ดาวหัวใจสิงห์

(เปลี่ยนทางจาก เรกูลัส)

ดาวหัวใจสิงห์ (อังกฤษ: Regulus ชื่ออื่น: α Leo / α Leonis / Alpha Leonis) เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวสิงห์และเป็นหนึ่งในดาวที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า ดาวหัวใจสิงห์เป็นระบบดาวที่ประกอบด้วยดาวสี่ดวงแบ่งเป็นสองคู่ ดาวหัวใจสิงห์เอเป็นระบบดาวคู่สเปกโทรสโคปี ประกอบด้วยดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักสีน้ำเงิน-ขาว และคู่ของมันที่ไม่เคยถูกสังเกตโดยตรง แต่คาดว่าเป็นดาวแคระขาว ดาวหัวใจสิงห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 79 ปีแสง

ดาวหัวใจสิงห์


ตำแหน่งของดาวหัวใจสิงห์ (ที่วงกลมไว้)
Observation data
ต้นยุคอ้างอิง J2000      วิษุวัต J2000
กลุ่มดาว กลุ่มดาวสิงห์
ดาวหัวใจสิงห์เอ
ไรต์แอสเซนชัน 10h 08m 22.311s[1]
เดคลิเนชัน +11° 58′ 01.95″[1]
โชติมาตรปรากฏ (V) 1.40[2]
ดาวหัวใจสิงห์บีซี
ไรต์แอสเซนชัน 10h 08m 12.8/14s[3]
เดคลิเนชัน +11° 59′ 48″[3]
โชติมาตรปรากฏ (V) 8.13[4]/13.50[4]
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมB8 IVn[2]
ดัชนีสี U-B–0.36[5]
ดัชนีสี B-V–0.11[5]
ชนิดดาวแปรแสงต้องสงสัย[6]
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)4.39±0.09[7] km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: −248.73±0.35[1] mas/yr
Dec.: 5.59±0.21[1] mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)41.13 ± 0.35[1] mas
ระยะทาง79.3 ± 0.7 ly
(24.3 ± 0.2 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)–0.57[8]
วงโคจร[7]
ดาวหลักα Leo Aa (HD 87901 A)
ดาวสมาชิกα Leo Ab (HD 87901 B)
คาบการโคจร (P)40.102±0.002 d
ค่ากึ่งแกนเอก (a)6.00±0.17 R projected
ความเยื้องศูนย์กลาง (e)0 (คาดการณ์)
Semi-Amplitude (K1)
(primary)
7.58±0.12 km/s
รายละเอียด
α Leo A
มวล3.8[9] M
รัศมี4.35±0.1[10] R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)3.54±0.09[11]
กำลังส่องสว่าง316.2±16.7[10] L
อุณหภูมิ11,668±195[10] K
การหมุนตัว15.9 ชั่วโมง[12]
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i)318±8[13] km/s
α Leo B
มวล0.8[14] M
รัศมี0.83[15] R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)4.4[14]
กำลังส่องสว่าง0.50[14] L
อุณหภูมิ4,885[14] K
α Leo C
มวล0.3[4] M
รัศมี0.37[15] R
อุณหภูมิ3,242[15] K
ชื่ออื่น
α Leonis, 32 Leonis, GJ 9316, HR 3982, ADS 7654, WDS J10084+1158
α Leo A: BD+12°2149, FK5 380, HD 87901, HIP 49669, SAO 98967, LTT 12716
α Leo B/C: BD+12°2147, HD 87884, SAO 98966, LTT 12714
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADRegulus
BC

ตั้งอยู่ห่างจาก HD 87884 176 ดาวหัวใจสิงห์กับดาวฤกษ์ที่หรี่กว่าอีกห้าดวง (ซีตาสิงห์, มิวสิงห์, แกมมาสิงห์, เอปไซลอนสิงห์ และอีตาสิงห์) มีชื่อเรียกรวมกันว่า "เคียว" พวกมันเป็นดาวเรียงเด่นที่ประกอบกันเป็นหัวของกลุ่มดาวสิงห์

