ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (มลายู: Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani[1][2]; อังกฤษ: Patani Malayu National Revolutionary Front) หรือบีอาร์เอ็นก่อตั้งเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2503 โดยอุสตาซ อับดุลการิม ฮัสซัน กลุ่มนี้วางแผนก่อเหตุจับตัวจังหวัดในวันฮารีรายอ 18 มีนาคม พ.ศ. 2504 แต่เจ้าหน้าที่สืบทราบล่วงหน้าจึงถูกจับกุม โดยหะยีอามีน โต๊ะมีนา บุตรชายของหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ถูกจับกุมด้วย และถูกจำคุกจนถึง พ.ศ. 2508 เมื่อพ้นโทษ หะยีอามีนจึงลี้ภัยไปอยู่มาเลเซียจนเสียชีวิต
ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี | |
---|---|
Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani | |
ธงของขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี | |
คณะผู้นำ | ฮัสซัน ตอยิบ, มะแซ อุเซ็ง, สะแปอิง บาซอ, อับดุลเลาะ มูนิร, ดุลเลาะ แวมัน (อุซตาซเลาะห์), อับรอเซะฮ์ ปาแรรูเปาะฮ์, อับดุลกานิน กะลูปิง, อิสมาแอ โต๊ะยาหลง, อาดือนัน มามะ, บอรอติง บินบือราเฮง แลพยูซุฟ รายาหลง (อุซตาซอิสมาแอ) และคนอื่น ๆ |
กองบัญชาการ | รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย |
ภูมิภาคปฏิบัติการ | ปาตานี |
แนวคิด | ชาตินิยมมาเลย์ ญิฮาด แบ่งแยกดินแดนปาตานี |
การโจมตีเด่น | ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย |
ขนาด | 200 (เป้าหมาย)[ต้องการอ้างอิง] |
ฝ่ายตรงข้าม | กองทัพภาคที่ 4 |
บีอาร์เอ็นมีความเข้มแข็งมาก รบแบบกองโจร พ.ศ. 2511 ได้จัดตั้งหน่วยทหารลาดตระเวนขนาดเล็กใช้ชื่อว่า RKK และ กองกำลังติดอาวุธปลดแอกอิสลามปัตตานี (มลายู: Angkatan Bersenjata Revolusi Patani : ABRIP[3][4]; อังกฤษ: Patani Islamic Liberation Armed Forces) ซึ่งเป็นทหารที่ถูกฝึกมาจากหน่วยรบพิเศษของประเทศอินโดนีเซีย เคลื่อนไหวอยู่ในแถบ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ความแตกแยกในองค์กร
แก้พ.ศ. 2520 เกิดความแตกแยกในหมู่แกนนำบีอาร์เอ็น จน พ.ศ. 2522 อามีนแยกตัวไปตั้ง บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต พ.ศ. 2526 มีการประชุมสมัชชา เลือกผู้นำใหม่คือ เปาะนูซา ยาลิล และตั้งชื่อขบวนการใหม่ว่าบีอาร์เอ็น คองเกรส ส่วนอุสตาซ อับดุลการิม ฮัสซัน ผู้นำเดิมหมดอำนาจลงโดยสิ้นเชิง จึงรวบรวมกำลังไปตั้งองค์กรใหม่เรียก บีอาร์เอ็น อูลามา
บีอาร์เอ็น คองเกรส
แก้เป็นกองกำลังติดอาวุธ มีเป้าหมายเพื่อก่อกวนและสร้างปัญหาทางสังคมจิตวิทยา เพื่อดำรงสภาพของตนไว้ เน้นการรบแบบจรยุทธ์ ไม่สร้างที่พักถาวร แต่ใช้การหลบหนีข้ามพรมแดน ฐานทางเศรษฐกิจมาจากการเรียกเก็บค่าคุ้มครอง และขู่กรรโชกส่วนแบ่งจากการซื้อขายที่ดิน การสนับสนุนจากต่างประเทศมีน้อย มีความสัมพันธ์กับขบวนการอื่นในต่างประเทศ เช่น กลุ่มโมโร ขบวนการอาเจะฮ์เสรี และกลุ่มที่เคลื่อนไหวในหมู่เกาะโมลุกกะ
ศักยภาพการเคลื่อนไหวขององค์กรลดลงหลังไทยปรับเปลี่ยนนโยบายเมื่อ พ.ศ. 2523 สถานะปัจจุบัน ประธานคือ รอสะ บูราซอ กำลังทหารเหลืออยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่กระจายเป็นกลุ่มเล็ก ๆ
บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต
แก้ความเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ไม่ชัดเจน การข่าวของไทยเชื่อว่า เป็นกลุ่มที่อิงผู้นำทางศาสนาและนักการเมือง โดยใช้การเคลื่อนไหวทางศาสนาเป็นเกราะกำบังเพื่อขยายเครือข่ายสู่กลุ่มเยาวชน เป็นกลุ่มที่เข้มแข็งที่สุด จากคำอ้างของกลุ่ม มีสมาชิกเป็นแสนคน และเป็นผู้บงการขบวนการก่อความไม่สงบสุขอาร์เคเค
บีอาร์เอ็น อูลามา
แก้มีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับกลุ่มย่อยนี้[5] กลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนกลุ่มนี้ก่อเหตุรุนแรงในปี พ.ศ. 2547 โดยใช้กลวิธีต่าง ๆ เช่น วางระเบิด 2 ลูกในสถานที่แห่งหนึ่ง โดยลูกที่สองออกแบบมาเพื่อสังหารและทำร้ายผู้เข้าร่วมเหตุการณ์หลังจากเหตุการณ์ครั้งแรก โดยรวมแล้ว กลุ่มกบฏในภาคใต้ได้สังหารผู้คนไปแล้วมากกว่า 6,000 ราย[6]
การเจรจาสันติภาพ
แก้ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 คณะเจรจาสันติภาพไทย นำโดย พลเอก วัลลภ รักษ์เสนาะ ได้พบกับผู้แทนบีอาร์เอ็น นายอานัส อับดุลเราะห์มาน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่บีอาร์เอ็น นายอับดุล อาซิส จาบัล อธิบายว่าเป็น "การเจรจาสันติภาพรอบแรกอย่างเป็นทางการ"[7] ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันในกรอบการเจรจาสำหรับการเจรจาครั้งต่อไป[7][8]
เหตุการณ์
แก้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มซีอาร์เอ็น-ซ๊ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางเพลิง การวางระเบิด และการโจมตีสังหารหลายครั้ง เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวและความไม่แน่นอนในสามจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ผู้สังเกตการณ์ทางทหารของไทยเชื่อว่าการโจมตีส่วนใหญ่ดำเนินการโดยกลุ่มรุนดากุมปูลันเกอจิล ที่มีเครือข่ายหลวม ๆ และดำเนินการอย่างลับ ๆ[9][10]
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2556 กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้โจมตีร้านอาหารแห่งหนึ่งปัตตานี ผู้ก่อเหตุซึ่งใช้อาวุธปืนกลสังหารคนไป 6 คน รวมถึงเด็กอายุ 2 ขวบด้วย[11] การกระทำดังกล่าวถือเป็นการแก้แค้นที่เกิดขึ้น 12 ชั่วโมงหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวใน 3 จังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา[12]
การใช้เด็ก
แก้ในปี พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2557 สหประชาชาติได้รับรายงานว่า BRN และกลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ ได้คัดเลือกเด็กชายและเด็กหญิงอายุตั้งแต่ 14 ปี[13][14] เด็ก ๆ ได้รับการฝึกทางทหารและถูกมอบหมายให้เป็นนักรบ ผู้ให้ข้อมูล และหน่วยสอดแนม[14] แต่การรายงานดังกล่าวกลับไม่ได้รับการบันทึกในรายงานของสหประชาชาติทั้งในปี พ.ศ. 2558 หรือ พ.ศ. 2559[15][16]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Free Patani ขออิสรภาพแก่ปาตานี)". Facebook. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
- ↑ Ummah Patani. "Pengistiharan Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (B.R.N.) Ke-4". สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
- ↑ "Free Patani ขออิสรภาพแก่ปาตานี)". Facebook. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
- ↑ Ummah Patani. "Pengistiharan Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (B.R.N.) Ke-4". สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
- ↑ No one is safe - The Ongoing Insurgency in Southern Thailand: Trends in Violence, Counterinsurgency Operations, and the Impact of National Politics, Human Rights Watch, p. 18
- ↑ Who is behind the Thailand bombings?, BBC News, 12 August 2016
- ↑ 7.0 7.1 Wongcha-um, Panu (January 21, 2020). Heinrich, Mark (บ.ก.). "Thai officials resume peace dialogue with main southern insurgents". Reuters.
- ↑ Nanuam, Wassana (January 22, 2020). "Peace talks with BRN launched". The Bangkok Post.
- ↑ Post Publishing PCL. "Visakha Bucha Day blast kills 5". สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
- ↑ Post Publishing PCL. "State informant shot dead in rebel revenge attack". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
- ↑ 6 killed in shooting in Thailand's restive south - Toshiba เก็บถาวร 23 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Gun attack in Thailand's south leaves six dead". BBC News. 2 May 2013. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
- ↑ United Nations Secretary-General (2014). "Report of the Secretary-General: Children and armed conflict, 2014". www.un.org. สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
- ↑ 14.0 14.1 United Nations Secretary-General (2015). "Report of the Secretary-General: Children and armed conflict, 2015". www.un.org. สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
- ↑ United Nations Secretary-General (2016). "Report of the Secretary-General: Children and armed conflict, 2016". www.un.org. สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
- ↑ United Nations Secretary-General (2017). "Report of the Secretary-General: Children and armed conflict, 2017". www.un.org. สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
- สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี. สันติภาพในเปลวเพลิง. กทม. เนชั่นบุกส์. 2547
- แจ๊ค สโลโมชั่น. แสงสว่างแห่งอิสรภาพ. ปัตตานี. โจอี้ พับบลิชชิ่ง. 2555