ตำบลหนองสามวัง
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
หนองสามวัง เป็นตำบลในเขตอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
ตำบลหนองสามวัง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Nong Sam Wang |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปทุมธานี |
อำเภอ | หนองเสือ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 64.9 ตร.กม. (25.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[1] | |
• ทั้งหมด | 11,131 คน |
• ความหนาแน่น | 171.51 คน/ตร.กม. (444.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 12170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 130405 |
เทศบาลตำบลหนองสามวัง | |
---|---|
พิกัด: 14°08′09.5″N 100°53′23.5″E / 14.135972°N 100.889861°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปทุมธานี |
อำเภอ | หนองเสือ |
จัดตั้ง | • 2 มีนาคม 2538 (อบต.หนองสามวัง) • 29 กรกฎาคม 2563 (ทต.หนองสามวัง) |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | หยวก ประยงค์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 64.9 ตร.กม. (25.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563) | |
• ทั้งหมด | 11,131 คน |
• ความหนาแน่น | 171.51 คน/ตร.กม. (444.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06130408 |
ที่อยู่ สำนักงาน | หมู่ที่ 5 ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี 12170 |
เว็บไซต์ | nongsamwang |
ประวัติ
แก้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพัฒนาทุ่งหลวงรังสิตซึ่งอยู่ระหว่างจังหวัดปทุมธานีกับจังหวัดนครนายก เพราะแต่เดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ทำกินไม่ได้ มีสัตว์ป่านานาชนิด ราษฎรไม่กล้าเข้าไปทำมาหากินเพราะกลัวสัตว์ป่าจะทำร้ายและยิ่งกว่า นั้นลำคลองไม่มี พอถึงหน้าแล้งน้ำก็แห้งขอดเหลือแต่โคลนไม่เหมาะที่จะทำการเกษตร จึงทรงดำริจะพัฒนาทุ่งนี้ให้เจริญ สามารถที่จะ ทำการกสิกรรมได้และจะให้พสกนิกรของพระองค์ได้มีที่ทำกินอยู่อย่างสุขสบาย จึงทรงอนุญาตให้บริษัทขุดคูคลองสยาม ดำเนินการขุดคลอง รังสิตประยูรศักดิ์จากแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือวัดเทียนถวายในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี พุ่งตรงไปยังจังหวัดนครนายก เวลานี้ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ อยู่ในเขตชลประทานมีประตูน้ำระบาย ที่เรียกว่า ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ มีน้ำอุดมสมบูรณ์ทำการเกษตรได้ตลอดปี องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง เดิมเป็นสภาตำบลหนองสามวัง ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล จากกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538
ตราสัญลักษณ์
แก้รวงข้าว หมายถึง การทำนา ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองสามวัง
ผลส้ม หมายสึง การทำสวนส้มอาชีพดั้งเดิมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองสามวัง
ลักษณะที่ตั้ง
แก้ที่ตั้ง
แก้เทศบาลตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2538 (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนพิเศษ 6ง วันที่ 3 มีนาคม 2538) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ มีจำนวนหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด 64.9 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 40,312 ไร่
สำนักงานเทศบาลตำบลหนองสามวังตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ห่างจากที่ทำการ อำเภอหนองเสือ ประมาณ 7.5 กิโลเมตร และจังหวัดปทุมธานี 55 กิโลเมตร ระยะทางจากเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ประมาณ 30 กิโลเมตร
ภูมิประเทศ
แก้ลักษณะภูมิประเทศของตำบลหนองสามวังเป็นที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และมีคลองส่งน้ำชลประทานในพื้นที่หลายสายและมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้[2]
ทิศ | ติดต่อกับ | อำเภอ |
---|---|---|
ทิศเหนือ | ตำบลศาลาครุ ตำบลนพรัตน์ | อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี |
ทิศตะวันออก | ตำบลบางปลากด | อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก |
ทิศใต้ | ตำบลบึงน้ำรักษ์ | อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี |
ทิศตะวันตก | ตำบลบึงบา | อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี |
หมู่บ้าน
แก้ตำบลหนองสามวังมีเขตการปกครองทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ | ชื่อกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย(คน) | หญิง(คน) | จำนวน(หลังคาเรือน) |
---|---|---|---|---|---|
หมู่ที่ 1 | นายอำนวย งามยิ่ง | บ้านหนองดอกปทุม | 275 | 286 | 172 |
หมู่ที่ 2 | นายอานนท์ ขวัญเมฆ | บ้านหนองดอกยายอ่อน | 223 | 235 | 114 |
หมู่ที่ 3 | นายณรงค์ อ่วมกลิ่น | บ้านหนองบอน | 321 | 329 | 240 |
หมู่ที่ 4 | นายมนพ | บ้านหนองงูเหลือม | 233 | 233 | 139 |
หมู่ที่ 5 | นายสมใจ พิมพา | บ้านหนองสามวัง | 584 | 543 | 268 |
หมู่ที่ 6 | นายเอกชัย บุญเกลี้ยง | บ้านหนองสามง่าม | 478 | 527 | 252 |
หมู่ที่ 7 | ไม่ทราบนาม | บ้านหนองบัวหลวง | 368 | 353 | 160 |
หมู่ที่ 8 | กำนันภณศักดิ์ วงษ์นวม | บ้านหนองสำนัก | 459 | 526 | 229 |
หมู่ที่ 9 | อดีตกำนันดาริส พูลเต่า | บ้านหนองทะเล | 495 | 456 | 209 |
หมู่ที่ 10 | นายดารุด พูลเต่า | บ้านหนองบึงใหญ่ | 594 | 581 | 282 |
หมู่ที่ 11 | นางวันดี สุวงษ์ทอง | บ้านหนองนาสนาน | 363 | 376 | 173 |
หมู่ที่ 12 | ตำแหน่งว่าง | บ้านหนองนาสงวน | 330 | 362 | 183 |
หมู่ที่ 13 | นายนัฐพงษ์ ผิวอ่อน | บ้านหนองดอกโสน | 250 | 226 | 123 |
หมู่ที่ | อดีตชื่อกำนัน/อดีตผู้ใหญ่บ้าน | ชื่อหมู่บ้าน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
หมู่ที่ 2 | นายมนตรี โฉมทรัพย์ | บ้านหนองดอกยายอ่อน | อดีตผู้ใหญ่บ้าน |
หมู่ที่ 5 | นายไล้ อาสนะ | บ้านหนองสามวัง | อดีตผู้ใหญ่บ้าน |
หมู่ที่ 4 | นายจำเนียร ประยงค์ นายพยูร ประยูร นายสมาน ประยงค์ |
บ้านหนองงูเหลือม | อดีตผู้ใหญ่บ้าน,ปัจจุบันรองนายก อบต.หนองสามวัง อดีตผู้ใหญ่บ้าน อดีตผู้ใหญ่บ้าน |
หมู่ที่ 6 | นายหยวก ประยงค์ นายฉลอง บุญเกลี้ยง |
บ้านหนองสามง่าม | อดีตผู้ใหญ่บ้าน,อดีตประธานสภา,ปัจจุบันรองนายก อบต.หนองสามวัง อดีตผู้ใหญ่บ้าน |
หมู่ที่ 7 | นายเหน่ง นายวิสูตร เอี่ยมปาน นายฉอ้อน สะใบบาง |
บ้านหนองบัวหลวง | อดีตผู้ใหญ่บ้านได้รับเลือกมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง อดีตผู้ใหญ่บ้าน อดีตผู้ใหญ่บ้าน |
หมู่ที่ 8 | นายณรงค์ คงมี | บ้านหนองสำนัก | อดีตผู้ใหญ่บ้าน |
หมู่ที่ 11 | นายประเสริฐ ปาลิกพัฒน์ | บ้านหนองนาสนาน | อดีตกำนัน,อดีตผู้ใหญ่บ้าน |
หมู่ที่ 12 | นางภัสราภรณ์ ทองบุญดำรง | บ้านหนองนาสงวน | อดีตผู้ใหญ่บ้าน |
หมู่ที่ 13 | นายประกิจ แปรงศรี | บ้านหนองดอกโสน | อดีตผู้ใหญ่บ้าน |
ทั้ง 13 หมู่บ้านอยู่ในเขตเทศบาลตำบลหนองสามวังทั้งหมด และไม่มีท้องถิ่นอื่นในเขตเทศบาล
สภาพภูมิอากาศ
แก้สภาพภูมิอากาศของตำบลหนองสามวัง แบ่งออกเป็นสามฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน รวม 4 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 36 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม รวม 4 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 34 องศาเซลเซียส
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือน กุมภาพันธ์ รวม 4 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 36 องศาเซลเซียส
ลักษณะของดิน
แก้พื้นที่บริเวณหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จะเป็นดินเปรี้ยวปนทราย ดินที่มีกรดกำมะถัน (acid sulphate soils) เป็นดินที่มีค่าความเป็นกรด (pH) ต่ำกว่า 4.0 และมีทรายปนทำให้ดินอุ้มน้ำต่ำ แต่ก็ยังสามารถปลูก ผัก ผลไม้ พืชสวนไร่ โดยมีหมอดินเป็นผู้เข้ามาดูแลให้ความรู้เรื่องการปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช ผัก ผลไม้
ลักษณะของแหล่งน้ำ
แก้ตำบลหนองสามวังอยู่ในเขตชลประทานมีประตูน้ำระบาย ที่เรียกว่าประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี ส่วนน้ำใต้ดินมีปริมาณน้ำน้อย ส่วนใหญ่แหล่งน้ำในอำเภอหนองเสือ จะเป็นน้ำกร่อย มีตะกอนสนิมเจือปน
คณะผู้บริหาร
แก้รายนามผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง มีจำนวนทั้งหมด 4 ท่าน
รายนามผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ (สมัย) |
รายนามนายก | รายนามรองนายก | เริ่มวาระ (เริ่มต้นโดย) |
สิ้นสุดวาระ (สิ้นสุดโดย) |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | ที่มา |
สภาตำบล |
ตำแหน่งกำนัน (ประธานสภาตำบลยกฐานะ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นประธานกรรมการบริหาร อบต.) |
พ.ศ. 2537 | 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 ยกฐานะเป็นอบต.หนองสามวัง |
1 ปี 92 วัน | ประธานสภาตำบล ยกฐานะ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็น ประธาน กรรมการ บริหาร อบต. | |
สภาตำบล (1) |
นายมานะ แต่งตั้ง' '(ประธานกรรมการบริหาร อบต.) |
พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2542 |
4 ปี 0 วัน | ||
1 (1) |
นายมานะ แต่งตั้ง (ประธานกรรมการบริหาร อบต.) |
นายหยวก ประยงค์ (รองประธานกรรมการ) | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 | 18 กันยายน พ.ศ. 2544 |
2 ปี 62 วัน | |
2 (1) |
นายมนัส พิมพิสาร | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ครบวาระ |
3 ปี 332 วัน | กลุ่มหนองสามวัง | |
3 (ไม่ครบวาระ) |
นายอนุกูล สุริยสวัสดิ์ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548 | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (ยุบสภา) |
0 ปี 145 วัน | หมายเหตุมติยุบสภา14เสียงต่อ12เสียง | |
2 (2)(ไม่ครบวาระ) |
นายมนัส พิมพิสาร | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 คำสั่งแต่งตั้งจากอำเภอหนองเสือ |
ธันวาคมพ.ศ. 2550 ยุบสภาเลือกตั้งทั่วไป |
1 ปี 210 วัน | แต่งตั้งจากอำเภอหนองเสือ | |
4 (1) |
นายสมบัติ วงค์กวน | นายจำเนียร ประยงค์ นายจีระศักดิ์ วงษ์นวม นายอนุศักดิ์ ช้างงาดี(เลขานายก อบต.) |
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 22 มกราคม พ.ศ. 2555 ครบวาระ |
3 ปี 355 วัน | กลุ่มพัฒนาหนองสามวัง |
3 (2 พ.ศ. 2555 ครบวาระ) |
นายอนุกูล สุริยสวัสดิ์ | นายจำเนียร ประยงค์ นายหยวก ประยงค์ นางสาวชื่นกมล วงค์กวน (เลขานายก อบต.) |
1 มีนาคม พ.ศ. 2555 (วันแถลงนโยบาย) |
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (ครบวาระ) อยู่ในตำแหน่งตามคำสั่งคณะนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ครบวาระ) |
8 ปี 181 วัน | ทีมรักหนองสามวัง |
รายนามผู้บริหารเทศบาลตำบลหนองสามวัง | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ (สมัย) |
รายนามนายกเทศมนตรี | รายนามรองนายกเทศมนตรี | เลขานุการนายกเทศมนตรี | ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี | เริ่มวาระ (เริ่มต้นโดย) |
สิ้นสุดวาระ (สิ้นสุดโดย) |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | ที่มา |
1 (2564) | ว่าง | ว่าง | ว่าง | ว่าง |
รายนามประธานสภา อบต.
แก้ประธานสภาก่อนหน้าไม่ทราบรายนามตั้งแต่ปี2537 เป็นต้นมา มีจำนวนทั้งหมด 9 ท่าน
รายนามประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ตำแหน่งประธานสภา | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | คนที่ | สมัยที่ | รายนาม | ตำแหน่ง | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
1 | 1 | (1)-(2) | นายหยวก ประยงค์ นายประวิท พิมพา นายอำไพ คงมี |
ประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการสภา |
19 กันยายนพ.ศ. 2544-17 กรกฎาคมพ.ศ. 2546 (ครบวาระ) |
นายหยวก ประยงค์ ปัจจุบันรองนายกอบต.อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่6 |
2 | 2 | (3)-(4) | นายฐานะ แต่งตั้ง นายประสิทธิ์ สร้อยระย้า นายสุชาติ แต่งตั้ง |
ประธานสภา รองประธานสภา รองประธานสภา |
พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2549 (ครบวาระ) |
|
3 | 3 | (1)-(4) | นายประพันธ์ กระจ่างแสง | ประธานสภา | ไม่ทราบปี (ครบวาระ) |
|
4 | 4 | (1)-(4) | นายสมบัติ วงค์กวน | ประธานสภา | ไม่ทราบปี (ครบวาระ) |
อดีตนายกอบต.หนองสามวัง ปัจจุบัน สจ. จังหวัดปทุมธานี เขต2 |
5 | 5 | (1)(4) | นายสุเทพ เนื่องวงษ์ นายสุรศักดิ์ สังกรแก้ว นายปิยะ สุวรรณกิจ |
ประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการสภา |
13 มกราคม พ.ศ. 2553 (ครบวาระ) |
|
6 | 5 | (2) | นายสุเทพ เนื่องวงษ์ นายสุรศักดิ์ สังกรแก้ว นางอนัญญา ลพหงษ์ |
ประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการสภา |
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (ครบวาระ) |
- นายกเทศมนตรีตำบลหนองเสือ - |
7 | 5 (เริ่มพ.ศ. 2555) |
