ตำบลบึงบา
บึงบา เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีคลองขุดชลประทานสำคัญไหลผ่าน ได้แก่ คลองเก้า คลองสิบ คลองสิบเอ็ด รวมทั้งคลองแอนหรือคลองกลางต่าง ๆ ที่คั่นระหว่างคลองชลประทานสายหลัก
ตำบลบึงบา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Bueng Ba |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปทุมธานี |
อำเภอ | หนองเสือ |
พื้นที่[1][2] | |
• ทั้งหมด | 42.21 ตร.กม. (16.30 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 7,582 คน |
• ความหนาแน่น | 179.63 คน/ตร.กม. (465.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 12170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 130401 |
ในด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ตําบลบึงบาอยู่ในความดูแลขององค์กร 2 องค์กร ได้แก่ เทศบาลตำบลหนองเสือและองค์การบริหารส่วนตำบลบึงบา เทศบาลตำบลหนองเสือเดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลหนองเสือ ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542[5] ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลบึงบาเดิมมีฐานะเป็นสภาตําบลบึงบา ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตําบลเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538[6] ที่ดินส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลมักใช้เพื่อการอยู่อาศัย การสาธารณูปโภค การอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม[1] ส่วนที่ดินนอกเขตเทศบาลยังคงใช้สำหรับการเกษตรเป็นหลัก ผลผลิตที่สำคัญได้แก่ ข้าว กล้วย แก้วมังกร ลำไย และส้มเขียวหวาน[7]
ประวัติ
แก้ตามคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในตำบลบึงบา ผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ช่วงแรกเริ่มเข้ามาในสมัยขุนบุรีบำรุงรักษ์ คาดว่าเป็นชาวจีนแจวเรือจ้างและมีการบอกต่อกันว่ามีพื้นที่เหมาะแก่การทำนา จึงมีผู้ย้ายถิ่นเข้ามาเพิ่มขึ้น ส่วนมากมาจากนนทบุรี บ้านแพ้ว และองครักษ์[8] บริเวณนี้ในอดีตมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีบึงและหนองขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก ในบึงและหนองเหล่านั้นมีต้นบา (ไม้น้ำชนิด Nymphoides indica) ขึ้นอยู่ทั่วไป เมื่อมีการจัดตั้งตำบลจึงเรียกท้องที่นี้ว่า ตำบลบึงบา[8]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลบึงบาตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของอำเภอหนองเสือ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียงดังต่อไปนี้[9]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบึงกาสาม (อำเภอหนองเสือ)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลนพรัตน์และตำบลหนองสามวัง (อำเภอหนองเสือ)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบึงสนั่น (อำเภอธัญบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบึงบอนและตำบลบึงชำอ้อ (อำเภอหนองเสือ)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้ตำบลบึงบาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่[1][2][9]
- หมู่ที่ 1 บ้านไทรย้อย อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงบาทั้งหมู่
- หมู่ที่ 2 บ้านวังตะเคียนพัฒนา หรือ บ้านวังตะเคียน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงบาทั้งหมู่
- หมู่ที่ 3 บ้านแสงมณี อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงบาทั้งหมู่
- หมู่ที่ 4 บ้านแสนสุข อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงบาทั้งหมู่
- หมู่ที่ 5 บ้านบึงพัฒนา หรือ บ้านบึงบา อยู่ในเขตเทศบาลตำบลหนองเสือทั้งหมู่
- หมู่ที่ 6 บ้านบึงพัฒนา หรือ บ้านปากบึงพัฒนา อยู่ในเขตเทศบาลตำบลหนองเสือทั้งหมู่
- หมู่ที่ 7 บ้านศาลาลอย อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงบาทั้งหมู่
- หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งรวงทอง อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงบาทั้งหมู่
การคมนาคม
แก้เส้นทางสายสำคัญที่ใช้สัญจรภายในพื้นที่ตำบลบึงบาและเชื่อมต่อกับตำบลอื่น ๆ ได้แก่
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3261 สายคลอง 10 – ปากคลอง 13
- ทางหลวงชนบท ปท.3023 สายแยกทางหลวงหมายเลข 305 (กม.ที่ 26+350) – เลียบคลอง 11 ฝั่งตะวันตก
- ทางหลวงชนบท ปท.3027 สายแยกทางหลวงหมายเลข 305 (กม.ที่ 23+750) – เลียบคลอง 10 ฝั่งตะวันตก
- ทางหลวงชนบท ปท.4001 สายแยกทางหลวงหมายเลข 3261 (กม.ที่ 8+800) – บ้านคลองห้า
- ทางหลวงท้องถิ่น ปท.ถ 1-0001 สายบ้านวังตะเคียน–บ้านแสงมณี
- ทางหลวงท้องถิ่น ปท.ถ 1-0021 สายคลองชลประทานที่ 9 ฝั่งตะวันออก
- ทางหลวงท้องถิ่น ปท.ถ 19-017 สายแยกทางหลวงหมายเลข 3261 – บ้านคลองสิบสาม และทางหลวงท้องถิ่นสายแอน 1
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 องค์การบริหารส่วนตำบลบึงบา. "ประวัติ และข้อมูลตำบล." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://bungba-sao.go.th/public/history/data/index/menu/22 เก็บถาวร 2022-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 9 กันยายน 2563.
- ↑ 2.0 2.1 เทศบาลตำบลหนองเสือ. "ข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nongsua.go.th/index.php?_mod=ZGl5&type=Mg [ม.ป.ป.]. สืบค้น 9 กันยายน 2563.
- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 อำเภอหนองเสือ". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลหนองเสือ". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-09-09.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 6 ง): 1–63. 3 มีนาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-09-09.
- ↑ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงบา. "ผลิตผลทางการเกษตร." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://bungba-sao.go.th/public/agricultural/data/listagricultural/agricultural_category_id/1/menu/163 เก็บถาวร 2022-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 9 กันยายน 2563.
- ↑ 8.0 8.1 ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2559). รูปแบบการพัฒนาน้ำข้าวกล้องผสมสมุนไพร โดยวิธีการบูรณาการการจัดการความรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่ชุมชน ของนักวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มภาคกลาง. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 1(2), หน้า 17.
- ↑ 9.0 9.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (พิเศษ 93 ง): 67–83. 12 ตุลาคม 2541.