ใน สรีรวิทยาและจิตวิทยา สภาวะตื่นตัว หรือ ความตื่นตัว (อังกฤษ: arousal) เป็นสภาวะของการตื่นตัวหรือการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น จะมีความตื่นตัวได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานในระบบ reticular activating system (ตัวย่อ RAS)[1]ในก้านสมอง ในระบบระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) และในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและความดันเลือด และสภาวะความตื่นตัวทางความรู้สึก ทางการเคลื่อนไหว และทางความพร้อมเพรียงในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น

มีระบบประสาทหลายระบบที่เกี่ยวข้องกัน ที่เรียกรวมๆ กันว่า ระบบความตื่นตัวนี้ ระบบสำคัญ 4 ระบบในก้านสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับเปลือกสมองทั้งหมด มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับสารสื่อประสาทรวมทั้งอะเซทิลโคลิน (acetylcholine) นอเรพิเนฟรีน (norepinephrine) โดพามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin) เมื่อระบบสำคัญเหล่านี้ทำงานอยู่ เขตประสาทส่วนต่างๆ ที่รับสารสื่อประสาทเหล่านั้น ก็จะเริ่มมีความไวและมีการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามาในเขตประสาท

ความสำคัญ แก้

ความตื่นตัวมีความสำคัญในการควบคุมการรับรู้ ความใส่ใจ และการประมวลข้อมูล มีความสำคัญมากในการกระตุ้นพฤติกรรมบางอย่าง เช่นการเคลื่อนไหว การแสวงหาอาหาร การตอบสนองแบบสู้หรือหนี และกิจกรรมทางเพศ

ความตื่นตัวมีความสำคัญอย่างมากในอารมณ์ด้วย จึงเป็นแนวความคิดที่ได้ถูกนำไปเป็นส่วนของทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่างๆ เช่น ทฤษฎีอารมณ์ของเจมส์-ลานจ์ (James-Lange theory of emotion) ส่วนตามทฤษฎีของฮันส์ ไอเซงค์ ความแตกต่างในระดับความตื่นตัวขั้นพื้นฐานเป็นเหตุให้บุคคลต่างๆ มีบุคคลิกเป็นผู้ใส่ใจภายนอก (extrovert[2]) และผู้ใส่ใจภายใน (introvert[3]) แต่งานวิจัยภายหลังเสนออีกอย่างหนึ่งว่า มีความเป็นไปได้มากกว่า ที่ผู้ใส่ใจภายนอกและผู้ใส่ใจภายในมีระดับการปลุกความตื่นตัวได้ที่ไม่เท่ากัน คือระดับความตื่นตัวพื้นฐานของทั้งสองพวกเท่ากัน แต่มีการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่ไม่เหมือนกัน[4]

กฎของเยอร์คส-ด็อดสัน (Yerkes-Dodson Law) กำหนดว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างความตื่นตัวและสมรรถภาพในการทำงาน คือโดยสำคัญแล้ว อ้างว่า มีระดับความตื่นตัวที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงาน และระดับที่มากหรือน้อยเกินไปสามารถมีผลลบต่อสมรรถภาพการทำงาน เป็นความสัมพันธ์ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสมมุติฐานการใช้ข้อมูลของอีสเตอร์บรุก (Easterbrook Cue-Utilisation hypothesis) อีสเตอร์บรุกแสดงว่า ความเพิ่มขึ้นของการตื่นตัว กลับลดจำนวนข้อมูลจากการรับรู้ ที่สามารถจะนำไปใช้ได้[5]

ในจิตวิทยาบวก (positive psychology) ความตื่นตัวถูกนิยามว่าเป็นการตอบสนองต่อเรื่องท้าทายที่ยากลำบาก สำหรับบุคคลหรือสัตว์ที่มีทักษะพอประมาณ[6]

