กปปส. มีชื่อเต็มว่า คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[6][a] เป็นกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทย[7] โดยมุ่งหมายขจัดอิทธิพลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากการเมืองไทย และการจัดตั้งสภาประชาชนที่มิได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อควบคุมการปฏิรูปการเมือง[8] กลุ่มดังกล่าวมีบทบาทสูงในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ในสถานะของผู้จัดกิจกรรมชุมนุมประท้วงขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร

คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สุเทพ เทือกสุบรรณกล่าวปราศรัยบนเวที กปปส. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
ก่อตั้ง29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ยุติ22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557
สถานะตามกฎหมายกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง
วัตถุประสงค์
  • ขจัดอิทธิพลของอดีตนายกรัฐมนตรีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร จากการเมืองไทย
  • จัดตั้งสภาประชาชนเพื่อควบคุมการปฏิรูปประเทศ
ที่ตั้ง
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ประเทศไทย
สมาชิก
เลขาธิการ
สุเทพ เทือกสุบรรณ
งบประมาณ
ประมาณวันละ 10 ล้านบาท (ประมาณเดือนมกราคม 2557)[5]
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

สุเทพ เทือกสุบรรณ(ลุงกำนัน) ผู้นำการประท้วงและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ก่อตั้งกลุ่มดังกล่าวตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 และแต่งตั้งตนเองเป็นเลขาธิการ[8] ขบวนการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหลายองค์การ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมือง สหภาพแรงงานของรัฐ และกลุ่มนิยมทหาร[9] การสนับสนุนของ กปปส. ส่วนใหญ่มาจากชาวกรุงเทพมหานครและชาวภาคใต้ที่มีฐานะร่ำรวย[10] กปปส. มิได้ใช้สัญลักษณ์สีเสื้อแทนตัวเอง แต่ใช้การเป่านกหวีดเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงครั้งนี้[11] กปปส. ใช้งบประมาณวันละกว่า 10 ล้านบาท[12] สื่อต่างประเทศรายงานว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนสถาบันกษัตริย์[13][14] และลักษณะของการชุมนุม "เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย"[15][16]

สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำการประท้วง ประกาศเจตนาของ กปปส. เพื่อทวงอำนาจอธิปไตยจากรัฐบาลมาคืนประชาชน ซึ่งจะดำเนินการปฏิรูปประเทศผ่านสภาประชาชนที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง สุเทพยังประกาศจะขจัดสิ่งที่ตนเรียกว่า "ระบอบทักษิณ"[17][18] สุเทพกล่าวว่า สภาประชาชนทำหน้าที่เป็นองค์กรนิติบัญญัติ โดยจะแก้ไขกฎหมายและระเบียบ เช่นเดียวกับดำเนินแผนการปฏิรูปในประเทศ[19] เขายังอธิบายว่าสภาประชาชนจะมีสมาชิก 400 คน โดย 300 คนเป็นผู้แทนจากอาชีพต่าง ๆ และอีก 100 คนที่เหลือ กปปส. จะเลือกจากนักวิชาการและราษฎรอาวุโสซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ[20][21]

เป้าหมายสูงสุดของ กปปส. คือกดดันให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากความเป็นหัวหน้ารัฐบาล[22] เพื่อให้เกิดช่องว่างแห่งอำนาจ[23] จากนั้นจะอ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม" และมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" โดยเชื่อว่า ประเทศไทยเคยปกครองโดยนายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง ฉะนั้นจะเป็นการเปิดโอกาสให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 กปปส. ยุติการชุมนุมเมื่อเกิดรัฐประหาร วันที่ 16 มิถุนายน 2557 สุเทพกล่าวว่า กปปส. หยุดเคลื่อนไหวทันทีหลัง คสช. ยึดอำนาจ และ กปปส. พร้อมให้ความร่วมมือหาก คสช. จัดการปฏิรูป[24]

หลังรัฐประหาร สุเทพเปิดเผยว่า ตนพูดคุยกับประยุทธ์ จันทร์โอชาให้ถอนรากถอนโคนอิทธิพลของทักษิณและพันธมิตรนับแต่การชุมนุมทางการเมืองใน พ.ศ. 2553 เขากล่าวว่า ได้ติดต่อเป็นประจำผ่านแอพไลน์ ก่อนรัฐประหาร ประยุทธ์ติดต่อเขาว่า "คุณสุเทพและมวลชนผู้สนับสนุน กปปส. ของท่านเหนื่อยมากแล้ว ตอนนี้เป็นหน้าที่ของกองทัพที่ต้องรับต่อ" สุเทพว่า กองทัพตระหนักดีถึงวัตถุประสงค์ของ กปปส. ระหว่างที่กลุ่มกดดันข้าราชการและทหารให้เข้าร่วมขบวนการ กองทัพได้รับข้อเสนอของ กปปส. หลายอย่าง เช่น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร[25] สุเทพยังเปิดเผยว่า การชุมนุมใช้เงินทั้งสิ้น 1,400 ล้านบาท โดยเป็นเงินของแกนนำ 400 ล้านบาท และของผู้สนับสนุน 1 พันล้านบาท[25]

