บอร์นดิสเวย์บอล
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เดอะบอร์นดิสเวย์บอล (อังกฤษ: The Born This Way Ball) เป็นทัวร์คอนเสิร์ตที่ 3 ของศิลปินนักร้องอเมริกันเลดีกากา โดยในการสนับสนุนของอัลบั้มที่ 2 บอร์นดิสเวย์ ที่ประกอบด้วยทัวร์ 110 รายการในเอเชีย โอเซียเนียและต่อด้วยในยุโรปในเดือนสิงหาคมปี 2555 ตามด้วยในละตินอเมริกาในช่วงปลายปี ทัวร์เริ่มต้นที่อเมริกาเหนือ ในเดือนมกราคม 2556 และดำเนินการต่อจนสิ้นสุดในเดือนมีนาคม[2] ซึ่งหนึ่งในทัวร์รอบโลกของเธอ ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในทัวร์ โดยจัดการแสดงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน โดยผู้จัด บริษัท บีอีซี เทโร เอนเตอร์เทนเม้นท์ เป็นผู้รับผิดชอบจัดคอนเสิร์ตนี้ นับเป็นคอนเสิร์ตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในรอบ 10 ปี หลังจาก ไมเคิล แจ็กสัน เคยมาแสดงในประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน เมื่อเดือน ธันวาคม
คอนเสิร์ตเวิลด์โดยเลดีกากา | |
สถานที่ที่จัดทัวร์ |
|
---|---|
อัลบั้ม | บอร์นดิสเวย์ |
วันเริ่มต้นการแสดง | 27 เมษายน ค.ศ. 2012 |
วันสิ้นสุดการแสดง | 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 |
จำนวนเลก | 8 |
จำนวนรอบแสดง | 98 |
บ็อกซ์ออฟฟิศ | 183.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ($240.54 in 2023 dollars)[1] |
ลำดับคอนเสิร์ตของเลดีกากา |
ปี พ.ศ. 2555 นิตยสาร บิลบอร์ด จัดอันดับรายได้จากการทัวร์คอนเสิร์ตของศิลปินที่มีทัวร์ในปี 2012 ซึ่ง เลดีกากา เดอะบอร์ดิสเวย์บอล อยู่อันดับที่ 5 รายได้ $161.4 million หรือประมาณ 5 พันล้านบาท ในการขายตั๋วทั้งหมดตั้งแต่โชว์แรกจนถึงโชว์ที่ทางกรรมการรวบรวมสถิติ รวมทั้งหมด 80 โชว์ทั่วโลก [3]
ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 หลังจากมีการประกาศเลื่อนการแสดงที่ ชิคาโก,ดีทรอย และแฮมิลตัน เมื่อก่อนหน้านี้เนื่องจากการเจ็บป่วยกะทันหันของกาก้า [4] [5] หลังจากนั้นผู้จัดคอนเสิร์ตไลฟ์เนชั่น ได้มีการประกาศยกเลิกการแสดงที่เหลือในแถบอเมริกา แคนาดาอย่างเป็นทางการของคอนเสิร์ต เดอะบอร์นดิสเวย์บอล ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป สาเหตุเนื่องมาจากอาการป่วยของกาก้าด้วยอาการสะโพกขวาอักเสบขั้นรุนแรงไม่สามารถเดินได้ [6] จนไม่สามารถดำเนินการแสดงต่อได้จนจบ ซึ่งแพทย์จำเป็นที่จะต้องให้กาก้าพักรักษาตัวระยะหนึ่ง ซึ่งสถานที่สุดท้ายที่มีการแสดงคือที่ มอนทรีออล โดยจะมีการคืนบัตรชมคอนเสิร์ตให้แก่ผู้ชมทั้งหมดเต็มราคา และกาก้าได้ทำการประกาศขอโทษผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ที่มา
แก้ในช่วงการเปิดตัวเพลงจูดาส ซิงเกิ้ลใหม่จากอัลบั้มบอร์นดิสเวย์ของเลดีกากา ได้มีการสัมภาษณ์ยืนยันจากกาก้าว่าจะมีการเปิดทัวร์ในปี 2012 ซึ่งจะมีการไปแสดงแถบละตินอเมริกาเป็นครั้งแรกเช่น บราซิล และจะย้อนกลับไปยังแม็กซิโก ในเดือนพฤศจิกายน 2011 DJ White Shadow ได้กล่าวว่า กาก้ากำลังจัดเตรียมงานและอุปกรณ์สำหรับคอนเสิร์ตครั้งต่อไป และเตรียมสำหรับการทำอัลบั้มใหม่ด้วย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2012 กาก้าได้ปล่อยโปสเตอร์ประกอบการทัวร์ของเธอ โดยเป็นภาพใบหน้าของเธอที่ถูกแต่งโดยคอมพิวเตอร์มีกลุ่มเมฆควันสีม่วงและสีเขียวขุ่นนีออน และมีผู้ชาย 5 คน พร้อมกับกาก้าซึงแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งโดยฝั่งหนึ่งเป็นผู้ชายที่แต่งหน้าเป็นผีซอมบี้(เช่นเดียวกับมิวสิควีดีโอบอร์นดิสเวย์) และอีกฝั่งเป็นมนุษย์ธรรมดา โดยมีกาก้าขั้นกลาง ยืนอยู่หน้าประตูทางขึ้นบันไดปราสาทในยุคกลาง และมีชื่อทัวร์ด้านล่างว่า Lady Gaga The Born This Way Ball และในวันต่อมากาก้าได้ประกาศตารางทัวร์ผ่านทาง ทวิตเตอร์และเฟสบุ๊กของเธอ เช่น เกาหลี,ฮ่องกง,ญี่ปุ่น
และเมื่อเดือนมีนาคม 2012 ได้มีการประกาศตารางทัวร์ยุโรปโดยเริ่มที่ ประเทศบัลแกเรีย และไปจบที่ประเทศ สเปน ได้มีการประกาศการแสดงเปิดโชว์คือ Dj Zedd เปิดโชว์ให้แถบเอเชียและโอเซียเนีย แถบยุโรปมี เลดี้ สตาร์ไลท์ และวงร็อค The Darkness มาแสดงในช่วงก่อนเปิดโชว์
ในวันที่ 6 สิงหาคม 2012 ได้มีการเผยตารางทัวร์ในแถบอเมริกา และมีการ