ความตื่นตัวและบุคคลิกภาพ แก้

การใส่ใจสิ่งภายนอก และการใส่ใจสภาวะจิตภายใน แก้

ทฤษฎีความตื่นตัวของฮันส์ ไอเซงค์พรรณนาถึงวงจรธรรมชาติของสภาวะความตื่นตัวในสมองของผู้ใส่ใจภายใน[3] เปรียบเทียบกับผู้ใส่ใจภายนอก[2] และกำหนดว่า สมองของผู้ใส่ใจภายนอกถูกกระตุ้นน้อยกว่าโดยธรรมชาติ ดังนั้น ผู้มีบุคคลิกอย่างนี้จึงมีความโน้มเอียงไปในการแสวงหาสถานการณ์ และเข้าไปมีส่วนร่วมในพฤติกรรม ที่จะกระตุ้นความตื่นตัว[7]

ดังนั้น ผู้ใส่ใจภายในเป็นผู้มีการกระตุ้นเกินส่วนโดยธรรมชาติ และเพราะเหตุนั้น จึงหลีกเลี่ยงการกระตุ้นความตื่นตัวที่รุนแรง เปรียบเทียบกับผู้ใส่ใจภายนอกผู้มีการกระตุ้นน้อยไปโดยธรรมชาติ และเพราะเหตุนั้น จึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ปลุกความตื่นตัว แคมป์เบลล์และฮอลีย์ (ค.ศ. 1982) ศึกษาความแตกต่างระหว่างการตอบสนองของผู้ใส่ใจภายในและผู้ใส่ใจภายนอก ในเขตที่ทำงานในห้องสมุด[7] งานวิจัยนั้นพบว่า ผู้ใส่ใจภายในมักเลือกเขตที่สงบที่มีเสียงและมีคนน้อยหรือไม่มี ผู้ใส่ใจภายนอกมักเลือกเขตที่มีกิจกรรมกำลังเป็นไปอยู่ ที่มีเสียงและมีคนมากกว่า[7]

งานวิจัยของดาอูสซิสส์และแม็คเคลวี (ค.ศ. 1986) แสดงว่าผู้ใส่ใจภายใน ทำงานที่เกี่ยวข้องกับความจำแย่กว่าเมื่อมีเพลงเปิดเทียบกับที่ไม่มี ส่วนผู้ใส่ใจภายนอกได้รับอิทธิพลน้อยกว่าจากการเปิดเพลง[7] และโดยคล้ายๆ กัน เบลอเจวิค สเล็ปเซวิค และโจคอฟล์เจวิค (ค.ศ. 2001) พบว่า ผู้ใส่ใจภายในมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิและความเหนื่อยล้ามากกว่าในการประมวลผลทางใจ เมื่อทำงานในที่มีเสียงหรือมีสิ่งรบกวนอย่างอื่น[7] ระดับของตัวกระตุ้นต่างๆ ที่มีอยู่รอบๆ มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อสมรรถภาพการทำงานและต่อพฤติกรรม โดยผู้ใส่ใจภายในจะรับอิทธิพลมากกว่าเพราะถูกกระตุ้นมากกว่าโดยธรรมชาติ และผู้ใส่ใจภายนอกจะรับอิทธิพลน้อยกว่าเพราะถูกกระตุ้นน้อยกว่าโดยธรรมชาติ

เสถียรภาพของอารมณ์และการใส่ใจภายในภายนอก แก้

Neuroticism[8] หรือ อเสถียรภาพทางอารมณ์ และการใส่ใจภายนอก เป็นองค์สองอย่างในลักษณะของบุคคลิกภาพใหญ่ห้าอย่าง องค์ประกอบสองอย่างของบุคคลิกภาพนี้กำหนดพฤติกรรมและการตอบสนองของบุคคล ต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกในสิ่งแวดล้อม ทั้งที่มีความสำคัญและไม่มีความสำคัญ

ผู้มีอเสถียรภาพทางอารมณ์ย่อมประสบการปลุกความตื่นตัวแบบตึงเครียด มีลักษณะคือความตึงเครียดและความกังวลใจ ส่วนผู้ใส่ใจภายนอก[2]ย่อมประสบการปลุกความตื่นตัวที่ให้พลัง มีลักษณะคือความกระฉับกระเฉงและมีพลัง[9]

ส่วนเกรย์ (ค.ศ. 1981) ยืนยันว่า ผู้ใส่ใจภายนอกมีความใส่ใจต่อผลดีมากกว่าผลเสีย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใส่ใจภายใน ความหวังในผลดีเป็นการเพิ่มพลังให้[9] ดังนั้น ผู้ใส่ใจภายนอกปกติมีความตื่นตัวที่มีพลังสูงกว่า เพราะเหตุที่มีความใส่ใจผลบวกที่มากกว่า

