ประเทศเซนต์ลูเชีย
เซนต์ลูเชีย (อังกฤษ: Saint Lucia; ฝรั่งเศส: Sainte-Lucie) เป็นประเทศที่เป็นเกาะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทะเลแคริบเบียน และติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก[8] เซนต์ลูเชียเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (Lesser Antilles) โดยอยู่ทางทิศเหนือของประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศบาร์เบโดส และทางทิศใต้ของเกาะมาร์ตินีกของฝรั่งเศส กินพื้นที่ 617 km2 (238 ตารางไมล์) และรายงานประชากรตามสำมะโน ค.ศ. 2010 ที่ 165,595 คน[9]
เซนต์ลูเชีย | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศเซนต์ลูเชีย (วงกลมสีแดง) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | แคสตรีส์ 13°53′00″N 60°58′00″W / 13.88333°N 60.96667°W[1] |
ภาษาราชการ | อังกฤษ |
ภาษาพื้นถิ่น | ครีโอลเซนต์ลูเชีย[2] |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2010[3]) |
|
ศาสนา (ค.ศ. 2010)[4] |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญในระบบรัฐสภา |
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 | |
เอร์โรล ชาลส์ (รักษาการ) | |
ฟิลิป เจ. ปีแอร์ | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | วุฒิสภา |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
เอกราช | |
1 มีนาคม ค.ศ. 1967 | |
• เอกราชจากสหราชอาณาจักร | 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 |
พื้นที่ | |
• รวม | 617 ตารางกิโลเมตร (238 ตารางไมล์) (อันดับที่ 178) |
1.6 | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2022 ประมาณ | 184,961 (อันดับที่ 189) |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2010 | 165,595 |
299.4 ต่อตารางกิโลเมตร (775.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 29) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 2.480 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] |
• ต่อหัว | 13,708 ดอลลาร์สหรัฐ[5] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 1.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] |
• ต่อหัว | 9,780 ดอลลาร์สหรัฐ[5] |
จีนี (ค.ศ. 2016) | 51.2[6] สูง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021) | 0.715[7] สูง · อันดับที่ 106 |
สกุลเงิน | ดอลลาร์แคริบเบียนตะวันออก (XCD) |
เขตเวลา | UTC−4 (AST) |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | +1 758 |
รหัส ISO 3166 | LC |
โดเมนบนสุด | .lc |
ประเทศเซนต์ลูเชียรู้จักในนาม "Helen of the West"
ศัพทมูล
แก้มีการตั้งชื่อเซนต์ลูเชียตามนักบุญลูซีแห่งซีรากูซา (ค.ศ. 283 – 304)[10] เซนต์ลูเชียและไอร์แลนด์เป็นรัฐอธิปไตยเพียงสองประเทศบนโลกที่ตั้งชื่อประเทศตามผู้หญิง (ไอร์แลนด์ตั้งชื่อตามเทพีแห่งการเจริญพันธุ์ของเซลติก Eire)[11] อย่างไรก็ตาม เซนต์ลูเชียเป็นประเทศเดียวที่ตั้งชื่อตามบุคคลที่มีจริงทางประวัติศาสตร์ ตำนานระบุว่าเรือของนักเดินเรือฝรั่งเศสอัปปางบนเกาะในวันที่ 13 ธันวาคม ตรงกับวันฉลองนักบุญลูซี ทำให้พวกเขาตั้งชื่อเกาะตามเธอเพื่อเป็นการให้เกียรติ[12]
ประวัติศาสตร์
แก้เซนต์ลูเชียเป็นหนึ่งในหมู่เกาะวินด์เวิร์ด (Windward Islands) ได้รับการตั้งชื่อตามนามของนักบุญลูซีแห่งไซราคิวส์ ซึ่งเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ชาวยุโรปมาเยือนเซนต์ลูเชียครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2043 มีการทำสนธิสัญญาระหว่างชนพื้นเมืองที่นี่กับฝรั่งเศส ทำให้เซนต์ลูเชียก็ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2203 ในระหว่างปี พ.ศ. 2206-2210 เซนต์ลูเชียถูกอังกฤษเข้ายึดครอง และต่อมา เกิดสงครามแย่งชิงเซนต์ลูเชียระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสทั้งหมด 14 ครั้ง จนท้ายที่สุด อังกฤษสามารถยึดครองเซนต์ลูเชียได้สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2357 เซนต์ลูเชียเริ่มใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ในปี พ.ศ. 2467 (เริ่มเปิดให้มีการออกเสียงของประชาชนในปี พ.ศ. 2496) และในระหว่างปี พ.ศ. 2501-2505 เซนต์ลูเชียได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธรัฐเวสต์อินดีส ท้ายที่สุด ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เซนต์ลูเชียได้รับเอกราช และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพอังกฤษ ดังนั้นในวันนี้ของทุก ๆ ปีจึงถือเป็นวันหยุดสำคัญประจำชาติ นอกจากนี้วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ยังบังเอิญตรงกับวันเกิดของนักการทูตอังกฤษที่มีชื่อเสียงชื่อ ลูเซีย ลาดี (Lucia Ladi) อีกด้วย
ภูมิศาสตร์
แก้เซนต์ลูเชียมีลักษณะเป็นเกาะภูเขาไฟที่มีภูมิประเทศมีความเป็นภูเขามากกว่าเกาะอื่น ๆ ในแถบทะเลแคริบเบียนส่วนใหญ่ โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศอยู่ที่เขากีมี ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลที่ 950 เมตร (3,120 ฟุต)[10][13] ส่วนเขา Pitons ที่เป็นภูเขาสองลูก เป็นแลนด์มาร์กที่โด่งดังที่สุดของเกาะ[10][13] ทอดตัวระหว่างเขตซูฟรีแยร์และเขตชัวเซิล ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ป่าไม้ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 77% ของพื้นที่ทั้งหมด[10]
นอกจากนี้ยังมีเกาะขนาดเล็กจำนวนมากริมชายฝั่ง โดยเกาะที่ใหญ่ที่สุดคือหมู่เกาะมาเรียทางตะวันออกเฉียงใต้
เมืองหลวงของประเทศนี้คือแคสตรีส์ (ประชากร 60,263) ซึ่งมีประชากร 32.4% อาศัยอยู่ในกรุงนี้ ส่วนเมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ Gros Islet, ซูฟรีแยร์ และวีเยอฟอร์ ประชากรในประเทศมักกระจุกอยู่บริเวณรอบชายฝั่ง โดยบริเวณภายในมีประชากรเปราะบาง เนื่องจากป่าที่ชุกชุม[10][13]
ภูมิอากาศ
แก้ลักษณะภูมิอากาศของเซนต์ลูเชียเป็นแบบเขตร้อน และได้รับอิทธิพลจากลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะแห้งในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน และฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน
ข้อมูลภูมิอากาศของเซนต์ลูเชีย[14] | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 29 (84) |
29 (84) |
29 (84) |
30 (86) |
31 (88) |
31 (88) |
31 (88) |
31 (88) |
31 (88) |
31 (88) |
30 (86) |
29 (84) |
30.2 (86.3) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 26 (79) |
26 (79) |
26 (79) |
27 (81) |
28 (82) |
28 (82) |
28 (82) |
28 (82) |
28 (82) |
28 (82) |
27 (81) |
26 (79) |
27.2 (80.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 23 (73) |
23 (73) |
24 (75) |
24 (75) |
25 (77) |
25 (77) |
25 (77) |
25 (77) |
25 (77) |
25 (77) |
24 (75) |
24 (75) |
24.3 (75.8) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 125 (4.92) |
95 (3.74) |
75 (2.95) |
90 (3.54) |
125 (4.92) |
200 (7.87) |
245 (9.65) |
205 (8.07) |
225 (8.86) |
260 (10.24) |
215 (8.46) |
160 (6.3) |
2,020 (79.53) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 14 | 9 | 10 | 10 | 11 | 15 | 18 | 16 | 17 | 20 | 18 | 16 | 174 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 248 | 226 | 248 | 240 | 248 | 240 | 248 | 248 | 240 | 217 | 240 | 248 | 2,891 |
แหล่งที่มา: |
การเมืองการปกครอง
แก้ในฐานะที่เป็นสมาชิกของเครือจักรภพ เซนต์ลูเชียมีสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 เป็นประมุขของประเทศ อย่างไรก็ตาม อำนาจในการปกครองประเทศจะอยู่ที่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยปกตินายกรัฐมนตรีจะมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง โดยในรัฐสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร 17 คน และวุฒิสภา 11 คน
เซนต์ลูเชีย เป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมแคริบเบียน (Caribbean Community: CARICOM) และองค์การรัฐแคริบเบียนตะวันออก (Organisation of Eastern Caribbean States: OECS)
นิติบัญญัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บริหาร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตุลาการ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ ภายใต้การเสนอของนายกรัฐมนตรี โดยทั่วไปนายกรัฐมนตรี มาจากหัวหน้าพรรคที่ได้คะแนนเสียงข้างมาก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เซนต์ลูเชียแบ่งการปกครองออกเป็น 11 เขต (quarters) ดังนี้
|
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/75/Coat_of_Arms_of_Saint_Lucia.svg เก็บถาวร 2012-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
นโยบายต่างประเทศ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองทัพ
แก้เศรษฐกิจ
แก้โครงสร้าง
แก้เศรษฐกิจของเซนต์ลูเชียขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์จากกล้วยและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมขนาดเล็กบางส่วน ประเทศเซนต์ลูเชียมีกิจการทางด้านเกษตรกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และภาษีจากภาคเกษตรกรรมก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2503
การท่องเที่ยว
แก้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเซนต์ลูเชียมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศรองจากการส่งออกผลิตภัณฑ์จากกล้วย และเป็นที่คาดหวังว่าอุตสาหรรมท่องเที่ยวจะเจริญเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ เนื่องจากปัจจุบันตลาดการส่งออกกล้วยเริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ทุก ๆ ปีในช่วง dry season (มกราคม − เมษายน) นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเซนต์ลูเชีย โดยสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากก็คือลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เป็นเขตร้อน รวมถึงชายหาดและรีสอร์ทต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้ สิ่งอื่น ๆ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ได้แก่ การเป็นเกาะภูเขาไฟ สวนพฤกษศาสตร์ ป่าดิบชื้น (Rainforest) และอุทยานแห่งชาติเกาะพิเจียน
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้-
ทิวทัศน์จาก Pigeon Point (Fort Rodney)
(พ.ศ. 2549) -
อ่าว Soufriere
(กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549) -
ชายหาดของเซนต์ลูเชีย
(กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549) -
บ้านบนเนินเขาใน Canaries
(มิถุนายน พ.ศ. 2549)
ประชากรศาสตร์
แก้เชื้อชาติ
แก้ประชากรมากกว่า 90% ของประเทศสืบเชื้อสายมาจากชาวแอฟริกา ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดเป็นลูกครึ่งระหว่างชาวผิวขาวกับผิวดำ คนกลุ่มนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้เซนต์ลูเชียยังมีประชากรเชื้อสายอื่น ๆ อีก ได้แก่ อินโด-แคริบเบียน (อินเดีย) ประมาณร้อยละ 3 และมีเพียงร้อยละ 1.1 ที่เป็นชาวยุโรปแท้ (สืบเชื้อสายฝรั่งเศส อังกฤษ สกอตแลนด์ หรือไอร์แลนด์ ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม)
ภาษา
แก้ภาษาทางการประจำหมู่เกาะคือภาษาอังกฤษ[2][15] นอกจากนี้ ยังมีภาษาครีโอลฝรั่งเศสเซนต์ลูเชีย มีผู้พูด 95% ของประชากรทั้งหมด[16] มีการใช้งานภาษาครีโอลแอนทิลลีสในวรรณกรรมและดนตรี และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ[16] ภาษานี้มีที่มาจากภาษาฝรั่งเศสกับกลุ่มภาษาแอฟริกันตะวันตก โดยมีศัพท์บางส่วนจากภาษาเกาะแคริบและอื่น ๆ เซนต์ลูเชียเป็นสมาชิกของลาฟร็องกอฟอนี[17]
ศาสนา
แก้ศาสนาหลักในเซนต์ลูเชียคือศาสนาคริสต์ ประมาณ 61.5% ของประชากรนับถือนิกายโรมันคาทอลิก ส่วนอีก 25.5% นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ (รวมเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ 10.4%, เพนเทคอสทัล 8.9%, แบปติสต์ 2.2%, แองกลิคัน 1.6%, เชิร์ชออฟก็อด 1.5%, โปรเตสแตนต์อื่น ๆ 0.9%) อีแวนเจลิคอลมีประชากรที่นับถือ 2.3% และพยานพระยะโฮวามีผู้นับถือ 1.1% นอกจากนี้ ประมาณ 1.9% ของประชากรนับถือขบวนการราสตาฟารี ศาสนาอื่น ๆในประเทศได้แก่ฮินดู, บาไฮ, ยูดาห์ และพุทธ
วัฒนธรรม
แก้วัฒนธรรมของเซนต์ลูเชียมีประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมแอฟริกา, ฝรั่งเศส และอังกฤษ หนึ่งในภาษาที่สองของประเทศ คือ ภาษา Kreole เป็นภาษาที่เป็นที่เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาฝรั่งเศส เกทะกะพี
ดนตรีและการเต้นรำ
แก้การเต้นรำแบบพื้นเมืองที่เป็นที่นิยมในเซนต์ลูเชีย คือ กาดรีย์ (Quadrille) นอกจากนี้ ในส่วนของดนตรี เซนต์ลูเชียมีดนตรีพื้นบ้านที่เป็นจุดแข็งไม่แพ้ดนตรีประเภท soca zouk หรือ reggae ของชาวแคริบเบียนแห่งอื่น ๆ และทุก ๆ ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เซนต์ลูเชียจะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเทศกาลเพลงแจ๊สที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ
อ้างอิง
แก้- ↑ Saint Lucia in Geonames.org (cc-by)
- ↑ 2.0 2.1 "About St. Lucia". Castries, St. Lucia: St. Lucia Tourist Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2013. สืบค้นเมื่อ 2022-07-20.
The official language spoken in Saint Lucia is English although many Saint Lucians also speak a French dialect, Creole (Kwéyòl).
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 3.0 3.1 "Saint Lucia". CIA World Factbook. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 13 March 2018.
- ↑ "Central America :: Saint Lucia — The World Factbook - Central Intelligence Agency". www.cia.gov. 3 March 2022.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "St. Lucia". International Monetary Fund. 2016.
- ↑ "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 3 August 2021.
- ↑ "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ "The Saint Lucia Constitution" (1978-December-20 effective 1979-February-22), Government of St. Lucia, December 2008.
- ↑ "Population & Vital Statistics". Central Statistics Office of St. Lucia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2016. สืบค้นเมื่อ 18 November 2016.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 "CIA World Factbook – St Lucia". สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.
- ↑ Hartston, William (21 February 2016). "Top 10 facts about St Lucia". Express.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2016-06-13.
- ↑ Harmsen, Ellis & Devaux 2014, p. 14.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 "Encyclopedia Britannica – St Lucia". สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.
- ↑ 14.0 14.1 "St Lucia climate". Climates to travel. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
- ↑ Bureau of Western Hemisphere Affairs (U.S. Department of State) (12 August 2011). "Background Note: Saint Lucia". United States Department of State. สืบค้นเมื่อ 11 November 2011.
Languages: English (official); a French patois is common throughout the country.
- ↑ 16.0 16.1 "Kweyolphone Countries Take Stock of the Language's Growth". Government of Saint Lucia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2012. สืบค้นเมื่อ 22 August 2008.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Welcome to the International Organisation of La Francophonie's official website". Paris: Organisation internationale de la Francophonie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-04. สืบค้นเมื่อ 11 November 2011.
ข้อมูล
แก้- Harmsen, Jolien; Ellis, Guy; Devaux, Robert (2014). A History of St Lucia. Vieux Fort: Lighthouse Road. ISBN 9789769534001.
- บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเว็บไซต์หรือเอกสารของ เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก "Saint Lucia"
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- Wikimedia Atlas of Saint Lucia
- ประเทศเซนต์ลูเชีย ที่เว็บไซต์ Curlie
- Saint Lucia from UCB Libraries GovPubs
- St. Lucia from the BBC News
- Key Development Forecasts for Saint Lucia from International Futures