เลออน ทรอตสกี

เจ้าหน้าที่ทางทหารโซเวียต

เลฟ ดาวีโดวิช บรอนสเตย์น[b] (7 พฤศจิกายน [ตามปฎิทินเก่า: 26 ตุลาคม] ค.ศ. 1879 – 21 สิงหาคม ค.ศ. 1940) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เลออน ทรอตสกี[c] เป็นนักปฏิวัติ นักการเมือง นักข่าว และนักทฤษฎีชาวรัสเซีย ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในช่วงการปฏิวัติเดือนตุลาคม สงครามกลางเมืองรัสเซีย และการก่อตั้งสหภาพโซเวียตควบคู่ไปกับวลาดีมีร์ เลนิน ทรอตสกีได้รับการพิจารณาอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่โดดเด่นที่สุดของสหภาพโซเวียต เขายังเป็นผู้นำอันดับสองโดยพฤตินัยในช่วงปีแรก ๆ ของสาธารณรัฐโซเวียตรัสเซียและเป็นผู้ก่อตั้งกองทัพแดง ด้วยอุดมการณ์แบบลัทธิมากซ์และลัทธิเลนินที่เขายึดมั่น ทำให้งานเขียนและแนวความคิดของทรอตสกีกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับสำนักมาร์กซิสต์ที่รู้จักกันในชื่อ "ลัทธิทรอตสกี"

เลออน ทรอตสกี
Лев Троцкий
ทรอตสกีเมื่อ ค.ศ. 1924
กรรมการราษฎรฝ่ายการทหารและการทหารเรือ
แห่งสหภาพโซเวียต
[a]
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม ค.ศ. 1918 – 12 มกราคม ค.ศ. 1925
หัวหน้ารัฐบาล
ก่อนหน้านีโคไล ปอดวอยสกี
ถัดไปมีฮาอิล ฟรุนเซ
กรรมการราษฎรฝ่ายกิจการต่างประเทศ
แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 – 13 มีนาคม ค.ศ. 1918
หัวหน้ารัฐบาลวลาดีมีร์ เลนิน
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปเกออร์กี ชีเชริน
ประธานสภาโซเวียตเปโตรกราด
ดำรงตำแหน่ง
20 กันยายน – 26 ธันวาคม ค.ศ. 1917
ก่อนหน้านีโคไล ชเฮอิดเซ
ถัดไปกริกอรี ซีโนวีฟ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เลฟ ดาวีโดวิช บรอนสเตย์น

07 พฤศจิกายน ค.ศ. 1879(1879-11-07)
ยานอฟคา ใกล้กับเยลีซาเวตกราด เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอน จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต21 สิงหาคม ค.ศ. 1940(1940-08-21) (60 ปี)
เม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหารโดยขวานน้ำแข็ง
ที่ไว้ศพพิพิธภัณฑ์บ้านเลออน ทรอตสกี
สัญชาติ
  • รัสเซีย (ค.ศ. 1879–1917)
  • รัสเซียโซเวียตและสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1917–1932)
  • ไร้สัญชาติ (ค.ศ. 1932–1937)
  • เม็กซิโก (ค.ศ. 1937–1940)
พรรคการเมือง
คู่สมรส
  • อะเลคซันดรา โซโกลอฟสกายา (สมรส 1899; หย่า 1902)
  • นาตาเลีย เซโดวา (สมรส 1903)
บุตร
  • ซีไนดา
  • นีนา
  • เลฟ
  • เซียร์เกย์
การศึกษามหาวิทยาลัยออแดซา[2] (เข้าศึกษาในช่วงสั้น ๆ)
ลายมือชื่อลายมือชื่อของทรอตสกี