ความตื่นตัวและความจำ แก้

ความตื่นตัวมีส่วนเกี่ยวข้องในการตรวจจับ การรักษาไว้ และการค้นคืนข้อมูลที่อยู่ในระบบความทรงจำ ข้อมูลที่ประกอบด้วยอารมณ์ที่ปลุกความตื่นตัว ย่อมนำไปสู่การเข้ารหัส[10]ข้อมูลความจำที่ดีกว่า และดังนั้น จึงมีอิทธิพลต่อการรักษาข้อมูลไว้และการค้นคืนข้อมูลจากระบบความจำนั้นได้ดีกว่า ความตื่นตัวในระบบความจำมีส่วนคล้ายกับการใส่ใจแบบเลือก (selective attention[11]) ในขั้นการเข้ารหัส เพราะว่า มนุษย์มักจะเข้ารหัสข้อมูลที่ทำให้ตื่นตัว มากกว่าข้อมูลที่ประกอบกับอารมณ์เฉยๆ[12] การเลือกสรรตัวกระตุ้นที่ปลุกความตื่นตัวในการเข้ารหัส ก่อให้เกิดความทรงจำระยะยาวที่ดีกว่าการเข้ารหัสตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอารมณ์เฉยๆ [13] กล่าวโดยอีกนัยหนึ่งก็คือ กระบวนการรักษาและการสั่งสมข้อมูลความทรงจำ มีความเข้มแข็งขึ้นเมื่อประกอบกับข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่ปลุกความตื่นตัว แม้การค้นคืนข้อมูลหรือการจำได้ก็ชัดเจนและแม่นยำกว่าด้วย[14]

ถึงแม้ว่าความตื่นตัวจะช่วยกระบวนการทรงจำในกรณีโดยมาก แต่ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องระวัง ในการเรียนรู้ ความตื่นตัวสัมพันธ์กับการระลึกได้และการค้นคืนข้อมูลในระยะยาวดีกว่าในระยะสั้น ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยหนึ่งพบว่า สำหรับคำที่ก่อให้เกิดความตื่นตัว มนุษย์สามารถจำคำนั้นได้ถ้าระลึกถึงอาทิตย์หนึ่งหลังจากเรียนคำนั้น ดีกว่าถ้าระลึกถึงสองนาทีหลังจากเรียน [15] ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งพบว่า ความตื่นตัวมีอิทธิพลที่ต่างกันต่อความทรงจำในบุคคลต่างๆ กัน ฮันส์ ไอเซงค์ พบความสัมพันธ์ระหว่างความทรงจำและความตื่นตัวที่ต่างกัน ของผู้ใส่ใจภายในและผู้ใส่ใจภายนอก ความตื่นตัวที่สูงกว่าเพิ่มจำนวนคำที่จำได้ในผู้ใส่ใจภายนอก และลดจำนวนคำที่จำได้ในผู้ใส่ใจภายใน[15]

ความตื่นตัวและความชอบใจ แก้

เมื่อประสบกับตัวกระตุ้น ความตื่นตัวในบุคคลหนึ่งอาจจะบ่งบอกถึงความชอบใจในบุคคลนั้น งานวิจัยหนึ่งพบว่า บุคคลมักจะชอบใจตัวกระตุ้นที่คุ้นเคยมากกว่าที่ไม่คุ้นเคย ผลงานนี้บอกเป็นนัยว่า การประสบกับตัวกระตุ้นที่ไม่คุ้นเคยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการหลีกเลี่ยง คือ ตัวกระตุ้นที่ไม่คุ้นเคยอาจจะนำไปสู่ความตื่นตัวที่สูงขึ้นและพฤติกรรมหลีกเลี่ยงในระดับที่สูงขึ้น[16]

มีงานวิจัยที่แสดงผลตรงกันข้ามว่า ความตื่นตัวที่สูงขึ้นสามารถเพิ่มพฤติกรรมการเผชิญหน้าเช่นกัน มนุษย์ทำการตัดสินใจที่เป็นไปตามสภาวะอารมณ์ คือจะเลือกทางที่นำไปสู่อารมณ์ที่ชอบใจกว่า[17]

