โหนดของวงโคจร
จุดโหนดของวงโคจร (อังกฤษ: orbital node) หมายถึง จุดตัดของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง จุดโหนดปกติจะมีสองจุดเสมอ[1] หากวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกับระนาบอ้างอิง ถือว่า ไม่มีจุดโหนด
จุดโหนดสองจุดระหว่างวงโคจรของดวงจันทร์ และวงโคจรเสมือนของดวงอาทิตย์ เมื่อโลกเป็นศูนย์กลาง เรียกว่า จุดโหนดขึ้นหรือจุดราหู (ascending node) และจุดโหนดลงหรือจุดเกตุ (descending node) เมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีลองจิจูดปรากฏใกล้เคียงกัน (โหราศาสตร์เรียกว่า กุม) และมีราหูหรือเกตุอยู่ร่วม ก็จะเกิดสุริยุปราคา เมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีลองจิจูดปรากฏอยู่ห่างเป็นระยะเชิงมุมประมาณ 180 องศา (โหราศาสตร์เรียกว่า เล็ง) และมีราหูหรือเกตุอยู่ร่วมด้วย ก็จะเกิดจันทรุปราคา จุดราหูและเกตุจะมีการเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกครบรอบในระยะเวลา 18.5 ปี[1][2] ตำแหน่งของจุดโหนดทั้งสอง ใช้ในการคำนวณหาสุริยุปราคาและจันทรุปราคา
ระนาบอ้างอิงที่นิยมใช้กัน หากเป็นวงโคจรที่มีโลกเป็นศูนย์กลาง จะใช้ระนาบซึ่งผ่าโลกตรงเส้นศูนย์สูตร เป็นระนาบอ้างอิง หากวงโคจรอยู่ตรงเส้นศูนย์สูตรโลก ก็เรียกว่าวงโคจรศูนย์สูตร หากเป็นวงโคจรที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง จะใช้ระนาบซึ่งผ่าดวงอาทิตย์ตรงเส้นศูนย์สูตร[3] ทั้งนี้ หากมีความซับซ้อน จะใช้ระนาบซึ่งตัดผ่านผู้สังเกตและวัตถุท้องฟ้าหลักเป็นเกณฑ์[4]
สัญลักษณ์ของจุดโหนดขึ้น คือ ☊ หรือ ๘ (เลขแปดไทย) ส่วนโหนดลง ใชัสัญลักษณ์ ☋ หรือ ๙ (เลขเก้าไทย) การที่เรียกว่าราหูกับเกตุนั้นในทางตะวันตกสมัยโบราณก็เรียก หัวมังกร และ หางมังกร ซึ่งคล้ายกับตำนานชาติเวรซึ่งว่า พรุะเกตุเกิดจากเท้าของพระราหู[5]: p.141, [6]: p.245
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "node". Columbia Encyclopedia (6th ed.). New York: Columbia University Press. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2007. สืบค้นเมื่อ May 17, 2007.
- ↑ Marcia Rieke. "Introduction: Coordinates, Seasons, Eclipses (lecture notes)". Astronomy 250. University of Arizona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-26. สืบค้นเมื่อ May 17, 2007.
- ↑ Darling, David. "line of nodes". The Encyclopedia of Astrobiology, Astronomy, and Spaceflight. สืบค้นเมื่อ May 17, 2007.
- ↑ Tatum, Jeremy B. "Chapter 17". Celestial Mechanics. สืบค้นเมื่อ May 17, 2007.
- ↑ Survey of Islamic Astronomical Tables, E. S. Kennedy , Transactions of the American Philosophical Society, new series, 46, #2 (1956), pp. 123–177.
- ↑ Cyclopædia, or, An universal dictionary of arts and sciences เก็บถาวร 2008-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ephraim Chambers, London: Printed for J. and J. Knapton [and 18 others], 1728, vol. 1.