สต็อกโฮล์ม
สต็อกโฮล์ม[8] หรือ สตอกโฮล์ม[9] (สวีเดน: Stockholm)[a][10] เป็นเมืองหลวงของประเทศสวีเดน และเป็นพื้นที่เขตนครที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศและในภูมิภาคสแกนดิเนเวีย ด้วยประชากรหนึ่งล้านคนอาศัยในเขตเทศบาล[11], 1.6 ล้านคนในเขตเมือง,[5] และ 2.4 ล้านคนในเขตนคร[11] สต็อกโฮล์มมีพื้นที่กินเกาะจำนวนสิบสี่ที่ซึ่งมีทะเลสาบมะลาเรนไหลลงทะเลบอลติก และเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะสต็อกโฮล์ม พื้นที่ของสต็อกโฮล์มปรากฏหลักฐานว่ามีการตั้งรกรากมาตั้งแต่ยุคหิน ราวหกพันปีก่อนคริสตกาล และจัดตั้งขึ้นมาในฐานะเมืองเมื่อปี 1252 โดยบีรเยร์ ยาร์ล
สต็อกโฮล์ม | |
---|---|
สมญา: เอเกน (Eken), เวนิสแห่งยุโรปเหนือ, เวนิสแห่งสแกนดิเนเวีย[1] | |
พิกัด: 59°19′46″N 18°4′7″E / 59.32944°N 18.06861°E | |
ประเทศ | สวีเดน |
จังหวัด | เซอร์เดมันลันด์ และ อุปป์ลันด์ |
มณฑล | มณฑลสต็อกโฮล์ม |
เทศบาล | |
ปรากฏหลักฐานชื่อเมืองครั้งแรก | 1252 |
ชาร์เตอร์ | ศตวรรษที่ 13 |
การปกครอง | |
• นายกเทศบาล | อันนา เคนิก ยารัลมือร์ (M) |
พื้นที่[2] | |
• เมืองหลวง | 188 ตร.กม. (73 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 381.63 ตร.กม. (147.35 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 6,519 ตร.กม. (2,517 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 28 เมตร (92 ฟุต) |
ประชากร | |
• เมืองหลวง | 975,551 คน |
• ความหนาแน่น | 5,200 คน/ตร.กม. (13,000 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง[6] | 1,605,030 คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 4,200 คน/ตร.กม. (11,000 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 2,391,990 คน |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 370 คน/ตร.กม. (950 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | Stockholmer |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
รหัสไปรษณีย์ | 100 00-199 99 |
รหัสพื้นที่ | +46-8 |
GDP(Nominal)[7] | US$170 billion |
GDP(Nominal) ต่อหัว | US$75,000 |
เว็บไซต์ | www |
สต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวงของมณฑลสต็อกโฮล์ม และเป็นศูนย์กลางด้านวัฒนธรรม สื่อ การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศสวีเดน ภูมิภาคสต็อกโฮล์มมีมูลค่าสูงกว่าหนึ่งในสามของจีดีพีของประเทศ[12] และเป็นหนึ่งในสิบภูมิภาคที่มีจีดีพีต่อหัวสูงสุดในทวีปยุโรป[13] สต็อกโฮล์มได้รับการจัดอันดับเป็นมหานครโลกระดับอัลฟา[14] รวมถึงเป็นนครที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคสแกนดิเนเวีย รวมถึงเป็นศูนย์กลางของสำนักงานใหญ่บริษัทใหญ่ ๆ ในภูมิภาคนอร์ดิก[15] สถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยระดับต้น ๆ ของโลกที่ตั้งอยู่ในสต็อกโฮล์ม เช่น สถาบันเศรษฐศาสตร์สต็อกโฮล์ม, สถาบันคาโรลินสกา, ราชวิทยาลัยเทคโนโลยีเคทีเอช และ มหาวิทยาลัยลุนด์[16][17] นอกจากนี้สต็อกโฮล์มยังเป็นเมืองเจ้าภาพการจัดพิธีมอบรางวัลโนเบลที่โถงคอนเสิร์ตสต็อกโฮล์ม และ ศาลาว่าการเมืองสต็อกโฮล์ม หนึ่งในบรรดาพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของสต็อกโฮล์มคือพิพิธภัณฑ์วาซา ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ใช่หอศิลป์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในภูมิภาคสแกนดิเนเวีย[18][19] รถไฟใต้ดินสต็อกโฮล์ม ซึ่งเปิดทำการในปี 1950 เป็นที่รู้จักทั่วโลกจากการตกแต่งภายในสถานีทุกสถานี จนได้รับการขนานนามให้เป็นหอศิลป์ที่ยาวที่สุดในโลก[20][21][22]
สต็อกโฮล์มเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของรัฐบาลสวีเดนและกระทรวงทบวงต่าง ๆ ของประเทศ[23] รวมถึงศาลสูงสุดในระบบยุติธรรม[24][25] และที่ประทับอย่างเป็นทางการของสถาบันพระมหากษัตริย์และนายกรัฐมนตรี ที่ทำการรัฐบาลสวีเดนตั้งอยู่ในอาคารโรเซินบาด ส่วนริคสดาก (สภา) ตั้งอยู่ในอาคารรัฐสภา และที่อยู่ทางการของนายกรัฐมนตรีตั้งอยู่ตรงข้ามกันที่บ้านซาเกร์[26][27][28] ที่ประทับทางการและสถานที่ทรงงานหลักของพระราชวงศ์สวีเดนคือพระราชวังสต็อกโฮล์ม ในขณะที่พระราชวังโดรตท์นิงโฮล์มซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกและตั้งอยู่ชานเมืองสต็อกโฮล์ม เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์[29][30]
ดูเพิ่ม
แก้- โฮลเมียม – ธาตุเคมีซึ่งตั้งชื่อตามสต็อกโฮล์ม
- รายชื่อบุคคลจากสต็อกโฮล์ม
- ภาพรวมสต็อกโฮล์ม
- ท่าเรือในทะเลบอลติก
- กลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม
อ้างอิง
แก้- ↑ "20 Famous Cities You Can Visit Without Breaking The Bank – TripAdvisor Vacation Rentals". TripAdvisor Vacation Rentals. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-05. สืบค้นเมื่อ 10 February 2016.
