:10.1037/a0015692.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Bennett, Mary Payne; Lengacher, Cecile (2009). "Humor and Laughter May Influence Health IV. Humor and Immune Function". Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 6 (2): 159–164. doi:10.1093/ecam/nem149. PMC 2686627. PMID 18955287.
- ↑ Bennett, Mary Payne; Lengacher, Cecile (2008). "Humor and Laughter May Influence Health: III. Laughter and Health Outcomes". Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 5 (1): 37–40. doi:10.1093/ecam/nem041. PMC 2249748. PMID 18317546.
- ↑ Fry, W. F.; Stoft, P. E. (1971). "Mirth and oxygen saturation levels of peripheral blood". Psychotherapy and Psychosomatics. 19 (1): 76–84. doi:10.1159/000286308. PMID 5146348.
- ↑ Yovetich, N. A.; Dale, J. A.; Hudak, M. A. (1990). "Benefits of humor in reduction of threat-induced anxiety". Psychological Reports. 66 (1): 51–58. doi:10.2466/pr0.1990.66.1.51. PMID 2326429.
- ↑ 37.0 37.1 Szameitat, Diana P (2009). "Differentiation of Emotions in Laughter at the Behavioural Level" (PDF). Emotion. 9 (3). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-06.
- ↑ 38.0 38.1 Strick, Madelijn. "Finding Comfort in a Joke: Consolatory Effects of Humor Through Cognitive Distraction". Emotion. 9 (4).
- ↑ 39.0 39.1 Fredrickson, Barbara L (1998). "What Good Are Positive Emotions?". Review of General Psychology. 2 (3).
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Keltner, D.; Bonanno, G.A. (1997). "A study of laughter and dissociation: Distinct correlates of laughter and smiling during bereavement". Journal of Personality and Social Psychology. 73: 687–702. doi:10.1037/0022-3514.73.4.687.
- ↑ 41.0 41.1 Abel, M (2002). "Humor, stress, and coping strategies". International Journal of Humor Research. 15 (4): 365–381. doi:10.1515/humr.15.4.365.
- ↑ Kupier, N.A.; Martin, R.A. (1993). "Humor and self-concept". International Journal of Humor Research. 6 (3): 251–270.
- ↑ 43.0 43.1 43.2 Crew Solomon, Jennifer (Jan 1996). "American Behavioral Scientist". Humor and Aging Well: A Laughing Matter or a Matter of Laughing?. 3. 39: 249–271. doi:10.1177/0002764296039003004.
- ↑ Crawford, Shelley A; Caltabiano, Nerina J (2011). "Promoting emotional well-being through the use of humour, The Journal of Positive Psychology: Dedicated to furthering research and promoting good practice". 6 (3): 237–252.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Rowan Atkinson/David Hinton, Funny Business (tv series), Episode 1 - aired 22 November 1992, UK, Tiger Television Productions
- ↑ Draitser, Emil (1994). Techniques of Satire. p. 135.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Eastman, M; Fry, W (2008). Enjoyment of Laughter. p. 156.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Do the Americans get irony?". BBC News. 2004-01-27. สืบค้นเมื่อ 2012-04-02.
อ่านเพิ่ม
แก้- Alexander, Richard (1984), Verbal humor and variation in English: Sociolinguistic notes on a variety of jokes
- Alexander, Richard (1997), Aspects of verbal humour in English
- Basu, S (December 1999), "Dialogic ethics and the virtue of humor", Journal of Political Philosophy, 7 (4): 378–403, doi:10.1111/1467-9760.00082, สืบค้นเมื่อ 2007-07-06 (Abstract)
- Billig, M. (2005). Laughter and ridicule: Towards a social critique of humour. London: Sage. ISBN 1-4129-1143-5
- Bricker, Victoria Reifler (Winter, 1980) The Function of Humor in Zinacantan Journal of Anthropological Research, Vol. 36, No. 4, pp. 411–418
- Buijzen, Moniek; Valkenburg, Patti M. (2004). "Developing a Typology of Humor in Audiovisual Media". Media Psychology. 6 (2): 147–167. doi:10.1207/s1532785xmep0602_2. S2CID 96438940.(Abstract)
- Carrell, Amy (2000), Historical views of humour, University of Central Oklahoma. Retrieved on 2007-07-06.
- García-Barriocanal, Elena; Sicilia, Miguel-Angel; Palomar, David (2005), A Graphical Humor Ontology for Contemporary Cultural Heritage Access (PDF), Madrid: University of Alcalá, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-05-23, สืบค้นเมื่อ 2007-07-06
- Goldstein, Jeffrey H., et al. (1976) "Humour, Laughter, and Comedy: A Bibliography of Empirical and Nonempirical Analyses in the English Language." It's a Funny Thing, Humour. Ed. Antony J. Chapman and Hugh C. Foot. Oxford and New York: Pergamon Press, 1976. 469–504.
- Hurley, Matthew M., Dennett, Daniel C., and Adams, Reginald B. Jr. (2011), Inside Jokes: Using Humor to Reverse-Engineer the Mind. Cambridge, Massachusetts: The MIT Press. ISBN 978-0-262-01582-0
- Holland, Norman. (1982) "Bibliography of Theories of Humor." Laughing; A Psychology of Humor. Ithaca: Cornell UP, 209–223.
- Martin, Rod A. (2007). The Psychology Of Humour: An Integrative Approach. London, UK: Elsevier Academic Press. ISBN 978-0-12-372564-6
- McGhee, Paul E. (1984) "Current American Psychological Research on Humor." Jahrbuche fur Internationale Germanistik 16.2: 37–57.
- Mintz, Lawrence E., ed. (1988) Humor in America: A Research Guide to Genres and Topics. Westport, CT: Greenwood, 1988. ISBN 0-313-24551-7; OCLC 16085479.
- Mobbs, D.; Greicius, M. D.; Abdel-Azim, E.; Menon, V.; Reiss, A. L. (2003). "Humor modulates the mesolimbic reward centres". Neuron. 40 (5): 1041–1048. doi:10.1016/S0896-6273(03)00751-7. PMID 14659102.
{{cite journal}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - Nilsen, Don L. F. (1992) "Satire in American Literature." Humor in American Literature: A Selected Annotated Bibliography. New York: Garland, 1992. 543–48.
- Pogel, Nancy; and Paul P. Somers Jr. (1988) "Literary Humor." Humor in America: A Research Guide to Genres and Topics. Ed. Lawrence E. Mintz. London: Greenwood, 1988. 1–34.
- Roth, G.; Yap, R.; Short, D. (2006). "Examining humour in HRD from theoretical and practical perspectives". Human Resource Development International. 9 (1): 121–127. doi:10.1080/13678860600563424. S2CID 143854518.
- Smuts, Aaron. "Humor". Internet Encyclopedia of Philosophy
- Wogan, Peter (Spring 2006). "Laughing At First Contact". Visual Anthropology Review (ตีพิมพ์ 12 December 2006). 22 (1): 14–34. doi:10.1525/var.2006.22.1.14. (Abstract)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นิยามแบบพจนานุกรมของ ความตลกขบขัน ที่วิกิพจนานุกรม
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Humor
- Humor ที่เว็บไซต์ Curlie
- International Society for Humor Studies