(1)2553(2)2553 (3)2555 | นายสุเทพ เนื่องวงษ์ | ประธานสภา | พ.ศ. 2555 (ครบวาระ) 18 มีนาคม พ.ศ. 2558 - 1 ตุลาคม พ.ศ 2560 |
สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 1 |
8 | 6 | (1)2556 (2)2562 | นายกำพล วงษ์กวน | ประธานสภา | (พ.ศ. 2556-18 มีนาคม พ.ศ. 2557) พ.ศ. 2562 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 |
สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 11 |
9 | 7 | (2)2557 | นายเฮด ล้ำประเสริฐ | ประธานสภา | (17 มีนาคม พ.ศ. 2557-18 มีนาคม พ.ศ. 2558) | สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 10 |
10 | 8 | (2)2560 | นายสมชาย เอี่ยมปาน
นายพิชัย คงมี |
ประธานสภา รองประธานสภา |
1 ตุลาคม พ.ศ 2560 - 1 ตุลาคม 2561 | |
12 | 9 | (1)2561 | นายบุญเสริม ทองมา | ประธานสภา |
1 ตุลาคม 2561 - 2562 |
รายนามประธานสภาเทศบาลตำบลหนองสามวัง ตำแหน่งประธานสภา | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | คนที่ | สมัยที่ | ประธานสภา | รองประธานสภา | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
1 | 1 | (1) | ว่าง | ว่าง |
ปลัด อบต.
แก้ปลัดก่อนหน้าไม่ทราบรายนามตั้งแต่ปี2537 เป็นต้นมา
รายนามปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ตำแหน่งปลัด | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | ตำแหน่ง | ระยะเวลา | หมายเหตุ | ||
1 | นายทวีวิทย์ พันธชาติ | ปลัด อบต.หนองสามวัง |
พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2549 | |||
- | นายกรณฑ์ วัฒนารักษ์ | รองปลัด อบต.หนองสามวัง |
สมัยสามัญ สมัยที่ 4 ปี2552 สมัยสามัญ สมัยที่ 1 ปี2553 สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1 ปี 52 ครั้งที่ 1/2552 สามัญ สมัยที่ 3 ปี52 ครั้งที่ 1/2552 สมัยสามัญ สมัยที่ 2 ประจำปี 2552 ครั้งที่ 1/2552 สมัยสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2552 | |||
- | ส.ต.ต.บุญส่ง ทศพร | รองปลัด อบต.หนองสามวัง |
สมัยสามัญ สมัยที่ 2 ปี2553 | |||
2 | นางอนัญญา ลพหงษ์ | ปลัด อบต.หนองสามวัง |
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2556 (ย้ายออก) |
ย้ายมากจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ซึ่งโอน นายอนุกูล สุริยสวัสดิ์ เข้ารับตำแหน่งนายกอบต.หนองสามวัง (ผู้บริหารชุดใหม่) | ||
3 | นายสุรัญ อ่อนหวาน | ปลัด อบต.หนองสามวัง |
พ.ศ. 2556-30 มกราคม พ.ศ. 2561 | ย้ายมากจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่และย้ายไปดำรงตำแหน่งที่เดิม | ||
4 | นายไพรัตน์ วิพัฒน์ครุฑ | ปลัด อบต.หนองสามวัง |
30 มกราคม พ.ศ. 2561-25 เมษายน พ.ศ. 2563 |
การคมนาคม / ขนส่ง / จราจร
แก้ตำบลหนองสามวังอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร (เขตดอนเมือง) ไปทางตะวันออกประมาณ 55 กิโลเมตร การเดินทางในปัจจุบันสะดวก มากทางรถยนต์เส้นทางถนนหลักสาย รังสิต - นครนายก (ทางหลวงหมายเลข 305) และมีถนนสายคลองหลวง - หนองเสือ นอกจากนี้ยังมีถนนเพื่อใช้ในการสัญจรภายในหมู่บ้านชุมชน ซึ่งมีทั้งถนนคอนกรีต ลาดยาง และลูกรัง จำนวน 20 สายซอย
การไฟฟ้า
แก้การให้บริการไฟฟ้าในเขตตำบลหนองสามวัง มีจำนวนประชากร 3,181 ครัวเรือน (ข้อมูลเดือน กันยายน 2559) ครัวเรือน ส่วนใหญ่ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอธัญบุรี และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคองค์รักษ์ จังหวัดนครนายกเพียงเล็กน้อยและปัจจุบันเทศบาลตำบลหนองสามวังได้ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะครบทุกหมู่บ้านทุกซอย
การประปา
แก้ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองสามวัง ได้รับบริการใช้น้ำประปาบาดาลของเทศบาลตำบลหนองสามวัง ได้ดำเนินการให้บริการประชาชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และเทศบาลตำบลหนองสามวัง ได้ดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อขยายการให้บริการประชาชนในพื้นที่แล้ว จำนวน 24 แห่ง คือ 1. หมู่ที่ 1 บ้านหนองดอกปทุม จำนวน 2 แห่ง
2. หมู่ที่ 2 บ้านหนองดอกยายอ่อน จำนวน 2 แห่ง
3. หมู่ที่ 3 บ้านหนองบอน จำนวน 2 แห่ง
4. หมู่ที่ 4 บ้านหนองงูเหลือม จำนวน 2 แห่ง
5. หมู่ที่ 5 บ้านหนองสามวัง จำนวน 2 แห่ง
6. หมู่ที่ 6 บ้านหนองสามง่าม จำนวน 3 แห่ง
7. หมู่ที่ 7 บ้านหนองบัวหลวง จำนวน 2 แห่ง
8. หมู่ที่ 8 บ้านหนองสำนัก จำนวน 1 แห่ง
9. หมู่ที่ 9 บ้านหนองทะเล จำนวน 3 แห่ง
10. หมู่ที่ 10 บ้านหนองบึงใหญ่ จำนวน 2 แห่ง
11. หมู่ที่ 11 บ้านหนองนาสนาน จำนวน 2 แห่ง
12. หมู่ที่ 12 บ้านหนองนาสงวน จำนวน 2 แห่ง
13. หมู่ที่ 13 บ้านหนองดอกโสน จำนวน 1 แห่ง
ซึ่งขณะนี้เทศบาลตำบลหนองสามวังยังไม่สามารถให้บริการและจ่ายน้ำได้ครอบคลุมทั่วถึงทั้งหมดแต่ยังคงทำการปรับปรุงและขยายการให้บริการแก่ประชาชนต่อไป
การสื่อสารโทรคมนาคม
แก้- ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขในพื้นที่
- เทศบาลตำบลหนองสามวังดำเนินการติดตั้งหอกระจายข่าวไร้สายทางไกล จำนวน 13 หมู่บ้าน ครบถ้วน
- โทรศัพท์พื้นฐานประมาณร้อยละ 30 ของครัวเรือนภายในตำบล
- โทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้านยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน[6]
ลักษณะทางสังคม
แก้ประชากรทั้งสิ้น จำนวน 10,006 คน แยกเป็นชาย 4,973 คน หญิง 5,033 คน จำนวน 2,544 ครัวเรือน (ข้อมูลเมื่อเดือนกันยายน 2551 งานทะเบียนอำเภอหนองเสือ) ความหนาแน่นเฉลี่ย 187 คน / ตารางกิโลเมตร
ด้านสาธารณสุข
แก้สถานบริการและบุคลากรด้านสาธารณสุขในเขตตำบลหนองสามวัง มีดังนี้
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสามวัง จำนวน 2 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสามวัง หมู่ที่ 7 คลอง 12
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสามวัง หมู่ที่ 4 คลอง 13
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน จำนวน 8 คน
ด้านยาเสพติด
แก้รายงานผู้บำบัดยาเสพติด ปี 2558 โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กิจกรรมส่งเสริม การบำบัด ฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติด ระหว่างวันที่ 16-23 กันยายน 2558 จำนวน 17 คน
ด้านสังคมสงเคราะห์
แก้เทศบาลตำบลหนองสามวัง ได้ส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และครอบครัวผู้เดือดร้อนที่ประสบสาธารณภัยในเขตเทศบาลตำบลหนองสามวัง ตามความเหมาะสม และสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สนับสนุนครุภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ และอื่น ๆ ตามแผนงาน/โครงการ หรือกิจกรรมที่ประชาชนร้องขอเพื่อพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
แก้การเกษตรกรรม
แก้ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเกือบเต็มพื้นที่ ประมาณ 40,312 ไร่ ผลผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญและที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้แก่ การปลูกข้าว การทำสวนไร่นาผสมผสานและการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังมีประชาชนบางส่วน ประกอบอาชีพรับจ้างบริษัทเอกชน โรงงาน ในและนอกพื้นที่หรือประกอบการค้าขายเพียงเล็กน้อย ซึ่งคำนวณรายได้ของประชากรต่อคน / ปี ประชากรจะมีรายได้เฉลี่ย 25,000 บาท / คน / ปี ( จากข้อมูล จปฐ. ประจำปี 2547 )
การอุตสาหกรรมและการลงทุน
แก้อุตสาหกรรม การประกอบการอุตสาหกรรมในท้องถิ่นส่วนใหญ่ราษฎรในท้องถิ่นไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเองแต่เป็นผู้ประกอบการจากภายนอกที่เข้ามาลงทุนประกอบอุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดย่อย จำนวน ผู้ใช้แรงงานประมาณ 500 - 800 คน - โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 20 แห่ง ประกอบด้วย
1. บริษัท บางกอกยิบซั่มปลาสเตอร์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 9
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.พี. ลอนดรี้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 12
3. บริษัท เอส เอ อาร์ คอนกรีต จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 11
4. บริษัท เอ็กซ์เพรส ฟู้ด จำกัด โฉนดเลขที่ 1170
5. บริษัท โพรมิเน้นท์ ฟลูอิด คอนโทรลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 12
6. บริษัท โพส แอนด์ พรีคาส จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
7. บริษัท แกรนด์เฟรม ดิเวลล็อพเมนท์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 9
8. บริษัท เสถียรพลาสติค แอนด์ ไฟเบอร์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 7
9. บริษัท เอกอภิวัฏฏ์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
10. นายเกรียงไกร ศุภนันตฤกษ์ ทำกระเป๋าจากหนังสัตว์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8
11. บริษัท ไทยเลมอน ฟู้ดส์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
12. บริษัท ฤทธา จำกัด ทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ตั้งอยู่หมู่ที่ 8
13. บริษัท รังสิต-คลอง 12 อุตสาหกรรมไม้ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 8
14. บริษัท เอพิส จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 9
15. นายพรชัย ธโนปจัยสิทธิ ประกอบถังกรองน้ำ ตั้งอยู่หมู่ที่ 12
16. บริษัท เอส.เอ็ม.โอเชี่ยนกรุ๊ป จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 10
17. บริษัท ริเวอร์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 8
18. บริษัท พูนธนาทรัพย์ เฟอร์นิเจอร์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
19. นายมงคล วัฒนาแก้วศรีเพ็ชร วงกบ ประตู หน้าต่าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8
20. บริษัท ตั้งหลัก จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
แก้ในเขตตำบล มีการประกอบธุรกิจหลายประเภท ได้แก่
- ร้านขายของเบ็ดเตล็ด จำนวน 106 แห่ง
- ร้านอาหาร จำนวน 11 แห่ง
- ปั้มน้ำมัน จำนวน 26 แห่ง
- สนามกอล์ฟ จำนวน 1 แห่ง
- หมู่บ้านจัดสรร จำนวน 4 แห่ง
- ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น หมู่ที่ 5 จำนวน 1 แห่ง
ลักษณะทางการศึกษา
แก้มหาวิทยาลัย
แก้1. มหาวิทยาลัยมหิดลสอง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล(เปิดคณะเดียว) ปัจจุบันเป็น โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี [7]
การศึกษา
แก้ประชาชนส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ มีสถานศึกษาภายในตำบล ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 6 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนวัดธรรมราษฎร์เจริญผล หมู่ที่ 6
2. โรงเรียนวัดโปรยฝน หมู่ที่ 11
3. โรงเรียนคลองสิบสาม (ผิวศรีราษฎร์บำรุง)หมู่ที่ 4
4. โรงเรียนนิกรราษฎร์บูรณะ ( เหราบัตย์อุทิศ )หมู่ที่ 2
5. โรงเรียนชุมชนประชานิกรอำนวยเวทย์หมู่ที่ 8
6 โรงเรียนราษฎร์สงเคราะห์วิทยาหมู่ที่ 9
7. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองสามวัง หมู่ที่ 4
8. โรงเรียนพุทธารักษ์ ( เอกชน )
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
แก้1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหาส่วนตำบลหนองสามวัง
ศาสนา
แก้ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและอิสลามตามลำดับ มีสถานประกอบพิธี ทางศาสนา จำนวน 6 แห่ง ดังนี้
3. วัดโปรยฝน
ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม
แก้- การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานานโดยมีการนำน้ำอบ น้ำหอมไปสรงน้ำพระและรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ
สถานที่จัดงานประเพณีสรงน้ำพระที่วัดทุกวัดภายในตำบลหนองสามวัง รดน้ำขอพรผู้สูงอายุจัดที่เทศบาลตำบลหนองสามวังมีการละเล่นต่างๆ ของรางวัล อาหารเครื่องดื่มฟรี
การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
แก้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวังได้จัดงานการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานจาก'สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นครั้งแรก
การจัดงานการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการจัดตรงกับงานวัดธรรมราษฎร์เจริญผล เป็นครั้งแรก
ฤดูกาล
แก้การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่1 (วันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558)
ตางรางการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามฤดูกาล | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปีการแข่งขัน | ฤดูการ | ประเภท ก. ชิงถ้วยพระราชทานฯ | ประเภท ข. | ประเภท ค | |||
วันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 | ครั้งที่1 | ทีมเรือพรพระแก้ว วัดพระนอนจักรสีห์ฯ จังหวัดสิงห์บุรี ชนะเลิศ เจ้าแม่ทองคำ จังหวัดนครนายกรองชนะเลิศที่1 พรพระพิฆเนศ จังหวัดฉะเชิงเทรารองชนะเลิศที่2 สาวเมืองเพชร-กระทิงแดง จังหวัดเพชรบุรีรองชนะเลิศที่4 |
เยาวชนพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สาวเมืองนนท์ จังหวัดนนทบุรี สักสกุลชัย จังหวัดราชบุรี พญาเตชิต จังหวัดกาญจนบุรี |