- ↑ "Localities 2010, area, population and density in localities 2005 and 2010 and change in area and population". Statistics Sweden. 29 พฤษภาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2013.
- ↑ "Folkmängd i riket, län och kommuner. Totalt". SCB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2016.
- ↑ "Stockholm". Nationalencyklopedin (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ 5.0 5.1 "Folkmängd per tätort och småort 2010, per kommun" (XLS) (ภาษาสวีเดน). Statistics Sweden. 20 June 2013. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
- ↑ "Folkmängd och landareal i tätorter, per tätort. Vart femte år 1960 - 2019". Statistikdatabasen.
- ↑ http://ec.europa.eu/eurostat/documents/2995521/8700651/1-28022018-BP-EN/15f5fd90-ce8b-4927-9a3b-07dc255dc42a
- ↑ ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. ลงวันที่ 14 มีนาคม 2561.
- ↑ "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ Hedelin, Per (1997). Norstedts svenska uttalslexikon. Stockholm: Norstedts.
- ↑ 11.0 11.1 "Folkmängd i riket, län och kommuner 31 mars 2019 och befolkningsförändringar 1 januari–31 mars". SCB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2016.
- ↑ "Finansiella sektorn bär frukt — Analys av den finansiella sektorn ur ett svenskt perspektiv" (PDF). Government of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 July 2014. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
- ↑ "Regional GDP per capita in the EU in 20 10 : eight capital regions in the ten first places" (PDF). Eurostat. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2014.
- ↑ "The World According to GaWC 2020". GaWC - Research Network. Globalization and World Cities. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
- ↑ Olshov, Anders (2010). The location of nordic and global headquarters 2010. Malmö: Øresundsinstituttet. p. 197. OCLC 706436140.
Stockholm is the main centre of headquarters in the Nordic region
- ↑ "Stockholm School of Economics". www.hhs.se. สืบค้นเมื่อ 11 December 2017.
- ↑ "World University Rankings 2011–12: Europe". TSL Education Ltd. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
- ↑ "Top 5 non-art museums". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
- ↑ "Who visits Vasa". Vasamuseet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2014. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
- ↑ "Stockholm's underground subway art". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-06. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
- ↑ "Stockholm's Subway System is the World's Largest Underground Art Museum". Inhabitat. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
- ↑ "Magic in the Metro". Businessweek. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
- ↑ "Allt fler myndigheter hamnar i Stockholm" (ภาษาสวีเดน). Riksdag & Departement. 27 เมษายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "Kammarrättens hus" (ภาษาสวีเดน). National Property Board of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2014. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
- ↑ "Bondeska palatset" (ภาษาสวีเดน). National Property Board of Sweden. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
- ↑ "The Swedish Government Offices — a historical perspective". The Government Offices of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2014. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
- ↑ "How the Riksdag works". The Riksdag. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
- ↑ "Sagerska huset" (ภาษาสวีเดน). National Property Board of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-19. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
- ↑ "The Royal Palace of Stockholm". The Royal Court of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "Drottningholm Palace". The Royal Court of Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Stockholm—official website
- Stockholm Visitors Board เก็บถาวร 2017-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน—the official visitors' guide
- Selma Lagerlöf's account of the history of Stockholm, in Ch. VII of The Wonderful Adventures of Nils [1] </ref>
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน