อาดิดาส

(เปลี่ยนทางจาก Adidas)

อาดิดาส (เยอรมัน: Adidas, ออกเสียง: [ˈʔadiˌdas]; เขียนในรูปแบบ ɑdidɑs ตั้งแต่ ค.ศ. 1949[3]) เป็นบริษัทข้ามชาติเยอรมัน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในแฮร์ทโซเกินเอารัค เยอรมนี เป็นผู้ออกแบบและผลิตรองเท้า, เสื้อผ้าและเครื่องประดับ อาดิดาสเป็นผู้ผลิตชุดกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและเป็นอันดับที่สองในโลก รองจากไนกี้[4][5] อาดิดาสเป็นบริษัทผู้ถือหุ้นของกลุ่มอาดิดาส ซึ่งประกอบด้วย บริษัทผลิตชุดกีฬา รีบอค, ร้อยละ 8.33 ของสโมสรฟุตบอลเยอรมัน ไบเอิร์นมิวนิก และ รันแทสติก บริษัทเทคโนโลยีการออกกำลังกายสัญชาติออสเตรีย รายรับของอาดิดาสในปี ค.ศ. 2018 อยู่ที่ 21.915 พันล้านยูโร[2]

อาดิดาส
ชื่อเดิมดาสลาร์บราเทอร์สชูแฟกทอรี
(กาบรูเดอร์ดาสลาร์ชูฟาบริก) (1924–1949)
ประเภทบริษัทร่วมทุน
การซื้อขาย
FWB: ADS
แดกซ์คอมโพเนนต์
อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย, เครื่องประดับ
ก่อนหน้าDassler Brothers Shoe Factory Edit this on Wikidata
ก่อตั้งกรกฎาคม ค.ศ. 1924; 100 ปีก่อน
(ในชื่อ กาบรูเดอร์ดาสลาร์ชูฟาบริก)
18 สิงหาคม 1949; 75 ปีก่อน (1949-08-18)
(ในชื่อ อาดิดาส)[1]
ผู้ก่อตั้งอดอล์ฟ ดาสลาร์
สำนักงานใหญ่แฮร์ทโซเกินเอารัค เยอรมนี
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์รองเท้า, ชุดกีฬา, อุปกรณ์กีฬา, อุปกรณ์อาบน้ำ
รายได้เพิ่มขึ้น 2.1915 หมื่นล้านยูโร (2018)[2]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 2.368 พันล้านยูโร (2018)[2]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 1.702 พันล้านยูโร (2018)[2]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 1.5612 หมื่นล้านยูโร (2018)[2]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 6.364 พันล้านยูโร (2018)[2]
พนักงาน
57,016 (2018)[2]
บริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.adidas-group.com

บริษัทเริ่มต้นโดยอดอล์ฟ ดาสลาร์ ในบ้านแม่ของเขา ในปี ค.ศ. 1924 ต่อมาพี่ชายของเขา รูดอล์ฟ เข้าร่วมและก่อตั้งโรงงานในชื่อ ดาสลาร์บราเทอร์สชูแฟกทอรี ดาสลาร์ช่วยพัฒนารองเท้าวิ่งที่มีหนามแหลม สำหรับการแข่งขันกีฬาหลายประเภท ต่อมา เขาเปลี่ยนจากรองเท้าหนามโลหะหนักในรุ่นก่อน ๆ มาใช้ผ้าใบและยาง เพื่อเพิ่มคุณภาพของรองเท้ากีฬาที่มีหนามแหลม ดาสลาร์โน้มน้าวให้นักวิ่งชาวสหรัฐ เจสซี โอเวนส์ ใช้รองเท้าวิ่งที่มีหนามแหลมที่ทำด้วยมือของเขาใน โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 ต่อมา หลังจากความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องพังทลายลงในปี ค.ศ. 1949 อดอล์ฟก่อตั้งอาดิดาส และรูดอล์ฟก่อตั้ง พูมา ซึ่งกลายเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของอาดิดาส[1]

ประวัติ

แก้

Adolf หรือ Adi Dassler เริ่มผลิตรองเท้ากีฬาของเขาเองหลังจากกลับมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และพี่ของเขา Rudolf (Rudi) Dassler ร่วมทำธุรกิจในนาม Dassler Schuhfabrik (Dassler Brothers Shoe Factory) ซึ่งสามารถขายรองเท้าได้ 200,000 คู่ ต่อปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

แต่แล้วพี่น้องทั้งคู่ได้แยกจากกันในปี ค.ศ. 1948 โดย Rudolf ก็หันไปสร้างแบรนด์ Puma ส่วน Adolf ทำแบรนด์ Adidas แต่เมื่อ Adolf เสียชีวิต ธุรกิจตกอยู่ในมือของลูกชายซึ่งย่ำแย่ลง Bernard Tapie ก็ซื้อกิจการไป แต่เมื่อ Tapie ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยจากการกู้เงินมาซื้อ อาดิดาส จึงคืนให้กับธนาคารเครดิตลีอองส์ ธนาคารแปลงหนี้เป็นหุ้น แล้วขายหุ้นให้กับ Robert Louis- Dreyfus เมื่อปี ค.ศ. 1993 ในราคา 4.485 พันล้านฟรังก์ ซึ่งสูงกว่าหนี้ที่ Tapie กู้จากแบงค์มา 2.85 พันล้านฟรังก์ Tapie จึงฟ้องธนาคารในเวลาต่อมา