เทพภควิช์ จังหวัดขอนแก่น สิงห์เวียงสา จังหวัดน่าน ศรพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จ้าวนาง จังหวัดปราจีนบุรี |
สถานที่จัดงาน
แก้คลอง13 หน้าวัดธรรมราษฎร์เจริญผล,สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสวนเฉลิมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
การแข่งขันรถการเกษตร
แก้การแข่งขันรถการเกษตรการแข่งขันรถการเกษตรจัดขึ้นตรงกับวันที่รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ซึ่งจัดการแข่งกันในปีแรก และมีการประสันเครื่องเสียงรถยนต์ในตอนกลางคืนอีกด้วยชื่องาน CARAUDIO SHOW
ตางรางการแข่งขันรถการเกษตร ตามฤดูกาล | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปีการแข่งขัน | ฤดูการ | ประเภทรถเพลาท้ายรวมเครื่อง | ประเภทรถเพลาท้ายเครื่องสแตนดาร์ด | ประเภทเครื่องยนต์ไม่เกิน120ซีซี | ประเภทเครื่องยนต์ไม่เกิน140ซีซี | ประเภทเครื่องยนต์ไม่เกิน160ซีซี | ประเภทรถเต๋า |
10 - 11 เมษายน พ.ศ. 2557 | การแข่งขันรถการเกษตรสัมพันธ์ ครั้งที่ 1 | ที่มหมู่3 (ชนะเลิศอันดับ1) ทีม อบต.ประสม (รองชนะเลิศอันดับ1) |
ทีม อบต.ประสม (รองชนะเลิศอันดับ1) | ทีมงานเจ้าพ่อสิงห์ (ชนะเลิศอันดับ1) ทีมไม่แพ้แต่ก็เหมือน(หมู่8)(รองชนะเลิศอันดับ1) ทีมไม่แพ้แต่ก็เหมือน(หมู่8)(รองชนะเลิศอันดับ2) |
ทีม อบต.ประสม (ชนะเลิศอันดับ1) ทีมไม่แพ้แต่ก็เหมือน(หมู่8) (รองชนะเลิศอันดับ1) ทีมไม่แพ้แต่ก็เหมือน(หมู่8) (รองชนะเลิศอันดับ2) |
ทีม อบต.ประสม (ชนะเลิศอันดับ1) ทีมลูกนายกโบ้ (รองชนะเลิศอันดับ1) ทีม อบต.ประสม (รองชนะเลิศอันดับ2) |
ทีมหมู่10 (ชนะเลิศอันดับ1) ทีมหมู่13 (รองชนะเลิศอันดับ1) ทีมหมู่8 (รองชนะเลิศอันดับ2) |
รถเกียร์ชาวบ้านคานใหญ่รวมเครื่อง | รถเกียร์ชาวบ้านคานเล็กรวมเครื่อง | รถเกียร์โอเพ่นรวมเครื่อง | รถจิ้งเหลนแตะเดี่ยวโอเพ่น | รถเพลาท้ายรวมเครื่อง | - | ||
8-10 เมษายน พ.ศ. 2558 | การแข่งขันรถการเกษตรสัมพันธ์ ครั้งที่2 | ||||||
8-10 เมษายน พ.ศ. 2559 | การแข่งขันรถการเกษตรสัมพันธ์ ครั้งที่ 3 | ||||||
12 มีนาคม พ.ศ. 2560 | การแข่งขันรถการเกษตรสัมพันธ์ ครั้งที่ 4 |
หมายเหตุ
แก้ประเภทรถเต๋า การแข่งขันโดยการไม่เข้าเกียร์ปล่อยให้รถขับไปเรื่อยๆ คันไหนเข้าเส้นชัยช้ากว่าเป็นผู้ชนะ รถเพลาท้ายรวมเครื่องและหมายเหตุรถเกียร์ชาวบ้านล้อหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 13 นิ้ว และล้อหลังไม่ต่ำกว่า 14 นิ้ว และเป็นรถที่ใช้งานได้
สถานที่จัดงาน
แก้ทุ่งนาติดถนนรังสิต-หนองเสือ คลอง 13 ตรงข้ามกับเทศบาลตำบลหนองสามวัง (การแข่งขันรถการเกษตร ครั้งที่ 1- ครั้งที่2) ทุ่งนาติดถนนเลียบคลอง12 ข้างโรงงานรักษ์น้ำมะนาว (การแข่งขันรถการเกษตร ครั้งที่ 3- ปัจจุบัน)
แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้
แก้ถนนดอกคูน
แก้- ที่ตั้ง : ระหว่างคลอง13 และคลอง12 ถนนเส้นทางหนองเสือ-บางขัน ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังปทุมธานี
- ประวัติ : ถนนบริเวณดังกล่าวข้างทางปลูกด้วยต้นคูนบริเวณสองฝั่งไหล่ถนน เมื่อถึงช่วงหรือฤดูออกดอกสองฝั่งถนนก็จะเหลืองอร่ามไปด้วยดอกของต้นคูน
- ท่องเที่ยว : ถนนดอกคูน เหมาะสำหรับการขับรถ ปั่นจักยานเพื่อชมวิวของดอกคูน และการถ่ายภาพกับดอกคูนที่สวยตลอดข้างทาง
- สงกรานต์ : ถนนดอกคูนได้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 19 เมษายน 2559 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง เป็นปีแรก มีอุโมงค์น้ำบริเวณหน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
ตลาดน้ำบัวหลวง
แก้ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เพื่อส่งเสริมสินค้าทางการเกษตรกร สินค้าโอทอป ภายในชุมชนและชุมชนไกล้เคียงและเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในชุมชน
ศูนย์เรียนรู้บัวหลวง
แก้โดยการสืบสานปณิธานพ่อหลวงสร้างศูนย์เรียนรู้บัวหลวงตามรอยพ่อหลวงอยู่อย่างพอเพียงแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงและเขตปริมณฑลได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมและทัศนศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพของแต่ละพื้นที่ในแต่ละครัวเรือน ศูนย์เรียนรู้บัวหลวงตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ก่อสร้างมาได้ประมาณปีเศษโดยภายในศูนย์นั้นปลูกไม้ยืนต้นและพืชล้มรุกหลากหลายพันธุ์ชนิดซึ่งตอนนี้เราก็พร้อมแล้วที่จะรับนักท่องเที่ยวซึ่งเรามีผลไม้อยู่อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นส้มเขียวหวาน ขนุน ข้าวโพด ดอกมะลิ ฝรั่งไร้เมล็ด ผักบุ้ง ผักกระเฉด ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว พริก และพืชผักสวนครัวอีกมากมาย
ด้านบริการและให้ความรู้
แก้เมื่อนักท่องเที่ยวได้เข้ามาเที่ยวชมเราจะจัดบุคลากรบรรยายให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวสามารถนำความรู้เหล่านี้กลับไปเพาะปลูกผักสวนครัวในบ้านที่มีพื้นที่น้อยซึ่งสามารถประหยัดรายได้ให้อีกทางหนึ่งซึ่งนอกจากจะมาเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติแล้วยังสามารถทำให้นักท่องเที่ยวนั้นได้มีทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพเพิ่มรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวตามแนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนนายอนุกูล ฯ ยังกล่าวเสริมต่ออีกว่าโครงการดังกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีโดยนายชาญ พวงเพ็ชร์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีมอบนโยบายให้นายสาคร อำภิน รองนายกจัดสรรงบประมาณจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ดังกล่าวเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพต่างๆเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวตามแนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนทั้ง 7 อำเภอได้แก่อำเภอเมือง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา อำเภอหนองเสือโดยได้นำชาวบ้านทั้ง 7 อำเภอไปศึกษาดูงานตามแนวพระเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและการจัดโครงการดังกล่าวนี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนพึ่งพาตนเองได้บนวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมทั้งช่วยลดปัญหาการว่างงานของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี โดยการเชิญชวนประชาชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในหมู่ที่ 7ต.หนองสามวัง อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานีเพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานีตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงรวมทั้งมุ่งส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนและได้เรียนรู้วิถีชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนและการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรในจังหวัดปทุมธานีในการศึกษาดูงานพร้อมทั้งท่องเที่ยวทัศนศึกษาในครั้งนี้เพื่อนำกลับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งนำความรู้ต่างๆจากการศึกษาดูงานแล้วพร้อมทั้งเที่ยวชมนำกลับไปทำในด้านเกษตรปลูกใช้ในครัวเรือนได้อีกต่อไปสำหรับโครงการท่องเที่ยวดังกล่าวนี้เป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้พ่อ แม่ พี่น้อง ที่เข้ามาเที่ยวชมศูนย์เรียนรู้ทุ่งบัวหลวงตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำกลับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ในการทำเกษตรแบบพอเพียงและสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี
ผลิตภัณฑ์หมู่บ้าน
แก้อ้างอิง
แก้http://nongsamwang.go.th/index.php เก็บถาวร 2013-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 อำเภอหนองเสือ". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-01. สืบค้นเมื่อ 2017-10-28.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-27. สืบค้นเมื่อ 2013-05-04.
- ↑ http://nongsamwang.go.th/default.php?modules=person&bmodules=&item=&gid=5&page=1&set=1&p_id=&keyword=[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2013-12-25.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-27. สืบค้นเมื่อ 2013-04-27.
- ↑ http://med.mahidol.ac.th/green/th/news/rama-healthyfarm/09172014-0945-th
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-27. สืบค้นเมื่อ 2013-04-27.
- ↑ http://www.pathumonline.com/?p=994[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-27. สืบค้นเมื่อ 2013-04-27.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-27. สืบค้นเมื่อ 2013-04-27.