แกนนำ แก้

แกนนำ

สมาชิก, แนวร่วมที่สำคัญ

สถานที่ชุมนุม แก้

สถานที่ เริ่ม สิ้นสุด หมายเหตุ
สถานีรถไฟสามเสน 31 ตุลาคม 2556 4 พฤศจิกายน 2556
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 4 พฤศจิกายน 2556 13 มกราคม 2557
กระทรวงการคลัง 25 พฤศจิกายน 2556 27 พฤศจิกายน 2556
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถ.แจ้งวัฒนะ 27 พฤศจิกายน 2556 9 ธันวาคม 2556
สนามม้านางเลิ้งและทำเนียบรัฐบาล 9 ธันวาคม 2556 13 ธันวาคม 2556
1. แยกปทุมวัน
2. แยกราชประสงค์
3. แยกอโศกมนตรี
4. แยกศาลาแดง (สีลม)
5. ห้าแยกลาดพร้าว
6. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
7. แจ้งวัฒนะ (จนถึง 22 พฤษภาคม 2557)
13 มกราคม 2557 2 มีนาคม 2557 วันเริ่มปฏิบัติการปิดกรุงเทพฯ
สวนลุมพินี 2 มีนาคม 2557 12 พฤษภาคม 2557
สะพานมัฆวานรังสรรค์ 12 พฤษภาคม 2557 22 พฤษภาคม 2557

การชุมนุมใหญ่ แก้

ครั้งที่ วันที่ รายละเอียด
1 24 พฤศจิกายน 2556 ใช้ชื่องานว่า "24 พฤศจิกาฯ มวลมหาประชาชน คนไทยใจเกินล้าน"
2 9 ธันวาคม 2556 เคลื่อนพลไปยังทำเนียบรัฐบาล กปปส.เสนอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากนายกรัฐมนตรีรักษาการ และให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง
3 22 ธันวาคม 2556 ประกาศปิดกรุงเทพฯ 5 แยกธุรกิจครึ่งวัน
4 13 มกราคม 2557 ประกาศปิดกรุงเทพฯ 7 แยกธุรกิจเต็มวัน
5 29 มีนาคม 2557 เคลื่อนพลไปยังลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้ารัชกาลที่ 5 ถวายเครื่องสักการะและถวายสัตย์ปฏิญาณ และเดินทางไปอาคารรัฐสภาถวายเครื่องสักการะ และประกาศเจตนารมณ์ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 7
6 5 พฤษภาคม 2557
9 พฤษภาคม 2557
13 พฤษภาคม 2557
- เคลื่อนพลไปยังสนามหลวงเพื่อจุดเทียนชัยถวายพระชัยมงคลเนื่องในวันฉัตรมงคล และประกาศสัตยาธิษฐานเพื่อที่จะแสดงความจงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
- วันที่ 9 พฤษภาคม 2557 วันเริ่มปฏิบัติการขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
- วันที่ 13 พฤษภาคม 2557 ทำบุญประเทศเนื่องในวันวิสาขบูชา

มูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย แก้

หลังรัฐประหาร กปปส. จะจัดระดมทุนทุกวันเสาร์ และมีการตั้งมูลนิธิมวลมหาประชาชน โดยเสียงต้องการให้ชัย ราชวัตร (นายสมชัย กตัญญุตานันท์ )เป็นกรรมการมูลนิธิ มูลนิธิดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือผู้สนับสนุนที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการชุมนุมทางการเมือง และเป็นทุนวิจัยการปฏิรูปประเทศ[37] สำนักงานของมูลนิธิตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ที่ 1 ตำบลหน้าเมือง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84140[38]

มีรายนามคณะกรรมการมูลนิธิฯ ดังนี้

คดีความ แก้

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. ชื่อเดิม คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า People's Democratic Reform Committee, แปลตามตัวอักษร คณะกรรมการประชาชนปฏิรูปประชาธิปไตย, ย่อ: PDRC)

อ้างอิง แก้

  1. "Thai Opposition Party Supports Protests Seeking PM Ouster". Bloomberg News. 28 November 2013. สืบค้นเมื่อ 11 April 2014.
  2. Saiyasombut & Siam Voices, Saksith (15 January 2014). "Organized chaos: Thai anti-election protesters' hardline faction". Asiancorrespondent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-20. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 Aim Sinpeng (30 November 2013). "Who's who in Thailand's anti-government forces?". New Mandala. Australian National University (ANU). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-17. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  4. "Suthep declares 'people's revolt'". Bangkok Post. 30 November 2013. สืบค้นเมื่อ 11 April 2014.
  5. Hataikarn, Treesuwan (17 January 2014). "PDRC spending more than Bt10 million a day". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 21 January 2014.
  6. เปิดจม. 'สุเทพ' เสนอแก้ กม.พรรคการเมือง ในนาม กปปส.. คมชัดลึก. 14-12-2560. สืบค้นเมื่อ 19-12-2560.
  7. "Khaosod English's Note On Translation Of Anti-Govt Leadership". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 "Suthep declares 'people's revolt'". Bangkok Post. 30 November 2013. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.
  9. Aim, Sinpeng (30 November 2013). "Who's who in Thailand's anti-government forces?". New Mandala. Australian National University (ANU). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-17. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  10. Galache, Carlos (17 January 2014). "No end in sight to Thailand turmoil". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
  11. Nopparat Chaichalearmmongkol (7 November 2013). "Whistle Blowers Call Time Out on Amnesty Bill". The Wall Street Journal Southeast Asia Real Time. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.
  12. Hataikarn, Treesuwan (17 January 2014). "PDRC spending more than Bt10 million a day". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 21 January 2014.
  13. "Thai king urges mutual support in birthday speech". BBC. 2013-12-05. สืบค้นเมื่อ 2013-12-23.
  14. "Analysis: Déjà vu with a difference as Thai PM faces down protesters". Reuters. 2013-11-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-13. สืบค้นเมื่อ 2013-12-23.
  15. "Academics brand people's council 'fascism'". The Bangkok Post. 11 December 2013. สืบค้นเมื่อ 13 January 2014.
  16. "Thailand's anti-democracy protests should provoke a harsh rebuke from the U.S." The Washington Post. 15 January 2014. สืบค้นเมื่อ 22 January 2014.
  17. "Suthep again targets 'Thaksin regime'". Bangkok Post. 25 November 2013. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  18. Charlie, Campbell (28 November 2013). "Thailand's Democrat Party Is Hilariously Misnamed". Time. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  19. "Thai protest leader explains demand for 'people's council'". English.news.cn. 4 December 2013. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  20. "Special Report: A nation at the crossroads". Phuket News. 5 January 2014. สืบค้นเมื่อ 29 September 2018.
  21. "Supreme commander agrees to meet Suthep". Bangkok Post. 13 December 2013. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  22. The Associated Press (9 December 2013). "Thailand PM Yingluck Shinawatra won't resign before elections". CBC news. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  23. "Thai premier dissolves parliament, protests continue". London South East. 9 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  24. เลขาธิการ กปปส. ไต่สวนคำร้องขอขยายเวลายื่นคำให้การ คดีที่กระทรวงการคลัง ฟ้องเรียกค่าเสียหายนำผู้ชุมนุมปิดสถานที่ราชการ[ลิงก์เสีย]. สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์. 16-06-2557. สืบค้นเมื่อ 18-06-2557.
  25. 25.0 25.1 "Suthep in talks with Prayuth 'since 2010'". Bangkok Post. 2014-06-23. สืบค้นเมื่อ 2014-06-23.
  26. ว.แหวนลงยา (กุมภาพันธ์ 2557). "ผู้ใหญ่ตาล แห่งมวลมหาประชาชน". โอเคเนชั่น.[ลิงก์เสีย]
  27. "ทิศทาง กปปส. สวนลุมฯ! เมื่อเช้า ได้เจอ"วิทยา แก้วภราดัย" แกนนำ กปปส. เวทีสวนลุมฯ สอบถาม." patnews.wordpress.com. 2014-02-04. สืบค้นเมื่อ 2017-06-05.
  28. "ลอบปาบึมถล่มบ้าน 'อิสสระ สมชัย'". ไทยรัฐ. 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2017-06-05.
  29. ""ถาวร เสนเนียม"สุเทพบอกผมอย่าทำร้ายคน". โพสต์ทูเดย์. 2014-03-05. สืบค้นเมื่อ 2017-06-05.[ลิงก์เสีย]
  30. 30.0 30.1 30.2 30.3 ""4 คุณหนู" ฮาร์ดคอร์ สุดยอดคอนเนกชัน-ใครอย่าแตะ!". ผู้จัดการออนไลน์. 2014-02-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-03. สืบค้นเมื่อ 2017-06-03.
  31. "ทำความรู้จัก 'ลูกหมีอูซี่' คนสนิท 'สุเทพ เทือกสุบรรณ' (ชมคลิป)". ไทยรัฐ. 2013-11-22. สืบค้นเมื่อ 2017-06-05.
  32. "เปิดปูม'หลวงปู่พุทธะอิสระ'". กรุงเทพธุรกิจ. 2014-01-15. สืบค้นเมื่อ 2017-06-05.
  33. "PDRC spokesman enters monkhood". TPBS. 2014-06-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-18. สืบค้นเมื่อ 2017-06-03.
  34. "กปปส.ส่ง"ชัยวุฒิ"ยื่นหนังสือจี้ ตร.เร่งรัดคดีเกี่ยวเนื่องการชุมนุม". ผู้จัดการออนไลน์. 2014-02-26. สืบค้นเมื่อ 2017-06-03.[ลิงก์เสีย]
  35. "Chitpas explains", Bangkok Post, 27 February 2014
  36. "ชินวรณ์ตัวแทนกปปส.สีลมเคารพศพสุทิน". สนุกดอตคอม. 2014-01-27. สืบค้นเมื่อ 2017-06-05.
  37. กปปส.กู้ภาพชิ่งมวลชน ระดมทุนเยียวยาผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิตจากการชุมนุม เก็บถาวร 2014-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการ, 24-06-2557. สืบค้นเมื่อ 24-06-2557.
  38. ที่อยู่ มูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย