มิลาน
มิลาน (อังกฤษ: Milan) หรือ มีลาโน (อิตาลี: Milano) เป็นเมืองเอกของแคว้นลอมบาร์เดีย ประเทศอิตาลี ถือเป็นนครที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงโรม และเป็นเมืองที่ขนาดใหญ่ที่สุดในอิตาลีในแง่จำนวนประชากรในเมือง[4] ตัวเมืองมิลานมีประชากรราว 1.4 ล้านคน ขณะที่ทั้งเขตเทศมณฑลจะมีประชากร 3.23 ล้านคน[5] นครมิลานและปริมณฑลมีประชากรรวมกว่า 8.2 ล้านคน นอกจากนี้ เขตเมืองของมิลานยังมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ในสหภาพยุโรปด้วยจำนวน 6.17 ล้านคน และอ้างอิงจากรายงานฐานข้อมูลระดับชาติ ประชากรภายในเขตมหานครมิลานที่อาศัยอยู่ลึกเข้าไปในตัวเมืองอยู่ระหว่าง 7.5 ล้านถึง 8.2 ล้านคน ทำให้เมืองนี้เป็นเขตมหานครที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลี และเป็นหนึ่งในเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป มิลานมีบทบาทสำคัญในฐานะเมืองหลวงทางเศรษฐกิจของอิตาลี ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองสำคัฐทางเศรษฐกิจของยุโรป และเป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลก[6]
มิลาน Milano (อิตาลี) | |
---|---|
Comune di Milano เทศบาลมิลาน | |
![]() ตามเข็มจากบน: ปอร์ตานูโอวา, ปราสาทสฟอร์ซา, ลาสกาลา, กัลเลรีอาวิตโตรีโยเอมานูเอเลเซคอนโด, สถานีรถไฟกลางมิลาน, ประตูสันติ และอาสนวิหารมิลาน | |
พิกัด: 45°28′01″N 09°11′24″E / 45.46694°N 9.19000°E | |
ประเทศ | ![]() |
แคว้น | ลอมบาร์เดีย |
เขตมหานคร | มิลาน (MI) |
การปกครอง | |
• องค์กร | สภาเทศบาล |
พื้นที่ | |
• เทศบาล | 181.76 ตร.กม. (70.18 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 120 เมตร (390 ฟุต) |
ประชากร (31 ธ.ค. 2018)[1] | |
• เทศบาล | 1,395,274 คน |
• ความหนาแน่น | 7,700 คน/ตร.กม. (20,000 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล[2] | 4,336,121 คน |
เดมะนิม | Milanese Meneghino[3] |
รหัสพื้นที่ | 0039 02 |
เว็บไซต์ | www.comune.milano.it |
ประวัติศาสตร์ของมิลานเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 590 ปีก่อนคริสตกาล[7] ในชื่อ Medhelanon ชาวเคลต์เป็นชนยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากบริเวณนี้ ก่อนจะถูกยึดครองโดยชาวโรมันในช่วง 222 ปีก่อนคริสตกาล และมีการเปลี่ยนชื่อเป็น Mediolanum เมืองนี้มีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางทางการปกครองตั้งแต่ปลายสมัยโบราณ โดยทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก[8] นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 จนถึงศตวรรษที่ 16 มิลานเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและเป็นศูนย์กลางการค้าและการพาณิชย์ที่สำคัญ ในฐานะเมืองหลวงของดัชชีแห่งมิลาน หนึ่งในศูนย์กลางทางการเมือง ศิลปะ และแฟชั่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[9][10] ในเวลาต่อมา เมืองได้กลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของยุคแห่งแสงสว่างในช่วงสมัยใหม่ตอนต้น และกลายเป็นเมืองที่มีการขยับขยายอย่างรวดเร็วและมีบทบาทในยุคการฟื้นฟูครั้งแรก จนกระทั่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอิตาลีที่มีความเป็นเอกภาพ นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 มิลานกลายเป็นเมืองหลวงทางอุตสาหกรรมและการเงินของอิตาลี[11][12]
มิลานเคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก, แกรนด์ดัชชีมิลาน และราชอาณาจักรลอมบาร์เดีย-เวนิส มิลานได้รับการยอมรับเป็นหนึ่งในเมืองอัลฟาหรือเมืองระดับโลก มีจุดเด่นในการเป็นผู้นำทางศิลปะ, วิทยาศาสตร์, การค้า, สถาปัตยกรรม, การออกแบบ, การศึกษา, แฟชั่น, ความบันเทิง, การแพทย์, การสื่อสาร, การบริการ, วิจัยและนวัตกรรม และการท่องเที่ยวชั้นนำของโลก[13] เขตธุรกิจในนครมิลานเป็นที่ตั้งของอาคารตลาดหลักทรัพย์อิตาลี และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ธนาคารและบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่หลายแห่ง มิลานเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งสูงสุดในอิตาลีวัดตามผลิตภัณฑ์มวลรวม ภาคเศรษฐกิจของนครมิลานมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของสหภาพยุโรปรองจากกรุงปารีส นับเป็นเมืองที่ไม่ใช่เมืองหลวงที่มีความมั่งคั่งมากที่สุดในทวีปยุโรป[14]
มิลานและตูรินมักถูกมองว่าเป็นเมืองที่อยู่ในส่วนใต้สุดตามเส้นทาง Blue Banana หรือเส้นทางการพัฒนาเมืองแบบกระจัดกระจายซึ่งขยายตัวไปทั่วภูมิภาคยุโรปกลาง และเป็นหนึ่งในสี่เมืองหลักของ Four Motors for Europe เครือข่ายข้ามชาติระหว่างภูมิภาคซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและการวิจัยในยุโรป มิลานเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวระดับนานาชาติที่สำคัญ มักติดอันโลกในแง่เมืองที่มีจำนวนผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก โดยเป็นอันดับ 2 ในอิตาลีรองจากโรม อันดับ 5 ในยุโรป และอันดับ 16 ของโลก[15][16] มิลานยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญของยุโรป โดยมีจำนวนมีพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ที่รวบรวมผลงานชิ้นเอกมากมาย เช่น จิตรกรรมของเลโอนาร์โด ดา วินชี[17][18] นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยจำนวนมาก โดยจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมดคิดเป็น 11% ของนักศึกษาทั้งประเทศ[19] ท่าอากาศยานมิลานมัลเปนซาเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่พลุกพล่านที่สุดในทวีปยุโรป[20]
มิลานได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในสี่เมืองหลวงด้านแฟชั่นของโลก[21] เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่แบรนด์แฟชั่นระดับโลกมากมาย อาทิ อาร์มานี, ปราดา, เวอร์ซาเช, วาเลนตีโต, โลโร เปียนา และแอร์เมเนกิลโด เซนญา[22] มิลานยังได้รับผลพลอยได้จากการจัดงานนิทรรศการนานาชาติบ่อยครั้งในแต่ละปี งานที่ใหญ่ที่สุดของแต่ละปีคือมิลานแฟชั่นวีค และมิลานเฟอร์นิเจอร์แฟร์ สองงานนี้ถือเป็นงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของโลกในแง่รายได้, ผู้เข้าชม และอัตราเติบโต มิลานยังเป็นที่ตั้งของโรงแรมหรูหราหลายแห่ง ทั้งยังอยู่ในอันดับ 5 ของโลกในแง่จำนวนที่พักและร้านอาหารที่ได้รับการยกย่องโดย มิชลินไกด์ [23] นครมิลานเคยเป็นสถานที่จัดงานนิทรรศการโลกถึงสองครั้งในปี 1906 และ 2015 และเป็นที่ตั้งของสองสโมสรฟุตบอลชื่อดังอย่างเอซีมิลานและอินเตอร์มิลาน ซึ่งต่างก็เป็นหนึ่งในทีมชั้นนำที่ประสบความสำเร็จสูงในยุโรป รวมทั้งทีมบาสเกตบอลโอลิมเปียมีลาโน มิลานมีกำหนดเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2026 และพาราลิมปิกฤดูหนาว 2026 เป็นครั้งแรกร่วมกับกอร์ตีนาดัมเปซโซ[24][25][26]
ศิลปะ
แก้โคร์เวตโต (อังกฤษ: Corvetto) คือเขตศิลปะร่วมสมัยของมิลาน[27][28][29][30][31]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถาปัตยกรรม
แก้ในมิลานมีสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือมายากยุคเป็นอาณานิคมของโรมันโบราณเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น แห่งที่มีชื่อเสียงและมีสภาพดีที่สุดคือ เสาแห่งซันลอเรนโซ (Colonne di San Lorenzo) ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 4 (ค.ศ. 351-400) นักบุญอัมโบรซิอุส มุขนายกแห่งมิลาน เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการวางผังเมืองมิลาน ท่านได้เปลี่ยนทัศนียภาพของใจกลางเมืองครั้งใหญ่ และสร้างมหาวิหารอันใหญ่โตสี่แห่งไว้ที่ประตูเมือง ได้แก่ซันอัมโบรจิโอ, ซันนาซาโรอินโบรโล, ซันซิมปลิซีอาโน และซันตุสตอร์จิโอ ซึ่งยังคงตั้งอยู่จนถึงปัจจุบัน