ทรอตสกีเกิดในครอบครัวชาวยิวรัสเซียผู้มั่งคั่งในยานอฟคา แต่เดิมนั้นทรอตสกีสนับสนุนอุดมการณ์นารอดนิค (narodnik) แต่หลังจากที่เขาย้ายไปยังนีโคลาเยฟใน ค.ศ. 1896 ได้ไม่นาน เขาจึงเริ่มยอมรับอุดมการณ์ของลัทธิมากซ์ ทรอตสกีถูกจับในข้อหากิจกรรมปฏิวัติและถูกเนรเทศไปยังไซบีเรียใน ค.ศ. 1898 แต่สามารถหลบหนีไปยังลอนดอนได้สำเร็จใน ค.ศ. 1902 ณ ที่นั่น เขาได้พบกับเลนินและได้ทำงานเขียนข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย อิสครา ทรอตสกีแต่แรกสนับสนุนฝ่ายเมนเชวิคของยูลิอุส มาร์ตอฟ ซึ่งต่อต้านฝ่ายบอลเชวิคของเลนินในระหว่างการแบ่งแยกพรรคใน ค.ศ. 1903 และเข้าอยู่ในกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดตั้งแต่ ค.ศ. 1904 ต่อมาในช่วงการปฏิวัติที่ล้มเหลวใน ค.ศ. 1905 ทรอตสกีเดินทางกลับรัสเซียและเข้าเป็นประธานสภาโซเวียตเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เขาถูกเนรเทศไปยังไซบีเรียอีกครั้งหนึ่ง แต่ได้หลบหนีการเนรเทศใน ค.ศ. 1907 โดยในช่วงเวลานี้ เขาใช้เวลาอาศัยอยู่ในหลายเมือง ทั้งที่ลอนดอน เวียนนา สวิตเซอร์แลนด์ ปารีส และนิวยอร์ก ภายหลังจากการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ใน ค.ศ. 1917 ซึ่งเป็นเหตุให้ซาร์นีโคไลสละราชสมบัติ ทรอตสกีเดินทางกลับรัสเซียอีกครั้งและเข้าร่วมกับพรรคบอลเชวิค ทรอตสกีดำรงตำแหน่งประธานสภาโซเวียตเปโตรกราด ซึ่งนั่นทำให้เขาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติเดือนตุลาคม ซึ่งโค่นล้มอำนาจของรัฐบาลชั่วคราวภายใต้การนำโดยอะเลคซันดร์ เคเรนสกี

ในรัฐบาลชุดแรกของเลนิน ทรอตสกีได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการราษฎรฝ่ายกิจการต่างประเทศและเป็นผู้นำในการเจรจาเบรสท์-ลีตอฟสก์ ส่งผลให้รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการราษฎรฝ่ายการทหารและการทหารเรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 จนถึง ค.ศ. 1925 และได้ก่อตั้งกองทัพแดงขึ้นเพื่อดำเนินการจัดเกณฑ์ทหาร ฝึกฝน และสร้างระเบียบวินัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้กองทัพสามารถมีชัยชนะในสงครามกลางเมืองอันยาวนาน ทรอตสกีและเลนินร่วมกันก่อตั้งพันธมิตรต่อต้านระบบราชการโซเวียตที่เกิดขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 1922[4] เลนินได้เสนอให้เขาดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการราษฎร แต่เขาปฏิเสธ[5][6][7] ในช่วงการใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ ทรอตสกีนำฝ่ายค้านซ้ายของพรรค สนับสนุนโครงการพัฒนาทางอุตสาหกรรมเร็ว การรวมกลุ่มเกษตรกรรมโดยใจสมัคร และการขยายตัวของประชาธิปไตยของคนงาน ภายหลังอสัญกรรมของเลนินใน ค.ศ. 1924 ทรอตสกีถูกโจเซฟ สตาลิน ปลดจากอำนาจและได้สูญเสียตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมด เขาถูกขับออกจากโปลิตบูโรใน ค.ศ. 1926 และจากพรรคใน ค.ศ. 1927 พร้อมโดนเนรเทศไปยังอัลมาอะตาใน ค.ศ. 1928 และต่อมาถูกบังคับออกจากประเทศใน ค.ศ. 1929 เขาอาศัยอยู่ในตุรกี ฝรั่งเศส และนอร์เวย์ ก่อนที่จะตั้งรกรากอยู่ที่เม็กซิโกใน ค.ศ. 1937

ในระหว่างการลี้ภัย ทรอตสกีเขียนนิพนธ์ต่อต้านลัทธิสตาลินที่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางและเป็นที่ถกเถียง สนับสนุนลัทธิอยู่ร่วมกันระหว่างประเทศของชนกรรมาชีพต่อต้านทฤษฎีสังคมนิยมประเทศเดียวของสตาลิน เขานำเสนอทฤษฎีการปฏิวัติถาวร โดยตั้งสมมติฐานว่าการปฏิวัติจะสามารถอยู่รอดได้มีเพียงการขยายอุดมการณ์สู่ประเทศทุนนิยมชั้นสูงเท่านั้น ตามหนังสือ The Revolution Betrayed ของเขาที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1936 ทรอตสกีแย้งว่าสหภาพโซเวียตกลายเป็นรัฐคนงานเสื่อมสภาพ (degenerated workers' state) อันเป็นผลจากการอยู่โดดเดี่ยว และได้เรียกร้องให้ยุติการปกครองแบบเผด็จการของสตาลิน เขาก่อตั้งสากลที่สี่ใน ค.ศ. 1938 เพื่อเป็นองค์กรแทนที่โคมินเทิร์น ทรอตสกีถูกตัดสินประหารชีวิตโดยลับหลังในการพิจารณาคดีมอสโกครั้งแรกใน ค.ศ. 1936 และถูกรามอน เมียร์คาเดียร์ ตัวแทนจากเอ็นเควีดีลอบสังหารที่บ้านของเขาในเม็กซิโกซิตีเมื่อ ค.ศ. 1940 เขาเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ขัดแย้งกับสตาลินเพียงไม่กี่คนที่ไม่ได้รับการกู้ฐานะทางการเมืองโดยผู้นำคนต่อ ๆ มา ส่วนประเทศตะวันตกมองว่าเขาเป็นวีรบุรุษในการต่อต้านลัทธิสตาลิน

เชิงอรรถ

แก้
  1. ทรอตสกีดำรงตำแหน่งกรรมการราษฎรฝ่ายการทหารตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1918 และเป็นกรรมการราษฎรฝ่ายการทหารเรือตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1918 ก่อนควบรวมเป็นตำแหน่งเดียวกันเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923
  2. รัสเซีย: Лев "Лейба" Давидович Бронштейн, อักษรโรมัน: Lev "Leyba" Davidovich Bronshteyn, สัทอักษรสากล: [lʲef lʲɪjbə dɐˈvʲidəvʲɪtɕ brɐnʂˈtʲejn].
  3. /ˈtrɒtski/;[3] รัสเซีย: Лев Давидович Троцкий, อักษรโรมัน: Lev Davidovich Trotskiy, สัทอักษรสากล: [ˈlʲef ˈtrotskʲɪj] (  ฟังเสียง); ยูเครน: Лев Давидович Троцький; also transliterated Lyev, Trotski, Trotskij, Trockij and Trotzky.

อ้างอิง

แก้
  1. Cliff, Tony (2004) [1976]. "Lenin Rearms the Party". All Power to the Soviets: Lenin 1914–1917. Vol. 2. Chicago: Haymarket Books. p. 139. ISBN 9781931859103. สืบค้นเมื่อ 17 December 2021. Trotsky was a leader of a small group, the Mezhraionts, consisting of almost four thousand members.
  2. Renton 2004, p. 19.
  3. "Trotsky". Merriam-Webster Dictionary.
  4. Mccauley 2014, p. 59; Deutscher 2003b, p. 63; Kort 2015, p. 166; Service 2010, p. 301–20; Pipes 1993, p. 469; Volkogonov 1996, p. 242; Lewin 2005, p. 67; Tucker 1973, p. 336; Figes 2017, pp. 796,797; D'Agostino 2011, p. 67.
  5. Bullock, Alan (1991). Hitler and Stalin : parallel lives. London : HarperCollins. p. 163. ISBN 978-0-00-215494-9.
  6. Rees, E.; Rosa, Cristina F. (14 October 1992). The Soviet Communist Party in Disarray: The XXVIII Congress of the Communist Party of the Soviet Union (ภาษาอังกฤษ). Springer. p. 129. ISBN 978-0-230-38920-5.
  7. Stalin, Josef (1 January 1995). Stalin's Letters to Molotov: 1925–1936 (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. pp. 80–81. ISBN 978-0-300-06211-3.

ผลงานของทรอตสกี

แก้

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

งาน

แก้