สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

(เปลี่ยนทางจาก นิด้า)

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ย่อว่า สพบ.; อังกฤษ: National Institute of Development Administration) หรือ นิด้า (NIDA) เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของรัฐ เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแห่งเดียวในประเทศไทยที่ทำการสอนเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษา (สูงกว่าปริญญาตรี) ถือกำเนิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงให้ความสนพระทัยในด้าน “การพัฒนา” จนนำไปสู่การที่รัฐบาลดำเนินการจัดตั้งสถาบันขึ้นในปี พ.ศ. 2509 เน้นหนักในสาขาวิชาทางด้านการบริหาร เศรษฐศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านต่างๆ เป็นสถาบันแห่งชาติที่มุ่งเน้นการสร้างนักบริหารระดับสูงเพื่อพัฒนาองค์กรที่สำคัญต่างๆของประเทศ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในด้านการวิจัย ฝึกอบรม และให้บริการทางวิชาการด้านอื่นๆ แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน และประชาชนทั่วไป

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
National Institute of Development Administration
สพบ. / นิด้า (NIDA)
คติพจน์บาลี: นตฺถิ ปญฺญฺา สมา อาภา
(ไม่มีแสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญา)
คติพจน์อังกฤษ
WISDOM for Sustainable Development
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา1 เมษายน พ.ศ. 2509; 58 ปีก่อน (2509-04-01)
นายกสภาฯจุรี วิจิตรวาทการ
อธิการบดีทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์
ผู้ศึกษา5,752 คน (2566)[1]
ที่ตั้ง
13°46′11″N 100°39′09″E / 13.769621°N 100.652622°E / 13.769621; 100.652622
สี  สีเหลืองราชพฤกษ์
เว็บไซต์www.nida.ac.th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ถือเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่เปิดการสอนหลักสูตรมหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์เป็นการเฉพาะ และเปิดสอนหลักสูตร MBA เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยคณะบริหารธุรกิจ ได้รับการจัดอยู่ในอันดับต้นของทวีปเอเชียอยู่สม่ำเสมอจากสื่อระดับนานาชาติ นิด้ายังเป็นสถาบันชั้นนำที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการด้านนโยบายสาธารณะ เศรษฐศาสตร์ การเงิน และการจัดการ ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เป็นที่ยอมรับจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบกับเป็นสถาบันที่มีอัตราส่วนอาจารย์ระดับปริญญาเอกต่อจำนวนนักศึกษาที่สูงที่สุดและสัดส่วนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการสูงที่สุด รวมไปถึงยังได้รับคะแนนการประเมินการดำเนินงานจากหลากหลายองค์กรในระดับสูงที่สุดในประเทศไทย[2][3]

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถาบันรวมถึงคณาจารย์และศิษย์เก่ามีหลากหลาย ซึ่งรวมถึงบุคคลสำคัญในด้านการเมืองการปกครองและภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ข้าราชการระดับสูง, นักพัฒนาเอกชน รวมไปถึงผู้บริหารองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศไทย[4][5]

ประวัติ

แก้
 
อาคารนวมินทราธิราช

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ เมื่อราว พ.ศ. 2503 ได้ทรงปรารภกับ นายเดวิด รอกกิเฟลเลอร์ ชาวอเมริกัน ถึงเรื่องที่จะปรับปรุงการสถิติของชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ และในที่สุดได้มีการจัดทำโครงการเสนอรัฐบาล โดยให้ตั้ง Graduate Institute of Development Administration (GIDA) ขึ้น

ต่อมารัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดตั้งสถาบันสอนวิชาการบริหารเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ โดยได้นำโครงการ GIDA มาศึกษา และได้เสนอมติของที่ประชุมคณะกรรมการต่อคณะรัฐมนตรีว่าควรจะตั้ง “สถาบันพัฒนาการบริหาร” (Institute of Development Administration) โดยดำเนินการสอนในขั้นปริญญาโทและเอก การศึกษาฝึกอบรม และการวิจัย ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2509 ด้วยความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก กรมวิเทศสหการ, มูลนิธิฟอร์ด และ Midwest University Consortium for International Affairs (MUCIA) โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ หรือ “พระองค์วรรณ” (พระนามเดิมคือหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร) รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการจัดตั้ง ด้วยความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยโอนคณะดังกล่าว, งานฝึกอบรมส่วนหนึ่งของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, งานฝึกอบรม และงานสอนส่วนหนึ่งของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาเป็นกิจกรรมหนึ่งของสถาบัน