โบสถ์คริสต์ที่สำคัญและงดงามที่สุดของเมืองอย่างอาสนวิหารมิลาน (Duomo di Milano) ถูกสร้างขึ้นระหว่างปีค.ศ. 1386 ถึง 1577 ถือเป็นโบสถ์คริสต์ที่ใหญ่เป็นอันดับห้าของโลก และเป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมกอทิกที่สำคัญที่สุดในอิตาลี มีการเชิญรูปหล่อทองแดงปิดทองของพระนางมารีย์พรหมจารีไว้ที่ยอดของวิหารในปีค.ศ. 1774 และกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของมิลาน[32]
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ระหว่างที่ราชวงศ์สฟอร์ซาปกครองมิลาน มีการขยายปราการวิสคอนเตอันและตกแต่งใหม่จนกลายเป็นปราสาทสฟอร์ซา ถือเป็นอาคารราชสำนักแบบสถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ที่รายล้อมไปด้วยกำแพงอุทยานล่าสัตว์ ราชวงศ์สฟอร์ซาถือเป็นพันธมิตรกับโกซีโม เด เมดีชี แห่งนครฟลอเรนซ์ จึงทำให้มีสถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์แบบตอสกานามาปรากฏในมิลานด้วย
เศรษฐกิจ
แก้ถ้าโรมเป็นเมืองหลวงของอิตาลี มิลานก็เป็นดั่งหัวใจด้านการเงินและอุตสากรรมของอิตาลี ในปี 2014 มิลานเมืองเดียวมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ถึง 1.58 แสนล้านยูโร[33] จังหวัดมิลานสร้างรายได้คิดเป็นราว 10% ของรายได้ประเทศ ในขณะที่ทั้งแคว้นลอมบาร์เดียสร้างรายได้ราว 22% ของรายได้ประเทศ[34] (พอๆกับประเทศเบลเยียม) จังหวัดมิลานเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่บริษัท 45% ในแคว้นลอมบาร์เดียและ 8% ในอิตาลี
มิลานเป็นเมืองที่แพงที่สุดเป็นอันดับ 11 ของทวีปยุโรป และเป็นอันดับ 22 ของโลกในปีค.ศ. 2019[35] ถนนสายวีอามอนเตนโปเลียน(Via Monte Napoleone)ในมิลานเป็นถนนสายช็อปปิ้งที่แพงที่สุดในยุโรปตามการจัดอันดับของบริษัทรับคืนภาษี Global Blue[36]
มิลานเป็นศูนย์กลางการเงินและการธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลี บริษัทประกันและเครือธนาคารยักษ์ใหญ่จำนวนมากของอิตาลี ตลอดจนบริษัทประกันและธนาคารต่างชาติกว่าสี่สิบรายล้วนตั้งอยู่ในมิลาน[37] ตลาดหลักทรัพย์อิตาลีก็มีที่ตั้งอยู่ในมิลาน
ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของนครมิลาน (ท่าอากาศยานลินาเต) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 21.7 (71.1) |
23.8 (74.8) |
26.9 (80.4) |
32.4 (90.3) |
35.5 (95.9) |
36.6 (97.9) |
37.2 (99) |
36.9 (98.4) |
33.0 (91.4) |
28.2 (82.8) |
23.0 (73.4) |
21.2 (70.2) |
37.2 (99) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 5.9 (42.6) |
9.0 (48.2) |
14.3 (57.7) |
17.4 (63.3) |
22.3 (72.1) |
26.2 (79.2) |
29.2 (84.6) |
28.5 (83.3) |
24.4 (75.9) |
17.8 (64) |
10.7 (51.3) |
6.4 (43.5) |
17.7 (63.9) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 2.5 (36.5) |
4.7 (40.5) |
9.0 (48.2) |
12.2 (54) |
17.0 (62.6) |
20.8 (69.4) |
23.6 (74.5) |
23.0 (73.4) |
19.2 (66.6) |
13.4 (56.1) |
7.2 (45) |
3.3 (37.9) |
13.0 (55.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -0.9 (30.4) |
0.3 (32.5) |
3.8 (38.8) |
7.0 (44.6) |
11.6 (52.9) |
15.4 (59.7) |
18.0 (64.4) |
17.6 (63.7) |
14.0 (57.2) |
9.0 (48.2) |
3.7 (38.7) |
0.1 (32.2) |
8.3 (46.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -15.0 (5) |
-15.6 (3.9) |
-7.4 (18.7) |
-2.5 (27.5) |
-0.8 (30.6) |
5.6 (42.1) |
8.4 (47.1) |
8.0 (46.4) |
3.0 (37.4) |
-2.3 (27.9) |
-6.2 (20.8) |
-13.6 (7.5) |
−15.6 (3.9) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 58.7 (2.311) |
49.2 (1.937) |
65.0 (2.559) |
75.5 (2.972) |
95.5 (3.76) |
66.7 (2.626) |
66.8 (2.63) |
88.8 (3.496) |
93.1 (3.665) |
122.4 (4.819) |
76.7 (3.02) |
61.7 (2.429) |
920.1 (36.224) |
ความชื้นร้อยละ | 86 | 78 | 71 | 75 | 72 | 71 | 71 | 72 | 74 | 81 | 85 | 86 | 77 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 6.7 | 5.3 | 6.7 | 8.1 | 8.9 | 7.7 | 5.4 | 7.1 | 6.1 | 8.3 | 6.4 | 6.3 | 83.0 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 58.9 | 96.1 | 151.9 | 177.0 | 210.8 | 243.0 | 285.2 | 251.1 | 186.0 | 130.2 | 66.0 | 58.9 | 1,915.1 |
แหล่งที่มา: Servizio Meteorologico[38][39][40] |
ลิงก์
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Resident population by age, nationality and borough". Comune di Milano. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-02-24.
- ↑ "Database". ec.europa.eu. Eurostat. click General and regional statistics / Regional statistics by typology / Metropolitan regions / Demography statistics by metropolitan regions / Population on 1 January by broad age group, sex and metropolitan regions (met_pjanaggr3)
- ↑ In reference to the Meneghino mask.
- ↑ "Where are the largest metropolitan regions in the EU?". ec.europa.eu (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-03-18. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ "Milano (Metropolitan City, Italy) - Population Statistics, Charts, Map and Location". www.citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ "Milan, Italy's Industrial and Financial Capital | Prologis". www.prologis.it (ภาษาอังกฤษ). 2018-05-18. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ "::: Storia di Milano ::: Fino al 150 d.C." www.storiadimilano.it. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ Bonazzoli, Francesca (2018-11-24). "Quando Milano era capitale dell'Impero". Corriere della Sera (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ Scott, Tom (2012). The city-state in Europe, 1000-1600: hinterland, territory, region. Oxford ; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-927460-4. OCLC 757147106.
- ↑ kuneo_Cav (2019-05-20). "Storia del ducato di Milano: dai Visconti ai Sforza Cavalleria San Maurizio". Cavalleria San Maurizio (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ Angela (2018-11-23). "Milan - story of a business capital of Europe". Il blog di Smart Eventi (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ "Milan | History, Population, Climate, Map, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). 2025-02-13. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ patrizia.mellano. "Assolombarda - Milano cuore dell'industria chimica". Assolombarda.it (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ Gert-Jan Hospers (2002). "Beyond the Blue Banana? Structural Change in Europe's Geo-Economy" (PDF). 42nd EUROPEAN CONGRESS of the Regional Science Association Young Scientist Session – Submission for EPAINOS Award 27–31 August 2002 – Dortmund, Germany. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 27 September 2006.
