ประเทศเกาหลีเหนือ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
| |
---|---|
ดินแดนที่ควบคุมโดย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนดินแดนอ้างสิทธิแต่ไม่ได้ควบคุมเป็นสีเขียวอ่อน | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | เปียงยาง 39°2′N 125°45′E / 39.033°N 125.750°E |
ภาษาราชการ | เกาหลี (Munhwaŏ)[1] |
อักษรทางการ | โชซ็อนกึล[2] |
ศาสนา | รัฐอเทวนิยม |
เดมะนิม | |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐพรรคเดียวตามแบบชูเช ในระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จแบบเผด็จการครอบครัวระบบคอมมิวนิสต์[3][4][5][6] |
คิม จ็อง-อึน[a] | |
ชเว รยอง-แฮ[b] | |
พัก พอง-จู | |
คิม ต็อก-ฮุน | |
พัก แท-ซ็อง | |
สภานิติบัญญัติ | สมัชชาประชาชนสูงสุด |
ก่อตั้ง | |
3 ตุลาคม ค.ศ. 1945 | |
8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 | |
22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 | |
• ก่อตั้งประเทศเกาหลีเหนือ | 9 กันยายน ค.ศ. 1948 |
27 ธันวาคม ค.ศ. 1972 | |
17 กันยายน ค.ศ. 1991 | |
27 เมษายน ค.ศ. 2018 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 120,540 ตารางกิโลเมตร (46,540 ตารางไมล์)[7] (อันดับที่ 97) |
0.11 | |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | 25,368,620[8] (อันดับที่ 55) |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2008 | 24,052,231[9] |
212 ต่อตารางกิโลเมตร (549.1 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 45) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2014 (ประมาณ) |
• รวม | 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] |
• ต่อหัว | 1,800 ดอลลาร์สหรัฐ[11] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2017 (ประมาณ) |
• รวม | 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[12][13] |
• ต่อหัว | 1,300 ดอลลาร์สหรัฐ[13] |
สกุลเงิน | วอน (₩) (KPW) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลาเปียงยาง[14]) |
รูปแบบวันที่ |
|
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +850[15] |
รหัส ISO 3166 | KP |
โดเมนบนสุด | .kp[16] |
บทความนี้อักษรเกาหลีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถามหรือสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลอักษรฮันกึลและอักษรฮันจาได้อย่างถูกต้อง |
เกาหลีเหนือ (อังกฤษ: North Korea; เกาหลี: 북한; ฮันจา: 北韓) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (อังกฤษ: Democratic People's Republic of Korea: DPRK; เกาหลี: 조선민주주의인민공화국; ฮันจา: 朝鮮民主主義人民共和國) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือเปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย
คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิเกาหลีปกครองเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ค.ศ. 1905 และถูกแบ่งเป็นเขตยึดครองโดยสหภาพโซเวียตและสหรัฐใน ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ เกาหลีเหนือปฏิเสธจะเข้าร่วมการเลือกตั้งที่สหประชาชาติอำนวยการ ซึ่งจัดที่กรุงโซลใน ค.ศ. 1948 และนำไปสู่การสถาปนารัฐบาลเกาหลีแยกในเขตยึดครองทั้งสอง ทั้งเกาหลีเหนือและใต้ต่างอ้างอธิปไตยเหนือคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และนำไปสู่สงครามเกาหลีใน ค.ศ. 1950 ก่อนจะทำความตกลงสงบศึกชั่วคราวใน ค.ศ. 1953 แต่ทั้งสองยังถือว่าอยู่ในภาวะสงครามต่อกันและกันอย่างเป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพแต่อย่างใด[17] ทั้งสองรัฐได้รับการยอมรับเข้าสู่สหประชาชาติใน ค.ศ. 1991[18]
เกาหลีเหนือเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวภายใต้สหแนวร่วมนำโดยพรรคแรงงานเกาหลี[19][20][21][22] รัฐบาลของประเทศเจริญตามอุดมการณ์จูเช (Juche) ว่าด้วยการพึ่งพาตนเอง พัฒนาโดยประธานาธิบดีของประเทศ คิม อิล-ซ็อง หลังเขาถึงแก่อสัญกรรม คิม อิล-ซ็องถูกประกาศให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของประเทศ จูเชจึงกลายมาเป็นอุดมการณ์ของรัฐอย่างเป็นทางการ เมื่อประเทศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน ค.ศ. 1972[23] แม้คิม อิล-ซ็องจะใช้ร่างเป็นนโยบายอย่างน้อยตั้งแต่ ค.ศ. 1955[24] หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง ได้เกิดทุพภิกขภัยขึ้นในประเทศ เป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตถึงระหว่าง 9 แสนถึง 2 ล้านคน[25] โดยเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้ ผู้นำ คิม จ็อง-อิลประกาศใช้นโยบายซอนกุน (Songun) หรือ "ทหารมาก่อน" เพื่อเสริมสร้างประเทศและรัฐบาล[26]
องค์การต่างชาติหลายแห่งอธิบายเกาหลีเหนือว่าเป็นเผด็จการลัทธิสตาลินแบบเบ็ดเสร็จ[20][21][27][28][29] โดยมีลัทธิบูชาบุคคลต่อครอบครัวคิมและเป็นประเทศที่มีบันทึกสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของพลเมืองต่ำที่สุดในโลก[30] แต่รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธความเชื่อมโยงนี้[31] เกาหลีเหนือเป็นชาติติดอาวุธมากที่สุดของโลก[32][33] โดยมีบุคลากรทางทหารและกึ่งทหารสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีบุคลากรประจำการ กองหนุน และกำลังกึ่งทหารรวม 7.769 ล้านคน หรือประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด กองทัพประจำการซึ่งมีทหาร 1.28 ล้านนายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ประกอบด้วย 5% ของประชากรทั้งหมด ทั้งเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองและมีโครงการอวกาศที่ยังดำเนินอยู่[34] การละเมิดสิทธิมนุษยชนในเกาหลีได้รับการไต่สวนโดยสหประชาชาติ และการวิจารณ์จากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรวมถึงฮิวแมนไรท์วอทช์[35][36][37] นอกเหนือจากการเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติมาตั้งแต่ ค.ศ. 1991 เกาหลีเหนือยังเป็นสมาชิกของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด กลุ่ม 77 และการประชุมภูมิภาคอาเซียน ปัญหาหลักของเกาหลีเหนือในปัจจุบันคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชน[38] ระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งที่ด้อยประสิทธิภาพ ความยากจน และการขาดแคลนอาหาร โดยในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1994−98 มีประชาชนเสียชีวิตจากความอดอยากหลายแสนคน
ภูมิศาสตร์
แก้คาบสมุทรเกาหลีทอดตัวไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีความยาว 1,020 กิโลเมตร และกว้าง 300 กิโลเมตร ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทรเกาหลี พื้นที่ 70% ของประเทศเป็นเทือกเขา จึงจัดเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแผ่นดินที่เป็นหินแกรนิตและหินปูน ทำให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงาม ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เทือกเขาตลอดชายฝั่งด้านตะวันออกสูงชันและทอดตัวลงสู่ทะเลตะวันออก ในขณะที่ชายฝั่งทางด้านใต้และตะวันตก เทือกเขาค่อย ๆ ลาดลงต่ำสู่ที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลี โดยเฉพาะในด้านการผลิตข้าว
คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ณ เส้นขนานที่ 38 เหนือ คือ สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางตอนใต้ และเกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร
เกาหลีเหนือมีสภาพอากาศแบบภาคพื้นทวีปและภูมิอากาศแบบมหาสมุทรผสมผสานกัน แต่พื้นที่ประเทศส่วนใหญ่ประสบกับสภาพอากาศแบบภาคพื้นทวีปที่ชื้น ฤดูหนาวมีอากาศแจ่มใสสลับกับพายุหิมะอันเป็นผลมาจากลมเหนือและลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดมาจากไซบีเรีย ฤดูร้อนมักจะเป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุด ชื้นที่สุด และฝนตกมากที่สุดของปี เนื่องจากลมมรสุมใต้และตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดพาอากาศชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิก ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของฝนทั้งหมดเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูกาลเปลี่ยนผ่านระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดเฉลี่ยรายวันสำหรับเปียงยางอยู่ที่ -3 และ -13 °C (27 และ 9 °F)[39] ในเดือนมกราคม และ 29 และ 20 °C (84 และ 68 °F) ในเดือนสิงหาคม[40]
ประวัติศาสตร์
แก้ยุคประวัติศาสตร์
แก้ในประวัติศาสตร์เกาหลี แบ่งเป็นราชอาณาจักรทั้งสาม คือราชอาณาจักรโคกูรยอ ราชอาณาจักรแพ็กเจ และราชอาณาจักรชิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลีและบางส่วนของแมนจูเรีย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศแมนจูอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
แก้ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังของสหภาพโซเวียตและสหรัฐได้เข้าไปปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่นในคาบสมุทรเกาหลี แต่ทั้งสหภาพโซเวียตและสหรัฐไม่สามารถตกลงเรื่องการรวมชาติเกาหลีกันได้ แต่ละฝ่ายจึงประกาศสนับสนุนดินแดนในส่วนยึดครองของตน โดยเกาหลีใต้เรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ส่วนเกาหลีเหนือเรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต
ยุคเอกราช
แก้หลังจากเกาหลีเหนือได้แยกออกมาเป็นเอกราชแล้ว นาย คิม อิล-ซ็อง ก็ได้มีบทบาทสำคัญของการบริหารประเทศตลอดมา ในระหว่าง พ.ศ. 2491-2515 เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และต่อจากนั้นก็ได้ตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2537 แล้วบุตรชาย คิม จ็อง-อิล จึงได้ดำรงตำแหน่งสืบมาจนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2554 คิม จ็อง-อึน ผู้เป็นบุตรชายคนสุดท้องได้สืบทอดอำนาจเป็นผู้นำคนปัจจุบัน
การเมืองการปกครอง
แก้บริหาร
แก้เกาหลีเหนือปกครองโดย เกาหลีเหนือเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปกครองโดยพรรคแรงงานแห่งเกาหลี มีประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ และมีคิม อิล-ซ็องและผู้นำสูงสุดคนปัจจุบันคือนายคิม จ็อง-อึน เป็นผู้นำประเทศ
เกาหลีเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของอดีตสหภาพโซเวียต ระบบการเมืองของเกาหลีเหนือตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิจูเช (Juche) ซึ่งอดีตประธานาธิบดี คิม อิล-ซ็อง ได้บัญญัติขึ้นเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ประกอบด้วยหลักการสำคัญ คือเอกราชทางการเมืองอย่างแท้จริง การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศด้วยตนเอง
เกาหลีเหนือมีการปกครองระบบพรรคเดียวมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีการก่อตั้งประเทศเมื่อ 9 กันยายน พ.ศ. 2491 โดยมีพรรคแรงงานแห่งเกาหลี (Workers Party of Korea) เป็นองค์กรที่มีบทบาทและอิทธิพล สูงสุดในทางการเมืองที่คอยควบคุมหน่วยงานของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญปกครองประเทศของเกาหลีเหนือบัญญัติไว้ว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของสมัชชาประชาชนสูงสุด ซึ่งมีสมาชิก 687 คน มาจากการเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
สถานการณ์การเมืองภายในของเกาหลีเหนือได้เข้าสู่ความไม่แน่นอน ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งทำให้ประชาคมระหว่างประเทศกังวลว่าเกาหลีเหนือจะประสบปัญหาวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม การเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศของนายคิม จ็อง-อิล ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 แสดงให้เห็นว่านายคิม จ็อง-อิล สามารถกุมอำนาจการปกครองประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยนายคิม จ็อง-อิล ก็ได้มีท่าทีที่ต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในโลกเสรีมากขึ้น คาดว่าเพราะต้องการได้รับเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
เมื่อ 5 กันยายน 2541 การประชุมสภาประชาชนสูงสุดครั้งที่ 10 มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า
- นายคิม อิล-ซ็อง เป็นผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือ และเป็นบรรพบุรุษแห่งสังคมนิยมของเกาหลี ดังนั้น จึงยกย่องให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (Eternal President)
- ยกเลิกระบบประธานาธิบดีเป็นประมุข ให้ประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศ (Chairman of the National Defense Commission) เป็นตำแหน่งสูงสุดของประเทศ โดยมีอำนาจปกครองด้าน การเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ
- ให้สภาบริหารสูงสุด (Presidium) ของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ (Supreme People's Assembly) เป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ
อนึ่ง สภาประชาชนสูงสุดมีมติแต่งตั้งนายคิม ย็อง-นัม ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ รับผิดชอบงานด้านการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ ได้แก่ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพิธีการทูต การให้และยกเลิกสัตยาบัน การแต่งตั้งและเรียกกลับผู้แทนทางการทูตในต่างประเทศ การรับสาส์นตราตั้งทูตต่างประเทศ การเป็นผู้แทนประเทศพบบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่ไปเยือนเกาหลีเหนือ รวมทั้งเป็นผู้แทนประเทศเดินทางไปเยือนประเทศอื่นๆ เมื่อ 3 กันยายน 2546 ได้มีการประชุมสภาประชาชนสูงสุดของเกาหลีเหนือ โดยที่ประชุมฯ มีมติดังนี้
- นาย คิม จ็อง-อิล ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลาโหม (Chairman of the National Defense Commission)
- นาย คิม ย็อง-นัม ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุด (President of the Presidium of the DPRK Supreme People's Assembly)
- นาย ปาร์ก ปงจู รมว.อุตสาหกรรมเคมี ดำรงตำแหน่ง นรม. สืบแทนนาย Hong Song Nam
- นาย แพ็ก นัมซุน ดำรงตำแหน่ง รมว.กต.ต่อไปทั้งนี้ นรม.คนใหม่มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศให้มากยิ่งขึ้น สนับสนุนด้านการทหารอย่างเต็มที่ และส่งเสริมการรวมประเทศเกาหลีทั้งสอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2554 นายคิม จ็อง-อิล ได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะอยู่บนขบวนรถไฟเตรียมเดินทางไปตรวจพื้นที่ภาคสนาม จากอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย และหัวใจวายในที่สุด ทำให้นาย คิม จอง อึน บุตรชายคนที่ 3 จะขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือในฐานะทายาททางการเมืองต่อไป
บริหาร
แก้ตุลาการ
แก้นโยบายต่างประเทศ
แก้เกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศคอมมิวนิสต์อื่น ๆ เป็นหลักและมักจะติดต่อกับประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ที่เป็นประชาธิปไตยด้วยความจำเป็นเท่านั้น สถานทูตต่างประเทศส่วนใหญ่ที่ได้รับการรับรองจากเกาหลีเหนือนั้นตั้งอยู่ในปักกิ่งมากกว่าในเปียงยาง[41] ในทศวรรษที่ 1960 และ 1970 เกาหลีเหนือได้ดำเนินตามนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ สร้างความสัมพันธ์กับประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก[42] และเข้าร่วมขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และ 1990 นโยบายต่างประเทศได้เข้าสู่ความวุ่นวายเป็นผลการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ปิดสถานทูตหลายแห่ง ในเวลาเดียวกัน เกาหลีเหนือพยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศตลาดเสรีที่พัฒนาแล้ว เกาหลีเหนือเข้าร่วมสหประชาชาติในปี 1991 ร่วมกับเกาหลีใต้[43] เกาหลีเหนือยังเป็นสมาชิกของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, กลุ่ม 77 และฟอรัมภูมิภาคอาเซียน
เกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนซึ่งมักถูกมองว่าเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของเกาหลีเหนือ[44] แต่ความสัมพันธ์ได้ตึงเครียดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องจากความกังวลของจีนเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์เริ่มดีขึ้นอีกครั้งและใกล้ชิดกันมากขึ้นโดยเฉพาะหลังจากนายสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนเยือนเกาหลีเหนือในเดือนเมษายน 2019[45] ในปี 2015 เกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 166 ประเทศและสถานทูตใน 47 ประเทศ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสิทธิมนุษยชนและสถานการณ์ทางการเมือง เกาหลีเหนือไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอาร์เจนตินา บอตสวานา เอสโตเนีย ฝรั่งเศส[46] อิรัก อิสราเอล ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหรัฐ ณ เดือนกันยายน 2017 ฝรั่งเศสและเอสโตเนียเป็นสองประเทศสุดท้ายในยุโรปที่ประกาศจะไม่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับเกาหลีเหนือ[47] เกาหลีเหนือยังคงมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับพันธมิตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สังคมนิยมกับเวียดนาม ลาว ตลอดจนกับกัมพูชา[48]
ก่อนหน้านี้ชาวโลกตะวันตกมองเกาหลีเหนือว่าเป็นผู้สนับสนุนการก่อการร้าย เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการวางระเบิดย่างกุ้งปี 1983 และการทิ้งระเบิดในปี 1987 ของสายการบินเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2008 สหรัฐได้ถอดเกาหลีเหนือออกจากรายชื่อรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้ายหลังจากที่เปียงยางตกลงที่จะร่วมมือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการนิวเคลียร์ของตน[49] เกาหลีเหนือถูกกำหนดใหม่ให้เป็นผู้สนับสนุนการก่อการร้ายโดยสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของ ดอนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2017[50] นอกจากนี้ การลักพาตัวพลเมืองญี่ปุ่นอย่างน้อย 13 คนโดยเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับญี่ปุ่น[51] ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ถือเป็นผู้นำสหรัฐคนแรกที่มาเยือนประเทศเกาหลีเหนือและได้เข้าพบกับผู้นำคิมในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2018 เพื่อหาข้อยุติร่วมกันในโครงการนิวเคลียร์ มีการลงนามข้อตกลงระหว่างสองประเทศที่สนับสนุนปฏิญญาพันนุนจ็อมปี 2017 ซึ่งลงนามโดยเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยให้คำมั่นว่าจะทำงานเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี พวกเขาพบกันที่ฮานอยตั้งแต่วันที่ 27 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2019 แต่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2019 ทรัมป์ได้พบกับคิมพร้อมกับมุนแจอินที่เขตปลอดทหารเกาหลี อย่างไรก็ตาม การเจรจาสันติภาพระหว่างเกาหลีเหนือและสหรัฐได้ยุติลงในเวลาต่อมา เนื่องจากเกาหลีเหนือยืนกรานที่จะไม่ยุติโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์[52]
ความสัมพันธ์กับประเทศเกาหลีใต้
แก้เขตปลอดทหารของเกาหลีกับเกาหลีใต้ยังคงเป็นพรมแดนที่มีการป้องกันอย่างแน่นหนามากที่สุดในโลก[53] แม้จะมีความขัดแย้งในอุดมการณ์เรื้อรังมายาวนาน และจากการรุกรานของเกาหลีเหนือในสงครามเกาหลีตั้งแต่ ค.ศ. 1950 ทำให้ทั้งสองประเทศยังอยู่ในภาวะสงคราม และแม้จะมีการเจรจาสงบศึกชั่วคราว แต่ทั้งสองชาติยังจริงจังกับการเจรจาเพื่อสันติอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน[54] นโยบายของเกาหลีเหนือคือการแสวงหาการรวมชาติโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก ผ่านโครงสร้างของรัฐบาลกลางที่รักษาความเป็นผู้นำและระบบของแต่ละฝ่าย ในขณะที่เกาหลีใต้มิอาจเลี่ยงการแทรกแซงของสหประชาชาติโดนเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐได้ ในปี 1972 ทั้งสองเกาหลีเห็นพ้องต้องกันในหลักการเพื่อให้เกิดการรวมกันอีกครั้งโดยสันติวิธีและปราศจากการแทรกแซงจากต่างประเทศ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1980 ผู้นำเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง ได้เสนอให้จัดตั้งสหพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือและใต้ชื่อสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเกาหลี อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของสองประเทศยังคงดีอยู่จนถึงต้นทศวรรษ 1990 โดยในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เกาหลีเหนือเสนอให้การช่วยเหลือบรรเทาอุทกภัยแก่เกาหลีใต้ แม้ว่าข้อเสนอจะได้รับการต้อนรับในขั้นต้น แต่การพูดคุยได้ยุติลงและไม่มีความช่วยเหลือใด ๆ ทั้งสองประเทศยังได้จัดงานรวมตัวของญาติกว่า 92 ครอบครัวที่แยกจากกันนับตั้งแต่แบ่งแยกประเทศเป็นระยะ ๆ
การประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลี พ.ศ. 2561 ในวันที่ 27 เมษายน เป็นการพบกันระหว่างผู้นำสองประเทศ นับเป็นการประชุมครั้งที่สามและครั้งแรกในรอบกว่าสิบปี มีจุดประสงค์เพื่อวางแผนการปลดอาวุธนิวเคลียร์บริเวณคาบสมุทรเกาหลี[55] โดยผู้นำสองประเทศร่วมลงนามใน ปฏิญญาพันมุนจ็อม โดยต้องการยุติสงครามเกาหลีอย่างเป็นทางการ[56]
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
แก้ประเทศไทย และเกาหลีเหนือมีการแลกเปลี่ยนการติดต่อและการดำเนินกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมในสาขาต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน โครงการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชน กีฬา นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย - เกาหลีเหนือ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้น และประเทศไทยยังมี เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีประจำประเทศไทย คนปัจจุบันได้แก่ นายคิม เช พง (H.E. Mr. Kim Je Bong)[57]
กองทัพ
แก้กองทัพเกาหลีเหนือหรือกองทัพประชาชนเกาหลี (KPA) คาดว่าจะประกอบด้วยทหารประจำการ 1,280,000 นาย และกำลังสำรองและกำลังกึ่งทหาร 6,300,000 นาย ทำให้เป็นหนึ่งในสถาบันทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก[58] ด้วยกองทัพประจำการที่ประกอบด้วย 5% ของประชากร KPA จึงเป็นกำลังทหารประจำการที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากจีน อินเดีย และสหรัฐ[59] ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายอายุ 17-54 ปีรับใช้ในกองทัพประจำ[60] และประมาณ 1 ในทุก ๆ 25 พลเมืองเป็นทหารเกณฑ์ การคว่ำบาตรของสหประชาชาติต่อเกาหลีเหนือทำให้กองทัพซื้อหรือพัฒนาอุปกรณ์ที่ทันสมัยได้ยาก และยังคงต้องพึ่งพาวัสดุจากยุคสงครามเย็นที่ล้าสมัยเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากนโยบาย Songun ของเกาหลีเหนือ หรือนโยบาย "ทหารต้องมาก่อน" และจำนวนบุคลากรในกองกำลังติดอาวุธจำนวนมากกองทัพเกาหลีเหนือถูกมองว่าเป็นกำลังทหารที่น่าเกรงขาม[61] กองทัพ KPA แบ่งออกเป็น 5 เหล่า ได้แก่ Ground Force, Navy, Air Force, Special Operations Force และ Rocket Force คำสั่งของ KPA ขึ้นกับคณะกรรมาธิการทหารกลางของพรรคแรงงานแห่งเกาหลีและคณะกรรมการกิจการรัฐอิสระ ซึ่งควบคุมกระทรวงกองทัพบก
ในบรรดาสาขาทั้งหมดของกองทัพเกาหลีเหนือ กองกำลังภาคพื้นดินเป็นกองกำลังที่ใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยบุคลากรประมาณหนึ่งล้านนาย แบ่งออกเป็น 80 กองพลทหารราบ กองพลปืนใหญ่ 30 กองพลทหารปืนใหญ่ 25 กองพลสงครามพิเศษ 25 กองพลยานยนต์ 20 กองพันรถถัง 10 กอง และทหารรถถัง 7 นาย มีรถถัง 3,700 คัน รถหุ้มเกราะ 2,100 คัน และยานรบทหารราบ ปืนใหญ่ 17,900 ชิ้น ปืนต่อต้านอากาศยาน 11,000 กระบอก และขีปนาวุธต่อต้านรถถัง กองทัพอากาศคาดว่าจะมีเครื่องบินประมาณ 1,600 ลำ (ระหว่าง 545 - 810 ลำที่ทำหน้าที่ต่อสู้) ในขณะที่กองทัพเรือดำเนินการประมาณ 800 ลำ รวมถึงกองเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก[62] หน่วยปฏิบัติการพิเศษของ KPA ยังเป็นหน่วยกองกำลังพิเศษที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
เกาหลีเหนือเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์[63] ในเดือนมกราคม 2018 การประเมินคลังอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนืออยู่ระหว่างระเบิด 15 ถึง 60 ลูก ซึ่งอาจรวมถึงระเบิดไฮโดรเจนด้วย ความสามารถในการจัดส่ง ให้บริการโดย Rocket Force ซึ่งมีขีปนาวุธจำนวน 1,000 ลูกที่มีพิสัยไกลถึง 11,900 กม. (7,400 ไมล์)[64]
จากการประเมินของเกาหลีใต้ในปี 2547 เกาหลีเหนือยังมีอาวุธเคมีจำนวนประมาณ 2,500–5,000 ตัน รวมถึงสารทำลายประสาท ตุ่มพอง เลือด และยาอาเจียน ตลอดจนความสามารถในการฝึกฝนและผลิตอาวุธชีวภาพ ได้แก่ แอนแทรกซ์ ไข้ทรพิษ และอหิวาตกโรค จากผลการทดสอบนิวเคลียร์และขีปนาวุธ เกาหลีเหนือถูกคว่ำบาตรภายใต้มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน
แก้เกาหลีเหนือถูกกล่าวหาอย่างกว้างขวางว่ามีการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนที่แย่ที่สุดในโลก[65][66] รัฐบาลเกาหลีเหนือถูกเรียกขานว่าเป็น "หนึ่งในกลุ่มคนที่โหดร้ายที่สุดในโลก" โดย ฮิวแมนไรตส์วอตช์ เนื่องจากข้อจำกัดที่เข้มงวดเกี่ยวกับเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของพวกเขา ประชากรเกาหลีเหนือได้รับการจัดการอย่างเข้มงวดโดยรัฐ และทุกด้านของชีวิตประจำวันอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคและการวางแผนของรัฐ[67] การจ้างงานได้รับการจัดการโดยพรรคการเมืองบนพื้นฐานของความน่าเชื่อถือทางการเมือง และการเดินทางถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยกระทรวงความมั่นคงของประชาชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรายงานข้อจำกัดที่รุนแรงเกี่ยวกับเสรีภาพในการสมาคม การแสดงออก และการเคลื่อนไหว การกักขังตามอำเภอใจ การทรมาน และการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เสียชีวิต และการประหารชีวิต กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐเข้าจับกุมและคุมขังผู้ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมทางการเมืองโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมโดยมิชอบด้วยกระบวนการยุติธรรม บุคคลที่ถูกมองว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล เช่น ผู้วิพากษ์วิจารณ์ความเป็นผู้นำของท่านผู้นำ หรือผู้ที่พยายามหนีออกนอกประเทศ จะถูกเนรเทศไปยังค่ายแรงงานโดยไม่มีการพิจารณาคดี และบ่อยครั้งไม่มีโอกาสได้รับการปล่อยตัวออกมา
ผู้หญิงเกาหลีเหนือมักต้องเผชิญกับความรุนแรงทางเพศ และการข่มขืนเป็นประจำ[68][69][70][71] ผู้ชายที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ รวมทั้งตำรวจ เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้ดูแลตลาด สามารถล่วงละเมิดผู้หญิงได้ตามความประสงค์และไม่ถูกดำเนินคดี โดยเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผู้หญิงที่ได้รับความคุ้มครองคือผู้ที่สามีหรือบิดาอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธข้อเรียกร้องการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเรียกพวกเขาว่า "การรณรงค์หาเสียง" ที่มุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ในรายงานประจำปี 2014 ที่ส่งไปยังสหประชาชาติ เกาหลีเหนือได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องความโหดร้ายว่าเป็น "ข่าวลือ"
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้ในปี พ.ศ. 2547 ประเทศเกาหลีเหนือแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provinces) 3 เขตพิเศษ (special regions) และ 2 เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง (directly-governed cities) ได้แก่
จังหวัด
แก้- คังว็อน (Kangwŏndo: คังว็อนโด 강원도; 江原道)
- ชากัง (Chagang-do: ชากัง-โด; 자강도; 慈江道)
- พย็องอันใต้ (P'yŏngan-namdo: พย็องอัน-นัมโด; 평안남도; 平安南道)
- พย็องอันเหนือ (P'yŏngan-bukto: พย็องอัน-บุกโต; 평안북도; 平安北道)
- รยังกัง (Ryanggang-do: รยังกัง-โด; 량강도; 兩江道)
- ฮวังแฮใต้ (Hwanghae-namdo: ฮวังแฮ-นัมโด; 황해남도; 黃海南道)
- ฮวังแฮเหนือ (Hwanghae-bukto: ฮวังแฮ-บุกโต; 황해북도; 黃海北道)
- ฮัมกย็องใต้ (Hamgyŏng-namdo: ฮัมกย็อง-นัมโด; 함경남도; 咸鏡南道)
- ฮัมกย็องเหนือ (Hamgyŏng-bukto: ฮัมกย็อง-บุกโต; 함경북도; 咸鏡北道)
เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง
แก้- เปียงยาง (P'yŏngyang Chik'alshi: พย็องยังชีคัลชี; 평양직할시; 平壤直轄市) - สังเกตว่าเมืองนี้ได้จัดเป็นเมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง และไม่ใช่ "นครพิเศษ" เหมือนกรุงโซลในประเทศเกาหลีใต้
- ราซ็อน (ราจิน-ซ็อนบง) (Rasŏn (Rajin-Sŏnbong) Chik'alshi: ราซ็อน (ราจิน-ซ็อนบง) ชีคัลชี; 라선(라진-선봉)특별시; 羅先(羅津-先鋒)特別市)
เมืองใหญ่สุด 10 อันดับแรก
แก้
เศรษฐกิจ
แก้เกาหลีเหนือมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง โดยเกาหลีเหนือได้ยึดถืออุดมการณ์ตามลัทธิชูเช (Juche) ของพรรคแรงงานเกาหลีมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การพึ่งพาตนเอง เกียรติภูมิของชาติ และการสร้างความเจริญให้กับประเทศ พร้อมกับประกาศ "ขบวนการม้าบินหมื่นลี้" (Chollima Movement) ในปี พ.ศ. 2501 ที่กระตุ้นให้ประชาชนขยันขันแข็งในการทำงาน เร่งเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะทางด้านการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ[72][73]
เกาหลีเหนือมีระบบการค้าผูกขาดโดยภาครัฐ ทั้งการค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ควบคุมการค้าภายในประเทศ และกระทรวงการค้าต่างประเทศควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยได้จัดตั้งบริษัทการค้าของรัฐหรือสหกรณ์การค้าของรัฐ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการค้า รัฐบาลเกาหลีเหนือพยายามขยายการค้ากับต่างประเทศให้มากขึ้น โดยได้เน้นการผลิตสินค้าที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น พยายามปรับปรุงความน่าเชื่อถือของเกาหลีเหนือ ส่งเสริมสินค้าออกทั้งแบบ merchant trade และ barter trade ส่งเสริมการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ นอกจากนี้ เกาหลีเหนือได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Commission for the Promotion of Foreign Trade) เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ
ในปี 2538 และ 2539[74][75] ได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี[76] ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ[77] ต่อมาในปี 2540 เกาหลีเหนือประสบกับภาวะภัยแล้งและพายุในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารภาพในประเทศส่งผลให้ประชาชนเจ็บป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงได้เริ่มขอรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกมาตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้ ก่อนการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในปี 2532-2533 ประเทศที่เคยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเกาหลีเหนือคือ สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มูลค่าการค้ากับประเทศรัสเซียได้ลดน้อยลงอย่างมาก และประเทศยุโรปตะวันออกก็ไม่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของเกาหลีเหนือ ก็ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศอื่น ๆ ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาได้ รวมทั้ง เกาหลีเหนือยังประสบปัญหาการขาดเแคลนเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอีกด้วย
รัฐบาลเกาหลีเหนือได้พยายามหาเงินตราจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังนี้
- ในปี 2534 ได้พยายามทดลองเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในลักษณะเดียวกับจีน บริเวณใกล้พรมแดนจีนและรัสเซีย เรียกว่า Rajin-Sonbong Free Trade Zone (FTZ) เพื่อเป็นเขตผ่อนผันให้กับนักลงทุนต่างชาติผ่านเข้าออกได้ โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา มีการลดภาษีศุลกากร และมีสิ่งจูงใจอื่น ๆ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเขตดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวได้รับความสนใจน้อยมาก เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่สูง การแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินงาน นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ค่อยแน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองภายในเกาหลีเหนือ ตลอดจนปัญหาเรื่องนโยบายคุ้มครองการลงทุน รวมทั้งความไม่พร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ สนามบิน ท่าเรือ และการขาดพื้นฐานทางอุตสาหกรรม
- ในปี 2541 ได้เปิดให้บริษัทฮุนไดของเกาหลีใต้เข้าไปลงทุนโดยการนำนักท่องเที่ยวเข้าชมบริเวณเทือกเขา Kumgang โดยบริษัทฮุนไดต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาลเกาหลีเหนือ เดือนละ 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้น้อยเกินคาด คือน้อยกว่า 4,000 คนต่อเดือนทำให้บริษัทฮุนไดขาดทุนอย่างนัก จนเมื่อเดือน มกราคม 2545 รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมนโยบายปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
- เมื่อเดือนกันยายน 2545 เกาหลีเหนือได้ประกาศให้เมืองชินอึยจู ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ติดชายแดนจีนตรงข้ามเมืองตานตงของมณฑลเหลียวหนิงมีแม่น้ำยาลูเป็นเส้นกั้นพรมแดนให้เป็นเขตบริหารพิเศษขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางโดยสามารถบัญญัติกฎหมายมีอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ
- นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ระหว่างนายคิม จอง-อิล ผู้นำเกาหลีเหนือกับนายคิม แด-จุง อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในปี 2543 เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้มีความพยายามร่วมกันในการส่งเสริมโครงการนิคมอุตสาหกรรมแกซอง (Gaeseong Industrial Complex- GIC)
อย่างไรก็ตาม การทดลองขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนและการค้าต่างประเทศชะงักงัน โดยเฉพาะผลกระทบจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1718 (2006) หากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้รับการแก้ไข รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางการเงินให้เป็นสากลมากขึ้น ก็อาจทำให้การลงทุนในเขตเศรษฐกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน
เมื่อ 2 สิงหาคม 2545 เกาหลีเหนือได้เริ่มทดลองมาตรการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ[78][79] โดยลดการปันส่วนอาหาร และให้ประชาชนซื้ออาหารจากตลาดมากขึ้นแทน และเพิ่มค่าแรงเพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้ออาหารจากตลาดเอง รัฐบาลเกาหลีเหนือจะใช้ family production system ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งคล้ายกับระบบที่จีนใช้เมื่อเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดการซื้อธัญพืชสำหรับการปันส่วนของรัฐ และจะปล่อยให้เกษตรกรสามารถขายพืชผลได้เองมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดค่าเงินของเกาหลีเหนือจาก 2.2 วอนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 200 วอนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ระบบตลาดต่อไปในอนาคต
การปฏิรูประบบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือมีความคืบหน้าที่ดีขึ้น ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง[80] โดยเกาหลีเหนือสามารถรับมือกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปได้ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงการจัดสรรอุปทานพลังงานเพื่อรองรับความต้องการได้ดีขึ้น มีความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้นทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในปี 2546 ภาคเกษตรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 4.156 ล้านตันจากความต้องการบริโภค 5.1 ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 11 ปี
ปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ให้อิสระมากขึ้นแก่ประชาชน รัฐวิสาหกิจ และบริษัทต่างๆ ในการเลือกประกอบอาชีพ การบริหารจัดการ การจัดทำข้อตกลงการค้าได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเพิ่มอีกกว่า 300 แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบเศรษฐกิจการตลาด ในขณะที่สตรีเกาหลีเหนือก็เข้าไปมีบทบาทในการหารายได้เลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้นด้วย[81]
ล่าสุด จากการประชุมสภาประชาชนสูงสุด เมื่อ 11 เมษายน 2549 นโยบายทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี อันเป็นยุทธศาสตร์ของเกาหลีเหนือในการเพิ่มความสามารถในการผลิตและเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้ตามหลักจูเช่ และเชื่อว่าเกาหลีเหนือจะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา เกาหลีเหนือประกาศว่าการสร้าง ”ประเทศที่เข้มแข็งและมั่งคั่ง” (Kangsong Taeguk-) จะต้องตั้งอยู่บนเสาหลักสำคัญ 3 ประการคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุดมการณ์ และการทหาร
การเกษตร
แก้เกาหลีเหนือจัดพื้นที่การเกษตรเป็นคอมมูนเช่นเดียวกับจีน และมอบพื้นที่ขนาดเล็กใกล้คอมมูนให้เป็นแปลงเกษตรส่วนตัว ผลผลิตทางการเกษตรของเกาหลีเหนือ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี โค และสัตว์ปีก แต่เกือบทุกชนิดไม่พอเลี้ยงประชากรในประเทศ[82] ส่วนใหญ่จึงต้องสั่งเข้าจากอดีตสหภาพโซเวียต พื้นที่ ของเกาหลีเหนือเพาะปลูกได้แค่ 20 เปอร์เซนต์ของประเทศเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาหลีเหนือล้อมรอบไปด้วยภูเขาจำนวนครึ่งกว่าประเทศ ใน 1 ปีสามารถเพาะปลูกได้แค่ 6 เดือน ส่วน 6 เดือนที่เหลือไม่สามารถเพาะปลูกได้เพราะอากาศหนาวติดลบ
การทำเหมืองแร่
แก้เกาหลีเหนืออุดมสมบูรณ์ไปด้วยถ่านหิน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ส่งเป็นสินค้าส่งออกทำรายได้ให้ประเทศอันดับหนึ่งนอกจากนี้ยังมี ตะกั่ว สังกะสี และเหล็ก
อุตสาหกรรม
แก้เกาหลีเหนือมีอุตสาหกรรมหนักอยู่หลายชนิด เช่น เครื่องจักรกล เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ และปุ๋ย เกาหลีเหนือสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 26 ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศเท่านั้น ภาวะการขาดแคลนพลังงานของเกาหลีเหนือ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตได้เพียงร้อยละ 20 ของความสามารถในการผลิต ทั้งนี้ มีรายงานว่าระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งของเกาหลีเหนืออยู่ในสภาพย่ำแย่ ซึ่งหากสภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไป อาจส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเกาหลีเหนือล่มสลายได้ และนำไปสู่การอพยพของชาวเกาหลีเหนือไปสู่จีนและเกาหลีใต้
การท่องเที่ยว
แก้การท่องเที่ยวในประเทศเกาหลีเหนือเริ่มเปิดให้กับชาวต่างชาติมากขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ของประเทศนี้ โดยเฉพาะธรรมชาติและวิถีชีวิตที่งดงาม แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางเพื่อไปท่องเที่ยวในเกาหลีเหนือนั้น ต้องเดินทางไปกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น โดยจะต้องซื้อทัวร์ผ่านบริษัทตัวแทน ก่อนจะไปยังประเทศนี้ได้และอยู่ในการควบคุมภายใต้รัฐบาล
ประชากร
แก้ประชากรศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 คาดการณ์ว่าประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็น 25.5 ล้านคนภายในปี 2000 และ 28 ล้านคนภายในปี 2010 แต่การเพิ่มขึ้นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นเนื่องจากความอดอยากของเกาหลีเหนือเริ่มขึ้นในปี 1995 เป็นเวลาสามปีและส่งผลให้ชาวเกาหลีเหนือเสียชีวิตระหว่าง 240,000 ถึง 420,000 คน ผู้บริจาคระหว่างประเทศที่นำโดยสหรัฐได้ริเริ่มการขนส่งอาหารผ่านโครงการอาหารโลกในปี 1997[83] เพื่อต่อสู้กับความอดอยากในประเทศ แม้จะมีการลดความช่วยเหลือลงอย่างมากภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แต่สถานการณ์ก็ค่อย ๆ ดีขึ้น[84] จำนวนเด็กที่ขาดสารอาหารลดลงจาก 60% ในปี 1998 เป็น 37% ในปี 2006 และ 28% ในปี 2013 แต่โครงการอาหารโลกรายงานว่ายังขาดความหลากหลายทางอาหารและการเข้าถึงไขมันและโปรตีนอย่างต่อเนื่อง ในช่วงกลางปี 2010 ภาวะขาดสารอาหารของเด็กเกาหลีเหนือต่ำกว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่น ๆ และใกล้เคียงกับประเทศกำลังพัฒนาในแปซิฟิกและเอเชียตะวันออก สุขภาพและโภชนาการของเด็กมีตัวชี้วัดที่ดีกว่าในหลายประเทศในเอเชียอย่างมีนัยสำคัญ
เชื้อชาติ
แก้ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลี แต่ก็มีชาวจีน 162,000 คน ชาวมองโกล 6,900 คน ชาวอังกฤษ 5,500 คน ชาวฝรั่งเศส 5,000 คน ชาวรัสเซีย 4,600 คนและชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่
ศาสนา
แก้ในอดีตดินแดนเกาหลีเหนืออบอวลไปด้วยวัฒนธรรมของศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื๊อ แม้ภายหลังจะมีการเข้ามาของศาสนาอื่นอย่างศาสนาคริสต์ และลัทธิชอนโดเกียว แต่ทุกศาสนาจะต้องได้รับการอนุญาตก่อน[85] ส่วนใหญ่ประชากรของเกาหลีเหนือจะยินดีที่จะไม่นับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่ศาสนาจะถูกให้นิยามอยู่เสมอว่าเป็นอคติต่อสังคม[86] และวัฒนธรรมทางศาสนาดั้งเดิมอย่างศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื๊อจึงได้รับผลกระทบจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของชาวเกาหลีเหนือ[87][88][89]
แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ที่นับถือศาสนาพุทธในเกาหลีเหนือได้รับการจัดการที่ดีกว่ากลุ่มที่นับถือศาสนาอื่นในประเทศ โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ที่มักจะถูกรังแกโดยทางการ ในขณะที่ศาสนาพุทธได้รับทุนจากรัฐบาลไปส่งเสริมศาสนา เนื่องจากศาสนาพุทธมีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมของเกาหลีเป็นอย่างมาก[90]
จากการเฝ้าดูขององค์กรสิทธิมนุษยชน พบว่าเกาหลีเหนือได้ให้อิสระต่อกิจกรรมทางศาสนา ขณะที่รัฐบาลจะอุปถัมภ์กลุ่มศาสนาเท่านั้น สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอิสระการนับถือศาสนาของเกาหลีเหนือ[91]มีการประมาณการกลุ่มผู้นับถือศาสนาต่างๆจากหน่วยข่าวกรองตามสภาพของเกาหลีเหนือในปัจจุบันดังนี้[92]
- ไม่นับถือศาสนา ประมาณ 15,460,000 คน (64.31% ของประชากร โดยส่วนใหญ่นับถือตามปรัชญาลัทธิจูเช)
- ผู้ศรัทธาตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ประมาณ 3,846,000 คน (16% ของประชากร)
- ลัทธิชอนโดเกียว ประมาณ 3,245,000 คน (13.50% ของประชากร)
- ศาสนาพุทธ ประมาณ 1,082,000 คน (4.50% ของประชากร)
- ศาสนาคริสต์ ประมาณ 406,000 คน (1.69% ของประชากร)
ในกรุงเปียงยาง ถือเป็นศูนย์กลางกิจกรรมทางศาสนาคริสต์ของเกาหลีเหนือก่อนสงครามเกาหลี ปัจจุบันมีโบสถ์เพียงสี่โบสถ์ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดทำศาสนกิจได้ เพื่อเป็นจุดเด่นแสดงให้ชาวต่างชาติเห็นเท่านั้น และผู้ที่ทำการในโบสถ์ เป็นสายลับเกาหลีเหนือที่สังกัดกับกองแนวร่วม[93][94] ตัวเลขอย่างเป็นทางการของชาวคริสต์ในเกาหลีเหนือ ได้แก่ นิกายโปรเตสแตนต์มีจำนวนมากที่สุด 10,000 รองลงมาคือนิกายโรมันคาทอลิก 4,000 คน[95]
ตามที่องค์กร Open Door ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวคริสต์ ได้ให้ข้อมูลว่าทางการเกาหลีเหนือได้ทำการกลั่นแกล้งชาวคริสต์มากจนน่าแปลก[96] องค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เช่น องค์กรนิรโทษกรรมสากล ได้พุ่งความสนใจเกี่ยวกับการก่อกวนทางศาสนาในเกาหลีเหนือ[97]
ภาษา
แก้เกาหลีเหนือใช้ภาษาเกาหลีร่วมกับเกาหลีใต้ แม้ว่าจะมีความแตกต่างทางภาษาอยู่บ้าง ชาวเกาหลีเหนือเรียกภาษาถิ่นเปียงยางว่า munhwaŏ ("ภาษาวัฒนธรรม") เมื่อเทียบกับภาษาถิ่นของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะภาษาถิ่นโซลหรือ p'yojun'ŏ ("ภาษามาตรฐาน")
การศึกษา
แก้สำมะโนประชากรปี 2008 ระบุว่าประชากรทั้งหมดเป็นผู้รู้หนังสือ การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาภาคบังคับนั้นเรียนฟรี 11 ปี ปัจจุบันเกาหลีเหนือมีโรงเรียนอนุบาล 14,000 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา 4 ปี 4,800 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษา 6 ปี 4,700 แห่ง ผู้ชาย 77% และผู้หญิงอายุ 30-34 ปี 79% จบชั้นมัธยมศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอีก 300 แห่งให้การศึกษาระดับอุดมศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการภาคบังคับส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแต่เริ่มรับราชการทหารตามบังคับหรือไปทำงานในฟาร์มหรือโรงงานแทน ข้อบกพร่องหลักของการศึกษาระดับอุดมศึกษาคือการมีอยู่อย่างมากของวิชาเชิงอุดมการณ์ ซึ่งประกอบด้วย 50% ของหลักสูตรในสังคมศึกษาและ 20% ในด้านวิทยาศาสตร์ และความไม่สมดุลในหลักสูตร การศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้รับการเน้นอย่างมากในขณะที่สาขาสังคมศาสตร์ถูกละเลย การศึกษาภาษารัสเซียและภาษาอังกฤษเป็นภาคบังคับในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นตั้งแต่ปี 1978
สาธารณสุข
แก้ชาวเกาหลีเหนือมีอายุขัยเฉลี่ย 72.3 ปี ในปี 2019 เกาหลีเหนือจัดเป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำ โครงสร้างสาเหตุการเสียชีวิตของเกาหลีเหนือ (2013) นั้นแตกต่างจากประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่น ๆ แต่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก โดยมีโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดและมะเร็ง[98] คิดเป็น 84 เปอร์เซ็นต์ของการเสียชีวิตทั้งหมดในปี 2016 ตามรายงานของธนาคารโลกประจำปี 2559 (ตามการประมาณการของ WHO) มีเพียง 9.5% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดที่บันทึกไว้ในเกาหลีเหนือ ที่มีสาเหตุมาจากโรคติดต่อและสภาวะของมารดาก่อนคลอด และภาวะโภชนาการ[99] ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขของเกาหลีใต้เล็กน้อย (10.1%) และหนึ่งในห้าของประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่น ๆ (50.1%) แต่สูงกว่าประเทศที่มีรายได้สูง (6.7%)[100] มีเพียง 1 ใน 10 สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตโดยรวมในเกาหลีเหนือที่มีสาเหตุมาจากโรคติดต่อ (การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง) ซึ่งเป็นโรคที่มีรายงานว่าลดลงร้อยละ 6 ตั้งแต่ปี 2007 ในปี 2013 มีรายงานว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคกลุ่มเดียวเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีเหนือ สาเหตุหลักสามประการของการเสียชีวิตในเกาหลีเหนือ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหัวใจขาดเลือด ปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อในเกาหลีเหนือ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของสังคมเมืองสูง สังคมสูงอายุ และอัตราการสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ชายที่สูง อัตราการเสียชีวิตของมารดาต่ำกว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่นๆ แต่สูงกว่าเกาหลีใต้และประเทศที่มีรายได้สูงอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ 89 ต่อการเกิดหนึ่งแสนคน ในปี 2008 อัตราการเสียชีวิตของเด็กอยู่ที่ 45 ต่อ 1,000[101]
วัฒนธรรม
แก้เดิมเกาหลีเหนือสมัยอาณาจักรนั้นได้ติดต่อกับจีน และญี่ปุ่น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองชีวิตความเป็นอยู่ของผู้หญิงคือ จะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ช่วยเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว ทั้งนี้เพราะมาจากอิทธิพลจากส่วนอื่นโลก
หลังจากคาบสมุทรถูกแบ่งออกในปี 1945 วัฒนธรรมที่แตกต่างกันสองวัฒนธรรมได้ก่อตัวขึ้นจากมรดกร่วมกันของเกาหลี ชาวเกาหลีเหนือไม่ค่อยได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศเนื่องจากนโยบายปิดประเทศ มรดกเกาหลีได้รับการคุ้มครองและดูแลโดยรัฐ สถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัตถุที่มีความสำคัญระดับชาติกว่า 190 แห่งได้รับการจัดประเภทเป็นสมบัติของชาติของเกาหลีเหนือ ในขณะที่สิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่าน้อยกว่า 1,800 รายการรวมอยู่ในรายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรม โบราณสถานและอนุสาวรีย์ในแกซองและคอมเพล็กซ์ของสุสานโคกูเรียวเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก
อาหาร
แก้อาหารเกาหลีมีวิวัฒนาการผ่านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองหลายศตวรรษ มีต้นกำเนิดมาจากประเพณีเกษตรกรรมและชนเผ่าเร่ร่อนในสมัยโบราณทางตอนใต้ของแมนจูเรียและคาบสมุทรเกาหลี ผ่านปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและแนวโน้มทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน[102] ข้าวและกิมจิเป็นอาหารเกาหลีหลัก[103] ในอาหารแบบดั้งเดิม พวกเขาจะมาพร้อมกับเครื่องเคียง (panch'an) และอาหารจานหลัก เช่น juk, pulgogi หรือก๋วยเตี๋ยว สุราโซจูเป็นสุราเกาหลีดั้งเดิมที่รู้จักกันดีที่สุด ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาหลีเหนือ Okryu-gwan[104] ซึ่งตั้งอยู่ในเปียงยาง ขึ้นชื่อเรื่องบะหมี่เย็นแร็งมยอน อาหารอื่น ๆ ที่เสิร์ฟ ได้แก่ ซุปปลากระบอกสีเทากับข้าวต้ม ซุปซี่โครงเนื้อ แพนเค้กถั่วเขียว ซินโซลโล และอาหารที่ทำจากเต่าทะเล Okryu-gwan ส่งทีมวิจัยไปยังชนบทเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาหารเกาหลีและแนะนำสูตรอาหารใหม่ เมืองในเอเชียบางแห่งมีสาขาของเครือร้านอาหารเปียงยางซึ่งพนักงานเสิร์ฟจะแสดงดนตรีและเต้นรำแบบเกาหลีเหนือ[105][106]
สื่อมวลชน
แก้ภาพยนตร์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดบางเรื่องมีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ (An Jung-geun) หรือนิทานพื้นบ้าน (Hong Gildong) ภาพยนตร์ส่วนใหญ่มีโครงเรื่องโฆษณาชวนเชื่อที่คาดเดาได้ ซึ่งทำให้ภาพยนตร์เป็นความบันเทิงที่ไม่เป็นที่นิยม ผู้ชมจะดูเฉพาะภาพยนตร์ที่มีนักแสดงที่พวกเขาชื่นชอบเท่านั้น แม้ว่าภาพยนตร์ไททานิคปี 1997 จะมีการฉายให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเห็นบ่อยครั้งว่าเป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมตะวันตก การเข้าถึงผลิตภัณฑ์สื่อต่างประเทศสามารถทำได้ผ่านการลักลอบนำเข้าดีวีดีและโทรทัศน์หรือวิทยุกระจายเสียงในพื้นที่ชายแดนอย่างผิดกฎหมาย[107] ภาพยนตร์ตะวันตกเช่น The Interview, ไททานิค และ นางฟ้าชาร์ลี เป็นเพียงภาพยนตร์สองสามเรื่องที่ถูกลักลอบนำเข้ามาข้ามพรมแดนของเกาหลีเหนือ ทำให้เข้าถึงพลเมืองเกาหลีเหนือได้[108]
สื่อเกาหลีเหนืออยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลที่เข้มงวดที่สุดในโลก[109] การเซ็นเซอร์ในเกาหลีเหนือครอบคลุมข้อมูลทั้งหมดที่ผลิตโดยสื่อ[110] เจ้าหน้าที่ของรัฐเฝ้าจับตาดูอย่างหนัก สื่อถูกใช้อย่างเข้มงวดเพื่อเสริมสร้างอุดมการณ์ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล ชาวเกาหลีเหนือไม่มีเสรีภาพในการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต เนื่องจากสื่อทั้งหมดถูกควบคุมและกรองผ่านการเซ็นเซอร์ของรัฐบาล เสรีภาพสื่อในปี 2017 อยู่อันดับที่ 180 จาก 180 ประเทศ สื่อทุกแห่งถูกบังคับทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล นักข่าวทุกคนเป็นสมาชิกพรรคของท่านผู้นำประเทศ และการฟังรายการออกอากาศจากต่างประเทศถือเป็นภัยคุกคามมีโทษถึงประหารชีวิต[111] ผู้ให้บริการข่าวหลักคือสำนักข่าวกลางของเกาหลี หนังสือพิมพ์รายใหญ่ทั้งหมด 12 ฉบับและวารสาร 20 ฉบับ รวมทั้งโรดอง ซินมุน ได้รับการตีพิมพ์ในเมืองหลวงอย่างถูกกฎหมาย
กีฬา
แก้โรงเรียนส่วนใหญ่มีการฝึกซ้อมประจำวันในด้านฟุตบอล บาสเกตบอล ปิงปอง ยิมนาสติก มวย และอื่นๆ ลีกฟุตบอลเกาหลีเหนือ DPR ได้รับความนิยมภายในประเทศและเกมต่าง ๆ มักถูกถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีเหนือได้ร่วมแข่งขันครั้งล่าสุดในฟุตบอลโลก 2010 รอบสุดท้าย ก่อนจะตกรอบแรกเมื่อแพ้ทั้งสามนัดกับบราซิล โปรตุเกส และไอวอรี่โคสต์[112] การแข่งขันฟุตบอลโลก 1966 พวกเขาประสบความสำเร็จมากกว่า โดยมีชัยชนะเหนืออิตาลี 1-0 อย่างน่าประทับใจ[113]
เกาหลีเหนือมีตัวแทนของชาติในการแข่งขันบาสเกตบอลระดับนานาชาติเช่นกัน ในเดือนธันวาคม 2013 อดีตนักบาสเกตบอลชื่อดังชาวอเมริกัน เดนนิส ร็อดแมน ไปเยือนเกาหลีเหนือเพื่อช่วยฝึกทีมชาติหลังจากที่เขาพัฒนาความสนิทกับ คิม จองอึน เกาหลีเหนือร่วมในกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในปี 1964 นักกีฬาชาวเกาหลีเหนือยังได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขันทุกรายการในโอลิมปิกฤดูร้อนอีกด้วย นักยกน้ำหนัก คิม อึน-กุก ทำลายสถิติโลกประเภทชาย 62 กก. ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่ลอนดอน นักกีฬาโอลิมปิกทุกคนที่ประสบความสำเร็จจะได้รับอพาร์ทเมนท์สุดหรูจากรัฐเพื่อเป็นเกียรติแก่ความสำเร็จของพวกเขา
วันหยุด
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ คิม จ็อง-อึนดำรงตำแหน่งถึงสี่ตำแหน่ง: เลขาธิการพรรคแรงงาน, ประธานกองบัญชาการทหารกลาง, ประธานคณะกรรมการกิจการของรัฐ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพ
- ↑ ชเว รยอง-แฮเป็นตัวแทนของเกาหลีเหนือ ตำแหน่งประธานาธิบดีถูกลบออกไปจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 1998 โดยคิม อิล-ซ็อง ผู้ที่เสียชีวิตใน ค.ศ. 1994 ถูกกล่าวในบนนำว่าเป็น"ประธานาธิบดีตลอดชีพ"
อ้างอิง
แก้- ↑ Minahan, James B. (2014). Ethnic Groups of North, East, and Central Asia: An Encyclopedia. Santa Barbara: ABC-CLIO. p. 147. ISBN 978-1-61069-018-8.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Alton, David; Chidley, Rob (2013). Building Bridges: Is There Hope for North Korea?. Oxford: Lion Books. p. 89. ISBN 978-0-7459-5598-8.
- ↑ "North Korea country profile". BBC News. 9 April 2018.
- ↑ "Kim Jong Un's North Korea: Life inside the totalitarian state". Washington Post.
- ↑ "Totalitarianism". Encyclopædia Britannica. 2018.
- ↑ "Korea, North". Britannica Book of the Year 2014. London: Encyclopedia Britannica, Inc. 2014. p. 642. ISBN 978-1-62513-171-3.
- ↑ Demographic Yearbook – Table 3: Population by sex, rate of population increase, surface area and density (PDF). United Nations Statistics Division. 2012. p. 5. สืบค้นเมื่อ 29 November 2014.
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "DPR Korea 2008 Population Census National Report" (PDF). Pyongyang: DPRK Central Bureau of Statistics. 2009. p. 14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 March 2010. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "GDP (PPP) Field listing". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2014. สืบค้นเมื่อ 31 May 2014.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "GDP (PPP) per capita Field listing". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2014. สืบค้นเมื่อ 31 May 2014.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "National Accounts Main Aggregate Database". United Nations Statistics Division. December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2016.
- ↑ 13.0 13.1 "North Korean Economy Watch » GDP statistics". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2017. สืบค้นเมื่อ 9 February 2017. Hyundai Research Institute (South Korea)
- ↑ "Decree on Redesignating Pyongyang Time". Naenara. 30 April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-05. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ "Telephone System Field Listing". CIA The World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2014. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Hersher, Rebecca (21 September 2016). "North Korea Accidentally Reveals It Only Has 28 Websites". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2016. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
- ↑ "U.S.: N. Korea Boosting Guerrilla War Capabilities". Associated Press. FOX News Network, LLC. 2009-06-23. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
- ↑ Sanger, David E. (1991-05-29). "North Korea Reluctantly Seeks U.N. Seat". The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
- ↑ Spencer, Richard (2007-08-28). "North Korea power struggle looms". The Telegraph (online version of UK national newspaper). London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-27. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
Parry, Richard Lloyd (2007-09-05). "North Korea's nuclear 'deal' leaves Japan feeling nervous". The Times (online version of UK's national newspaper of record). London. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
Walsh, Lynn (2003-02-08). "The Korean crisis". CWI online: Socialism Today, February 2003 edition, journal of the Socialist Party, CWI England and Wales. socialistworld.net, website of the committee for a worker’s international. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-03. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
Oakley, Corey (October 2006). "US is threat to peace not North Korea". Edition 109 - October–November 2006. Socialist Alternative website in Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-23. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31. - ↑ 20.0 20.1 Brooke, James (2003-10-02). "North Korea Says It Is Using Plutonium to Make A-Bombs". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
- ↑ 21.0 21.1 Buruma, Ian. "Leader Article: Let The Music Play On". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27.
- ↑ Finn, Peter (2009-06-08). "U.S. to Weigh Returning North Korea to Terror List". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-06-19.
- ↑ "Constitution of North Korea (1972)". 1972. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ Martin, Bradley K. (2004). Under the Loving Care of the Fatherly Leader: North Korea and the Kim Dynasty. New York, NY: Thomas Dunne Books. p. 111. ISBN 0-312-32322-0.
- ↑ Lee, May (1998-08-19). "Famine may have killed 2 million in North Korea". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-09. สืบค้นเมื่อ 2007-08-01.
- ↑ "North Korea’s Military Strategy"เก็บถาวร 2007-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Parameters, US Army War College Quarterly, 2003.
- ↑ "Freedom in the World, 2006". Freedom House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-14. สืบค้นเมื่อ 2007-02-13.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Economist Intelligence Unit democracy index 2006" (PDF). Economist Intelligence Unit. 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09. North Korea ranked in last place (167)
- ↑ "A portrait of North Korea's new rich". The Economist. 2008-05-29. สืบค้นเมื่อ 2009-06-18.
- ↑ "Human Rights in North Korea". hrw.org. Human Rights Watch. 2009-02-17. สืบค้นเมื่อ 2010-12-13.
- ↑ "DPRK FAQ". Korean Friendship Association. 2011-11-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-23. สืบค้นเมื่อ 2011-11-24.
{{cite news}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Armed forces: Armied to the hilt". The Economist. 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28.
- ↑ Anthony H. Cordesman (2011-07-21). The Korean Military Balance (PDF). Center for Strategic & International Studies. ISBN 978-0-89206-632-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28.
{{cite book}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ International Space Dominance: 7 Nations Launching the Next Space Race, Popular Mechanics, October 1, 2009
- ↑ "Human Rights in North Korea". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2009-02-17.
- ↑ "Grotesque indifference". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2007-05-15.
- ↑ "North Korea: Amnesty International's Human Rights Concerns". web.archive.org. 2007-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Everything you need to know about human rights in North Korea 2020". Amnesty International (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Pyongyang Climate, Weather By Month, Average Temperature (North Korea) - Weather Spark". weatherspark.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Climate and average weather in North Korea". World Weather & Climate Information.
- ↑ "바른언론 빠른뉴스 인터넷 연합뉴스". web.archive.org. 2011-04-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ https://www.ncnk.org/resources/publications/NCNK_Issue_Brief_DPRK_Diplomatic_Relations.pdf
- ↑ "A Single Flag -- North And South Korea Join U.N. And The World | The Seattle Times". archive.seattletimes.com.
- ↑ Nanto, Dick K.; Manyin, Mark E. (2010-12-28). "China-North Korea Relations". UNT Digital Library (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.washingtonpost.com/world/asia_pacific/chinas-xi-to-visit-north-korea-as-both-countries-lock-horns-with-united-states/2019/06/17/4777087c-90f5-11e9-b72d-d56510fa753e_story.html
- ↑ "Assemblée nationale ~ Compte rendu de réunion de la commission de la défense nationale et des forces armées". www.assemblee-nationale.fr.
- ↑ "Quelles relations la France entretient-elle avec la Corée du Nord ?". LEFIGARO (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ "Kim Yong Nam Visits 3 ASEAN Nations To Strengthen Traditional Ties". web.archive.org. 2007-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "U.S. takes North Korea off terror list - CNN.com". edition.cnn.com.
- ↑ "Trump declares North Korea 'sponsor of terror'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-11-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ "N Korea to face Japan sanctions" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-06-13. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ Rosenfeld, Everett (2019-02-28). "Trump-Kim summit was cut short after North Korea demanded an end to sanctions". CNBC (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "CNN.com - Koreas agree to military hotline - Jun 4, 2004". edition.cnn.com.
- ↑ "FACTBOX - North, South Korea pledge peace, prosperity". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2007-10-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ "Koreas make nuclear pledge after historic summit". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ "U.S. ready to resume North Korea talks, seeks denuclearization by 2021". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ "ไทย-เกาหลีเหนือ ยินดีต่อความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่มีมาอย่างยาวนาน และพร้อมสานต่อความสัมพันธ์ต่อไป". www.prd.go.th.
- ↑ Min-seok, Kim; Min-seok, Kim. "The State of the North Korean Military - Korea Net Assessment 2020: Politicized Security and Unchanging Strategic Realities". Carnegie Endowment for International Peace (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "2021 Military Strength Ranking". www.globalfirepower.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Armied to the hilt". The Economist. 2011-07-19. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ Agencies (2021-09-09). "North Korea: soldiers in hazmat suits march in military parade marking nation's 73rd anniversary". the Guardian (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "North Korea Submarine Capabilities | NTI". www.nti.org.
- ↑ "The Times & The Sunday Times". www.thetimes.co.uk (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Ryall, Julian; Lockhart, Keely; Smith, Nicola (2017-08-09). "What is North Korea's missile range and can it hit the UK? Everything you need to know". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ Laet, Sigfried J. de (1994-01-01). History of Humanity: From the seventh to the sixteenth century (ภาษาอังกฤษ). UNESCO. ISBN 978-92-3-102813-7.
- ↑ "Human Rights in North Korea". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2009-02-17.
- ↑ "North Korea defends human rights record in report to UN". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2014-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ CNN, Euan McKirdy and Jake Kwon. "'We are at the mercy of men': Reports of rape and sexual abuse in North Korea". CNN.
- ↑ "A comparison of North and South Korean rape law". Law and North Korea (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ ""You Cry at Night but Don't Know Why": Sexual Violence against Women in North Korea" (ภาษาอังกฤษ). 2018-11-01.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Joyce, Kathleen (2018-11-01). "North Korean women suffer serious sexual violence by authorities, report says". Fox News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "How the North Korean Economy Works". Investopedia (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "North Korea - Economy". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Blakemore, Erin. "North Korea's Devastating Famine". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "North Korea says it faces worst drought in a century". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-06-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ "The Politics of the North Korean Floods". Beyond Parallel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-11-02.
- ↑ You, Jong S. (2007). "Market Reforms in North Korea: Are They for Real?". North Korean Review. 3 (2): 27–44. ISSN 1551-2789.
- ↑ "Analysis: North Korea's market reforms seen at risk as leader Kim tightens grip". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ Lankov, Andrei. "N Korea and the myth of starvation". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "NK is no Stalinist country". The Korea Times. 9 October 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ https://sgp.fas.org/crs/row/R40095.pdf
- ↑ "US Has Put Food Aid for North Korea on Hold - Social and Economic Policy - Global Policy Forum". web.archive.org. 2007-02-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "DPRK's Socialist Constitution (Full Text)". The People's Korea. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-28. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); see Chapter 5, Article 68 - ↑ Nash, Amy (2008). "Korean Americans - Overview, Early history, Modern era, The first koreans in america, Significant immigration waves". Multicultural America. Advameg Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
- ↑ "Culture of North Korea - Alternative name, History and ethnic relations". Countries and Their Cultures. Advameg Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
- ↑ "CIA The World Factbook -- North Korea". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-03. สืบค้นเมื่อ 2009-12-22.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Background Note: North Korea". Bureau of East Asian and Pacific Affairs. U.S. State Department. February 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
- ↑ "Buddhist Temple Being Restored in N. Korea". Los Angeles Times. October 2, 2005.
- ↑ "Human Rights in North Korea". Human Rights Watch. July 2004. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
- ↑ "Religious Intelligence UK report". Religious Intelligence. Religious Intelligence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
- ↑ United States Commission on International Religious Freedom (2004-09-21). "Annual Report of the United States Commission on International Religious Freedom". Nautilus Institute. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
- ↑ "N Korea stages Mass for Pope". BBC News. 2005-04-10. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
- ↑ "North Korean Religion". Windows on Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-12. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Open Doors International : WWL: Focus on the Top Ten". Open Doors International. Open Doors (International). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-22. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Korea Report 2002". Amnesty International. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-11-22. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
- ↑ "Cause of death, by non-communicable diseases (% of total) - Korea, Dem. People's Rep. | Data". data.worldbank.org.
- ↑ "Cause of death, by communicable diseases and maternal, prenatal and nutrition conditions (% of total) - Korea, Dem. People's Rep., Korea, Rep., Low income, High income | Data". data.worldbank.org.
- ↑ "Maternal mortality ratio (modeled estimate, per 100,000 live births) - Korea, Dem. People's Rep., Low income, Middle income | Data". data.worldbank.org.
- ↑ "Healthcare Access and Quality Index". Our World in Data.
- ↑ "한국요리". terms.naver.com (ภาษาเกาหลี).
- ↑ Service (KOCIS), Korean Culture and Information. "Food : Korea.net : The official website of the Republic of Korea". www.korea.net.
- ↑ "Okryu Restaurant Becomes More Popular for Terrapin Dishes". web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Past news". web.archive.org. 2011-01-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "The mystery of North Korea's virtuoso waitresses". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2014-06-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ Crocker, L. (22 December 2014). North Korea's Secret Movie Bootleggers: How Western Films Make It Into the Hermit Kingdom.
- ↑ "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2013-01-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-01-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Harvard International Review. Winter 2016, Vol. 37 Issue 2, pp. 46–50
- ↑ Youm, Kyu Ho (1991-01-01). "Press laws in North Korea". Asian Journal of Communication. 2 (1): 70–86. doi:10.1080/01292989109359541. ISSN 0129-2986.
- ↑ "North Korea cracks down on foreign media, speaking styles". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-20. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ "North Korea's failed World Cup footballers undergo public mauling". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2010-07-30.
- ↑ Thacker, Gary (2019-05-16). "How North Korea stunned the world by beating Italy at the 1966 World Cup". These Football Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
ข้อมูล
แก้- "Country Profile: North Korea" (PDF). Library of Congress – Federal Research Division. July 2007. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
- Armstrong, Charles K. "North Korea in 2016." Asian Survey 57.1 (2017): 119–27. abstract เก็บถาวร 2019-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- French, Paul (2007). North Korea: The Paranoid Peninsula: A Modern History (Second ed.). London: Zed Books. ISBN 978-1-84277-905-7.
- Hayes, Peter, and Roger Cavazos. "North Korea in 2015." Asian Survey 56.1 (2016): 68–77. abstract เก็บถาวร 2019-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Hayes, Peter, and Roger Cavazos. "North Korea in 2014." Asian Survey 55.1 (2015): 119–31. abstract เก็บถาวร 2019-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; also full text online
- Jackson, Van (2016). Rival Reputations: Coercion and Credibility in US–North Korea Relations. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-13331-0., covers 1960s to 2010.
- Jackson, Van. "Deterring a Nuclear-Armed Adversary in a Contested Regional Order: The 'Trilemma' of US–North Korea Relations." Asia Policy 23.1 (2017): 97–103. online
- Lee, Hong Yung. "North Korea in 2013: Economy, Executions, and Nuclear Brinksmanship." Asian Survey 54.1 (2014): 89–100. online เก็บถาวร 2019-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Martin, Bradley K. (2004). Under the Loving Care of the Fatherly Leader: North Korea and the Kim Dynasty. New York: Thomas Dunne Books. ISBN 978-0-312-32322-6.
- Myers, Brian Reynolds (2011). The Cleanest Race: How North Koreans See Themselves and Why It Matters. Melville House. ISBN 978-1933633916.
- "North Korea – A Country Study" (PDF). Library of Congress Country Studies. 2009.
- Ryang, Sonia (2013). "The North Korean Homeland of Koreans in Japan". ใน Ryang, Sonia (บ.ก.). Koreans in Japan: Critical Voices from the Margin. London: Routledge. pp. 32–54. ISBN 978-1-136-35305-5.
- Yonhap News Agency, บ.ก. (2003). North Korea Handbook. Yonhap T'ongsin. ISBN 978-0-7656-1004-1.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้เว็บไซต์รัฐบาล
แก้- KCNA เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – website of the Korean Central News Agency
- Naenara เก็บถาวร 2021-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – the official North Korean governmental portal Naenara
- DPRK Foreign Ministry เก็บถาวร 2019-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – official north Korean foreign ministry website
- The Pyongyang Times – official foreign language newspaper of the DPRK
เว็บไซต์ทั่วไป
แก้- ประเทศเกาหลีเหนือ ที่เว็บไซต์ Curlie
- Official website of the DPR of Korea – Administered by the Korean Friendship Association
- 38North
- North Korea profile at BBC News
- North Korea – link collection (University of Colorado at Boulder Libraries GovPubs)
- NKnews – a news agency covering North Korean topics.
- Friend.com.kp เก็บถาวร 2015-11-06 ที่ archive.today – website of the Committee for Cultural Relations with Foreign Countries
- Korea Education Fund
- Rodong Sinmun – the newspaper of the Central Committee of the Workers' Party of Korea Rodong Sinmun
- Uriminzokkiri เก็บถาวร 2016-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- DPRK Portal เก็บถาวร 2022-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- United Nations Office of the High Commissioner for Human Rights – Report of the Commission of Inquiry on Human Rights in the Democratic People's Republic of Korea