 
“พระองค์วรรณ” พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

คณะผู้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันได้พิจารณาว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติเป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวโยงกันกับการบริหารราชการและรัฐประศาสนศาสตร์อยู่มาก ถ้าจะตั้งสถาบันสำหรับสอนวิชานี้เป็นอิสระเป็นพิเศษให้คลุมถึงวิชารัฐประศาสนศาสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจ การสถิติ การบริหารธุรกิจ ก็จะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของประเทศได้มาก[6]

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งก็เพื่อที่จะบ่มเพาะผู้นำหรือนักบริหารที่จะเข้าไปทำงานในองค์กรต่างๆ ผลิตมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตออกไปมีบทบาทเป็นผู้นำด้านนโยบายและการบริหาร ทั้งในภาครัฐระดับกระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ และในภาคธุรกิจเอกชนต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนา ดังปณิธานของสถาบันที่น้อมนำจากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของสถาบัน ความตอนหนึ่งว่า[7]

"...ท่านทั้งหลายที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ เป็นผู้ที่เชื่อได้ว่า มีความรู้ความสามารถสูง จึงเป็นที่หวังของคนไทยทั้งชาติ รวมทั้งของข้าพเจ้าด้วย ที่จะได้อาศัยความรู้ ความคิด สติปัญญา และความสามารถ ในอันที่จะนำพาประเทศชาติให้ก้าวไปสู่ความมั่นคง และสมบูรณ์พูนสุข..."

 

ปัจจุบัน นิด้าได้มีการเปลี่ยนแปลงจากส่วนราชการสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐโดยพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2562[8]

นิด้ายังได้พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาชั้นนำพันธมิตรในประเทศ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ใน หลักสูตรวิศวกรรมการเงิน ปริญญาตรีควบโท (ทวิปริญญา) 5 ปี ซึ่งเน้นประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรมและแก้ไขปัญหาให้กับอุตสาหกรรมการเงิน โดยเรียนกับคณาจารย์จากทั้ง 2 สถาบัน คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

สัญลักษณ์ประจำสถาบัน

แก้
  • ตราประจำสถาบัน เป็นรูปธรรมจักร อยู่ภายในวงกลมซ้อนกันสองวง วงกลมด้านบนบรรจุคำขวัญว่า "นตฺถิ ปญฺญฺา สมา อาภา" แปลว่า "ไม่มีแสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญา" ขอบล่างของวงกลมเป็นชื่อ "สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์" ภายในวงกลมทำเป็นรูปคบเพลิง 8 อัน มีกงที่แยกออกเป็นแกน 8 กง มีเปลวเป็นสีขาว ซึ่งหมายความว่า "การใช้ความรู้ไปในทางที่ดี โดยถือมรรค 8 เป็นหลัก จะส่งผลให้เกิดความรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติหรือมวลมนุษย์" ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของสถาบัน[9]

การบริหารงาน

แก้

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์มีอธิการบดีมาแล้ว ดังรายนามต่อไปนี้

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. บุญชนะ อัตถากร 27 เมษายน พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2510 [10]
2. มาลัย หุวะนันทน์ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2510 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2514 [11]
3. ชุบ กาญจนประกร 29 ธันวาคม พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2517 [12]
4. สมศักดิ์ ชูโต 12 เมษายน พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2521,
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
[13] [14]
5. ไพจิตร เอื้อทวีกุล พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2524 [15]
6. ฑิตยา สุวรรณะชฎ พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2528 [16]
7. อมร รักษาสัตย์ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530
8. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2538 [17]
9. อนุมงคล ศิริเวทิน พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542 [18]
10. จุรี วิจิตรวาทการ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544 [19]
11. ปรีชา จรุงกิจอนันต์ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2550 [20]
12. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2556 [21]
13. ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 [22][23]
14. กำพล ปัญญาโกเมศ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (รักษาการอธิการบดี)
25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564
[24][25]
15. ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (รักษาการอธิการบดี)
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

การศึกษา

แก้
 

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ทำการเปิดสอนเฉพาะหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน 11 คณะ 1 วิทยาลัยและหน่วยงานสนับสนุน ดังนี้[26]

คณะ

แก้
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
    • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม) ภาคปกติ (Regular MPA)
    • Master of Public Administration (MPA, English Program)
    • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม) ภาคพิเศษ กทม. (MPA for Excutives)
    • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ พิษณุโลก
    • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ นครราชสีมา
    • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ อุดรธานี
    • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สุราษฎร์ธานี
    • หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต (รอ.ม) ภาคปกติ (Regular MPPM)
    • Master of Public and Private Management (MPPM, English Program)
    • หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต (รอ.ม) ภาคพิเศษ กทม. (MPPM for Excutives)
    • หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ ชลบุรี
    • หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน ภาคปกติ
    • หลักสูตร Ph.D. in Governance and Development (International Program)
    • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Ph.D. in Public Administration)
    • หลักสูตรฝึกอบรม


 
NIDA Business School
  • คณะบริหารธุรกิจ[27]
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคปกติ ภาษาไทย (Regular MBA)
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคปกติ ภาษาอังกฤษ (English MBA Program)
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ (Flexible MBA Program)
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สำหรับผู้บริหาร (Executive MBA Program)
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่ (Young Executive MBA Program)
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สำหรับมืออาชีพ (Professional MBA Program)
    • หลักสูตร International MBA (International Program)
    • หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การลงทุนและการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน (M.Sc. in Financial Investment and Risk Management (FIRM))
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง โครงการ Flexible - CFIRM (เรียนในเวลาราชการ และ เสาร์-อาทิตย์)
    • หลักสูตรปรัชญาฎีบัณฑิต บริหารธุรกิจ (Ph.D. in Business Administration)
    • หลักสูตร Double Degree Program (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ Indiana University)
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
    • หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) ภาคปกติ (Master of Economics)
    • หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) ภาคปกติ (Master of Business Economics)
    • หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ (Master of Business Economics)
    • หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน) ภาคปกติ (Master of Financial Economics)
    • หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน) ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ (Master of Financial Economics)
    • หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์และการบริหาร) ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ (Master of Economics and Managemet)
    • หลักสูตร Ph.D. in Economics (International Program)
    • หลักสูตรอีเลิร์นนิ่ง
    • หลักสูตรอบรมพัฒนา
  • คณะสถิติประยุกต์
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์)
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ)
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์)
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ)
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล)
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีข้อมูล)
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการความเสี่ยงความมั่นคงทางไซเบอร์)
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์)
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สถิติประยุกต์) หลักสูตรนานาชาติ
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ) หลักสูตรนานาชาติ
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล) หลักสูตรนานาชาติ
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์) หลักสูตรนานาชาติ
    • หลักสูตรฝึกอบรม
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) ภาคปกติ
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) ภาคพิเศษ กทม.
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) ภาคพิเศษ ยะลา
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา) ภาคปกติ
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา) ภาคพิเศษ
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม)
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาตร์การพัฒนา)
  • คณะภาษาและการสื่อสาร
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษาและการสอนภาษาอังกฤษ) (หลักสูตรนานาชาติ) ภาคปกติ
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษาและการสอนภาษาอังกฤษ) (หลักสูตรนานาชาติ) ภาคพิเศษ
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสาร วัฒนธรรม และภาษาญี่ปุ่น) ภาคปกติ
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสาร วัฒนธรรม และภาษาญี่ปุ่น) ภาคพิเศษ
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ) ภาคปกติ
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ) ภาคพิเศษ
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษาและการสอนภาษาอังกฤษ) (หลักสูตรนานาชาติ)
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาและการสื่อสาร) (หลักสูตรนานาชาติ)
    • หลักสูตรฝึกอบรม (การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษระดับย่อหน้า)
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) ภาคพิเศษ 
    • หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (ภาวะผู้นำ การจัดการและ นวัตกรรม) ภาคปกติ
    • หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (ภาวะผู้นำ การจัดการและ นวัตกรรม) ภาคพิเศษ
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และองค์การ
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ (หลักสูตรนานาชาติ)
    • หลักสูตรระยะสั้น
  • คณะนิติศาสตร์
    • หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเพื่อการบริหาร
    • หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
    • หลักสูตรประกาศนียบัตรทางกฎหมายปกครอง และคดีปกครองชั้นสูง
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ [28]
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการสื่อสารด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม)
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
    • หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ) ภาคปกติ / ภาคพิเศษ กทม./ ภาคพิเศษภูเก็ต
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ (Ph.D. in Integrated Tourism Management)
  • คณะการบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม)  ภาคปกติ
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม)  ภาคพิเศษ กทม.
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) ภาคพิเศษ ระยอง
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน)  ภาคปกติ
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน)  ภาคพิเศษ กทม.
    • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม)
  • วิทยาลัยนานาชาติ (International College of NIDA)
    • หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (Master of Management) 9 หลักสูตร
    • หลักสูตร DOUBLE-DEGREE PROGRAMS
    • หลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต (Ph.D. in Management)