- ↑ "Milano è la seconda città più amata dai turisti in Italia dopo la capitale". Il Giorno (ภาษาอิตาลี). 2023-07-04. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ "Global Destination Cities Index 2019 di Mastercard: aumentano i turisti che scelgono l'Italia | Europe Hub". web.archive.org. 2019-11-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-06. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ "Musei di Milano". museidimilano.it (ภาษาอิตาลี). 2018-02-16. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ "The Last Supper - Leonardo Da Vinci - Useful Information". www.milan-museum.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ "Migliori università al mondo, due sono a Milano: Politecnico e Bocconi". Il Giorno (ภาษาอิตาลี). 2023-03-22. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ "Italy: passengers traveling through Milan Malpensa Airport 2010-2020 | Statista". Statista (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-12-09. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ Shaw, Catherine (17 July 2016). "Milan, the 'world's design capital', takes steps to attract visitors year-round". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
- ↑ Kaufman, Sara (2018-07-18). "10 Milan Fashion Brands You Need To Know". Culture Trip (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ "Guida Michelin 2016: ristoranti stellati in Lombardia". web.archive.org. 2016-05-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-02. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ Livingstone, Robert (2018-09-20). "Lausanne To Host Vote For Winning 2026 Winter Olympic Bid Instead of Milan After Italy Enters Race". GamesBids.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ Livingstone, Robert (2018-10-09). "IOC To Move Up 2026 Olympic Bid Vote Three Months, Now June 2019". GamesBids.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ "Winter Olympics & Paralympics: Italy's Milan-Cortina chosen to host 2026 Games". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-06-24. สืบค้นเมื่อ 2025-02-15.
- ↑ Via Romilli: ศิลปะร่วมสมัยเบ่งบานในมิลาน, Artribune, มีนาคม 2024
- ↑ Fondazione Galleria Milano: โครงการใหม่สำหรับศิลปะร่วมสมัย, Artribune, มกราคม 2024
- ↑ Via Romilli ที่มิลาน: เขตศิลปะร่วมสมัยใหม่, Exalto, 2024
- ↑ จาก Montenapo ถึง Corvetto: แกลเลอรีและโครงการเดินทางกำลังเบ่งบาน, Il Giorno, 2024
- ↑ Corvetto ArtWeek: ศิลปะครอบงำย่าน, Viafarini, 2024
- ↑ Wilson, Sharon (2011). A perfect trip to Italy in the golden years. Bloomington, IN: iUniverse Inc. p. 93. ISBN 978-1-4502-8443-1.
- ↑ "Gross domestic product (GDP) at current market prices by NUTS 3 regions". Eurostat. สืบค้นเมื่อ 7 December 2017.
- ↑ "Gross domestic product (GDP) at current market prices by NUTS 2 regions". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2014. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
- ↑ Beswick, Emma (19 March 2019). "Europe is home to some of the most expensive cities in the world in 2019 — where are they?". Euronews. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
- ↑ ""Montenapoleone ha un primato: scontrino medio 1.800 euro, via più cara d'Europa"". MilanoToday. สืบค้นเมื่อ 14 February 2018.
- ↑ "Milan: city profile". Municipality of Milan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
- ↑ "Milano/Linate (MI)" (PDF). Servizio Meteorologico. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 14, 2016. สืบค้นเมื่อ December 11, 2014.
- ↑ "Stazione 080 Milano-Linate: Medie Mensili Periodo 1961–90". Servizio Meteorologico. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2016. สืบค้นเมื่อ December 11, 2014.
- ↑ "Milano Linate: Record mensili dal 1946" (ภาษาอิตาลี). Servizio Meteorologico dell'Aeronautica Militare. สืบค้นเมื่อ December 11, 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มิลาน
- เว็บไซต์เทศบาลมิลาน เก็บถาวร 2001-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน