ความตกลงการสงบศึกเกาหลี
ความตกลงการสงบศึกเกาหลี เป็นความตกลงที่ลงนามโดย พลโท วิลเลียม แฮร์ริสัน จูเนียร์ แห่งกองทัพบกสหรัฐ ในนามของกองบัญชาการสหประชาชาติ และพลเอก นัม อิล แห่งเกาหลีเหนือ ในนามของกองทัพประชาชนเกาหลีเหนือและกองทัพอาสาประชาชนจีน[1] เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2496 และได้รับการออกแบบมาเพื่อ "ประกันการยุติความเป็นศัตรูกันและการกระทำทั้งหมดของกองทัพในเกาหลีกระทั่งบรรลุการระงับข้อพิพาทอย่างสันติขั้นสุดท้าย" (final peaceful settlement)[2] แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการบรรลุ "การระงับข้อพิพาทอย่างสันติขั้นสุดท้าย" การสงบศึกที่มีการลงนามนี้ฟื้นฟูพรมแดนระหว่างสองประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 สถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี และทำให้การหยุดยิงมีผลบังคับ และทำให้การส่งเชลยศึกกลับประเทศเดิมเสร็จสมบูรณ์
ผู้แทนลงนามความตกลงการสงบศึกเกาหลีในพันมุนจ็อม | |
ประเภท | สงบศึก |
---|---|
วันลงนาม | 27 กรกฎาคม ค.ศ.1953 |
ที่ลงนาม | พันมุนจ็อม, คาบสมุทรเกาหลี |
ผู้ลงนาม | / วิลเลียม เคลลี แฮร์ริสัน จูเนียร์ นัม อิล เผิง เต๋อหวย |
ภาคี | United Nations Command แม่แบบ:Country data DPRK กองทัพประชาชนเกาหลี Chinese People's Volunteer Army |
ภาษา | อังกฤษ, เกาหลี, จีน |
เบื้องหลัง
แก้จนถึงกลางเดือนธันวาคม 2493 สหรัฐอเมริกาได้อภิปรายเงื่อนไขสำหรับความตกลงเพื่อยุติสงครามเกาหลีแล้ว[3] ความตกลงที่ปรารถนาไว้ดังกล่าวจะยุติการสู้รบ ให้การรับรองการคืนสภาพเดิม และคุ้มครองความปลอดภัยในอนาคตของกองกำลังสหประชาชาติ[4] สหรัฐอเมริกาตัดสินใจว่าจำเป็นต้องมีคณะกรรมาธิการการสงบศึกทหารซึ่งมีสมาชิกภาพร่วมซึ่งจะดูแลความตกลงทั้งหมด[3] ทั้งสองฝ่ายจะต้องตกลงเพื่อ "ยุติการนำหน่วยหรือกำลังพลทางอากาศ ภาคพื้นหรือนาวิกเข้ามาเสริมกำลังในเกาหลี... และเพื่อยับยั้งการเพิ่มขึ้นของระดับยุทธภัณฑ์และยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ในเกาหลี"[3] สหรัฐอเมริกายังปรารถนาจะสร้างเขตปลอดทหารที่มีความกว้างอย่างน้อย 20 ไมล์[3] ความตกลงจะหยิบยกประเด็นเชลยศึกซึ่งสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าควรมีการแลกเปลี่ยนแบบหนึ่งต่อหนึ่ง[3]
ขณะที่การสนทนาเรื่องความตกลงการสงบศึกที่เป็นไปได้แพร่ไปนั้น ในปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน 2494 อี ซึงมัน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คัดค้านการเจรจาสันติภาพ เขาเชื่อว่าสาธารณรัฐเกาหลีควรขยายกองทัพต่อไปเพื่อกรีธาไปจนถึงแม่น้ำยาลูและรวมชาติเป็นหนึ่งอย่างสมบูรณ์[5] สหประชาชาติไม่รับรองท่าทีของรี[5] แต่แม้จะปราศจากการสนับสนุนจากสหประชาชาติ รีและรัฐบาลเกาหลีใต้เปิดฉากความพยายามขนานใหญ่เพื่อระดมสาธารณะต่อต้านการยุติการสู้รบที่ไม่ถึงแม่น้ำยาลู[6] ข้าราชการสาธารณรัฐเกาหลีอื่น ๆ ก็สนับสนุนความทะเยอทะยานของรีและสมัชชาแห่งชาติผ่านข้อมติที่รับรองการสู้รบต่อไปเพื่อ "ประเทศที่มีเอกราชและรวมเป็นหนึ่ง"[6] อย่างเป็นเอกฉันท์ อย่างไรก็ดี เมื่อถึงปลายเดือนมิถุนายน สมัชชาตัดสินใจสนับสนุนการเจรจาสงบศึก[6]
เช่นเดียวกับอี ซึงมัน ผู้นำเกาหลีเหนือ คิม อิลซุงก็แสวงการรวมชาติอย่างสมบูรณ์เช่นกัน ฝ่ายเกาหลีเหนือตอบรับการเจรจาการสงบศึกช้า และกระทั่งวันที่ 27 มิถุนายน 2494 เพียง 17 วันก่อนเริ่มการเจรจาการสงบศึก ที่เกาหลีเหนือเปลี่ยนคำขวัญจาก "ขับไล่ข้าศึกลงทะเล" เป็น "ขับไล่ข้าศึกไปยังเส้นขนานที่ 38"[7] เกาหลีเหนือถูกกดดันให้สนับสนุนการเจรจาสันติภาพโดยชาติพันธมิตร จีนและสหภาพโซเวียต ซึ่งการสนับสนุนจากชาติเหล่านี้ทำให้เกาหลีเหนือยังคงสู้รบต่อไปได้ ทำให้เกาหลีเหนือถูกบีบให้รับท่าทีสนับสนุนการสงบศึก
ผล
แก้การสงบศึกที่ลงนามนี้สถาปนา "การยุติความเป็นศัตรูกันทั้งหมดในเกาหลีโดยกองทัพทั้งหมดอย่างสมบูรณ์"[2] โดยมีผู้บัญชาการทั้งสองฝ่ายบังคับใช้ โดยหลัก คือ ทำให้การหยุดยิงสมบูรณ์มีผลบังคับ กระนั้น การสงบศึกนี้เป็นเพียงการหยุดยิง ไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ ซึ่งหมายความว่า สงครามเกาหลียังไม่สิ้นสุดอย่างเป็นทางการ
การสงบศึกดังกล่าวยังสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี ซึ่งทั้งสองชาติเกาหลีตัดสินให้เป็นเขตกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร[8] คณะกรรมาธิการตรวจตราชาติเป็นกลาง (NNSC) เป็นผู้ลาดตระเวนเขตดังกล่าว เขตปลอดทหารนี้เป็นไปตามแนวแคนซัสที่ซึ่งทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันจริงขณะที่มีการลงนามการสงบศึก เขตปลอดทหารดังกล่าวเป็นพรมแดนระหว่างประเทศที่มีการป้องกันมากที่สุดในโลก
การสงบศึกนี้ยังสถาปนาการวางระเบียบเกี่ยวกับเชลยศึก ความตกลงดังกล่าวระบุว่า "ภายในหกสิบวันหลังความตกลงนี้มีผลบังคับใช้ ต่างฝ่ายต้องส่งเชลยศึกทั้งหมดในการคุมขังที่ยืนยันจะส่งตัวกลับประเทศเดิมไปยังฝ่ายที่เขาเป็นสมาชิก ณ เวลาที่ถูกจับ กลับประเทศเดิมโดยตรงเป็นกลุ่ม โดยไม่มีการขัดขวางใด ๆ"[9] ท้ายสุด มีทหารเกาหลีเหนือหรือจีนกว่า 22,000 นายที่ปฏิเสธการส่งตัวกลับประเทศเดิม ในทางกลับกัน ทหารเกาหลีใต้ 327 นาย ทหารสหรัฐ 21 นาย และทหารสหราชอาณาจักร 1 นายปฏิเสธการส่งกลับประเทศเดิมเช่นกัน และยังคงอยู่ในเกาหลีเหนือหรือจีน
นอกเหนือไปจากการวางระเบียบอันเป็นที่ยอมรับซึ่งแสดงรายการข้างต้น การสงบศึกดังกล่าวยังให้การแนะนำแก่ "รัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายว่า ภายในสามเดือนหลังมีการลงนามความตกลงการสงบศึกนี้และมีผลบังคับ ให้จัดการประชุมทางการเมืองระดับสูงทั้งสองฝ่ายโดยผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้งเพื่อระงับข้อพิพาทผ่านการเจรจาปัญหาการถอนกองกำลังต่างชาติทั้งหมดออกจากเกาหลี การระงับข้อพิพาทอย่างสันติต่อปัญหาเกาหลี ฯลฯ"[10] แม้แต่ในปี 2567 หลายสิบปีให้หลังความตกลงการสงบศึกนี้ ประเด็นเหล่านี้ก็ยังไม่มีการระงับ เพราะยังไม่มีการระงับปัญหาเกาหลีอย่างสันติและทหารอเมริกันยังอยู่ในเกาหลีใต้
หลังมีการลงนามการสงบศึก มีการพิจารณาว่าสงครามเกาหลีสิ้นสุดลงแล้วแม้จะไม่มีสนธิสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการก็ตาม แม้สงครามสามปี คาบสมุทรเกาหลียังคงเหมือนเดิมก่อนสงครามมาก โดยพรมแดนระหว่างประเทศอยู่ที่ตำแหน่งใกล้กัน สหรัฐอเมริกามองว่าสงครามครั้งนี้จบลงด้วยการเสมอ ขณะที่เกาหลีเหนือและจีนต่างอ้างว่าชนะสงคราม[11]
การประกาศจะถอนตัวของเกาหลีเหนือ
แก้เกาหลีเหนือประกาศว่าจะไม่ผูกมัดตามการสงบศึกนี้อย่างน้อย 6 ครั้ง ในปี 2537 2539 2546 2549 2552 และ 2556[12][13]
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 เกาหลีเหนือประกาศว่า ไม่รู้สึกถูกผูกพันตามความตกลงการสงบศึกอีกต่อไป[14] มีอุบัติการณ์รุนแรงสองครั้งแยกกันในปี 2553 การจมเรือโชนัน (สาเหตุยังพิพาทอยู่ แต่สงสัยว่าถูกเรือดำน้ำเกาหลีเหนือโจมตี) และการระดมยิงยอนพยองของเกาหลีเหนือ
ในเดือนมีนาคม 2556 เกาหลีเหนือประกาศอีกครั้งว่า จะฉีกสนธิสัญญาไม่รุกรานทั้งหมดกับเกาหลีใต้ ร่วมกับการขยายขอบเขตอย่างอื่น เช่น การปิดพรมแดนและการปิดสายด่วนระหว่างสองผู้นำเกาหลี[15] เกาหลีเหนือแถลงว่า ตนมีสิทธิโจมตีด้วยนิวเคลียร์ก่อน[15] โฆษกสหประชาชาติแถลงว่า สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบความตกลงการสงบศึกดังกล่าว และไม่อาจถูกยกเลิกได้ฝ่ายเดียวโดยทั้งเกาหลีเหนือหรือเกาหลีใต้[16]
การหารือยุติสงคราม
แก้นับแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เกาหลีเหนือ-ใต้ โดยมีการประชุมสุดยอดผู้นำ 3 ครั้ง , ครั้งที่ 1 ; 13 – 15 มิถุนายน 2543 ในรัฐบาล คิม แด-จุง กับ คิม จ็อง-อิล จัดขึ้นที่ กรุงเปียงยาง , เกาหลีเหนือ โดยมีข้อตกลงเพื่อลดความตึงเครียดจากสมัยสงครามเย็นและเพิ่มความพยายามในการรวมชาติ เจรจาเปิดนิคมอุตสาหกรรมในเมืองแกซอง , ครั้งที่ 2 2 – 4 ตุลาคม 2550 ในรัฐบาล โน มู-ฮย็อน กับ คิม จ็อง-อิล จัดขึ้นที่ กรุงเปียงยาง , เกาหลีเหนือ โดยมีข้อตกลงให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดอาวุธนิวเคลียร์ และทำข้อตกลงสันติภาพถาวรระหว่างกัน และครั้งที่สาม 27 เมษายน 2561 จัดขึ้นที่ หมู่บ้านปันมุนจอม เกาหลีใต้[17] ในรัฐบาล มุน แจ-อิน กับ คิม จ็อง-อึน โดยจุดมุ่งหมายของการประชุมครั้งนี้ เพื่อแถลงการณ์และร่วมกันหาทางออกยุติบทบาทของสงครามดังกล่าว [18][19][20] ในการเจรจาครั้งนี้เกาหลีใต้อาจจะเสนอการยุตินิวเคลียร์เป็นสิ่งสำคัญ และ[21] และมีข้อเสนอเล็กน้อยถึงเกาหลีเหนือในการยุติโครงการอาวุธ [22][23][24]
ดูเพิ่ม
แก้- การสงบศึกซนาร์ม - ระหว่างจักรวรรดิออสเตรียกับจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 1809
- การสงบศึกแวร์ซาย - ระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 กับจักรวรรดิเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1871
อ้างอิง
แก้- ↑ "Document for July 27th: Armistce Agreement for the Restoration of the South Korean State". สืบค้นเมื่อ 2012-12-13.
- ↑ 2.0 2.1 "Korean War Armistice Agreement", FindLaw, July 27, 1953
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Stueck, William Whitney (1995). The Korean War: An International History. Princeton: Princeton University Press. p. 212. ISBN 0691037671.
- ↑ Stueck, William Whitney (1995). The Korean War: An International History. Princeton: Princeton University Press. p. 211. ISBN 0691037671.
- ↑ 5.0 5.1 Stueck, William Whitney (1995). The Korean War: An International History. Princeton: Princeton University Press. p. 214. ISBN 0691037671.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Stueck, William Whitney (1995). The Korean War: An International History. Princeton: Princeton University Press. p. 215. ISBN 0691037671.
- ↑ Stueck, "The Korean War: An International History", p216
- ↑ Mount, "The Diplomacy of War: The Case of Korea", p123
- ↑ "Korean War Armistice Agreement", FindLaw, July 27, 1953
ข้อความต้นฉบับ:Within sixty (60) days after this agreement becomes effective each side shall, without offering any hindrance, directly repatriate and hand over in groups all those prisoners of war in its custody who insist on repatriation to the side to which they belonged at the time of capture.
- ↑ "Korean War Armistice Agreement", FindLaw, July 27, 1953
ข้อความต้นฉบับ:governments of the countries concerned on both sides that, within three (3) months after the Armistice Agreement is signed and becomes effective, a political conference of a higher level of both sides be held by representatives appointed respectively to settle through negotiation the questions of the withdrawal of all foreign forces from Korea, the peaceful settlement of the Korean question, etc.
- ↑ War Victory Day of DPRK Marked in DIfferent Countries, KCNA, August 1, 2011.
- ↑ "Chronology of major North Korean statements on the Korean War armistice". News. Yonhap. 2009-05-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-10. สืบค้นเมื่อ 2013-03-15.
- ↑ "North Korea ends peace pacts with South". BBC News. 2013-03-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-10. สืบค้นเมื่อ 2013-03-15.
- ↑ "The End of The Korean War Cease-Fire – Does It Matter?". BBC. 2009-06-05.
- ↑ 15.0 15.1 "North Korea ends peace pacts with South". BBC. 2013-03-08.
- ↑ "UN Says Korean War Armistice Still in Force". Associated Press. 2013-03-11. สืบค้นเมื่อ 2013-03-11.
- ↑ "คิม จอง อึน"เดินทางถึงหมู่บ้านปันมุนจอม
- ↑ "ผู้นำ 2 เกาหลี เตรียมประกาศยุติสงครามบนคาบสมุทร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-20. สืบค้นเมื่อ 2018-04-19.
- ↑ Treaty to Formally End Korean War Is Being Discussed, South Confirms
- ↑ South Korea Working To Formally End The Korean War. Yes, That Korean War.
- ↑ Seoul Sees Path for Peace Deal to Formally End Korean War
- ↑ South Korea Is Discussing a Formal Peace Treaty to End Its War With the North
- ↑ นาทีประวัติศาสตร์ "คิมจอง-อึน" พบ "มุนแจ-อิน" ประชุมสุดยอดผู้นำสองเกาหลี
- ↑ โลกจับตา คิม เหยียบแผ่นดินโสมขาว หารือครั้งประวัติศาสตร์มุน แจ อิน