เมื่อบุคคลมีความตื่นตัว บุคคลนั้นอาจจะพิจารณาว่า มีเหตุการณ์ต่างๆ ในวงกว้างกว่าที่น่าสนใจ[18] และพิจารณาการตัดสินใจว่าชัดเจนกว่า ซึ่งมีอิทธิพลโดยเฉพาะในสภาวะขัดแยังกันของการเผชิญหน้าและการหลีกเลี่ยง (approach-avoidance conflict[19])[17] สภาวะที่ตื่นตัวอาจจะทำให้บุคคลนั้นพิจารณาการตัดสินใจอย่างหนึ่งในทางบวกมากกว่าสภาวะที่ตื่นตัวน้อยกว่า

ทฤษฎีพลิกกลับ (reversal theory[20]) อธิบายความชอบใจในความตื่นตัวระดับสูงและระดับต่ำในสถานการณ์ต่างๆ กัน ความตื่นตัวระดับสูงและระดับต่ำอาจจะก่อให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจก็ได้ ขึ้นอยู่กับอารมณ์และเป้าหมายของบุคคลนั้นในเวลานั้นๆ [21]

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความตื่นตัว แก้

ความตื่นตัวมีความสัมพันธ์กับทั้งความวิตกกังวลและความซึมเศร้า

ความซึมเศร้าอาจจะมีอิทธิพลต่อระดับความตื่นตัวของบุคคลหนึ่งๆ โดยเข้าไปรบกวนการทำงานของสมองซีกขวา งานวิจัยแสดงว่า ความตื่นตัวของลานสายตาด้านซ้ายในหญิงปรากฏว่ามีความช้าลง (คือตอบสนองต่อตัวกระตุ้นได้ช้าลง) เนื่องจากความซึมเศร้า ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลของสมองซีกขวา[22]

ความตื่นตัวและความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันจากความสัมพันธ์ของการตื่นตัวและความซึมเศร้า ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลมักจะมีความรู้สึกตื่นตัวที่ผิดปกติและเกินกว่าเป็นจริง เมื่อมีภาวะเช่นนั้น ความรู้สึกตื่นตัวที่บิดเบียนไปก็จะก่อให้เกิดความกลัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองที่บิดเบียนไป ยกตัวอย่างเช่น บุคคลนั้นอาจจะเชื่อว่าเขาจะป่วยเพราะตื่นเต้นมากในการทำข้อสอบ การกลัวความปลุกเร้าของความตื่นเต้นและความรู้สึกที่มีต่อความปลุกเร้านั้น ก็จะเพิ่มระดับความวิตกกังวลของบุคคลนั้น[23]

ความตื่นตัวของพฤติกรรมที่เพิ่มขึ้นแบบผิดปกติ แก้

ความตื่นตัวของพฤติกรรมที่เพิ่มขึ้นแบบผิดปกติเป็นสภาวะที่มีเหตุมาจากการเลิกสุราหรือบาบิทเชอริท[24] โรคสมองอักเสบเฉียบพลัน การบาดเจ็บในสมองถึงภาวะโคม่า การชักแบบเฉพาะที่ในโรคลมชัก ความผิดปกติของเมแทบอลิซึมที่เกิดจากความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ โรคอัลไซเมอร์ โรคพิษสุนัขบ้า รอยโรคในสมองของโรคหลอดเลือดสมองและโรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส[25]

โดยกายวิภาค นี่เป็นความผิดปกติของระบบลิมบิก ไฮโปทาลามัส สมองกลีบขมับ อะมิกดะลา และ สมองกลีบหน้า[25] ไม่พึงสับสนความตื่นตัวที่ผิดปกติกับสภาวะฟุ้งซ่าน (mania[26])

หมายเหตุและอ้างอิง แก้

  1. reticular activating system (RAS) หรือ extrathalamic contr (คณิตศาสตร์)|เซต]]ของนิวเคลียสเซลล์ประสาทที่เชื่อมต่อกันในสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ควบคุมความตื่นตัว และการตื่นหลับ (sleep-wake transitions) ระบบย่อยที่สำคัญที่สุดของ
  2. 2.0 2.1 2.2 การใส่ใจภายนอก (Extraversion) เป็นการกระทำ สภาวะ หรือนิสัย ที่ส่วนมากใส่ใจ และแสวงหาความพอใจ จากสิ่งที่อยู่ภายนอกจากตน
  3. 3.0 3.1 การใส่ใจภายใน หรือ การใส่ใจสภาวะจิตภายใน (introversion) เป็นสภาวะของ หรือความโน้มเอียงไปใน การใส่ใจและความสนใจในสภาวะจิตใจของตน จะเป็นโดยส่วนมากหรือโดยทั้งหมดก็ตาม
  4. Randy J. Larsen, David M Buss; "Personality psychology, domains of knowledge about human nature", McGraw Hill, 2008
  5. Easterbrooke, J.A. (1959). The effect of emotion on cue utilization and the organization of behavior. Psychological Review, 66, 187-201
  6. Csikszentmihalyi, M., Finding Flow, 1997
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Lashley, K (January 1930). "Basic Neural Mechanisms in Behavior". The Psychological Review. 37 (1): 1–24.
  8. Neuroticism เป็นบุคคลิกภาพพื้นฐานในจิตวิทยา มีอาการปรากฏคือความไม่สบายใจ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ความกังวลใจ และความริษยา ผู้ที่ได้คะแนนสูงในภาค Neuroticism มักจะประสบความรู้สึกต่างๆ เช่น ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความรู้สึกผิด และความซึมเศร้า มากกว่าคนอื่น เป็นผู้ที่ตอบสนองต่อความกดดันรอบข้างแย่กว่าคนอื่น และมักจะคิดถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่ปกติธรรมดาว่า เป็นภัย และอุปสรรคเล็กน้อยว่า ยากสุดที่จะหวัง มักจะสนใจในตัวเองมากและขี้อาย และอาจจะมีความยากลำบากในการควบคุมความต้องการระยะสั้น เพื่อจะได้ผลที่ดีกว่าในระยะยาว Neuroticism เป็นความเสี่ยงที่จะให้เกิดความผิดปกติทางจิตที่เกิดขึ้นจากการคิดมากเกินไป เช่น ความกลัวโน่นกลัวนี่ ความซึมเศร้า ความตกใจกลัวรุนแรงและบ่อยๆ และความผิดปกติเกี่ยวกับความวิตกกังวลแบบอื่นๆ
  9. 9.0 9.1 Zajenkowski, Marcin; Winiewski, Gorynska (5 January 2012). "Variability of the relationship between personality and mood". Elsevier. Personality and Individual Differences. 52: 858–861. สืบค้นเมื่อ 12 November 2012.
  10. การเข้ารหัสโดยรวมๆ ก็คือ การแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบหนึ่ง ไปเป็นข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เข้ารหัสเสียงดนตรีไปเป็นหลุมเล็กๆบนซีดีที่ใช้เล่นเพลงนั้นได้
  11. การใส่ใจแบบเลือก (selective attention) คือความสามารถในการใส่ใจในตัวกระตุ้นอย่างหนึ่งในขณะที่ไม่ใส่ใจตัวกระตุ้นหลายอย่างอื่น เหมือนคนคุยกันในที่เสียงดังสามารถใส่ใจในบทความที่สนทนากันได้
  12. Sharot, T; E., Phelps (2004). "How arousal modulates memory: Disentangling the effects of attention and retention". Cognitive, Affective, & Behavioral Neuroscience. 4 (3): 294–306.
  13. Mickley Steinmetz, K; Schmidt, K., Zucker, H., & Kensinger, E. (2012). "The effect of emotional arousal and retention delay on subsequent-memory effects". Cognitive Neuroscience. 3 (4): 150–159.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. Jeong, E; Biocca, F. (2012). "Corrigendum to "Are there optimal levels of arousal to memory? effects of arousal, centrality, and familiarity on brand memory in video games"". Computers in Human Behavior. 28 (4): 285–291.
