คิม อิล-ซ็อง

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี

คิม อิล-ซ็อง (เกาหลี김일성; ชื่อเกิด คิม ซ็อง-จู;[c] 15 เมษายน ค.ศ. 1912 – 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1994) เป็นผู้นำคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเมื่อ พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2515 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ พ.ศ. 2515 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2537[2] นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานเกาหลี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 จนถึง พ.ศ. 2537 คิม อิล-ซ็องเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะผู้เผด็จการในระบอบคอมมิวนิสต์ของประเทศเกาหลีเหนือ โดยดำรงตำแหน่งอยู่ในอำนาจในฐานะผู้นำของประเทศเกาหลีเหนือเป็นเวลายาวนานถึงสี่สิบกว่าปี ดำรงตำแหน่งในช่วงสำคัญในประวัติศาสตร์อันได้แก่สงครามเย็นและสงครามเกาหลี มีการพัฒนาลัทธิบูชาบุคคลขึ้นมาสำหรับคิม อิล-ซ็องโดยเฉพาะ หลังคิม อิล-ซ็อง ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว รัฐบาลเกาหลีเหนือภายใต้การนำของประธานาธิบดีคิม จ็อง-อิล บุตรชาย ได้ให้สมญานามแก่เขาว่า "ประธานาธิบดีตลอดกาล" (Eternal President เกาหลี영원한 주석; ฮันจาYeongwonhan Juseok)[3] เมื่อ พ.ศ. 2554

คิม อิล-ซ็อง
김일성
คิม ป. คริสต์ทศวรรษ 1960
เลขาธิการพรรคแรงงานเกาหลี
ดำรงตำแหน่ง
12 ตุลาคม 1966 – 8 กรกฎาคม 1994
เลขาธิการ
ก่อนหน้าตนเอง (ในฐานะประธาน)
ถัดไปคิม จ็อง-อิล
ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ
ดำรงตำแหน่ง
28 ธันวาคม 1972 – 8 กรกฎาคม 1994
หัวหน้ารัฐบาล
ดูรายชื่อ
รองประธานาธิบดี
ดูรายชื่อ
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง[a]
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง[b]
ประธานพรรคแรงงานเกาหลี
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน 1949 – 12 ตุลาคม 1966
รองประธาน
ดูรายชื่อ
ก่อนหน้าคิม ดู-บง
ถัดไปตนเอง (ในฐานะเลขาธิการพรรค)
นายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ
ดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน 1948 – 28 ธันวาคม 1972
รองนายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือคนแรกคิม อิล
รองนายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ
ดูรายชื่อ
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปคิม อิล
ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี
ดำรงตำแหน่ง
5 กรกฎาคม 1950 – 24 ธันวาคม 1991
ก่อนหน้าเช ย็อง-ก็อน
ถัดไปคิม จ็อง-อิล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
คิม ซ็อง-จู

15 เมษายน ค.ศ. 1912(1912-04-15)
นัมนี จังหวัดเฮอังใต้ โชเซ็น จักรวรรดิญี่ปุ่น(ปัจจุบันคือมันกย็องแด เปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ)
เสียชีวิต8 กรกฎาคม ค.ศ. 1994(1994-07-08) (82 ปี)
บ้านพักฮยังซัน เทศมณฑลฮยังซัน จังหวัดพย็องอันเหนือ ประเทศเกาหลีเหนือ
ที่ไว้ศพวังสุริยะคึมซูซัน เปียงยาง
เชื้อชาติเกาหลีเหนือ
พรรคการเมืองพรรคแรงงานเกาหลี
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรส
บุตร6 คน, รวมคิม จ็อง-อิล, คิม มัน-อิล, คิม กย็อง-ฮี และคิม พย็อง-อิล
บุพการี
ความสัมพันธ์ตระกูลคิม
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
สังกัด
ประจำการ
  • 1941–1945
  • 1948–1994
ยศ
หน่วยกองปืนไรเฟิลแยกที่ 88, กองทัพแดง
บังคับบัญชาทั้งหมด (ผู้บัญชาการทหารสูงสุด)
ผ่านศึก
ชื่อเกาหลี
โชซ็อนกึล
김일성
ฮันจา
อาร์อาร์Gim Il(-)seong
เอ็มอาร์Kim Ilsŏng
ชื่อเกิด
โชซ็อนกึล
김성주
ฮันจา
อาร์อาร์Gim Seong(-)ju
เอ็มอาร์Kim Sŏngju
สมาชิกสถาบันกลาง
  • 1980–1994: Member, Presidium of the Political Bureau of the 6th Central Committee of the Workers' Party of Korea
  • 1970–1980: Member, Political Committee of the Central Committee of the Workers' Party of Korea
  • 1966–1994: Secretariat of the Workers' Party of Korea
  • 1966–1970: Member, Standing Committee of the Political Committee of the Central Committee of the Workers' Party of Korea
  • 1961–1970: Chairman, Political Committee of the Central Committee of the Workers' Party of Korea
  • 1956–1961: Member, Standing Committee of the Central Committee of the Workers' Party of Korea
  • 1948–1994: Deputy, 1st, 2nd, 3rd, 4th, 5th, 6th, 7th, 8th and 9th Supreme People's Assembly
  • 1946–1956: Member, Political Committee of the Central Committee of the Workers' Party of Korea
  • 1946–1994: Member, 1st, 2nd, 3rd, 4th, 5th, and 6th Central Committee of the Workers' Party of Korea