ในปี ค.ศ. 1997 อาดิดาส เริ่มขยายกิจการ โดยการรวมบริษัท โซโลมอน กรุ๊ป ซึ่งเชี่ยวชาญในการผลิตชุดสกี และเปลี่ยนชื่อเป็น อาดิดาส โซโลมอน เอจี ต่อมารวมกิจการกับ Taylermade Golf Group และ Maxfli เพื่อแข่งขันทางการค้ากับ ไนกี้ กอล์ฟ

อาดิดาสขายหุ้น โซโลมอน แล้วประกาศซื้อ รีบอค คู่แข่งจากอังกฤษ ในราคา 3.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งการเจรจาเสร็จสิ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 ส่งผลให้ อาดิดาส มียอดขายใกล้เคียงกับ ไนกี้

นอกจากนี้แล้ว อาดิดาสยังเป็นผู้ผลิตลูกฟุตบอลให้กับการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทุกนัดด้วย โดยเริ่มตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1970 ที่เม็กซิโกเป็นเจ้าภาพ จากเดิมที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศของเจ้าภาพ[6]

สัญลักษณ์

แก้

สัญลักษณ์ของอาดิดาสที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นรูปแถบ 3 แถบ ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าว อาดิดาสก็ไม่ได้ออกแบบเอง แต่ไปขอซื้อมาจากบริษัทผลิตอุปกรณ์กีฬาสัญชาติฟินแลนด์ชื่อ คารฮู สปอร์ทส

เป็นคนออกแบบ (Karhu Sports)[7][8]

สปอนเซอร์ว่าจ้าง

แก้

ทีมฟุตบอล

แก้

นักกีฬา

แก้

อดีตนักฟุตบอลเด่น

แก้

อื่น ๆ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Adidas Group History". adidas-group.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "Adidas Annual Report 2018" (PDF). adidas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-24. สืบค้นเมื่อ 25 June 2019.
  3. "The History of Adidas | On This Day In Fashion". onthisdayinfashion.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  4. "Adidas, Deutsche Telekom, Infineon: German Equity Preview". Bloomberg L.P. 16 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2012. สืบค้นเมื่อ 31 May 2016.
  5. "Ranking of the largest sporting goods manufacturers worldwide in 2009, based on revenue". statista.com.
  6. "นักเตะระดับโลก". แฟนพันธุ์แท้ 2014. 6 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-04. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  7. Smit, Barbara (2007). Pitch Invasion, Adidas, Puma and the making of modern sport. Penguin. p. 44. ISBN 0141023686.
  8. Simon Chadwick, Dave Arthur (2007). International cases in the business of sport. Butterworth-Heinemann. p. 438. ISBN 0750685433.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 "ใส่ก่อนเท่ก่อน!! รวมเสื้อแข่ง "เวิลด์ คัพ 2014"". ผู้จัดการออนไลน์. 4 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-07. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
  10. 10.0 10.1 10.2 "งามหยด !! รวมมิตรเสื้อบอล รับศึกบอลโลก 2014". ทรูไลฟ์. 15 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-09. สืบค้นเมื่อ 14 March 2014.
  11. "Euro 2016 Kits Overview - All UEFA EURO 2016 Jerseys: Updated 18/03/16". footyheadlines. 19 March 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
  12. "CHELSEA FC ADIDAS RANGES". chelseamegastore.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-31. สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
  13. "ภาพหลุดครบเซ็ต!! เสื้อใหม่ "เชลซี" ปีหน้า ภายใต้คราบ "ไนกี้"". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-03-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-11. สืบค้นเมื่อ 2017-03-09.
  14. "ว้าว! แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด บอกลาไนกี้ เซ็น10ปีทุบสถิติโลกกับ อาดิดาส". สนุกดอตคอม. 10 July 2014. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  15. "2015-2016 Adidas Southampton New Home Jersey". soccer-blogger.com. 19 May 2015. สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
  16. "Mesut Ozil switches to the Three Stripes!". Footballboots.co.uk. 12 July 2013. สืบค้นเมื่อ 1 August 2013.
  17. 17.0 17.1 17.2 "ล้ำขนาด!! เปิดตัวสตั๊ด "อาดิดาส" ดิ่งจากเฮลิคอปเตอร์ (คลิป)". ผู้จัดการออนไลน์. 2 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-18. สืบค้นเมื่อ 2 June 2016.
  18. 18.0 18.1 หน้า 19 สังคม/มวย/ฟุตบอลต่างประเทศ, เจ้าตัวโก่งค่าเหนื่อยบาร์ซา. "ผีรับเป็นรองแมนซซิตีลุ้นคว้า'เมสซี'". คมชัดลึกปีที่ 16 ฉบับที่ 5508
  19. "MGR SPORT CHANNEL "มิก้า ชูนวลศรี" รีวิว!! เปิดหมดเปลือกเทใจให้ "Adidas X" สตั๊ดสายพันธุ์ใหม่ (คลิป)". ผู้จัดการออนไลน์. 17 July 2015. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.[ลิงก์เสีย]
  20. 20.0 20.1 "Adidas enters ring for Britain's teen boxing sensation". เดอะการ์เดียน. 3 September 2004. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
  21. ""มู" จ่อเซ็นคุมผี 3 ปี รอเคลียร์ลิขสิทธิ์ภาพลักษณ์". ผู้จัดการออนไลน์. 25 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-28. สืบค้นเมื่อ 2 June 2016.
  22. ""แพนเค้ก" โกอินเตอร์ โชว์ความสตรองกับนางแบบระดับโลก "คาร์ลี่ คลอส"". มติชน. 2017-02-01. สืบค้นเมื่อ 2017-02-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้