  15. 15.0 15.1 Revelle, W. "The implications of arousal effects for the study of affect and memory". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-12. สืบค้นเมื่อ 2013-08-20.
  16. Ramsoy, T; Friis-Olivarius, M., Jacobsen, C., & Jensen, S. (2012). "Effects of perceptual uncertainty on arousal and preference across different visual domains". Journal of Neuroscience, Psychology, and Economics. 5 (4): 212–226.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 Suri, G; Sheppes, G., & Gross, J. (2012). "Predicting affective choice". Journal of Experimental Psychology: General.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Ariely, D; Loewenstein, G. (2006). "The heat of the moment: The effect of sexual arousal on sexual decision making". Journal of Behavioral Decision Making. 19 (2): 87–98.
  19. สภาวะขัดแยังกันของการเผชิญหน้าและการหลีกเลี่ยง (approach-avoidance conflict) เกิดขึ้นเมื่อมีเป้าหมายหรือเหตุการณ์ที่มีทั้งผลบวกและผลลบ หรือมีลักษณะที่ทำให้เป้าหมายนั้นน่าพึงใจและไม่น่าพึงใจในเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น การแต่งงานเป็นการตัดสินใจ เป็นเป้าหมาย เป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่มีทั้งผลลบและผลบวก สภาวะนี้เป็นองค์ประกอบของความเครียดที่ถูกเสนอโดยนักจิตวิทยาเคอร์ต เลวิน ผู้เป็นบิดาของจิตวิทยาสมัยปัจจุบัน
  20. ในจิตวิทยา ทฤษฎีพลิกกลับ (reversal theory) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับบุคคลิกภาพ แรงจูงใจ และอารมณ์ ของมนุษย์ ทฤษฎีพิจารณาคุณสมบัติที่ไม่อยู่นิ่งๆ ของประสบการณ์ของมนุษย์ เพื่อจะพรรณนากระบวนการที่บุคคลหนึ่งๆ กลับไปกลับมาระหว่างสภาวะของจิตใจ ซึ่งสะท้อนถึงรูปแบบการจูงใจของบุคคลนั้น และความหมายที่บุคคลนั้นให้กับสถานการณ์นั้นในเวลานั้นๆ ตัวอย่างเช่น คนที่เล่นรถไฟตีลังกาบางครั้งก็ตื่นเต้น บางครั้งก็กลัว เด็กทารกที่ร้องไห้บางครั้งก็ก่อให้เกิดความสงสาร บางครั้งก็ก่อให้เกิดความรำคาญ
  21. Walters, J.; Apter, M., & Svebak, S. (1982). "Color preference, arousal, and the theory of psychological reversals". Motivation and Emotion. 6 (13): 193–215.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Liotti, M.; Tucker, D. (1992). "Right hemisphere sensitivity to arousal and depression". Brain and Cognition. 18 (2): 138–151.
  23. Thibodeau, M.; G?mez-P?rez, L., & Asmundson, G. (2012). "Objective and perceived arousal during performance of tasks with elements of social threat: The influence of anxiety sensitivity". Journal of Behavior Therapy and Experimental Psychiatry. 43 (3): 967–974.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. บาบิทเชอริท (barbiturate) เป็นยาที่กดระบบประสาทกลาง ดังนั้นจึงก่อให้เกิดผลต่างๆ มากมายหลายระดับ เริ่มตั้งแต่การระงับประสาทอย่างอ่อนๆ จนไปถึงการไม่รู้สึกตัว เป็นยาที่เกิดการติดได้ทั้งทางกายและทางใจ ปัจจุบันยังมีการใช้เป็นยาชา เพื่อโรคลมชัก และเพื่อเหตุอื่นๆ เป็นยาที่มีกำเนิดจากกรดบาบิชูริค
  25. 25.0 25.1 Mirr, Michelne Pheifer. "Abnormally Increased Behavioral Arousal" Cris Stewart- Amidei and Joyce A. Kunkel. Neuroscience Nursing: Human Response to Neurologic Dysfunction. W. B. Sunders Philadelphia: PA, 2001
  26. สภาวะฟุ้งซ่าน (mania) เป็นสภาวะที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย มีความตื่นตัวสูง และมีระดับพลังสูง เป็นสภาวะตรงข้ามกับสภาวะซึมเศร้าโดยบางส่วน