กาก้าประเมินคอนเสิร์ตของเธอว่าเป็นแบบ electro-metal pop-opera "เรื่องของการเริ่มต้นการกำเนิดอาณาจักรแห่งเกียรติยศ" ในเดือนกุมภาพันธ์ กาก้าได้ปล่อยแบบเวทีคอนเสิร์ตออกมาผ่านทางทวิตเตอร์ที่ออกแบบและสร้างสรรค์โดยทีมงาน Haus of Gaga และเธอได้ทวิตว่า "I'm so excited. The Haus has been working so hard, we can't wait for you to see it!! Love you Little Monsters, have the time of your life." ฉันตื่นเต้นมา ทีมงานได้ทำงานหนักขึ้น พวกเราไม่สามารถรอได้ที่จะได้ให้คุณเห็นมัน รักคุณมอนสเตอร์น้อย มีเวลาในชีวิตคุณ" โดยแบบที่กาก้าเผยให้ดูนั้นเป็นลักษณะของปราสาทขนาดใหญ่ มีทางเดินที่ยื่นออกมาที่กาก้าเรียกมันว่า"มอนสเตอร์พิท" ที่ให้สำหรับแฟนคลับที่แต่งตัวมาจัดเต็มที่สุด และมารอเข้าคอนเสิร์ตนานที่สุด ถ้าหากมีแฟนคลับคนใดโชคดีมารอชมคอนเสิร์ตนานที่สุดไม่ว่า จะมาตั้งเต้นท์นอนรอเป็นเวลาหลายวันหรือมารอชมก่อนการแสดงตั้งแต่เช้าก็จะได้รับ"มอนสเตอร์พิทคีย์" ที่เป็นกุญแจรูปหัวกะโหลกกาก้ามอบให้ และให้มอนสเตอร์ผู้โชคดีเขียนความรู้สึกของตนเองลงในกุญแจมอนสเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเตรียมไว้เพื่อแฟนคลับผู้โชคดีแต่ละประเทศได้เขียนความรู้สึกของตนเองลงในกุญแจขนาดใหญ่นี้
ภาพรวมของคอนเสิร์ต
แก้ก่อนการเริ่มแสดงคอนเสิร์ตจะมีแสดงโชว์เพื่อให้แฟนคลับที่มารอก่อน โดยแถบเอเชียมี Dj Zedd เป็นผู้เปิดแสดง ในแถบยุโรปมีเลดี้ สตาร์ไลท์และวงร็อค The Darkness มาแสดง โดยในการแสดงระหว่างนี้ เวทีปราสาทขนาดใหญ่ถูกปิดด้วยผ้าม่าน เมื่อเริ่มคอนเสิร์ต เพลงแรก กาก้าสวยชุดโครงเหล็กที่เหมือนเอเลี่ยนขี่ม้าปลอมแล้วเดินตามทางเดินมอนสเตอร์พิท พร้อมกับร้องเพลง Highway Unicorn หลังจบ มีหุ่นหน้ากาก้าเรียกว่า Mother GOAT กล่าวว่า "Initiating satellite. Space renagade Lady Gaga has escaped. Downloading image of prisoner. Alien fugitive objective: To birth a new race. Operation: Kill the bitch!" กาก้าออกมาจากปราสาทพร้อมร้องเพลง Government Hooker กาก้าเดินมาตามทางลงบันได้ฝั่งข้างแล้วมีผู้ชายขึ้นมาจากเวทีที่กาก้าจินตนาการว่าเป็นประธานาธิบดีเมื่อกาก้าร้องเพลงท่อน "As long as you pay me" กาก้าก็ยิงปืนใส่ผู้ชายคนนั้นพร้อมกับร้องเพลงต่อ จนท่อน "I know you love me baby" กาก้าก็กล่าวว่า Welcome to The Born This Way Ball แล้วยิงปืนใส่ประตูปราสาท หลังจากนั้นกาก้าออกมาด้วยขาคนขนาดยักษ์ที่อ้าขาเห็นช่องคลอดพร้อมกับพูดแล้วร้องเหมือนคนปวดท้องแล้วกาก้าก็หายลงไปพร้อมออกมาทางช่องคลอดของหุ่น
พร้อมกับชุดกระโปรงยาวลาเท็กสีเนื้อ แล้วร้องเพลง Born This Way หลังจากนั้น กาก้าสวยชุมสีเนื้อและหมวก พร้อมกับร้องเพลง Black Jesus † Amen Fashion เมื่อจบเพลง กาก้าออกมาด้วยชุดกระโปรงยาวสีขาวยืนบนแทนล้อที่เคลื่อนที่ได้กาก้าร้องเพลงบลัดดี้ แมรี่ กาก้าร้องเพลงขณะแผ่นล้อเคลื่อนที่ไปตามมอนสเตอร์พิท หลังจากจบเพลง จากนั้น Mother GOAT ก็กล่าวว่า This is the "Manifesto of Mother Monster": On G.O.A.T, a Government Owned Alien Territory in space, a birth of magnificent and magical proportions took place. But the birth was not finite; it was infinite. As the wombs numbered, and the mitosis of the future began, it was perceived that this infamous moment in life is not temporal; it is eternal. And thus began the beginning of the new race: a race within the race of humanity. กาก้าออกมาด้วยไข่ใบยักษ์ที่มีแดนเซอร์พาออกมา ไข่ก็เปิดออกพร้อมกับเพลงBad Romance กากาสวมชุดสีขาวที่มีการตัดเป็นรูตารางพร้อมกับหมวกที่เหมือนกับปีศาจที่มีเขา กาก้าก็พูดทักทายแฟนคลับ พร้อมกับพูดประโยคสุดท้ายที่ลงท้ายด้วยคำว่า" betrayed " แดนเซอร์ก็จักตัวเธอไป หลังจากนั้นเพลงJudas ก็เริ่มกาก้าขึ้นไปบนประตูของปราสาทแล้วร้องเพลงพร้อมแดนเซอร์ที่เหมือนคุมเธอไม่ให้หนี หลังจากนั้นกาก้าก็เข้าไปในปราสาทพร้อมเพลงJudas The remix ปราสาทก็เปิดออก เพลงก็เริ่มขึ้นพร้อมกับกาก้าที่ออกมาในชุดสีชมพูแบบนกพับกระดาษ กาก้าร้องเพลงFashion Of His Love กาก้าอยู่ชั้นสองของปราสาทแล้วเดินไปตามทางพร้อมกับแต่งหน้าที่หน้ากระจก เมื่อร้องเสร็จเพลงJust Dance ก็เริ่มขึ้นบันได้จากชั้นสามก็ลงมาเพื่อเป็นทางขึ้นให้กาก้า เมื่อกาก้าร้องท่อน"Just dance gonna be OK" บันไดก็เลื่อนขึ้นกาก้าอยู่ชั้นสามพร้อมแดนเซอร์ที่นำคีย์บอรดมาให้เธอแล้วเธอก็หายไปก่อนที่เพลงจบหลังจากท่อน Just Dance the remix หลังจากนั้นเพลงก็เริ่มขึ้น กาก้าสูบบุหรี่ปลอมขึ้นมาจากพื้นยกมอนสเตอร์พิทพร้อมกับอ่างแก้วกาก้าสวมชุดสีดำเปิดไหล่ขวาที่มีไหล่ซ้ายนูนกระโปรงสั้นสวมหมวกที่คล้ายกับมงกุฎเทพีเสรีภาพ กาก้าร้องเพลง LoveGame จนจบท่อน The remix กาก้าก็พูดทักทายแฟนคลับเพลงก็เริ่มขึ้นกาก้าร้องเพลง เทเลโฟน ต่อจนจบกาก้าก็เข้าไปในปราสาทอีกครั้ง หลังจากนั้น Mother Goat ก็กล่าวว่า “It was instantly that this enigmatic fugitive became the host agent and body to a new colony. A colony which would strive to extract our most classified information. A monstrous preparation it was. Training and decoding the creativity of rebellion for one purpose: to invade Earth.” เพลง แฮวี่เมทอลเลิฟเวอร์
