สังคมนิยมแรงงาน

องค์กรสังคมนิยมแรงงาน (อสร.)[1][2] หรือชื่อเดิมคือ กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน (กปร.) เป็นองค์กรทางการเมืองมาร์กซิสต์(ลัทธิมาร์กซ์)ในประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2541 โดยเป็นองค์กรที่ยึดถือแนวคิดสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และใช้แนววิพากษ์เศรษฐกิจการเมืองตามแบบคาร์ล มาร์กซ์, ฟริดิช เอ็งเงิลส์, วลาดิมีร์ เลนิน, เลออน ทรอตสกี, โจเซฟ สตาลิน, เหมา เจ๋อตง, คิม อิล-ซ็อง, โฮจิมินห์, ฟิเดล กัสโตร, เช เกบารา, พล พต, สี จิ้นผิง และ ผู้นำฝ่ายซ้ายจัดคนอื่นๆ ที่มีแนวคิดเหมือนกัน ประธานองค์กรสังคมนิยมแรงงานคนปัจจุบันคือ รศ.ดร.ใจ อึ๊งภากรณ์ สมาชิกพรรคเลเบอร์ ประเทศสหราชอาณาจักร และมีสมาชิกคนสำคัญคือ นายจารุวัฒน์ เกยูรวรรณ (ผู้แทนประธานองค์กร) นายนากิตะ เกิดนาค และ คนอื่นๆที่มีแนวคิดเหมือนกัน

โดยแนวคิดสังคมนิยมของมาร์กซ์มองว่า ความไม่เท่าเทียมกันของสังคม ไม่ใช่สิ่งธรรมชาติที่คงอยู่มาแต่เดิม แต่เป็นผลมาจากสังคมชนชั้นและสังคมทุนนิยม ในสังคมทุนนิยมนั้นมีอยู่ด้วยกันสองชนชั้น คือชนชั้นแรงงาน และชนชั้นนายทุน ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่สร้างความเหลื่อมล้ำเพราะเอื้อให้นายทุนสร้างกำไรผ่านการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากการทำงานของแรงงาน (เช่น พนักงานขายสามารถทำรายได้ให้กิจการได้วันละ 1000 บาทต่อวัน แต่ได้รับค่าแรง 300 บาทต่อวัน ซึ่งเป็นค่าแรงขั้นต่ำ มูลค่าอีก 700 บาทที่เหลือนั้นจะเป็นกำไรของนายจ้าง) ในสังคมทุนนิยมนั้น ชนชั้นนายทุนใช้อำนาจทางเศรษฐกิจของตนเองในการสร้างอำนาจทางการเมืองและครอบงำโครงสร้างรัฐเพื่อจะสร้างผลประโยชน์ให้ชนชั้นนายทุน และกดขี่ชนชั้นแรงงาน

องค์กรสังคมนิยมแรงงานและนักสังคมนิยมโดยทั่วไปมิได้มองว่า ระบบสังคมนิยมนั้นขัดต่อธรรมชาติของมนุษย์แต่อย่างใด เพราะระบบทุนนิยมถือกำเนิดเพียงเมื่อ 200-500 ปีที่แล้วเพียงเท่านั้น นักสังคมนิยมมีมุมมองว่า ลักษณะนิสัยใจคอของมนุษย์นั้นถูกกำหนดจากสภาพวัตถุ หรือสภาพแวดล้อมทางสังคม การปลูกฝัง และการเลี้ยงดู และมนุษย์มักมีนิสัยที่ขัดกับระบบทุนนิยมอยู่เสมอ และเมื่อในสมัยสังคมบรรพกาลนั้น ไม่มีระบบทุนนิยม ไม่มีระบบสังคมแบบชนชั้น ไม่มีรัฐบาล

องค์กรสังคมนิยมแรงงานเชื่อในทฤษฎีปฏิวัติถาวร และเชื่อว่าสังคมนิยมเป็นทางออกสำหรับวิกฤติทุนนิยมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ปัจจุบันกลุ่มประชาธิปไตยแรงงานยังคงเคลื่อนไหวอย่างเข้มแข็งโดยได้ผลิตสื่อ หนังสือ และผลงานทางวิชาการออกมาเป็นจำนวนมาก พร้อมกับจัดสัมมนาและกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและในสหภาพแรงงานอย่างต่อเนื่อง

