ฆาบิเอร์ มิเลย์

ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา

ฆาบิเอร์ เฆราร์โด มิเลย์ (สเปน: Javier Gerardo Milei; 22 ตุลาคม พ.ศ. 2513 –) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักเขียน และนักการเมืองฝ่ายขวาชาวอาร์เจนตินา ซึ่งชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีอาร์เจนตินาใน พ.ศ. 2566[1] และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอาร์เจนตินาตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ต่อจากอัลเบร์โต เฟร์นันเดซ

ฆาบิเอร์ มิเลย์
ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม พ.ศ. 2566
รองประธานาธิบดีวิคตอเรีย วิลยาร์รูเอล
ก่อนหน้าอัลเบร์โต เฟร์นันเดซ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 ตุลาคม พ.ศ. 2513 (53 ปี)
บัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
เชื้อชาติ อาร์เจนตินา
ศาสนาศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคอิสรนิยม
คู่อาศัยฟาติมา ฟลอเรซ
การศึกษามหาวิทยาลัยเบรกราโด
ลายมือชื่อ

ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ เขาอยู่หนึ่งในแกนนำของสำนักออสเตรีย เขาได้วิพากษ์วิจารณ์การบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลอาร์เจนตินา นอกจากนี้เขายังเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยในภาควิชาเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค และคณิตศาสตร์สำหรับเศรษฐศาสตร์มานานกว่ายี่สิบปี[2] นอกจากนี้เขายังมีผลงานทางวิชาการและหนังสือหลายเล่ม รวมทั้งยังเคยเป็นนักจัดรายการวิทยุอีกด้วย เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอาร์เจนตินาใน พ.ศ. 2564 ต่อมาเขาได้ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2566 โดยคู่แข่งของเขาคือเซร์ฆิโอ มาซา จากพรรคเฟรนเตเรโนบาดอร์ พรรคการเมืองสายลัทธิเปรอน ซึ่งเขาได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถึง 56%[3]

ในทางการเมือง เขาจัดอยู่ในการเมืองฝ่ายขวาจัด โดยยึดอุดมการณ์ประชานิยม, เสรีนิยมใหม่, อนุรักษนิยมสุดขั้ว และทุนนิยมอนาธิปไตย ซึ่งมุมมองทางการเมืองของเขานั้นโดดเด่นและแปลกใหม่ในบรรดานักการเมืองของอาร์เจนตินา ทำให้เขาได้รับความสนใจจากสื่อและประชาชนภายในประเทศ เขาเสนอให้ยกเลิกธนาคารกลางแห่งอาร์เจนตินา[4] รวมไปถึงการยกเลิกโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่จำเป็น ทั้งนี้เขายังต่อต้านการทำแท้งอย่างหนักแม้ว่าจะเกิดจากการถูกข่มขืนก็ตาม[5] นอกจากนี้เขายังสนับสนุนเสรีภาพทางเลือก โดยเฉพาะความหลากหลายทางเพศ[6] และเสรีภาพในการครอบครองอาวุธปืน

สำหรับนโยบายต่างประเทศ มิเลย์พยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสหรัฐและสหราชอาณาจักร สนับสนุนประเทศยูเครนในสงครามรัสเซีย–ยูเครน[7] ตลอดจนตัดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน[8]

อ้างอิง แก้

  1. Dadouch, Sarah (14 August 2023). "Who is Javier Milei, Argentina's right-wing presidential front-runner". The Washington Post. ISSN 2641-9599. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2023. สืบค้นเมื่อ 1 September 2023.
  2. https://www.agesor.com.uy. "¿Quién es Javier Milei?". www.agesor.com.uy (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  3. Misculin, Nicolás; Elliott, Lucinda; Bianchi, Walter; Elliott, Lucinda (2023-11-20). "Argentine libertarian Milei pledges new political era after election win". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-20.
  4. "Milei insiste con "volar por los aires el Banco Central" y con su teoria de "Alberto titere"". www.cronista.com (ภาษาสเปน). 2021-08-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
  5. "Milei: El candidato para el que sus padres 'no existen' y el aborto es un 'conflicto de propiedad'". El Canciller (ภาษาสเปน). 2021-10-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-08-14.
  6. "Can a far-right populist win in Argentina?". GZERO Media. 1 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2023. สืบค้นเมื่อ 14 August 2023.
  7. Ostiller, Nate (20 November 2023). "Far-right politician, Ukraine supporter Javier Milei elected president of Argentina". The Kyiv Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2023. สืบค้นเมื่อ 21 November 2023.
  8. Brandimarte, Walter; Tobias, Manuela (16 August 2023). "Argentina's Milei Says He'd Reject 'Assassin' China, Leave Mercosur". Bloomberg News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2023. สืบค้นเมื่อ 25 August 2023.