ก็เริ่มขึ้นกาก้าออกมาพร้อมกับมอร์เตอร์ไซด์ ขับไปตามทางมอนสเตอร์พิทพร้อมกับร้องเพลงจนมอร์เตอร์ไซด์ไปจอดกับที่บริเวณเวทีกาก้าออกมาเต้นพร้อมกับแดนเซอร์หลังจากจบ กาก้าก็แสดงเพลง แบด คิดส์ ต่อหลังจากจบกาก้าก็มานั่งหน้าเวทีพร้อมแดนเซอร์สองคนกาก้าได้มาพูดคุยกับแฟนคลับของเธอหลังจากจะไปเริ่มแสดงต่อกาก้านั่งบนมอร์เตอร์ไซด์พร้อมเปียโนกาก้าเริ่มเล่นเพลง แฮร์ หลังจากจบกาก้าได้เรียกแฟนคลับให้ขึ้นไปบนเวทีหนึ่งคนพร้อมร้องเพลง ปริ้นแซส ดาย เมื่อจบกาก้าต่อด้วยเพลง ยูแอนด์ไอ หลังจากจบกาก้าแสดงเพลง อิเล็กทริค ชาเปล ต่อพร้อมก็กับตูกระจกที่เปลี่ยนสีพร้อมปราสาทที่เปลี่ยนสีเป็นสีรุ่ง หลังจากนั้นกาก้าก็เข้าไปในปราสาท หลังจากนั้นนักดนตรีของเธอก็ออกมาเล่นกีต้าร์พร้อมกับแดนเซอร์สองคนที่แต่งชุดแต่งงานเหมือนกับการแต่งงานของคนเพศเดียวกันหรือไม่ก็เป็นการแต่งงานที่คนผิวดำกับผิวขาวแต่งงานกันไม่ได้ กาก้าออกมาพร้อมกับราวแขวนหมูขนาดใหญ่กาก้าสวมชุดเนื้อปลอมพร้อมกับร้องเพลง อเมริกาโน่ หลังจากนั้นกาก้าก็พูดว่า "In 1978, Larry Flynt declared that women will no longer treated as meat on the cover of Hustler magazine, but in the Born This Way Ball, meat is precisely how we treat them." เพลง โพเกอร์ เฟส ก็เริ่มขึ้น กาก้าขึ้นไปอยู่ในเครื่องบดเนื้อปลอมขนาดใหญ่ที่ตั้งเด่นกลางเวทีพร้อมกับร้องเพลง หลังจากนั้นก็เริ่มเพลง อเลฮานโดร กาก้าขึ้นมาจากพื้นเวทีพร้อมกับโซฟากาก้านั่งแล้วร้องเพลง กาก้าสวมชุดชั้นในที่มีปืนแล้วกางเกงสีเขียว กาก้ามาเต้นกับแดนเซอร์พร้อมกับเดินไปตามทางมอนสเอต์พิทเมื่อจบเพลงกาก้าก็นั่งบนโซฟาพร้อมแดนเซอร์พื้นยกโซฟาลง หลังจากนั้นเพลง ปาปารัสซี่ ก็เริ่มขึ้นท่อนแรกเป็นท่อนที่ Mother Goat ร้อง หลังจากนั้นกาก้าก็ออกมาร้องท่อนที่สองต่อกาก้าออกมากับชุดสีดำกางเกงยาวกับชุดครึ่งท่อนแขนยาวพร้อมหมวกเหมือนทหาร หลังจากจบเพลงกาก้านำ Disco Scepter ชี้ไปที่ Mother Goat เลือดก็ไหลจากตาหุ่น กาก้าออกมาพูดกับแฟนคลับ พร้อมกับบอกชื่อภาษาของประเทศที่ไปโชว์ I don't speak ..... But I can if you like แล้วกาก้าก็ร้องเพลง ชายเซอ และเมื่อจบเพลงกาก้าก็พูดทำนองว่าโชว์จบแล้วขอขอบคุณแฟนเพลงที่มาดูโชว์ กาก้าก็เดินแถวพร้อมแดนเซอร์เข้าไปหลังเวทีปราสาทก็ปิดลง ไปก็เริ่มส่องที่ปราสาทด้วยไฟสีน้ำเงิน หลังจากนั้นพักหนึ่งกาก้าออกมาพร้อมผ้าคลุมกาก้าเล่นเปียโนที่ชั้นสามของปราสาทกาก้าร้องเพลง ดิเอจออฟกลอรี่ แบบ acoustic หลังจากกาก้าร้องท่อน "The Edge" จบเสียงเพลงก็เริ่มขึ้นแล้วกาก้าก็ร้องเพลง The edge of glory ต่อ หลังจากนั้นก็มีแดนเซอร์คนหนึ่งออกมากาก้าก็เต้นพร้อมกับแดนเซอร์ หลังจากนั้นกาก้าก็ออกมาเรียกแฟนคลับบางกลุ่มขึ้นไปบนเวทีพร้อมกับร้องเพลงสุดท้าย แมร์รี่เดอะไนท์ หลังจากนั้นกาก้าเล่นคีย์บอร์ดแล้วก็ลงไปในพื้นยกมอนสเตอร์พิทพร้อมแฟนคลับที่กาก้าเรียกไป [7]
14 ชุดที่กาก้านำมาแสดงที่ออกแบบโดย เวอร์ซาเช่ , มอสชิโน่ , อาร์มานี่ แบบเวทีของเธอเป็นแบบปราสาทยุคกลาง
โปรดักชั่นของการแสดง
แก้ด้วยระบบเอ็ฟเฟ็ก แสง สี เสียง ที่ทันสมัยที่สุดที่ใช้ในการแสดงแล้วได้ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสงมาดูเรื่องแสงสีในคอนเสิร์ตซึ่งเป็นคนเดียวกันกับผู้ดูแลระบบ แสง สี ที่ใช้ในพิธีเปิดและปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012ด้วย ลำโพงที่ใช้ในคอนเสิร์ตมีมากกว่า 300 ชุด อีกทั้งเวทีระบบ 3มิติ แบบปราสาทยุคกลางสูง 5 ชั้น ที่ทั้งเคลื่อนไหว และเปลี่ยนสีได้ ส่วนอุปกรณ์สำหรับการเนรมิตเวทีคอนเสิร์ตในครั้งนี้ ต้องขนอุปกรณ์ทั้งหมดโดยเครื่องบินขนส่งสินค้า 747 จำนวน 3 ลำ และคอนเทนเนอร์ที่ขนส่งทางทะเลอีก 23 ตู้ ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 5 วัน สำหรับการติดตั้งเวที ฉากคอนเสิร์ตในแต่ละครั้งเลยทีเดียว พร้อมด้วยแสงสีเสียงที่มีการเตรียมพร้อมมาอย่างดี ส่วนจำนวนทีมงานจากต่างประเทศที่เดินทางมาประเทศไทยนั้นมีทั้งหมด 160 คน และจำนวนทีมงานของไทยในการจัดคอนเสิร์ตครั้งนี้มีจำนวนมากถึง 1,000 คน นอกจาก การเดินทางทัวร์รอบโลกของเธอในปีนี้ พ่อครัวต้องจัดเตรียมอาหารทั้งหมดจำนวน 24,000 มื้อ คิดเป็นเนื้อไก่ ประมาณ 1,588 กิโลกรัม, เนื้อปลา ประมาณ 544 กิโลกรัม, เส้นพาสต้า ประมาณ 318 กิโลกรัม ผักกาดแก้ว 2,100 หัว, ไข่ 20,000 ฟอง, กาแฟ คาปูชิโน่ 8,000 แก้ว, แอ๊ปเปิ้ล 2,500 ผล สิ่งที่ใช้ในทัวร์ อาทิเช่น สายกีตาร์ 5,000 เส้น นักดนตรีดื่มน้ำ 3,000 ขวด สำหรับดื่มบนเวที ผ้าขนหนูซับเหงื่อบนเวที 2,500 ผืน วงดนตรีเปลี่ยนเครื่องดนตรีบนเวทีมากกว่า 4,000 ครั้งในการทัวร์ทั่วโลกของเลดีกากา มือกีตาร์จะใช้ ปิ๊กกีตาร์ ทั้งหมด 3,000 ชิ้น เวลาในการ ซาวนด์เช็ค ทั้งหมด 12,000 นาที (หรือ 200 ชั่วโมง) เวลาในการแสดงคอนเสิร์ต ทั้งหมด 25,000 นาที (หรือ 416 ชั่วโมง) ทีมงานเบื้องหลังใช้เวลาเตรียมการแสดงรวมแล้ว 240,000 นาที (หรือ 4,000 ชั่วโมง) อีกอย่างที่เป็นจุดเด่นคือชุดที่กาก้าใช้แสดงในคอนเสิร์ต รวมทั้งหมด 14 ชุด (ยังไม่รวมที่มาเพิ่มภายหลัง) โดยได้ดีไซเนอร์ห้องเสื้ออาร์มานี คือ จีออร์จีโอ อาร์มานี่ มาออกแบบสร้างสรรค์ชุดที่ใช้ในการแสดง และเสื้อจากแบรนด์เวอร์ซาเช่ นอกนั้นสร้างสรรค์โดยทีมงาน Haus Of Gaga โดยชุดที่เป็นเอกลักษณ์สร้างความโดดเด่นให้กาก้าและแตกต่างจาก เดอะมอนสเตอร์บอลที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นเสื้อผ้าอีกสิ่งที่สร้างความอลังการคือ อุปกรณ์ในการแสดง ไม่ว่าจะเป็นถุงลมรูปคนท้องขนาดยักษ์ ไข่ใบยักษ์ อ่างแก้ว กระทั่งมอร์เตอร์ไซต์ ที่สามารถนั่งเล่นเปียโนได้ ขาวัวปลอม แม้กระทั่งหุ่นมอนิเตอร์ที่พูดขั้นรายการที่ขยับปากและกะพริบตาได้ ซึ่งสร้างความแตกต่างจากทัวร์เดิมเป็นอย่างมาก และอีกมากมายที่สร้างความประทับใจในลิตเติ้ลมอนสเตอร์คือ การที่กาก้ามานั่งพูดคุยกับแฟนคลับหลังจบเพลงฺBad Kids การเรียกแฟนคลับขึ้นไปบนเวที ช่วงเพลงHair ,Born This Way ,Princess Die, Marry The Night หรือแม้กระทั่งการเลือกแฟนคลับผู้โชคดีไปพบกับกาก้าหลังเวทีซึ่งสร้างความประทับใจเป็นอย่างมาก โดยแฟนเพลงต่างชาติกล่าวว่าไม่เคยมีศิลปินคนไหนที่เอาใจแฟนคลับขนาดนี้
การจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ต
แก้การจำหน่ายนับว่าดีเลยทีเดียว เพราะมีการเพิ่มรอบหลายรอบในหลายประเทศ และบัตรมีราคาที่ค่อนข้างเหมาะสมที่แฟนเพลงสามารถมีกำลังซื้อ ไม่เกี่ยวกับคอนเสิร์ตไม่มีคุณภาพราคาถูก แต่ราคาถูกก็สามารถทำให้แฟนเพลงลดการจ่ายราคาบัตรลง ดีกว่าราคาแพงแต่แฟนเพลงไม่ประทับใจ แฟนเพลงสามารถชมได้ ซึ่งราคาก็แตกต่างกัน เช่น ที่ฮ่องกงบัตรราคาสูงสุดมีราคาเกินหมื่นเลยทีเดียว แต่ก็ยังมีการเพิ่มรอบเป็น 4 รอบ และที่ญี่ปุ่นมีการเพิ่มรอบการแสดงเป็น 4 รอบ แล้วบัตรยังขายหมดในเวลาไม่กี่นาที และยังมีหลายประเทศในแถบเอเชียที่มีการเพิ่มรอการแสดงหลายรอบ ขณะที่ฟิลิปปินส์ แม้จะมีการประท้วงแต่ก็มีการเพิ่มรอบทัวร์เป็น 2 รอบ ในแถบยุโรปแม้จะไม่มีการเพิ่มรอบมากนัก สาเหตุอาจจะมาจากภาวะเศรษฐกิจยุโรปตกต่ำ แต่ก็มีการขายบัตรคอนเสิร์ตหมดทุกรอบโดยที่ลอนดอน ผู้ชมที่เข้าชมมีถึง 101,250 คน
- นิตยสาร บิลบอร์ด จัดอันดับรายได้จากการทัวร์คอนเสิร์ตของกาก้า เดอะบอร์ดิสเวย์บอล อยู่ที่อันดับที่ 6 รายได้ $124 million หรือประมาณ 3,000 ล้าน บาท ในการขายตั๋ว
กระแสต่อต้านและความขัดแย้ง
แก้คอนเสิร์ตของกาก้าจะทัวร์ในเอเชียรวม 110 รอบ ทั้ง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมทั้งประเทศไทย ที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 พฤษภาคม โดยกระแสต่อต้านและความขัดแย้งส่วนใหญ่เกิดในภูมิภาคเอเชีย
ประเทศเกาหลี
แก้ประเทศเกาหลีเป็นประเทศแรกที่เลดีกากาจะเปิดแดงคอนเสิร์ตเดอะบอร์นดิสเวย์บอลเป็นที่แรกในวันที่ 27 เมษายน แต่เมื่อคอนเสิร์ตของเธอได้ถูกประกาศว่าจะจัดในประเทศเกาหลีใต้ ทางรัฐบาลเกาหลีได้มีการกำหนดอายุผู้เข้าชมการแสดงจะต้องมีอายุ 12 ปีขึ้นไป[8] โดยมีกลุ่มชาวคริสเตียนและกลุ่มนักศึกษาหัวอนุรักษ์ออกมาต่อต้านมาโชว์ของเธอโดยอ้างว่านักร้องสาวเลดีกากาผิดมนุษย์มนา โชว์ของเธอล่อแหลม และยั่วยุทางเพศ ส่อถึงในทางลามกอนาจาร ที่ทำให้วัฒนธรรมเกาหลีเสื่อม โดยดูจากการแต่งกายของเธอที่มีเสื้อผ้าน้อยชิ้นและเปิดเนื้อหนังมังสา โดยกลุ่มผู้ประท้องเหล่านี้ได้ติดไปประท้องไปทั่วกรุงโซลและสถานที่จัดคอนเสิร์ต รัฐบาลจึงมีการกำหนดผู้ชมให้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เข้าชมคอนเสิร์ตของเธอได้ แต่คอนเสิร์ตของเธอก็ดำเนินการต่องท่ามกลางเสียงประท้วง และดำเนินจนจบโดยไร้ปัญหา
ฟิลิปปินส์
แก้กลุ่มคนหัวอนุรัษ์ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคในฟิลิปปินส์ออกมาต่อต้านเช่นเดียวกัน โดยรณรงค์ไม่ให้เยาวชนไปชมคอนเสิร์ตของเธอโดยอ้างว่ามีความล่อแหลมเกินไป และอ้างว่า เพลง Judas ของกาก้ามีเนื้อหาเพลงที่ล้อเลียนพระเยซูและไม่ยอมให้เธอแสดงเพลง Judas แต่เมื่อคอนเสิร์ตแสดงวันแรกท่ามกลางการประท้วงคณะผู้จัดคอนเสิร์ตเห็นว่าโชว์ของกาก้าไม่มีความล่อแหลมสื่อทางเพศอย่างที่คิดจึงให้แสดงวันที่สองต่อไป และการแสดงเพลง Judas ก็ดำเนินการแสดงต่อไป
ไทย
แก้ประเทศไทยถึงจะไม่ได้มีการประท้วงให้ยกเลิกคอนเสิร์ต แต่ประเด็นที่กาก้าถูกฟ้องร้องจากกระทรวงวัฒนธรรม เนื่อจากประเด็นที่ 1.จากการทวิตข้อความถึงประเทศไทยเมื่อกาก้าเดินทางมาถึงโดยเธอทวิตข้อความว่า "I just landed in Bangkok baby! Ready for 50,000 screaming Thai monsters. I wanna get lost in a lady market and buy fake Rolex." "ฉันพึ่งมาถึงกรุงเทพฯที่รัก! พร้อมแล้วที่จะฟังเสียงกริ๊ดของมอนสเตอร์(แฟนคลับ)ชาวไทย. ฉันอยากจะไปตลาดสินค้าของผู้หญิงและซื้อนาฬิกาโรเล็กซ์ปลอม" ซึ่งการทวิตข้อความของเธอได้มีหลายคนตีความว่า Lady Market เลดีกากา จะสื่อความหมายถึงอะไรกันแน่ระหว่างตลาดช้อปปิ้งยามค่ำคืน เช่นที่ฮ่องกง หรือย่านสีลม หรือเลดีกากาจะหมายถึงสถานบันเทิงทางเพศกันแน่ ซึ่งมีหลายกลุ่มไม่พอใจที่กาก้าทวิตข้อความดูถูกประเทศไทย แต่หลังจากนั้นสำนักข่าวต่างชาติพากันหมิ่นรัฐบาลไทย ประเด็นทวิตเตอร์จึงจบไป ประเด็นที่ 2. กาก้านำชฎาไปใช้บนเวทีคอนเสิร์ต กระทรวงวัฒนธรรม ยื่นหนังสือพิจารณาดำเนินคดีกับ เลดีกากา ฐานสวมชฎา นุ่งบิกินี่ และใช้ธงชาติไทยผูกท้ายรถจักรยานยนต์ ชี้ไม่เหมาะสม กระทบจิตใจชาวไทย โดยระหว่างทำการแสดงนั้น เลดีกากา ได้สวมชฎา และใส่เสื้อผ้าในลักษณะคล้ายบิกินี่ นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันใหญ่ ที่ผูกธงชาติไทยเอาไว้ด้านหลัง โดยเรื่องชฎานักแสดงหรือกูรูด้านแฟชั่นอย่าง ม้า อรณภาได้พูดไว้ว่า “เมื่อก่อนมาดอนน่าก็เคยเอาชฎามาสวมนะ ก็ไม่มีปัญหาอะไร สำหรับกรณีของเลดีกากา นี้ คงเป็นเพราะเธอเลือกใส่ผิดจังหวะกับชุดที่สวม หากเธอใส่ชุดราตรีออกมาแล้วก็คว้าชฎาของแฟนคลับมาใส่ ก็คงไม่ถูกวิพากย์วิจารณ์ขนาดนี้” หากมองต่างมุมในแบบกูรูม้า เธอแสดงความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า “หากให้ดิฉันมองต่างมุมให้มากๆ ถึงมากที่สุด ก็คิดว่าคนไทยนับถือของสูง ชฎาเป็นของสูง ซึ่งจะไม่เอามาใส่เล่นกัน แต่ฝรั่งคงไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งเหมือนเรา และเขาก็คงไม่จำเป็นต้องศึกษาด้วย หากไม่ได้สนใจเรื่องนั้นจริงๆ จังๆ แต่ด้วยความชอบในเรื่องศิลปะและแฟชั่นของเลดีกากา บวกกับการอยากเอาใจแฟนเพลงของเธอในเมืองไทย จึงทำให้พอเธอมีโอกาสก็อยากใส่ ใส่แล้วก็ยกมือไหว้คนไทย ความรู้สึกก็คงเหมือนฝรั่งเอาพระพุทธรูปไปประดับในห้องน้ำ มันไม่ผิด แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรทำ” โดยหลังจากกระทรวงประกาศฟ้องร้องเลดีกากาได้ไม่นาน บรรดาสื่อต่างประเทศพากันโจมตีรัฐบาลไทยว่า ไร้เหตุผลสิ้นดี ที่จะฟ้องในเรืองที่ไม่จำเป็น
อินโดนีเซีย
แก้มีชาวมุสลิมจำนวนไม่มาก ไม่เห็นด้วยกับคอนเสิร์ตของเธอด้วยความเห็นที่คล้ายกับเกาหลีว่าโชว์และการแต่งกายของเธอไปขัดกับศาสนาอิสลาม ที่เคร่งเรื่องเพศและการแต่งกายที่ล่อแหลมทำให้ผู้นำศาสนาสูงสุดของอินโดฯ ประกาศให้ยกเลิกคอนเสิร์ตของเธอในอินโด บัตรคอนเสิร์ตของกาก้าในอินโดขายหมดภายในไม่ถึงชั่งโมง ซึ่งสร้าสถิติที่ดีในหลายประเทศแน่ รวมถึงไทยที่ขายหมดใน 3 ชั่วโมงแรกที่เปิดขาย ล่าสุดได้ประกาศออกมาเป็นทางการแล้วว่าคอนเสิร์ตเลดีกากา ที่ประเทศอินโดนีเซีย ทั้งหมดนี้ทางสำนักงานตรวจแห่งชาติที่ประเทศอินโดนีเซีย ได้ยกเลิกใบอนุญาตให้จัดคอนเสิร์ตนั้นเอง เหตุผลง่ายๆคือ มีหลายๆศาสนาที่ออกมาต่อต้านและไม่เห็นด้วยกับการจัดคอนเสิร์ตในครั้งนี้เนื่องจาก ชุด, การแสดง, และท่าเต้นที่ไม่เหมาะสมและเกรงว่าจะเป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับเยาวชนนั้นเอง! โดยกลุ่มศาสนาเหล่านี้ได้ออกมาประกาศว่าเธอเป็นผู้หญิงที่อันตรายและหากเธอตัดสินใจที่จะยังโชว์อยู่ทางกลุ่มศาสนาเหล่านี้ก็พร้อมทีจะไปบุกถึงสนามบินเพื่อไม่ให้เธอเดินออกจากเครื่องบิน บัตรคอนเสิร์ตเลดีกากา จำนวน 50,000 ใบถูกขายจนหมดในเวลาไม่กี่นาที ทางกาก้าเองก็ทำการยกเลิกคอนเสิร์ตที่อินโดนีเซียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งโชว์ก่อนที่เธอจะมาอิโดนีเซียคือสิงคโปร์ ซึ่งเธอจบคอนเสิร์ตที่สิงคโปร์เสร็จ เธอจะบินต่อไปประเทศนิวซีแลนด์ทันที
เพิร์ธ
แก้ที่เมืองเพิร์ธประเทศออสเตรเลียเองก็มีการประท้องคอนเสิร์ตเลดีกากาด้วยแต่ไม่ได้ประท้วงโดยประสงค์ให้ยกเลิกคอนเสิร์ตเหมือนประเทศอื่นๆ แตะเป็นการประท้วงที่กาก้านำเพลงใหม่ของเธอ Princess Die มาร้องในคอนเสิร์ตสร้างความไม่พอใจให้กับชนบางกลุ่มสาเหตุที่ว่ามีเนื้อหายั่วยุให้ฆ่าตัวตายโดยผิดศีลธรรม และเนื้อเพลงได้สื่อไปถึงเจ้าหญิงไดอาน่าด้วย
รายชื่อเพลงที่ใช้แสดง
แก้รายชื่อชุดนี้เป็นการแสดงครั้งแรกในลอสแอนเจลิส ไม่ได้แสดงทั้งหมดตลอดทัวร์[9]
- "ไฮเวย์ ยูนิคอร์น (โรดทูเลิฟ)"
- "Government Hooker"
- "บอร์นดิสเวย์"
- "แบล็คจีซัสเอเมนแฟชัน"
- "บลัดดีแมร์รี"
- "แบดโรมานซ์"
- "จูดาส"
- "แฟชันออฟฮิสเลิฟ"
- "จัสต์แดนซ์"
- "เลิฟเกม"
- "เทเลโฟน"
- "Hair"
- "Electric Chapel"
- "แฮร์วีเมทอลเลิฟเวอร์"
- "Bad Kids"
- "ดิควีน"
- "ยูแอนด์ไอ"
- "อเมริกาโน"
- "โป๊กเกอร์เฟส"
- "อเลฮานโดร"
- "ปาปารัซซี"
- "ชายเซอ"
- Encore
- ในวันนั้น กากาได้แสดงเพลงที่ยังไม่เผยแพร่มาก่อน คือเพลง "Princess Die"
- ระหว่างการแสดงสองครั้งในลอนดอน กากาขึ้นคัฟเวอร์เพลง "อิแมจิน" ของจอห์น เลนนอน[10]
ตารางทัวร์
แก้- Cancellations and rescheduled shows
- การยกเลิกและเปลี่ยนแปลงโชว์
3 มิถุนายน 2555 | จาการ์ตา, อินโดนีเซีย | Gelora Bung Karno Stadium | ยกเลิกโชว์[20] |
August 14, 2012 | Sofia, Bulgaria | Vasil Levski National Stadium | Moved to the Armeets Arena due to low ticket sales[21] |
August 16, 2012 | Bucharest, Romania | Arena Națională | Moved to the Piaţa Constituţiei due to time conflict with soccer match[22] |
October 4, 2012 | Nice, France | Stade Charles-Ehrmann | Moved to the Palais Nikaia due to low ticket sales[23] |
13,14 กุมภาพันธ์ 2556 | ชิคาโก สหรัฐอเมริกา | United Center | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า[24] |
16 กุมภาพันธ์ 2556 | ดีทรอย สหรัฐอเมริกา | The Palace of Auburn Hills | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า[24] |
17 กุมภาพันธ์ 2556 | แฮมิลตัน สหรัฐอเมริกา | Copps Coliseum | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า[24] |
19 กุมภาพันธ์ 2556 | ฟิลาเดลเฟีย United States | Wells Fargo Center | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
20 กุมภาพันธ์ 2556 | |||
22 กุมภาพันธ์ 2556 | นิวยอร์ก United States | Madison Square Garden | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
23 กุมภาพันธ์ 2556 | |||
25 กุมภาพันธ์ 2556 | วอชิงตัน ดี.ซี., United States | Verizon Center | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
27 กุมภาพันธ์ 2556 | บอสตัน United States | TD Garden | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
2 มีนาคม 2556 | ยูนิเวอร์ซิตีพาร์ก United States | Bryce Jordan Center | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
3 มีนาคม 2556 | คาสวิลล์ United States | Mohegan Sun Arena | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
6 มีนาคม 2556 | นิวยอร์ก | Barclays Center | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
7 มีนาคม 2556 | |||
10 มีนาคม 2556 | เนชวิลล์ United States | Bridgestone Arena | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
11 มีนาคม 2556 | แอตแลนตา United States | Philips Arena | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
13 มีนาคม 2556 | แทมปา United States | Tampa Bay Times Forum | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
15 มีนาคม 2556 | Fort Lauderdale, United States | BB&T Center | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
16 มีนาคม 2556 | ไมอามี่ United States | American Airlines Arena | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
18 มีนาคม 2556 | กรีนส์โบโร United States | Greensboro Coliseum | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
20 มีนาคม 2556 | ทัลซา United States | BOK Center | ยกเลิกเนื่องจากการบาดเจ็บที่สะโพกของกาก้า |
สถิติการจำหน่ายตั๋วเข้าชม
แก้สถิติการเข้าชม คอนเสิร์ตเดอะบอร์นดิสเวย์บอล ถือว่าเป็นคอนเสิร์ตที่ประสบความสำเร็จมากของเลดีกากา โดยมีการเพิ่มรอบโชว์ในหลายประเทศ แล้วขายบัตรคอนเสิร์ตหมดทุกโชว์ และรายได้ในแต่ล่ะประเทศก็ทำได้ตามเป้าหมาย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มีประเทศโคลัมเบียเพียงประเทศเดียวที่กาก้าทำได้ไม่ถึงเป้าได้เพียง 84 เปอร์เซ็นต์
สถานที่ | เมือง | ตั๋วที่ขายได้/ตั๋วทั้งหมด | รายได้ |
---|---|---|---|
โอลิมปิค สเตเดียม | โซล/เกาหลีใต้ | 51,684 / 51,684 (100%) | $3,084,172[25] |
เอเชียเวิลด์ อารีน่า | ฮ่องกง/จีน | 51,613 / 51,613 (100%) | $7,893,195[25] |
ไซตามะ ซุปเปอร์อารีน่า | โตเกียว/ญี่ปุ่น | 96,550 / 96,550 (100%) | $18,339,701[25] |
TWTC Nangang Exhibition Hall | ไทเป/ไต้หวัน | 22,173 / 22,173 (100%) | $4,274,243[26] |
มอลล์ ออฟ เอเชียอารีน่า | มะนิลา/ฟิลิปปินส์ | 18,915 / 18,915 (100%) | $1,275,387[26] |
ราชมังคลากีฬาสถาน | กรุงเทพฯ/ไทย | 41,478 / 41,478 (100%) | $4,299,376[26] |
สิงคโปร์ อินดอร์ สเตเดี่ยม | สิงคโปร์ | 30,952 / 30,952 (100%) | $4,744,331[26] |
เวกเตอร์ อารีน่า | โอกแลนด์/นิวซีแลนด์ | 34,367 / 34,367 (100%) | $3,669,324[27] |
บริสเบน เอนเตอร์เทนเม้น เซ็นเตอร์ | บริสเบน/ออสเตรเลีย | 31,326 / 31,326 (100%) | $4,289,453[27] |
Allphones Arena | ซิดนีย์/ออสเตรเลีย | 54,774 / 54,774 (100%) | $7,563,088[27] |
โรด เลเวอร์ อารีน่า | เมลเบิร์น/ออสเตรเลีย | 60,031 / 60,031 (100%) | $8,169,642[27] |
Burswood Dome | เพิร์ธ/ออสเตรเลีย | 32,046 / 32,046 (100%) | $3,696,277[28] |
Armeets Arena | โซเฟีย/บัลแกเรีย | 8,705 / 8,705 (100%) | $489,708[29] |
Piaţa Constituţiei | Bucharest | 22,602 / 22,602 (100%) | $627,303[29] |
Wiener Stadthalle | Vienna | 13,826 / 13,826 (100%) | $1,213,814[29] |
Vingis Park | Vilnius | 14,853 / 14,853 (100%) | $1,004,182[29] |
Mežaparka Lielā Estrāde | Riga | 12,974 / 12,974 (100%) | $587,997[29] |
Tallinn Song Festival Grounds | Tallinn | 16,191 / 16,191 (100%) | $1,011,992[29] |
Hartwall Areena | Helsinki | 19,793 / 19,793 (100%) | $2,043,247[29] |
Ericsson Globe | Stockholm | 27,447 / 27,447 (100%) | $2,848,530[29] |
Parken Stadium | Copenhagen | 27,819 / 27,819 (100%) | $2,223,471[29] |
Lanxess Arena | Cologne | 25,123 / 25,123 (100%) | $2,312,695[29] |
Twickenham Stadium | London | 101,250 / 101,250 (100%) | $10,714,991[29] |
Manchester Arena | Manchester | 15,543 / 15,543 (100%) | $1,795,795[29] |
Aviva Stadium | Dublin | 37,005 / 37,005 (100%) | $3,523,340[29] |
Ziggo Dome | Amsterdam | 26,375 / 26,375 (100%) | $2,462,977[29] |
O2 World | Berlin | 11,968 / 11,968 (100%) | $1,138,313[29] |
Stade de France | Paris | 70,617 / 70,617 (100%) | $6,367,305[29] |
TUI Arena | Hanover | 10,816 / 10,816 (100%) | $1,075,831[29] |
Hallenstadion | Zurich | 26,626 / 26,626 (100%) | $3,035,010[29] |
Sportpaleis | Antwerp | 33,539 / 33,539 (100%) | $2,948,685[29] |
Mediolanum Forum | Milan | 10,753 / 10,753 (100%) | $1,119,536[30] |
Palais Nikaia | Nice | 13,169 / 13,169 (100%) | $1,088,012[30] |
Palau Sant Jordi | Barcelona | 16,934 / 16,934 (100%) | $1,705,685[31] |
Foro Sol | Mexico City | 37,260 / 37,260 (100%) | $2,666,769[32] |
José Miguel Agrelot Coliseum | San Juan | 21,262 / 21,262 (100%) | $2,242,937[31] |
Estadio Nacional de Costa Rica | San José | 29,014 / 29,014 (100%) | $1,661,029[32] |
Estadio El Campín | Bogotá | 30,546 / 36,335 (84%) | $2,465,994[32] |
Parque dos Atletas | Rio de Janeiro | 26,167 / 26,167 (100%) | $2,218,846[32] |
Estádio do Morumbi | São Paulo | 43,137 / 43,137 (100%) | $4,293,859[32] |
Centro de Eventos Fiergs | Porto Alegre | 9,918 / 9,918 (100%) | $923,379[32] |
Estadio River Plate | Buenos Aires | 45,007 / 45,007 (100%) | $3,988,565[32] |
Estadio Nacional | Santiago | 42,416 / 42,416 (100%) | $2,849,707[32] |
Estadio San Marcos | Lima | 36,163 / 36,163 (100%) | $1,732,732[32] |
Jockey Club | Asunción | 26,481 / 26,481 (100%) | $1,107,371[32] |
FNB Stadium | Johannesburg | 56,900 / 56,900 (100%) | $3,270,764[32] |
Cape Town Stadium | Cape Town | 39,527 / 39,527 (100%) | $2,285,389[32] |
Telenor Arena | Oslo | 14,566 / 14,566 (100%) | $1,748,812[32] |
SKK Arena | St. Petersburg | 11,127 / 11,127 (100%) | $1,434,499[32] |
Olimpiyskiy | Moscow | 19,522 / 19,522 (100%) | $4,022,660[32] |
Rogers Arena | Vancouver | 30,054 / 30,054 (100%) | $2,891,441[33] |
Tacoma Dome | Tacoma | 14,185 / 14,185 (100%) | $1,258,450[33] |
Rose Garden | Portland | 8,853 / 8,853 (100%) | $791,496[33] |
HP Pavilion at San Jose | San Jose | 11,465 / 11,465 (100%) | $1,498,246[33] |
รวม | 1,643,407 / 1,649,196 (99.6%) | 167,989,553 |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1634–1699: McCusker, J. J. (1997). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States: Addenda et Corrigenda (PDF). American Antiquarian Society. 1700–1799: McCusker, J. J. (1992). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States (PDF). American Antiquarian Society. 1800–present: Federal Reserve Bank of Minneapolis. "Consumer Price Index (estimate) 1800–". สืบค้นเมื่อ January 1, 2020.
- ↑ Waddell, Ray (2012-02-08). "Exclusive Info: Lady Gaga's 'Born This Way Ball' Tour to Hit Asia, Europe, Latin America This Year; North America in 2013". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ 2012-02-12.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-01. สืบค้นเมื่อ 2013-01-03.
- ↑ https://twitter.com/ladygaga/status/301457163816144896
- ↑ http://www.cnn.com/2013/02/12/showbiz/lady-gaga-hurt/index.html
- ↑ http://www.cnn.com/2013/02/12/showbiz/lady-gaga-hurt/index.html
- ↑ http://ladygaga.wikia.com/wiki/The_Born_This_Way_Ball_Tour
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/oversea/256002
- ↑ "Lady Gaga Kicks Off Her Born This Way Ball in North America". Rolling Stone. January 12, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2013. สืบค้นเมื่อ January 12, 2013.
- ↑ "Lady GaGa, The Darkness at 'Born This Way Ball' – Review". Digital Spy. September 10, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2012. สืบค้นเมื่อ January 9, 2013.
- ↑ Sources for dates in Asia:
- "Lady Gaga Tour Dates 2012: 'Born This Way' Ball to Have 110 Shows". International Business Times. February 8, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2012. สืบค้นเมื่อ April 8, 2012.
- Rodriguez, Ces (March 30, 2012). "CONFIRMED! Lady Gaga's Born This Way Ball Tour live in Manila on May 21!". Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2012. สืบค้นเมื่อ April 8, 2012.
- Yi, Ho (March 31, 2012). "Pop Stop". The Taipei Times. The Liberty Times Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2012. สืบค้นเมื่อ April 8, 2012.
- "Gaga a no-go for under-18s". Bangkok Post. Post Publishing Public Co. Ltd. March 30, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2012. สืบค้นเมื่อ April 8, 2012.
- Siregar, Lisa (March 8, 2012). "Ticket Sales Set to Begin for Lady Gaga Concert in Jakarta". Jakarta Globe. PT Jakarta Globe Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2012. สืบค้นเมื่อ April 8, 2012.
- ↑ Sources for dates in Oceania: *Jones, Bridget (February 23, 2012). "Third Lady Gaga show confirmed". Stuff.co.nz. Fairfax New Zealand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2012. สืบค้นเมื่อ April 8, 2012.
- "New Lady Gaga Tour Dates 2012!". Yahoo!7 TV. Seven West Media / Yahoo!. February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2012. สืบค้นเมื่อ April 8, 2012.
- ↑ "Lady GaGa UK tour dates confirmed for London, Manchester". Digital Spy. April 10, 2012. สืบค้นเมื่อ April 10, 2012.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 14.0 14.1 Gaga, Lady. "SURPRISE!! HERE THEY ARE, THE FIRST ANNOUNCED LATIN AMERICAN BTWBALL TOUR DATES, DONT WORRY THERE WILL BE MORE!". [LitleMonster.com]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-10. สืบค้นเมื่อ 6 August 2012.
- ↑ Ndlovu, Andile (18 June 2012). "It's official! Lady Gaga is coming to SA". The Times. Avusa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2012. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
- ↑ "Lady Gaga выступит в России!". 26 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-13. สืบค้นเมื่อ 26 August 2012.
- ↑ "Lady Gaga Konsertbilletter". 4 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-12. สืบค้นเมื่อ 4 September 2012.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpollstar
- ↑ Sources for concerts in North America:
- Evans, Rob (5 September 2012). "Lady Gaga bringing "Born This Way Ball" to North America". SoundSpike. SoundSpike Media, LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2012. สืบค้นเมื่อ 7 October 2012.
- Hall, Tara (21 December 2012). "Lady Gaga extends "Born This Way Ball"". SoundSpike. SoundSpike Media, LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2012. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
- ↑ Lutfia, Ismira. "Lady Gaga cancels Jakata Concert". The Jakarta Globe. สืบค้นเมื่อ 18 June 2012.
- ↑ "Sofia Changes Venue for Lady Gaga Gig". Novinite. 17 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2012. สืบค้นเมื่อ 7 October 2012.
- ↑ Dancu, Andreea (30 July 2012). "Lady GaGa, interzisă pe Arena Naţională" [Lady GaGa prohibited at National Arena]. Click! (ภาษาโรมาเนีย). Adevărul Holding. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2012. สืบค้นเมื่อ 7 October 2012.
- ↑ "Lady Gaga à Nice: deux dates mais moins de spectateurs" [Lady Gaga in Nice: two dates but fewer spectators] (ภาษาฝรั่งเศส). 13 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2012. สืบค้นเมื่อ 7 October 2012.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 24.0 24.1 24.2 "BORN THIS WAY BALL ANNOUNCEMENT: CHICAGO, DETROIT, AND HAMILTON". Lady Gaga. สืบค้นเมื่อ 12 February 2013.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 25.0 25.1 25.2 "Billboard Boxscore". Billboard. New York City, New York: Prometheus Global Media. 124 (18). 26 May 2012. ISSN 0006-2510. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 26.0 26.1 26.2 26.3 "Billboard Boxscore". Billboard. New York City, New York: Prometheus Global Media. 124 (22). 23 June 2012. ISSN 0006-2510. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 27.0 27.1 27.2 27.3 "Billboard Boxscore". Billboard. New York City, New York: Prometheus Global Media. 124 (26). 21 July 2012. ISSN 0006-2510. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
- ↑ "Billboard Boxscore". Billboard. New York City, New York: Prometheus Global Media. 124 (27). 28 July 2012. ISSN 0006-2510. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-21. สืบค้นเมื่อ 21 July 2012.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 29.00 29.01 29.02 29.03 29.04 29.05 29.06 29.07 29.08 29.09 29.10 29.11 29.12 29.13 29.14 29.15 29.16 29.17 29.18 "Billboard Boxscore". Billboard. New York City, New York: Prometheus Global Media. 124 (38). 13 October 2012. ISSN 0006-2510. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2012. สืบค้นเมื่อ 7 October 2012.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 30.0 30.1 "Billboard Boxscore". Billboard. New York City, New York: Prometheus Global Media. 124 (38). 20 October 2012. ISSN 0006-2510. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2012. สืบค้นเมื่อ 20 October 2012.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 31.0 31.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbx1201
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 32.00 32.01 32.02 32.03 32.04 32.05 32.06 32.07 32.08 32.09 32.10 32.11 32.12 32.13 32.14 "Billboard Boxscore". Billboard. New York City, New York: Prometheus Global Media. 124 (45). 2 January 2013. ISSN 0006-2510. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2013. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 33.0 33.1 33.2 33.3 "Billboard Boxscore". Billboard. New York City, New York: Prometheus Global Media. 125 (4). 2 February 2013. ISSN 0006-2510. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26. สืบค้นเมื่อ 26 January 2013.