วีรวิท คงศักดิ์

พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2491 เป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสาธิตปทุมวัน, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 6 (ตท.6-ร่วมรุ่นกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน, พล.อ.วินัย ภัททิยกุล, พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์, พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข, พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ, พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์), โรงเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่ 13, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, การป้องกันประเทศภาครัฐร่วมเอกชน วปอ.สปท.(ปรอ.10), การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า (ปรม.2)[2]

พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์
เกิดวีรวิท คงศักดิ์
15 สิงหาคม พ.ศ. 2491 (75 ปี)
สัญชาติไทย
การศึกษาโรงเรียนสาธิตปทุมวัน
โรงเรียนนายเรืออากาศ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สถาบันพระปกเกล้า
อาชีพทหารอากาศ
สมาชิกวุฒิสภา
มีชื่อเสียงจากรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549
สมาชิกวุฒิสภา
บิดามารดาพล.ท.เชฏฐ คงศักดิ์
พ.ท.หญิง คุณหญิงองุ่น คงศักดิ์

รับราชการ แก้

รับราชการเป็น ผบ.กองบิน 4 ฝูง 403 (F-5 E/F), ผบ.กองบิน 1 (นครราชสีมา), ผชท.ทอ.ไทย โตเกียว/โซล, ผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพอากาศ, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายกำลังพล, รองผู้บัญชาการกองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ, เจ้ากรมกำลังพลทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด, ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในส่วนของข้าราชการทหารกองทัพอากาศ

หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ[3]

ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายวุฒิสภา ในคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา[4]

บทบาทหลังเกษียณราชการ แก้

และภายหลังเกษียณราชการ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แบบสรรหาด้วย ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552[5] นอกจากนี้แล้ว ในปัจจุบัน ยังเป็นประธานอนุกรรมการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือ "ศูนย์คุณธรรม" และได้รับเลือกให้กลับมาเป็น ส.ว. ในแบบสรรหาอีกครั้ง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2554[6]

ชีวิตส่วนตัว แก้

ชีวิตครอบครัว สมรสแล้ว แต่ภรรยาได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ด้วยโรคมะเร็ง มีบุตร 2 คน บุตรชายเป็นวิศวกรทำงานที่บริษัทวิทยุการบิน บุตรสาวเป็นทันตแพทย์ประกอบอาชีพส่วนตัว ในปี ๒๕๓๔ สมรสกับ น.อ.หญิง จันทิรา (ยะตินันท์) คงศักดิ์ รับราชการเป็นแพทย์โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ไม่มีบุตร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
  2. ประวัติจากกองทัพอากาศ[ลิงก์เสีย]
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/D/016/48.PDF
  5. เลือก“พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์”เป็นส.ว.สรรหา[ลิงก์เสีย]จากคมชัดลึก
  6. [https://web.archive.org/web/20131227020340/http://news.voicetv.co.th/thailand/8076.html เก็บถาวร 2013-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน http://news.voicetv.co.th/thailand/8076.html เก็บถาวร 2013-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากวอยซ์ทีวี]
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๓๑ มกราคม ๒๕๑๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2021-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๒๔, ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๔๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