เคแอลไอเอ แทรนซิต

(เปลี่ยนทางจาก เคแอลไอเอ แทรนสิต)

เคแอลไอเอ แทรนซิต (อังกฤษ: KLIA Transit) เป็นสายรถไฟฟ้าชานเมืองในเขตกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ให้บริการระหว่าง สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลเซ็นทรัล) กับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลไอเอ)[2] รถไฟฟ้าสายนี้ดำเนินการโดยบริษัท เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ จำกัด (อีอาร์แอล) โดยใช้ทางวิ่งร่วมกับรถไฟฟ้าด่วน เคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส รถไฟฟ้าแทรนซิตจอดทุกสถานี ในขณะที่รถไฟฟ้าเอ็กซ์เพรส จะวิ่งแบบรถด่วน ไม่จอดสถานีรายทาง

เคแอลไอเอ แทรนซิต
ขบวนเคแอลไอเอ แทรนซิต
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อลำลองERL Laluan KLIA Transit
เจ้าของเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
หมายเลขสาย7 (สีเขียวอมฟ้า)
ที่ตั้งกัวลาลัมเปอร์ - บันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน - ปูตราจายา - ซาลักติงยี - ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์
ปลายทาง
จำนวนสถานี6
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟชานเมือง (รถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน)
ระบบเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ (กัวลาลัมเปอร์) เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
ผู้ดำเนินงานเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
ขบวนรถ4 ขบวน 4 ตู้ เดซิโร ET 425 M Articulated EMU
4 ขบวน 4 ตู้ ซีอาร์อาร์ซีฉางชุน Articulated EMU
ผู้โดยสารต่อวัน17,987 (Third quarter 2018)[1]
ผู้โดยสาร6.443 ล้าน (2017)[1]
ประวัติ
เปิดเมื่อเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ - ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
14 เมษายน 2002; 22 ปีก่อน (2002-04-14)
ส่วนต่อขยายล่าสุดท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ - เคแอลไอเอ 2
1 พฤษภาคม 2014; 10 ปีก่อน (2014-05-01)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง57 กิโลเมตร (35 ไมล์)
ลักษณะทางวิ่งส่วนใหญ่ใต้ดิน
ระดับดิน
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟ25 kV 50 Hz เหนือหัว
ระบบการนำไฟฟ้ามีคนขับ

สายนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งมวลชนในหุบเขากลัง

รายชื่อสถานี

แก้

รถไฟฟ้าเคแอลไอเอ แทรนซิต จอดทั้งหมด 6 สถานี ดังต่อไปนี้

ชื่อสถานี ประเภทชานชาลา หมายเหตุ
เคแอลเซ็นทรัล ชานชาลาด้านข้าง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเกอลานาจายา, รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม (สายเซอเริมบัน และสายพอร์ตกลัง), รถไฟระหว่างเมืองของเคทีเอ็ม, เคทีเอ็ม อีทีเอส และมีทางเดินเชื่อมไปยังสถานีรถไฟของเคแอลโมโนเรล
บันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน ชานชาลาด้านข้าง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายศรีเปอตาลิง และรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม (สายเซอเริมบัน)
ไซเบอร์จายา/ปูตราจายา ชานชาลาด้านข้าง
ซาลักติงยี ชานชาลาด้านข้าง
เคแอลไอเอ ชานชาลาเกาะกลาง
เคแอลไอเอ 2 ชานชาลาเกาะกลาง

สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ จะมีชานชาลาด้านข้างสองแห่ง เพื่อให้เชื่อมกับส่วนอื่น ๆ ของสถานีได้อย่างสะดวก ชานชาลารถไฟด่วน สามารถเชื่อมต่อกับสถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองได้ (KL CAT) ส่วนชานชาลารถไฟธรรมดา จะเชื่อมต่อกับโถงอาคารผู้โดยสาร

ณ สถานีเคแอลไอเอ และเคแอลไอเอ 2 ทั้งรถไฟฟ้าด่วน และรถไฟฟ้าธรรมดา ใช้ชานชาลาเกาะกลางเพียงแห่งเดียว โดยรถไฟฟ้าแต่ละประเภท จะเข้าเทียบชานชาลาในรางใดรางหนึ่งเท่านั้น

อุบัติเหตุ

แก้

ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2010 เกิดเหตุรถไฟฟ้าชนกันที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ เวลา 21 นาฬิกา 45 นาที มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ 3 ราย[3][4]

ข้อมูลจำเพาะ

แก้
  • ระยะทาง 57 กิโลเมตร
  • ระยะเวลาในการเดินทาง 36 นาที
  • ความถี่ขบวนรถ ทุก ๆ 20-30 นาที
  • เวลาที่ให้บริการ
ณ สถานีเคแอลเซ็นทรัล
ขบวนแรก เวลา 5.33 น.
ขบวนสุดท้าย เวลา 0.33 น.
ณ สถานีเคแอลไอเอ
ขบวนแรก เวลา 5.52 น.
ขบวนสุดท้าย เวลา 1.00 น.

ค่าโดยสาร

แก้

อัตราค่าโดยสาร แปรผันตรงกับระยะในการเดินทาง อัตราค่าโดยสารระหว่างสถานีเคแอลเซ็นทรัล-เคแอลไอเอ มีราคาเท่ากันกับของเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส คือ 35 ริงกิต นอกจากนี้ยังมีการลดราคาสำหรับผู้สูงอายุอีกด้วย

สถานีรถไฟฟ้าของเคแอลไอเอ แทรนซิต จะไม่มีเคาน์เตอร์เช็กอิน อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารสามารถใช้ตั๋วของเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส เพื่อทำการเช็คอินได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์

นี่คือตารางแสดงอัตราค่าโดยสารเที่ยวเดียว ในปี ค.ศ. 2006

อัตราค่าโดยสาร สำหรับบุคคลทั่วไป
เคแอลเซ็นทรัล บันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน ไซเบอร์จายา/ปูตราจายา ซาลักติงยี เคแอลไอเอ
เคแอลเซ็นทรัล 4.20 ริงกิต 9.50 ริงกิต 12.50 ริงกิต 35.00 ริงกิต
บันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน 4.20 ริงกิต 5.30 ริงกิต 8.30 ริงกิต 26.50 ริงกิต
ไซเบอร์จายา/ปูตราจายา 9.50 ริงกิต 5.30 ริงกิต 3.00 ริงกิต 6.20 ริงกิต
ซาลักติงยี 12.50 ริงกิต 8.30 ริงกิต 3.00 ริงกิต 3.20 ริงกิต
เคแอลไอเอ 35.00 ริงกิต 26.50 ริงกิต 6.20 ริงกิต 3.20 ริงกิต

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานแบบถี่ สามารถใช้บัตรโดยสารรายวัน/รายเดือนได้ บัตรนี้มีชื่อว่า "บัตรท่องเที่ยวเคแอลไอเอ" โดยผู้ที่ถือบัตรนี้ สามารถจ่ายค่าโดยสารในราคาที่น้อยลงได้

ประวัติ

แก้

รถไฟฟ้าเคแอลไอเอ แทรนซิต เริ่มให้บริการครั้งแรก วันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2002

สมุดภาพ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Statistic for Rail Transport" (ภาษามาเลย์ และ อังกฤษ). Ministry of Transport, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 12 December 2018.
  2. "Our Services". Express Rail Link Sdn Bhd. สืบค้นเมื่อ 2014-06-12.
  3. "2 ERLs crash at KL Sentral".
  4. "2 ERLs crash at KL Sentral, 3 hurt".

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แผนที่เส้นทาง

แก้