ระบบการตั้งชื่อ

แก้

α Leonis (ละติน: Alpha Leonis) เป็นชื่อแบบไบเออร์ ชื่อดั้งเดิม Rēgulus เป็นภาษาละตินแปลว่า "เจ้าชาย" หรือ "กษัตริย์องค์น้อย" ในปี ค.ศ. 2016 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้จัดตั้งคณะทำงานว่าด้วยชื่อดาว (WGSN)[16] เพื่อจัดทำรายชื่อดาวฤกษ์ที่เป็นมาตรฐาน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 ดาวหัวใจสิงห์มีชื่อรวมอยู่ในรายชื่อสองชุดแรกที่ได้รับการอนุมัติโดย WGSN[17] ซึ่งตอนนี้ได้รับการบรรจุอยู่ในรายชื่อดวงดาวของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลเรียบร้อยแล้ว[18]

การสังเกต

แก้
 
ภาพดาวหัวใจสิงห์จากกล้อง Celestron CGEM DX 1100 @ F6.3, Canon T3i, Televue 4X Powermate, ISO 800, เวลารับแสง 30 วินาที

ระบบดาวหัวใจสิงห์โดยรวมถือเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดอันดับที่ 21 บนท้องฟ้าโดยมีความส่องสว่างปรากฏที่ +1.35 แสงส่วนใหญ่มาจากดาวหัวใจสิงห์เอ หากมองแยกกันแล้วดาวหัวใจสิงห์บีจะมีแมกนิจูด +8.1 และดาวหัวใจสิงห์ซีที่หรี่ที่สุดมีแมกนิจูด +13.5 คู่บีซีอยู่ห่างจากดาวหัวใจสิงห์เอ 177 พิลิปดาทำให้สามารถมองเห็นได้แม้จะมองจากกล้องโทรทรรศน์สมัครเล่นก็ตาม[19]

 
ดาวหัวใจสิงห์เมื่อมองผ่านกล้องโทรทัศน์หักเหแสงขนาด 110 มม. ในเวลากลางวัน

ดาวหัวใจสิงห์อยู่ห่างจากเส้นสุริยวิถี 0.465 องศา[20] ใกล้ที่สุดในหมู่ดาวฤกษ์สว่าง บ่อยครั้งที่ดาวหัวใจสิงห์จะถูกดวงจันทร์บัง โดยมักจะเกิดขึ้นทุก 9.3 ปีเนื่องจากการหมุนควงของดวงจันทร์ ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นประมาณ ค.ศ. 2017 โดยมีการบังทุกเดือนตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 ถึงกรกฎาคม ค.ศ. 2017 โดยแต่ละครั้งจะเห็นได้แค่จากบางพื้นที่บนโลก [21] การบังโดยดาวพุธและดาวศุกร์นั้นเกิดขึ้นได้แต่ยาก การบังโดยดาวเคราะห์น้อยก็เช่นเดียวกัน ดาวฤกษ์อีกเจ็ดดวงที่มีชื่อระบบไบเออร์ อยู่ห่างจากเส้นสุริยวิถีน้อยกว่า 0.9° (นับจากระนาบเฉลี่ยของวงโคจรโลกและเส้นทางเฉลี่ยปรากฏของดวงอาทิตย์) ดาวดวงที่สว่างที่สุดรองลงมาคือ δ (เดลต้า) เจมิโนรัม ซึ่งมีแมกนิจูด +3.53 เนื่องจากดาวหัวใจสิงห์อยู่ใกล้กับระนาบวงโคจรเฉลี่ยของเทหวัตถุขนาดใหญ่ในระบบสุริยะ และมีแสงสว่างที่ส่องมาถึงโลกมากกว่าดาวฤกษ์อื่น ๆ ระบบนี้จึงมีประโยชน์ในการใช้ทางกล้องโทรทรรศน์ขั้นสูง อย่างเช่น การศึกษาและระบุวัตถุที่ถูกบังและทอดเงาลงบนกล้องโทรทรรศน์ รวมถึงดาวเคราะห์น้อยทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักในระบบสุริยะ เช่น โทรจัน

ดาวหัวใจสิงห์ถูกดาวเคราะห์บังล่าสุดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1959 โดยดาวศุกร์[22] ครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2044 โดยดาวศุกร์อีกเช่นกัน ในช่วงเวลาไม่กี่สหัสวรรษต่อจากนี้จะไม่มีดาวเคราะห์ดวงอื่นบังดาวหัวใจสิงห์เลยเนื่องมาจากโหนดของวงโคจรของพวกมัน การบังดาวหัวใจสิงห์โดยดาวเคราะห์น้อย 166 โรโดป ได้รับการบันทึกไว้ที่อิตาลีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2005 ทั้งนี้การโค้งงอของแสงที่วัดได้ให้ผลสอดคล้องกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป[23] ดาวหัวใจสิงห์ถูกดาวเคราะห์น้อย 163 เอริโกเน บังในเช้าตรู่ของวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2014[24] ศูนย์กลางของเส้นทางเงาตัดผ่านนิวยอร์กและออนแทรีโอตะวันออกแต่ไม่มีใครมองเห็นมันเนื่องจากมีเมฆปกคลุมพอดี องค์การคาดการณ์เวลาการบังวัตถุท้องฟ้านานาชาติ (International Occultation Timing Association) ไม่มีบันทึกการสังเกตการณ์ของการบังครั้งนี้เลย[25]

ผู้สังเกตการณ์ในซีกโลกเหนือสามารถมองเห็นดาวหัวใจสิงห์ได้ชัดที่สุดในตอนเย็นช่วงปลายฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ แต่ดาวหัวใจสิงห์ก็ปรากฏในช่วงกลางคืนตลอดทั้งปี ยกเว้นประมาณหนึ่งเดือนก่อนหรือหลังวันที่ 22 ถึง 24 สิงหาคม (ขึ้นอยู่กับความสามารถในการส่องสว่างสู้ดวงอาทิตย์ ซึ่งจะดีที่สุดในยามพลบค่ำ) ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้เกินไป[26] มันสามารถมองเห็นได้ตลอดทั้งคืนในช่วงปลายกุมภาพันธ์ ดาวหัวใจสิงห์โคจรผ่าน LASCO C3 ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศโซโฮทุกเดือนสิงหาคม[27]

สำหรับผู้สังเกตการณ์บนโลก การปรากฏก่อนพระอาทิตย์ขึ้น (heliacal rising) ของดาวหัวใจสิงห์จะเกิดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนกันยายน ทุก ๆ 8 ปี ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันดาวศุกร์จะโคจรเข้าใกล้ดาวหัวใจสิงห์เป็นอย่างมาก ดังเช่นเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2022 (ปรากฏการณ์ดาวล้อมเดือนของดาวศุกร์กับดวงอาทิตย์จะเกิดเร็วขึ้นสองวันทุก ๆ รอบ 8 ปี ดังนั้นเมื่อผ่านไประยะหนึ่ง ดาวศุกร์จะต้องโคจรผ่านดาวหัวใจสิงห์ก่อนหน้าการปรากฏก่อนพระอาทิตย์ขึ้นของดาวหัวใจสิงห์อย่างแน่นอน)[ต้องการอ้างอิง]

ระบบดาวฤกษ์

แก้
 
ดาวหัวใจสิงห์เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวสิงห์ (ปลายขวา ด้านล่างคือดาวพฤหัสสว่างในปี ค.ศ. 2004)

ดาวหัวใจสิงห์ประกอบด้วยระบบดาวหลายระบบ มีดาวฤกษ์รวมอย่างน้อยสี่ดวง โดยดาวหัวใจสิงห์เอเป็นดาวที่เด่นที่สุด คู่ของมันที่อาจมีความเกี่ยวข้องกันทางกายภาพอยู่ห่างไป 177 ฟิลิปดา ดาวหัวใจสิงห์ดีมีแมกนิจูด 12 อยู่ไปห่าง 212 ฟิลิปดา[28] แต่เป็นวัตถุพื้นหลังที่ไม่เกี่ยวข้องกัน[29]

ระบบดาวคู่ดาวหัวใจสิงห์เอประกอบด้วยดาวยักษ์เล็กสีน้ำเงินขาวประเภทสเปกตรัม B8 และดาวฤกษ์มวลอย่างน้อย 0.3 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ซึ่งคาดว่าเป็นดาวแคระขาว ดาวทั้งสองใช้เวลาโคจรรอบจุดศูนย์กลางมวลร่วมประมาณ 40 วัน เมื่อพิจารณาจากรูปร่างที่บิดเบี้ยวไปอย่างมากของดาวยักษ์เล็ก การเคลื่อนที่ตามวงโคจรสัมพัทธ์ของมันอาจต่างไปจากวงโคจรเคปเลอร์ เป็นเหตุมาจากการรบกวนวงโคจร (Perturbation) เป็นเวลานาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคาบการโคจรของมัน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือกฎข้อที่สามของเคปเลอร์ที่ใช้กับระบบมวลจุดสองมวลจะไม่ใช้ได้กับระบบดาวหัวใจสิงห์อีกต่อไป แต่เดิมนักดาราศาตร์เชื่อว่าดาวหัวใจสิงห์เอมีอายุเพียง 50 ถึง 100 ล้านปี จากการเปรียบเทียบอุณหภูมิ ความส่องสว่าง และมวลของมัน แต่การมีอยู่ดาวแคระขาวในระบบเป็นหลักฐานว่าดาวหัวใจสิงห์เอต้องมีอายุอย่างน้อย 1 พันล้านปี เพื่อที่จะรองรับการก่อตัวของดาวแคระขาวดังกล่าว การการถ่ายโอนมวลไปยังคู่ที่เล็กกว่าในดาวหัวใจสิงห์เออาจเป็นสาเหตุของความคลาดเคลื่อนนี้ [30]

ดาวหลักของดาวหัวใจสิงห์เอมีมวลประมาณ 3.8 เท่าของดวงอาทิตย์ มันหมุนรอบตัวเร็วมากโดยมีคาบเพียง 15.9 ชั่วโมงเท่านั้น (สำหรับการเปรียบเทียบ ดวงอาทิตย์ใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 25 วัน[31]) ทำให้มันมีรูปร่างเป็นทรงคล้ายทรงกลมแบบแบนขั้ว ส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการหรี่ลงเนื่องจากแรงโน้มถ่วง นั่นคือโฟโตสเฟียร์บริเวณขั้วจะร้อนกว่าและสว่างกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตรถึงห้าเท่าต่อพื้นที่ผิวหนึ่งหน่วย[30] พื้นที่ผิวบริเวณเส้นศูนย์สูตรหมุนด้วยความเร็วประมาณ 320 กิโลเมตรต่อวินาทีหรือ 96.5% ของอัตราเร็วเชิงมุมวิกฤตของการแตกเป็นเสี่ยง และด้วยเหตุนี้เองมันจึงเปล่งแสงโพลาไรซ์ออกมา[13]

ระบบดาวหัวใจสิงห์บีซีอยู่ห่างจากดาวหัวใจสิงห์เอ 5,000 หน่วยดาราศาสตร์[32] เอและคู่บีซีมีการเคลื่อนที่เฉพาะร่วมกันและคาดว่าการโคจรรอบกันและกัน[4] โดยแต่ละรอบใช้เวลาหลายล้านปี คู่ดาวหัวใจสิงห์บีซีมีหมายเลขสารบัญแฟ้มเฮนรี เดรเปอร์ HD 87884 โดยบีมีประเภทสเปกตรัม K2V ในขณะที่ซีมีประเภทสเปกตรัม M4V[12] คู่บีซีมีคาบการโคจรรอบกันและกันประมาณ 600 ปี[4] โดยอยู่ห่างกัน 2.5 ฟิลิปดาในค.ศ. 1942[12]

ที่มาของชื่อและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง

แก้

Rēgulus เป็นคำภาษาละตินแปลว่า "เจ้าชาย" หรือ "กษัตริย์องค์น้อย"[33] คำภาษากรีกที่เทียบเท่าคือ Basiliskos หรือในรูปละติน Basiliscus[34][35][36] ชื่อดาวหัวใจสิงห์ปรากฏขึ้นครั้งแรกในต้นศตวรรษที่ 16[36] มันมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า คัลบ์ อัล-อาซาด จากภาษาอาหรับ قلب الاسد แปลว่า "หัวใจของสิงโต" (กรีก: Kardia Leontos, ละติน: Cor Leōnis, อาหรับ: Kabelaced[ต้องการอ้างอิง]) ชื่อภาษาจีน 軒轅十四 แปลว่าดวงดาวที่สิบสี่แห่งซวนหยวน (จักรพรรดิเหลือง) ในดาราศาสตร์อินเดียดาวหัวใจสิงห์คือมาฆะนักษัตร (ผู้อุดมสมบูรณ์)

ชาวบาบิโลนเรียกดาวหัวใจสิงห์ว่า ชาร์รู (กษัตริย์) นับเป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 15 ในอินเดียดาวนี้มีชื่อเรียกว่า มฆา (the Mighty, ผู้เกรียงไกร) ในซอกเดีย Magh (the Great, ผู้ยิ่งใหญ่) ในเปอร์เซีย Miyan (ศูนย์กลาง) และ Venant หนึ่งในสี่ของดาวราชาทั้งสี่ (Royal stars) นอกจากนี้มันยังเป็นหนึ่งใน 15 ดาวเบเฮเนียน (Behenian stars) ของโหราศาสตร์ยุคกลางซึ่งสอดคล้องกับหินแกรนิต มักเวิร์ท และสัญลักษณ์คับบาลาห์  

MUL.APIN ซึ่งเป็นเอกสารทางดาราศาสตร์ของชาวบาบิโลน ได้บันทึกดาวหัวใจสิงห์ไว้ภายใต้ชื่อ Lugal ซึ่งแปลว่ากษัตริย์ และให้คำอธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า "ดาวแห่งอกสิงโต"

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 van Leeuwen, F. (2007). "Validation of the new Hipparcos reduction". Astronomy and Astrophysics. 474 (2): 653–664. arXiv:0708.1752. Bibcode:2007A&A...474..653V. doi:10.1051/0004-6361:20078357. S2CID 18759600. Vizier catalog entry
  2. 2.0 2.1 van Belle, Gerard T.; von Braun, Kaspar (2009). "Directly Determined Linear Radii and Effective Temperatures of Exoplanet Host Stars". The Astrophysical Journal. 694 (2): 1085–1098. arXiv:0901.1206. Bibcode:2009ApJ...694.1085V. doi:10.1088/0004-637X/694/2/1085. S2CID 18370219.
  3. 3.0 3.1 Høg, E.; Fabricius, C.; Makarov, V. V.; Urban, S.; Corbin, T.; Wycoff, G.; Bastian, U.; Schwekendiek, P.; Wicenec, A. (2000). "The Tycho-2 catalogue of the 2.5 million brightest stars". Astronomy and Astrophysics. 355: L27. Bibcode:2000A&A...355L..27H. doi:10.1888/0333750888/2862. ISBN 978-0333750889.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Tokovinin, A. A. (1997). "MSC – a catalogue of physical multiple stars". Astronomy and Astrophysics Supplement Series. 124: 75–84. Bibcode:1997A&AS..124...75T. doi:10.1051/aas:1997181.
  5. 5.0 5.1 Ducati, J. R. (2002). "VizieR Online Data Catalog: Catalogue of Stellar Photometry in Johnson's 11-color system". CDS/ADC Collection of Electronic Catalogues. 2237: 0. Bibcode:2002yCat.2237....0D.
  6. Samus, N. N.; Durlevich, O. V.; และคณะ (2009). "VizieR Online Data Catalog: General Catalogue of Variable Stars (Samus+ 2007–2013)". VizieR On-line Data Catalog: B/GCVS. Originally Published in: 2009yCat....102025S. 1: 02025. Bibcode:2009yCat....102025S.
  7. 7.0 7.1 Gies, Douglas R.; และคณะ (2020). "Spectroscopic Detection of the Pre-White Dwarf Companion of Regulus". The Astrophysical Journal. 902 (1). Table 3. arXiv:2009.02409. Bibcode:2020ApJ...902...25G. doi:10.3847/1538-4357/abb372.
  8. Anderson, E.; Francis, Ch. (2012). "XHIP: An extended hipparcos compilation". Astronomy Letters. 38 (5): 331. arXiv:1108.4971. Bibcode:2012AstL...38..331A. doi:10.1134/S1063773712050015. S2CID 119257644.
  9. Malagnini, M. L.; Morossi, C. (November 1990). "Accurate absolute luminosities, effective temperatures, radii, masses and surface gravities for a selected sample of field stars". Astronomy and Astrophysics Supplement Series. 85 (3): 1015–1019. Bibcode:1990A&AS...85.1015M.
  10. 10.0 10.1 10.2 Baines, Ellyn K.; Armstrong, J. Thomas; Schmitt, Henrique R.; Zavala, R. T.; Benson, James A.; Hutter, Donald J.; Tycner, Christopher; van Belle, Gerard T. (2017). "Fundamental parameters of 87 stars from the Navy Precision Optical Interferometer". The Astronomical Journal. 155 (1): 16. arXiv:1712.08109. Bibcode:2018AJ....155...30B. doi:10.3847/1538-3881/aa9d8b. S2CID 119427037.
  11. Fitzpatrick, E. L.; Massa, D. (March 2005). "Determining the Physical Properties of the B Stars. II. Calibration of Synthetic Photometry". The Astronomical Journal. 129 (3): 1642–1662. arXiv:astro-ph/0412542. Bibcode:2005AJ....129.1642F. doi:10.1086/427855. S2CID 119512018.
  12. 12.0 12.1 12.2 McAlister, H. A.; ten Brummelaar, T. A.; Gies; Huang; Bagnuolo, Jr.; Shure; Sturmann; Sturmann; Turner; Taylor; Berger; Baines; Grundstrom; Ogden; Ridgway; Van Belle; และคณะ (2005). "First Results from the CHARA Array. I. An Interferometric and Spectroscopic Study of the Fast Rotator Alpha Leonis (Regulus)". The Astrophysical Journal. 628 (1): 439–452. arXiv:astro-ph/0501261. Bibcode:2005ApJ...628..439M. doi:10.1086/430730. S2CID 6776360.
  13. 13.0 13.1 Cotton, Daniel V; Bailey, Jeremy; Howarth, Ian D; Bott, Kimberly; Kedziora-Chudczer, Lucyna; Lucas, P. W; Hough, J. H (2017). "Polarization due to rotational distortion in the bright star Regulus". Nature Astronomy. 1 (10): 690–696. arXiv:1804.06576. Bibcode:2017NatAs...1..690C. doi:10.1038/s41550-017-0238-6. S2CID 53560815.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Martin, E. L.; Magazzu, A.; Rebolo, R. (1992). "On the post-T-Tauri nature of late-type visual companions to B-type stars". Astronomy and Astrophysics. 257: 186. Bibcode:1992A&A...257..186M.
  15. 15.0 15.1 15.2 Johnson, H. M.; Wright, C. D. (1983). "Predicted infrared brightness of stars within 25 parsecs of the Sun". Astrophysical Journal Supplement Series. 53: 643–711. Bibcode:1983ApJS...53..643J. doi:10.1086/190905.
  16. "IAU Working Group on Star Names (WGSN)". สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
  17. "Bulletin of the IAU Working Group on Star Names, No. 1" (PDF). สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  18. "IAU Catalog of Star Names". สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  19. Pugh, Philip (2009). "Simple Deep Sky Viewing". The Science and Art of Using Telescopes. Patrick Moore's Practical Astronomy Series. pp. 157–185. doi:10.1007/978-0-387-76470-2_6. ISBN 978-0-387-76469-6.
  20. "Zodiac Stars". John Pratt's stars. สืบค้นเมื่อ 2019-06-23.
  21. ดูเพิ่มที่ 2016 Bright Star Occultations และ 2017 Bright Star Occultations.
  22. "Occultations of bright stars by planets between 0 and 4000". สืบค้นเมื่อ 2007-10-16.
  23. Sigismondi, Costantino; Troise, Davide (2008). "Asteroidal Occultation of Regulus:. Differential Effect of Light Bending". THE ELEVENTH MARCEL GROSSMANN MEETING on Recent Developments in Theoretical and Experimental General Relativity: 2594–2596. Bibcode:2008mgm..conf.2594S. doi:10.1142/9789812834300_0469. ISBN 9789812834263.
  24. Sigismondi, C.; Flatres, T.; George, T.; Braga-Ribas, F. (2014). "Stellar limb darkening scan during 163 Erigone asteroidal occultation of Regulus on March 20, 2014 at 6:06 UT". The Astronomer's Telegram. 5987: 1. Bibcode:2014ATel.5987....1S.
  25. "Regulus 2014". International Occultation Timing Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-21. สืบค้นเมื่อ 2019-06-23.
  26. "In the Sky". สืบค้นเมื่อ 2019-06-23.
  27. Battams, Karl. "Notable objects in LASCO C3". Sungrazing Comets. Navy.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-09. สืบค้นเมื่อ 2012-09-05.
  28. Mason, Brian D.; Wycoff, Gary L.; Hartkopf, William I.; Douglass, Geoffrey G.; Worley, Charles E. (2001). "The 2001 US Naval Observatory Double Star CD-ROM. I. The Washington Double Star Catalog". The Astronomical Journal. 122 (6): 3466–3471. Bibcode:2001AJ....122.3466M. doi:10.1086/323920.
  29. Brown, Anthony GA; Vallenari, A; Prusti, T; และคณะ (Gaia). "Gaia Data Release 2: Summary of the contents and survey properties". Astronomy & Astrophysics. 616. A1. arXiv:1804.09365. Bibcode:2018A&A...616A...1G. doi:10.1051/0004-6361/201833051. ISSN 0004-6361. Gaia DR2 record for this source ที่ VizieR. 1 สิงหาคม 2561.
  30. 30.0 30.1 Rappaport, S.; Podsiadlowski, Ph.; Horev, I. (2009). "The Past and Future History of Regulus". The Astrophysical Journal. 698 (1): 666–675. arXiv:0904.0395. Bibcode:2009ApJ...698..666R. doi:10.1088/0004-637X/698/1/666. S2CID 15519189.
  31. "Sun Fact Sheet". nssdc.gsfc.nasa.gov. สืบค้นเมื่อ 2023-12-15.
  32. Lindroos, K. P. (1985). "A study of visual double stars with early type primaries. IV Astrophysical data". Astronomy and Astrophysics Supplement Series. 60: 183. Bibcode:1985A&AS...60..183L.
  33. แม่แบบ:L&S
  34. Geminus; James Evans; J. L. Berggren (29 October 2006). Geminos's Introduction to the Phenomena: A Translation and Study of a Hellenistic Survey of Astronomy. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-12339-4.
  35. βασιλίσκος. Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon at Perseus Project.
  36. 36.0 36.1 "Ian Ridpath's Star Tales – Regulus, the little king". สืบค้นเมื่อ 20 Feb 2024.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "edr3" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "rogers" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "gies" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "allen" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "lsj2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "casagrande2011" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • "Regulus 3". SolStation. สืบค้นเมื่อ December 1, 2005.

พิกัด:   10h 08m 22.3s, +11° 58′ 02″