เขตตรวจราชการ
เขตตรวจราชการ เป็นการแบ่งเขตพื้นที่จังหวัดในประเทศไทย ออกเป็นกลุ่มต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการตรวจ ติดตามผล เร่งรัด แนะนำ สืบสวนสอบสวน สอบข้อเท็จจริง สดับตรับฟังเหตุการณ์ เสนอแนะ ติดต่อประสานงาน ตรวจเยี่ยม หรือดำเนินการอื่นใด เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ผลสมประโยชน์ต่อทางราชการ
ระดับการตรวจราชการ
แก้การตรวจราชการในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ [1]
- การตรวจราชการระดับสำนักนายกรัฐมนตรี
- การตรวจราชการระดับกระทรวง
- การตรวจราชการระดับกรม
เขตตรวจราชการ
แก้การแบ่งเขตตรวจราชการในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 18 เขต ได้แก่[2]
ภาคกลาง
แก้- เขตตรวจราชการที่ 1 ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสระบุรี
- เขตตรวจราชการที่ 2 ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
ภาคตะวันออก
แก้- เขตตรวจราชการที่ 3 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสระแก้ว
- เขตตรวจราชการที่ 9 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด และจังหวัดระยอง
ภาคตะวันตก
แก้- เขตตรวจราชการที่ 4 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
- เขตตรวจราชการที่ 5 ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร
ภาคใต้
แก้- เขตตรวจราชการที่ 6 ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เขตตรวจราชการที่ 7 ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดระนอง
- เขตตรวจราชการที่ 8 ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล
ภาคเหนือ
แก้- เขตตรวจราชการที่ 15 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
- เขตตรวจราชการที่ 16 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่
- เขตตรวจราชการที่ 17 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
- เขตตรวจราชการที่ 18 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แก้- เขตตรวจราชการที่ 10 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
- เขตตรวจราชการที่ 11 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร
- เขตตรวจราชการที่ 12 ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด
- เขตตรวจราชการที่ 13 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี
- เขตตรวจราชการที่ 14 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
อ้างอิง
แก้- ↑ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ พ.ศ. ๒๕๓๒
- ↑ "เขตตรวจราชการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-25. สืบค้นเมื่อ 2010-06-09.