ตำแหน่งอื่น ๆ
  • 1982–1994: Chairman, Central Military Commission of the Workers' Party of Korea
  • 1972–1992: Chairman, National Defense Commission of the Central People's Committee of the Democratic People's Republic of Korea
  • 1970–1982: Chairman, Military Commission of the Central Committee of the Workers' Party of Korea
  • 1992–1993: Chairman, National Defense Commission of the Democratic People's Republic of Korea
  • 1947–1948: Chairman, People's Committee of North Korea
  • 1946–1949: Vice Chairman, Central Committee of the Workers' Party of North Korea
  • 1946–1947: Chairman, Provisional People's Committee of North Korea
  • 1945–1946: Chairman, North Korea Bureau of the Communist Party of Korea

ชีวิตวัยเยาว์

แก้

ภูมิหลังครอบครัว

แก้
 
บ้านที่คิมถือกำเนิด

คิมมีชื่อเกิดว่าคิม ซ็อง-จู เป็นบุตรของพ่อชื่อคิม ฮย็อง-จิก กับแม่ชื่อคัง พัน-ซ็อก เขามีน้องชายสองคนที่มีชื่อว่า คิม ช็อล-จู [ko] และคิม ย็อง-จู[4]: 3  คิม ช็อล-จูเสียชีวิตขณะสู้รบต่อพวกญี่ปุ่นและคิม ย็อง-จูเข้าร่วมรัฐบาลเกาหลีเหนือและถือเป็นผู้สืบทอดถัดจากพี่ชายก่อนถูกถอนออกจากตำแหน่ง[5][6]

กล่าวกันว่าครอบครัวของคิมจากตระกูลช็อนจูคิมมีต้นกำเนิดจากช็อนจู จังหวัดช็อลลาเหนือ ใน ค.ศ. 1860 Kim Ung-u ทวดของเขา ตั้งถิ่นฐานที่ย่านมันกย็องแดของเปียงยาง มีรายงานว่าคิมถือกำเนิดในหมู่บ้านขนาดเล็กที่มีชื่อว่า Mangyungbong (เวลานั้นมีชื่อว่า Namni) ใกล้เปียงยางในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912[7][8]: 12  หนังสืออัตชีวประวัติกึ่งทางการของคิมใน ค.ศ. 1964 ระบุว่าเขาเกิดในบ้านของแม่ที่ Chingjong ภายหลังเติบโตที่ Mangyungbong[9]: 73 

 
ภาพถ่ายของคิมใน ค.ศ. 1927 ตีพิมพ์ในอัตชีวประวัติ With the Century

ครอบครัวของเขาหาทางหนีให้พ้นจากความยากจน คิมกล่าวว่าเขาเติบโตในครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายเพรสไบทีเรียนอย่างเคร่งครัด ตาของเขาเป็นศาสนาจารย์นิกายโปรเตสแตนต์ และพ่อของเขาเคยเข้าโรงเรียนสอนศาสนาและเคยเป็นพระอาวุโสในคริสต์จักรเพรสไบทีเรียน[10][11] บันทึกรัฐบาลเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการระบุว่า ครอบครัวคิมมีส่วนในกิจกรรมต่อต้านญี่ปุ่นและหลบหนีไปยังแมนจูเรียใน ค.ศ. 1920 พวกเขาไม่พอใจที่ญี่ปุ่นยึดครองคาบสมุทรเกาหลีเหมือนกับครอบครัวเกาหลีส่วนใหญ่[8]: 12  ทางญี่ปุ่นปราบปรามฝ่ายต่อต้านของเกาหลีอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีการจับกุมและคุมขังพลเมืองเกาหลีมากกว่า 52,000 คนใน ค.ศ. 1912 เพียงปีเดียว[8]: 13  สิ่งนี้บังคับให้ครอบครัวเกาหลีหลายกลุ่มหลบหนีออกจากคาบสมุทรเกาหลีและตั้งถิ่นฐานในแมนจูเรีย[12]

ถึงกระนั้น พ่อแม่ของคิม โดยเฉพาะแม่ของเขา มีบทบาทในการต่อสู้ต่อต้านญี่ปุ่นที่กำลังกวาดล้างคาบสมุทร[8]: 16  โดยจุดประสงค์นั้นไม่ชัดเจน – ทั้งในด้านภารกิจ ชาตินิยม หรือทั้งสองอย่าง[13]: 53 

การรบในแมนจูเรีย

แก้

คิม อิล-ซ็อง ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่มณฑลจี๋หลิน เนื่องจากเติบโตมาในแมนจูเรีย คิม อิล-ซ็อง จึงพูดภาษาจีนกลางเป็นหลักและบางหลักฐานบอกว่า คิม อิล-ซ็อง นั้นพูดภาษาเกาหลีได้น้อยมากในวัยเยาว์[14] ชีวประวัติซึ่งแต่งโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือบรรยายว่าคิม อิล-ซ็อง มีบทบาทและมีความกระตือรือร้นในการเคลื่อนไหวปลดแอกเกาหลีจากการปกครองของญี่ปุ่น และยึดมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งถูกทางการสาธารณรัฐจีนจับกุมตัว ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ ไม่พบหลักฐานรายละเอียดว่า คิม ซ็อง-จู เข้าร่วมลัทธิคอมมิวนิสต์ได้อย่างไร เมื่อ พ.ศ. 2474 คิม ซ็อง-จู เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปีเดียวกันนั้นเองเกิดเหตุการณ์มุกเดน เป็นเหตุให้จักรวรรดิญี่ปุ่นยกทัพเข้ารุกรานแมนจูเรีย นำไปสู่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 คิม ซ็อง-จู จึงได้เข้าร่วมทหารกองโจรคอมมิวนิสต์จีนต่อสู้เพื่อต้านทานการรุกรานของญี่ปุ่น ระหว่างการต่อสู้ต้านทานญี่ปุ่นภายใต้ธงของรัฐบาลจีนนั้น คิม ซ็อง-จู ได้รู้จักกับเว่ย์ เจิ้งหมิน (Wei Zhengmin) ผู้บังคับบัญชาชาวจีนซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวความคิดทางด้านลัทธิคอมมิวนิสต์และเปรียนเสมือนเป็นอาจารย์ของคิม ซ็อง-จู

พ.ศ. 2478 คิม ซ็องจูเปลี่ยนชื่อของตนเองเป็นคิม อิล-ซ็อง คิม อิล-ซ็อง ไต่เต้าสายการบังคับบัญชาของกองทัพจีนในแมนจูเรียขึ้นมาตามลำดับ จนกระทั่งได้เป็นผู้บังคับบัญชามีกองกำลังเป็นของตนเอง สงครามจีน-ญี่ปุ่นอันเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองยืดเยื้อยาวนานจนกระทั่งกองทัพฝ่ายจีนในแมนจูเรียถูกลดทอนกำลังลงและสูญเสียผู้บังคับบัญชาไปมาก คิม อิล-ซ็อง ซึ่งในขณะนั้นเป็นหนึ่งในผู้บังคับบัญชาเพียงไม่กี่คนของจีนที่ยังมีชีวิตรอด ถูกกองทัพญี่ปุ่นโจมตีจนต้องล่าถอยข้ามแม่น้ำอามูร์เข้าไปยังอาณาเขตของสหภาพโซเวียต เมื่อ พ.ศ. 2483 คิม อิล-ซ็อง พำนักอยู่ที่เมืองเวียตสกอย (Vyatskoye) ดินแดนฮาบารอฟสค์ (Khabarovsk Krai) ประเทศรัสเซียในปัจจุบัน และเข้าร่วมกองทัพแดง ของสหภาพโซเวียต ที่เมืองเวียดสกอยในปี พ.ศ. 2484 คิม อิล-ซ็อง ได้สมรสกับนางคิม จ็อง-ซุก (เกาหลี김정숙) นางคิม จ็อง-ซุก ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนแรกคือ คิม จ็อง-อิล ในปีเดียวกัน[15]

ผู้นำเกาหลีเหนือ

แก้

หนทางสู่ผู้นำเกาหลีเหนือ

แก้

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 จักรวรรดิญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนต่อสงครามโลกครั้งที่สอง และทัพโซเวียตเข้ายึดเมืองเปียงยาง เกาหลีพ้นจากการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น และด้วยมติของสหประชาชาติให้เกาหลีอยู่ในภาวะทรัสตี (Trusteeship) โดยสหภาพโซเวียตเข้ากำกับดูแลดินแดนเกาหลีทางตอนเหนือ ในขณะที่สหรัฐอเมริกากำกับดูแลเกาหลีทางตอนใต้ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ผู้นำสหภาพโซเวียตต้องการสรรหาผู้นำชาวเกาหลีซึ่งจะปกครองเกาหลีส่วนเหนือที่อยู่ภายใต้การล่าอาณานิคมของโซเวียตต่อไป ลาฟเรนตี เบเรีย (Lavrentiy Beria) ได้แนะนำคิม อิล-ซ็อง ต่อสตาลิน[7][16][17] ให้เป็นผู้ปกครองดินแดนเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง จึงเดินทางกลับมายังเกาหลีโดยเทียบท่าที่เมืองวอนซันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488[17][18] ในเดือนธันวาคมสหภาพโซเวียตประกาศให้คิม อิล-ซ็อง เป็นหัวหน้าพรรคแรงงานล่าอาณานิคมเกาหลี[19] แม้ว่าพรรคแรงงานแห่งเกาหลีเดิมนั้นมีที่ทำการอยู่ที่โซล และมีหัวหน้าอยู่ก่อนแล้วคือพัก ฮ็อน-ย็อง (เกาหลี박헌영) ด้วยการสนับสนุนของสหภาพโซเวียต คิม อิล-ซ็อง จึงสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์สูงสุดของเกาหลีเหนือได้สำเร็จ[17][19]

นอกเหนือจากคิม อิล-ซ็อง สหภาพโซเวียตได้พยายามที่จะรวบรวมบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ของชาวเกาหลีที่ให้การสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาสู่รัฐบาลเกาหลีเหนือ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 พรรคประชาชนใหม่ของคิม ดู-บง (เกาหลี김두봉) และพรรคแรงงานเกาหลีที่โซลของนายพัก ฮ็อน-ย็อง ถูกยุบรวมเข้ากับพรรคแรงงานแห่งเกาหลีของนายคิม อิล-ซ็อง กลายเป็นสภาประชาชนชั่วคราวแห่งเกาหลีเหนือ โดยมีคิม อิล-ซ็อง เป็นผู้นำ แต่ทว่าตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานนั้นตกเป็นของคิม ดู-บง ในฐานะผู้นำของสภาประชาชนคิม อิล-ซ็อง ได้ปฏิรูประบบที่ดินในเกาหลี ซึ่งในสมัยการปกครองของญี่ปุ่นนั้นดินแดนส่วนใหญ่ในเกาหลีมีนายทุนชาวญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ คิม อิล-ซ็อง ได้จัดสรรที่ดินใหม่ทั้งหมดตามหลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2490 สหประชาชาติมีมติให้รัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งที่โซลมีอำนาจปกครองทั่วทั้งคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สหภาพโซเวียตไม่เห็นชอบด้วย เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่โซลนำโดยอี ซึง-มัน (Yi Seung-man; เกาหลี이승만) ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเกาหลีในเดือนต่อมากันยายน พ.ศ. 2491 สหภาพโซเวียตจึงยกระดับสภาประชาชนเกาหลีเหนือขึ้นเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea; DPRK) โดยมีนายคิม อิล-ซ็อง เป็นนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง จัดตั้งกองทัพล่าอาณานิคมเกาหลี เพื่อเป็นกองกำลังทหารประจำรัฐ คิม อิล-ซ็อง รวบรวมพรรคคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ในเกาหลีจัดตั้งเป็น แนวร่วมล่าอาณานิคมเพื่อเอกภาพแห่งปิตุภูมิ (Democratic Front of the Reunification of the Fatherland) โดยมีพรรคแรงงานล่าอาณานิคมแห่งเกาหลีของคิม อิล-ซ็อง เป็นแกนนำหลัก

นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง นิยมการบริหารประเทศในแบบของโจเซฟ สตาลิน จนนำมาเป็นแบบอย่าง คิม อิล-ซ็อง เริ่มการสร้างลัทธิบูชาตัวบุคคล (cult of personality) ของเขาเองขึ้นมา เริ่มมีการเรียกคิม อิล-ซ็อง ว่า "ท่านผู้นำ" (Great Leader) รูปปั้นเสมือนของคิม อิล-ซ็อง ก็เริ่มปรากฏขึ้นในสมัยนี้เช่นกัน

นางคิม จ็อง-ซุก สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งภรรยาคนแรกของคิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นมารดาของคิม จ็อง-อิล ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนที่สองคือ คิม มัน-อิล (เกาหลี김만일) ใน พ.ศ. 2487 และได้ให้กำเนิดบุตรสาวคนโตคนแรกคือ คิม คย็อง-ฮี (เกาหลี김경희) เมื่อ พ.ศ. 2489 แต่ทว่าคิม มัน-อิล ได้เสียชีวิตจากการจมน้ำในสระว่ายน้ำใน พ.ศ. 2490 ด้วยอายุเพียงสามปี จากนั้นใน พ.ศ. 2492 นางคิม จ็อง-ซุก ก็เสียชีวิตจากการให้กำเนิดบุตรคนที่สี่ คิม อิล-ซ็อง สมรสใหม่ในอีกสามปีต่อมา พ.ศ. 2495 กับเลขานุการส่วนตัว คิม ซ็อง-แอ (เกาหลี김성애) ระหว่างช่วงสงครามเกาหลี

สงครามเกาหลี

แก้

เมื่อจัดตั้งรัฐทั้งสองในคาบสมุทรเกาหลีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถอนกำลังของตนออกจากคาบสมุทรเกาหลีใน พ.ศ. 2492 นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง เล็งเห็นว่ากองกำลังทหารของฝ่ายเกาหลีใต้นั้นอ่อนแอเมื่อปราศจากการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงเสนอต่อสตาลินว่าจะเข้ารุกรานเกาหลีใต้เพื่อรวมคาบสมุทรเกาหลีให้เป็นหนึ่งภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์[20][21][22] ซึ่งฝ่ายสตาลินนั้นเห็นด้วยเนื่องจากคาดการณ์ว่าสหรัฐอเมริกาซึ่งได้ถอนกำลังไปหมดแล้วจะไม่เข้าช่วยฝ่ายเกาหลีใต้ สตาลินจึงจัดให้มีการฝึกการรบและติดอาวุธที่ทันสมัยให้แก่กองทัพล่าอาณานิคมประชาชนเกาหลีเพื่อเตรียมการณ์สำหรับการรุกรานเกาหลีใต้[23] สำหรับฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การนำของเหมา เจ๋อตงนั้น ยังคงลังเลที่จะให้การสนับสนุนแก่เกาหลีเหนือ เนื่องจากเหมาเจ๋อตงมีความเห็นว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกาจะต้องเข้าช่วยเกาหลีใต้อย่างแน่นอน

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2493 คิม อิล-ซ็อง มอบหมายให้ ชเว ยง-ก็อน (เกาหลี최용건) ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี นำกองทัพประชาชนเกาหลีเข้ารุกรานเกาหลีใต้ข้ามเส้นขนานที่ 38 และเข้าบุกยึดนครโซลได้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามการกระทำของฝ่ายเกาหลีเหนือและลงมติให้ประเทศสมาชิกส่งกองกำลังรวมในนามของสหประชาชาติเข้าต้านทานการรุกรานของเกาหลีเหนือ ฝ่ายสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ตัดสินใจนำส่งทัพเข้าช่วยเหลือฝ่ายเกาหลีใต้ ทัพอเมริกาเอาชนะทัพเกาหลีเหนือได้ในยุทธการวงรอบปูซาน และทัพผสมนานาชาติในนามของสหประชาชาติยกพลขึ้นบกที่เมืองอินชอน ในเดือนกันยายนทัพฝ่ายเกาหลีใต้สามารถยึดนครโซลคืนไปได้ ทัพเกาหลีเหนือจึงล่าถอยกลับไปเหนือเส้นขนานที่ 38

การรุกรานเกาหลีใต้ของคิม อิล-ซ็อง ใน พ.ศ. 2493 เป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ของคิม อิล-ซ็อง ทัพผสมสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติเมื่อยุติการรุกรานของเกาหลีเหนือได้แล้ว ก็หวังผลการรวมคาบสมุทรเกาหลีไว้กับรัฐบาลที่โซล จึงยกพลขึ้นเหนือจากเส้นขนานที่ 38 ในเดือนตุลาคม เข้ารุกรานเกาหลีเหนือ เข้ายึดเมืองเปียงยางได้ กองทัพประชาชนเกาหลีแตกพ่าย คิม อิล-ซ็อง หลบหนีจากเมืองเปียงยางไปยังมณฑลจี๋หลินของสาธารณรัฐจีน เมื่อทัพสหรัฐอเมริกายกพลมาจนใกล้ถึงแม่น้ำยาลู ฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตงมีความเห็นว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกานั้นเข้ามาคุกคามใกล้เคียงกับเขตแดนของสาธารณรัฐประชาชนจีนมากจนเกินทน จึงส่งเผิง เต๋อหฺวาย (จีน: 彭德怀, Péng Déhuái) นำกองทัพอาสาประชาชนเข้าช่วยฝ่ายเกาหลีเหนือ โดยฝ่ายสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติไม่ทันตั้งตัวถูกโจมตีจนล่าถอยกลับลงมาสู่เส้นขนานที่ 38 กองทัพสหประชาชาติ กองทัพอาสาประชาชนของจีน และกองทัพประชาชนเกาหลี เจรจาทำข้อตกลงสงบศึกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่หมู่บ้านพันมุนจ็อม (เกาหลี판문점) ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะกำหนดเขตปลอดทหาร ความกว้างสี่กิโลเมตรระหว่างเขตแดนของทั้งสองประเทศ

สงครามเกาหลีเป็นความล้มเหลวพ่ายแพ้ของคิม อิล-ซ็อง ด้วยการช่วยเหลือของกองทัพอาสาสมัครประชาชนของจีนจึงสามารถขับให้กองทัพสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติออกไปจากเกาหลีเหนือได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลเกาหลีเหนือในสมัยต่อมาได้บิดเบือนประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามเกาหลี โดยกล่าวว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกาเป็นผู้เริ่มการรุกรานเกาหลีเหนือก่อน[24] และเกาหลีเหนือได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในสงครามโดยที่สามารถขับไล่กองทัพล่าอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาออกไปได้

 
คิม อิล-ซ็อง ในการลงนามข้อตกลงหยุดยิง สงครามเกาหลี ปี พ.ศ. 2496

รวบรวมอำนาจและกำจัดคู่แข่ง

แก้

หลังสงครามเกาหลีเป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูประเทศ คิม อิล-ซ็อง ริเริ่มแนวความคิดช็อลลีมา (Chollima Movement; เกาหลี천리마운동) หรือ "ม้าหมื่นลี้" เป็นแนวความคิดของการใช้ทรัพยากรธรรรมชาติและทรัพยากรคนอย่างหนักหน่วง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อที่จะฟื้นฟูประเทศจากสงครามเกาหลี ทำให้เกาหลีเหนือมีระบบเศรษฐกิจแบบบังคับ (command economy) ชาวเกาหลีเหนือจำนวนมากถูกเกณฑ์เข้าเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อเร่งผลผลิตออกมาใช้ในประเทศ

ในสมัยต้นของเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง มิได้เป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ที่มีอำนาจเพียงคนเดียวในเกาหลีเหนือ แต่ทว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือในสมัยนั้นประกอบไปด้วยฝ่ายการเมืองถึงสี่ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายกองโจรแมนจูเรียคือฝ่ายของคิม อิล-ซ็อง ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนสหภาพโซเวียต ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลจีน และฝ่ายคอมมิวนิสต์จากเกาหลีใต้ ซึ่งฝ่ายที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของคิม อิล-ซ็อง คือ ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนจีนหรือที่เรียกว่า ฝ่ายย็อนอัน (เกาหลี연안파) นำโดยนายคิม ดู-บง และชเว ชัง-อิก (เกาหลี최창익) พ.ศ. 2496 คิม อิล-ซ็อง โทษฝ่ายคอมมิวนิสต์เกาหลีใต้ ซึ่งนำโดยนายพัก ฮ็อน-ย็อง ว่าเป็นสาเหตุทำให้กองทัพประชาชนเกาหลีไม่ได้รับการตอบรับจากชาวเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี พัก ฮ็อน-ย็อง และสมาชิกฝ่ายคอมมิวนิสต์ต่างถูกจับกุมดำเนินคดีต่อหน้าสาธารณชน (show trial) และจำนวนมากถูกตัดสินโทษประหารชีวิตหรือหายไปอย่างไร้ร่องรอย พัก ฮ็อน-ย็อง ถูกตัดสินโทษประหารใน พ.ศ. 2498

ผู้นำโซเวียตคนใหม่ นิกิตา ครุสชอฟ มีนโยบายต่อต้านลัทธิสตาลิน โดยผู้นำคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ซึ่งมีความนิยมในตัวสตาลินต่างถูกขับออกจากอำนาจ คิม อิล-ซ็อง ผู้นิยมสตาลิน (Stalinist) ถูกทางการสหภาพโซเวียตเรียกเข้ารายงานตัวที่มอสโกใน พ.ศ. 2499 เพื่อพบครุสชอฟ ครุสชอฟได้กล่าวตำหนิถึงวิธีการบริหารประเทศแบบสตาลินของคิม อิล-ซ็อง ได้แก่ความเผด็จการและการสร้างลัทธิบูชาตัวบุคคล และเน้นย้ำให้คิม อิล-ซ็อง เห็นถึงหลักการของภาวะผู้นำร่วม (collective leadership)[25] ขณะที่คิม อิล-ซ็อง อยู่ที่เมืองมอสโคนั้น ฝ่ายย็อนอันได้ฉวยโอกาสนี้พยายามก่อการยึดอำนาจจากคิม อิล-ซ็อง โดยชเว ชัง-อิก ได้กล่าวสุนทรพจน์ตำหนิการบริหารประเทศของคิมว่ารวบอำนาจไว้ในมือของตนแต่เพียงผู้เดียวเป็นเผด็จการ แต่ทว่าสมาชิกพรรคคนอื่น ๆ ในรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจของฝ่ายย็อนอัน เมื่อคิม อิล-ซ็อง เดินทางกลับมาจึงสั่งให้มีการสอบสวนจับกุมผู้นำฝ่ายย็อนอันทั้งหลาย คิม ดู-บง ผู้นำฝ่ายย็อนอันแม้จะไม่ได้มีส่วนร่วมในการก่อการครั้งนี้แต่ก็ถูกตัดสินโทษประหารชีวิต เช่นเดียวกับชเว ชัง-อิก ผู้ริเริ่มในการก่อการครั้งนี้

ในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลเกาหลีเหนือประกาศร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง โดยให้นายคิม อิล-ซ็อง ดำรงตำแหน่งเป็น "ประธานาธิบดี" ซึ่งได้รับเลือกจากสภาประชาชนสูงสุด (Supreme People's Assembly) ซึ่งมีพรรคแรงงานแห่งเกาหลีมีเสียงข้างมากอยู่

กำเนิดแนวความคิดจูเช

แก้

ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีนักของรัฐบาลเกาหลีภายใต้การนำของคิม อิล-ซ็อง กับสหภาพโซเวียตนำโดยนิกิตา ครุสชอฟ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้เกาหลีเหนือขาดความช่วยเหลือจากประเทศมหาอำนาจคอมมิวนิสต์ทั้งสอง หลังสงครามเกาหลีเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือยังคงสามารถฟื้นฟูและอยู่รอดได้จากการผลิตภายในประเทศ อย่างไรก็ตามในช่วงทศวรรษ 1970 วิกฤตราคาน้ำมันโลก ประกอบกับการลงทุนมหาศาลของรัฐบาลเกาหลีเหนือไปกับการทหารทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีเหนือถดถอยลง ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศคู่แข่งอย่างเกาหลีใต้กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรมและทุนนิยม ในคณะเดียวกันนั้นคิม อิล-ซ็อง ได้ริเริ่มแนวความคิดจูเช (เกาหลี주체) อันเป็นแนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์แบบสตาลินนิสต์ในรูปแบบของเกาหลีเหนือเอง อันประกอบไปด้วยการพึ่งพาตนเองโดยสมบูรณ์แบบในสามด้าน ได้แก่ ทางด้านการเมือง (เป็นอิสระจากการครอบงำของทั้งโซเวียตและจีน) ทางเศรษฐกิจ และทางการทหาร รวมทั้งมีลัทธิบูชาตัวบุคคลของคิม อิล-ซ็อง หลังจากที่การกู้เงินจากต่างชาติเพื่อมาลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไม่ประสบความสำเร็จ รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงตัดสินใจที่จะปิดประเทศตัดสัมพันธ์ทางการค้าและการทูตกับประเทศอื่น ๆ เกือบทั้งหมด รัฐบาลเกาหลีออกประกาศนโยบายจูเชออกมาอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2525

อย่างไรก็ตามนโยบายจูเชกลับยิ่งตอกย้ำซ้ำเติมเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือให้ตกต่ำลงไปอีก เมื่อขาดความช่วยเหลือจากภายนอก เมื่อการผลิตภายในประเทศล้มเหลวในช่วงทศวรรษ 1990 อันเนื่องมากจากภัยธรรมชาติทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารข้าวยากหมากแพงขึ้นทั่วไปในประเทศ นำไปสู่ทุพภิกขภัยเกาหลีเหนือ ซึ่งรัฐบาลเกาหลีได้ให้ชื่อเหตุการณ์ภาวะอดอยากในครั้งนี้ว่า "การเดินทัพอันยากลำบาก" (เกาหลี고난의 행군) ในช่วง พ.ศ. 2537 ถึง 2541 ทำให้มีประชาชนขาวเกาหลีเหนือเสียชีวิตไปเป็นจำนวนประมาณ 240,000 ถึง 3,500,000 คน ในขณะเดียวกันนั้นรัฐบาลเกาหลีเหนือยังคงครอบงำประชาชนด้วยลัทธิจูเชและลัทธิบูชานายคิม อิล-ซ็อง ต่อไป และแก้ไขปัญหาภาวะความอดอยากอย่างไร้ประสิทธิภาพ