จุดยืนและแนวคิดขององค์กรสังคมนิยมแรงงาน มีดังต่อไปนี้

  1. สังคมนิยมคือประชาธิปไตยทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ
  2. สนับสนุนความเท่าเทียมและความเสมอภาคในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เพศสภาพ
  3. สนับสนุนการกระทำของรัสเซียในสงครามรัสเซีย-ยูเครน
  4. สนับสนุนกลุ่มฮะมาสเพื่อปลดแอกชาวปาเลสไตน์
  5. สนับสนุนกลุ่มติดอาวุธในตะวันออกกลางที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านอย่างเช่น ฮิซบุลลอฮ์ ฮูษี เป็นต้น
  6. ต่อต้านวัฒนธรรมไทย ต่อต้านความเป็นชาติไทย สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนของล้านนาและปัตตานี (ภายใต้การนำของบีอาร์เอ็นและพูโล) สนับสนุนการผนวกเกาะกูด เขาพระวิหาร ของกัมพูชา
  7. ต่อต้านตะวันตก ต่อต้านไซออนิสต์ ปกป้องศาสนาอิสลาม (โดยเฉพาะนิกายชีอะห์)
  8. สนับสนุนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนในการอ้างสิทธิ์เหนือไต้หวันและทะเลจีนใต้ ต่อต้านการแยกตัวเอกราชของทิเบตและซินเจียงอุยกูร์
  9. สนับสนุนการทำนารวม ตามแบบพล พต อดีตผู้นำเขมรแดง
  10. สนับสนุนการปฏิวัติวัฒนธรรม ของเหมา เจ๋อตง อดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน
  11. ต่อต้านผู้นำฝ่ายขวาคนอื่นๆ อย่างเช่น โดนัลด์ ทรัมป์, ฌาอีร์ โบลโซนารู, ฆาบีเอร์ มิเลย์, จอร์จา เมโลนี, นเรนทระ โมดี, เบนจามิน เนทันยาฮู เป็นต้น
  12. สนับสนุนระเบียบโลกใหม่ของบริกส์ องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้

ทั้งนี้ องค์กรนี้สนับสนุนแนวคิดเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ หรือ "ประชาธิปไตยของชนชั้นกรรมาชีพ" [3]โดยมีเป้าหมายหลัก ดังต่อไปนี้

  1. สถาปนาสังคมไร้รัฐ ไร้ผู้นำ ยกเลิกรัฐชาติ ตามแนวทางสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ของคาร์ล มาร์กซ์ และฟรีดิช เองเกลส์
  2. ยกเลิกกองทัพและตำรวจ จัดตั้งกลุ่มติดอาวุธ
  3. ก่อตั้งสภาคนงานหรือสภาโรงงาน โดยผู้แทนมาจากการแต่งตั้งในทุกเขตที่ทำงาน จากคนทุกกลุ่มในสังคม โดยสภาคนงานทำหน้าที่ในการบริหารและนิติบัญญัติอย่างเป็นประชาธิปไตย
  4. เจ้าหน้าที่ตุลาการมาจากการแต่งตั้งของคณะกรรมการพรรค
  5. เจ้าหน้าที่รัฐทุกคน ได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ยของคนทำงานทั่วไป และสามารถถูกถอดถอนได้ หากไม่ถูกใจเลขาธิการพรรค

อ้างอิง

แก้
  1. สังคมนิยมแรงงาน : เกี่ยวกับเรา
  2. กลุ่ม ‘สังคมนิยมแรงงาน’ แถลง 7 ข้อเนื่องในวันกรรมกรสากล ชี้ยุคโควิดคนจนกระทบหนักสุด
  3. "เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพคือก้าวต่อไปในการสร้างสังคมใหม่". สังคมนิยมแรงงาน. 2023-09-29.