บั้นปลายชีวิตและการส่งต่ออำนาจ

แก้

คิม อิล-ซ็อง หมายมั่นที่จะให้บุตรชายคนโตของตนที่เกิดจากภรรยาคนแรกคือ นายคิม จ็อง-อิล เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำของพรรคแรงงานแห่งเกาหลีต่อไป โดยใน พ.ศ. 2507 นายคิม จ็อง-อิล ได้รับการแต่งตั้งเข้าทำงานในแผนกจัดระเบียบและวางแนวทาง (Organization and Guidance Department) ของพรรคแรงงานแห่งเกาหลี อันเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อปูทางสำหรับคิม จ็อง-อิล ให้ขึ้นสู่อำนาจโดยเฉพาะ ต่อมาใน พ.ศ. 2516 คิม จ็อง-อิล ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นเลขาธิการพรรคแรงงานแห่งเกาหลี ความก้าวหน้าทางการเมืองของคิม จ็อง-อิล ทำให้นานาชาติคาดการณ์ว่าเขาน่าจะเป็นผูสืบทอดต่อจากคิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นบิดา พ.ศ. 2534 คิม จ็อง-อิล ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี เป็นการแสดงออกของนายคิม อิล-ซ็อง ว่า คิม จ็อง-อิล ผู้เป็นบุตรชายนั้นเป็นผู้สืบทอดอำนาจอย่างแท้จริง การสืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดาของนายคิม จ็อง-อิล ทำให้เกาหลีเหนือกลายเป็นรัฐเผด็จการแบบสืบทอด หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยพฤตินัย

วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง แห่งเกาหลีเหนือ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเมื่ออายุ 82 ปี หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง ผ่านไปแล้วกว่า 34 ชั่วโมง รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงประกาศการถึงแก่อสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง อย่างเป็นทางการ และประกาศช่วงเวลาการไว้ทุกข์เป็นเวลาสิบวัน ซึ่งงานรื่นเริงทุกชนิดถูกห้าม มีชาวเกาหลีเหนือเข้าร่วมพิธีศพของประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง กว่าหนึ่งพันคนในวันที่ 17 กรกฎาคม ศพของคิม อิล-ซ็อง ตั้งไว้ที่วังสุริยะคึมซูซัน (Kumsusan Palace of the Sun) ในเมืองเปียงยาง อันเป็นที่พำนักอยู่เดิมของประธานาธิบดีผู้ล่วงลับ

ชีวิตส่วนตัว

แก้

สิ่งสืบทอด

แก้
 
ภาพเหมือนทางการหลังเสียชีวิตของคิม อิล-ซ็องที่มักพบเห็นในที่สาธารณะ
ภาพเหมือนทางการหลังเสียชีวิตของคิม อิล-ซ็องที่มักพบเห็นในที่สาธารณะ 
 
ภาพของคิมในฐานะดวงอาทิตย์บนจิตรกรรมฝาผนังโฆษณาชวนเชื่อ ชื่อตัว อิล-ซ็อง หมายถึง 'กลายเป็นดวงอาทิตย์' ทำให้วันเกิดของเขาจึงกลายเป็น "วันแห่งสุริยะ" (Day of the Sun)
ภาพของคิมในฐานะดวงอาทิตย์บนจิตรกรรมฝาผนังโฆษณาชวนเชื่อ ชื่อตัว อิล-ซ็อง หมายถึง 'กลายเป็นดวงอาทิตย์' ทำให้วันเกิดของเขาจึงกลายเป็น "วันแห่งสุริยะ" (Day of the Sun) 
 
อนุเสาวรีย์เดิมของคิม อิล-ซ็องที่เนินเขามันซูแด (1972–2012) อนุเสาวรีย์ของคิม จ็อง-อิลได้รับการติดตั้งในภายหลัง
อนุเสาวรีย์เดิมของคิม อิล-ซ็องที่เนินเขามันซูแด (1972–2012) อนุเสาวรีย์ของคิม จ็อง-อิลได้รับการติดตั้งในภายหลัง 
 
จิตรกรรมฝาผนังในเปียงยางที่มีภาพคิม อิล-ซ็องในวัยหนุ่มกำลังกล่าวปราศรัย
จิตรกรรมฝาผนังในเปียงยางที่มีภาพคิม อิล-ซ็องในวัยหนุ่มกำลังกล่าวปราศรัย 

คิม อิล-ซ็องได้รับการเคารพนับถืออย่างเทพเจ้าในช่วงที่มีชีวิตอยู่ แต่ลัทธิบูชาบุคคลของเขาไม่ได้ขยายไปไกลกว่าของเขตประเทศตนเอง[26] มีรูปปั้นของเขาในประเทศเกาหลีเหนือมากกว่า 500 แห่ง คล้ายกับรูปปั้นและอนุสรณ์หลายแห่งที่ผู้นำในประเทศกลุ่มตะวันออกให้ติดตั้งไว้[27] รูปปั้นที่สำคัญที่สุดอยู่ที่มหาวิทยาลัยคิมอิลซ็อง สนามกีฬาคิม อิล-ซ็อง เนินเขามันซูแด สะพานคิม อิล-ซ็อง และรูปปั้นคิม อิล-ซ็องผู้เป็นอมตะ (Immortal Statue of Kim Il Sung) รูปปั้นบางส่วนถูกชาวเกาหลีเหนือบางคนที่ไม่เห็นด้วยทำลายด้วยระเบิดหรือทำให้เสียหายด้วยการวาดรอยขูดขีดเขียน[14]: 201 [28] มีการติดตั้งอนุสรณ์ Yŏng Saeng ("ชีวิตอมตะ") ทั่วประเทศเพื่ออุทิศแด่ "ผู้นำตลอดกาล" ที่ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว[29]

ของขวัญหลายพันชิ้นจากผู้นำต่างประเทศหลายคนที่ให้คิม อิล-ซ็องได้รับการจัดแสดงที่นิทรรศการสันถวไมตรีนานาชาติ[30]

"วันแห่งสุริยะ" วันเกิดของคิม อิล-ซ็อง ได้รับการฉลองทุกปีในฐานะวันหยุดราชการในประเทศเกาหลีเหนือ[31]

ครอบครัว

แก้

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 김, 성욱 (23 October 2010). 김일성(金日成). 한국역대인물 종합정보 시스템 (ภาษาเกาหลี). Academy of Korean Studies. สืบค้นเมื่อ 7 November 2022.[ลิงก์เสีย]
  2. "김일성, 쿠바의 '혁명영웅' 체게바라를 만난 날". DailyNK (ภาษาเกาหลี). 15 April 2008.
  3. Hoare, James E. (2012) Historical Dictionary of Democratic People's Republic of Korea
  4. Suh, Dae-sook (1988). Kim Il Sung: The North Korean Leader. New York: Columbia University Press. ISBN 0231065736.
  5. "80th Anniversary Of The Birth Of Kim Chol Ju Minisheet 1996". Propagandaworld (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-19.
  6. Hoare, James (2012-07-13). Historical Dictionary of Democratic People's Republic of Korea (ภาษาอังกฤษ). Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-6151-0.
  7. 7.0 7.1 "Soviet Officer Reveals Secrets of Mangyongdae". Daily NK. 2 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2014. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Baik Bong (1973). Kim il Sung: Volume I: From Birth to Triumphant Return to Homeland. Beirut, Lebanon: Dar Al-talia.
  9. Andrei Lankov (2004). The DPRK yesterday and today. Informal history of North Korea. Moscow: Восток-Запад (English: East-West). p. 73. 243895. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  10. Kimjongilia – The Movie – Learn More เก็บถาวร 18 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. Byrnes, Sholto (7 May 2010). "The Rage Against God, By Peter Hitchens". The Independent. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2010.
  12. Sohn, Won Tai (2003). Kim Il Sung and Korea's Struggle: An Unconventional Firsthand History. Jefferson: McFarland. pp. 42–43. ISBN 978-0-7864-1589-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2021. สืบค้นเมื่อ 7 November 2021.
  13. Lankov, Andrei (2002). From Stalin to Kim Il Sung: The Formation of North Korea 1945–1960. Rutgers University Press. ISBN 978-0813531175.
  14. 14.0 14.1 Jasper Becker (May 1, 2005). Rogue Regime : Kim Jong Il and the Looming Threat of North Korea. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-803810-8.
  15. Lintner, Bertil. Great Leader, Dear Leader: Demystifying North Korea under the Kim Clan. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books, 2005.
  16. http://ysfine.com/wisdom/wk01.html Beria/Kim Il-sung
  17. 17.0 17.1 17.2 http://www.scmp.com/article/727755/kim-il-sungs-secret-history
  18. Bradley K. Martin (2004). Under the Loving Care of the Fatherly Leader: North Korea and the Kim Dynasty. Thomas Dunne Books. p. 51. ISBN 978-0-312-32322-6.
  19. 19.0 19.1 Bradley K. Martin (2004). Under the Loving Care of the Fatherly Leader: North Korea and the Kim Dynasty. Thomas Dunne Books. p. 56. ISBN 978-0-312-32322-6.
  20. Weathersby, Kathryn, The Soviet Role in the Early Phase of the Korean War, The Journal of American-East Asian Relations 2, no. 4 (Winter 1993): 432
  21. Goncharov, Sergei N., Lewis, John W. and Xue Litai, Uncertain Partners: Stalin, Mao, and the Korean War (1993)
  22. Mansourov, Aleksandr Y., Stalin, Mao, Kim, and China’s Decision to Enter the Korean War, 16 September – 15 October 1950: New Evidence from the Russian Archives, Cold War International History Project Bulletin, Issues 6–7 (Winter 1995/1996): 94–107
  23. Blair, Clay, The Forgotten War: America in Korea, Naval Institute Press (2003).
  24. Ho Jong-ho et al. (1977) The US Imperialists Started the Korean War เก็บถาวร 2011-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  25. http://gopkorea.blogs.com/flyingyangban/2005/02/the_aborted_ove.html
  26. Young, Benjamin R. (6 April 2021). Guns, Guerillas, and the Great Leader: North Korea and the Third World (ภาษาอังกฤษ). Stanford University Press. p. 99. ISBN 978-1-5036-2764-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2021. สืบค้นเมื่อ 25 November 2021. Kim Il Sung was a godlike figure within the DPRK but his personality cult struggled to extend beyond the North Korean borders.
  27. Portal, Jane (2005). Art under control in North Korea. Reaktion Books. p. 82. ISBN 978-1-86189-236-2.
  28. "N.Korean Dynasty's Authority Challenged". The Chosun Ilbo. 13 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2012. สืบค้นเมื่อ 9 November 2012.
  29. "Controversy Stirs Over Kim Monument at PUST". Daily NK. 9 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2010. สืบค้นเมื่อ 24 April 2010.
  30. "North Korean museum shows off leaders' gifts". The Age. Reuters. 21 December 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2013. สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.
  31. "Birthday of Kim Il-sung". Holidays, Festivals, and Celebrations of the World Dictionary (Fourth ed.). Omnigraphics. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2022. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015 – โดยทาง TheFreeDictionary.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้