หน่วยงาน

แก้

ความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติ

แก้

นิด้ามีการประสานความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาการวิจัยกับสถาบันชั้นนำในต่างประเทศ โดยได้มีการริเริ่มพัฒนาการวิจัยและโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ

ปัจจุบันนิด้ามีความร่วมมือกับหลายสถาบัน อาทิเช่น Indiana University (สหรัฐอเมริกา), London School of Economics and Political Science (LSE) (สหราชอาณาจักร), University of Potsdam (เยอรมนี), National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS) (ญี่ปุ่น), Seoul National University (สาธารณรัฐเกาหลี), Korea Institute of Public Administration (KIPA) Korea University (สาธารณรัฐเกาหลี), Beijing Foreign Studies University (จีน), National Chengchi University (ไต้หวัน), Monash University (ออสเตรเลีย), Victoria University of Wellington (นิวซีแลนด์) เป็นต้น

บุคคลสำคัญ

แก้

ดูเพิ่มที่ รายนามบุคคลจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และนายกราชบัณฑิตยสถาน รวมถึงเป็นผู้ร่วมสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • บุญชนะ อัตถากร ศาสตราจารย์ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ (กระทรวงพาณิชย์ ในปัจจุบัน) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • มาลัย หุวะนันทน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกวุฒิสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้ร่วมก่อตั้งและอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง ปลัดกระทรวงมหาดไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
  • ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • อนุพงษ์ เผ่าจินดา นายทหารและนักการเมือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการทหารบก
  • สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 26 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน อดีตผู้พิพากษา
  • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักการเมืองและนักวิชาการ องคมนตรี กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา อดีตเลขาธิการและกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • วีรวัฒน์ กาญจนดุล ศาสตราพิชานสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ผู้บริหารระดับสูงเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP)
  • มารวย ผดุงสิทธิ์ ศาสตราภิชาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • ชัยอนันต์ สมุทวณิช นักวิชาการ และนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เผยแพร่แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (value investing) คนแรกในประเทศไทย
  • ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา ประธานบริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) อาจารย์ประจำผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • วิโรจน์ ลักขณาอดิศร นักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาชน อดีตโฆษกพรรคก้าวไกล อดีตสังกัดพรรคอนาคตใหม่ และพรรคก้าวไกล
  • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 11 สมัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
  • ชลน่าน ศรีแก้ว แพทย์และนักการเมือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • ดำริ วัฒนสิงหะ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
  • พงศ์โพยม วาศภูติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด
  • อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 สมัย กรรมการผู้จัดการบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง และกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • วรพล โสคติยานุรักษ์ ประธานบริษัท บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
  • อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อาจารย์ประจำสาขาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • วิบูลย์ สงวนพงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • จุมพล มั่นหมาย รองเลขาธิการพระราชวัง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กำกับดูแลงานด้านนครบาล
  • ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 สมัย รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
  • ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นักการเมือง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
  • ถาวร เสนเนียม นักการเมือง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
  • พงศกร รอดชมภู นายทหารและนักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
  • ทินพันธุ์ นาคะตะ นักวิชาการและนักการเมือง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการบริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด (ตลาดไท) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เลขาธิการพรรครวมชาติพัฒนาและพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร 4 สมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อพรรคชาติไทยพัฒนา
  • ศักดิ์สยาม ชิดชอบ นักการเมือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคเพื่อไทย
  • สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรังหลายสมัย
  • ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ดิเรก ปัทมศิริวัฒน์ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการคลังและการกระจายอำนาจ
  • ภาณุ อุทัยรัตน์ สมาชิกวุฒิสภาไทย ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) คนแรก ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง(เจ้าหน้าที่นโยบายและแผน10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย
  • สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.)
  • อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ว่าที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้ว่าราชการจังหวัดตากและผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
  • สรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล ประธานคณะกรรมการการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจค้าปลีกของ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
  • วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
  • สุวิทย์ เมษินทรีย์ นักวิชาการด้านบริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
  • บรรเจิด สิงคะเนติ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย อดีตผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • สมหมาย เกาฏีระ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ ราชองครักษ์พิเศษ
  • วิฑูรย์ นามบุตร ทนายความและนักการเมืองชาวไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 6 สมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ 2 สมัย รวม 8 สมัย
  • ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ศาสตราจารย์สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ประธานมูลนิธิทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือ กรรมการในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.)
  • สมชัย ศรีสุทธิยากร นักวิชาการ ข้าราชการบำนาญมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารจัดการเลือกตั้ง
  • พรเทพ เตชะไพบูลย์ สมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • วิเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
  • สุพจน์ มาลานิยม พลเอก วีรบุรุษในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.)
  • มงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา อธิบดีกรมการปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์
  • วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำและราชองครักษ์พิเศษ
  • มานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
  • จรัส สุวรรณมาลา นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการคลังท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ เป็นอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 ศาสตราจารย์และคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชวน ศิรินันท์พร อธิบดีกรมการปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดแพร่ จังหวัดอุบลราชธานี
  • วิชัย สังข์ประไพ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 และที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าของฉายา "มือปราบหูดำ"
  • เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ประธาน ส.ส.ภาคเหนือ พรรคเพื่อไทย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
  • สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราชหลายสมัย
  • วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
  • อุดม ทุมโฆสิต นักวิชาการ ศาสตราจารย์ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการกระจายอำนาจ และการปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ธวัช วิชัยดิษฐ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ นักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์
  • ประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • นิสดารก์ เวชยานนท์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ นักการเมือง สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • สัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 11 สมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 2 สมัย
  • ถวิลวดี บุรีกุล รองเลขาธิการและผู้อำนวยการวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
  • ประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง เจ้าของผลงานหนังสือ "พระราชอำนาจ"
  • บัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
  • อภิชาติ ดำดี สมาชิกวุฒิสภา และสื่อมวลชน
  • สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ แพทย์และนักการเมือง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
  • เดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
  • วงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด กรรมการในคณะกรรมการเฉพาะกิจด้านกฎหมายในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
  • จุมพล ริมสาคร รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน กำกับดูแลกรมธนารักษ์และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
  • ภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิการบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
  • สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2516
  • วรงค์ เดชกิจวิกรม นักการเมือง อดีตแพทย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย แกนนำกลุ่มไทยภักดี ประธานพรรคไทยภักดี

อ้างอิง

แก้
  1. "กองบริการการศึกษา (นิด้า)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-26. สืบค้นเมื่อ 2024-03-26.
  2. คณะผู้บริหารของ NIDA
  3. ผลการประเมินคุณภาพของ NIDA
  4. ขอแสดงความยินดีกับตัวแทนจากประชาคมนิด้า ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
  5. "นายพรชัย รุจิประภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-23. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
  6. เอกสารบันทึกเสนอให้จัดตั้ง Institute of Development Administration ในประเทศไทย เสนอประกอบบันทึกเสนอประกอบบันทึกของนายบุญชนะ อัตถากร เรื่องการไปราชการ ณ ประเทศออสเตรีย และการประชุมและการประชุมสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ระหว่างประเทศ ครั้งที่ 12 วันที่ 13-22 กรกฎาคม 2505 ณ นครเวียนนา
  7. พระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่มหาบัณฑิตในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2513
  8. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก วันที่ 16 เมษายน 2562 หน้า 177-207 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๕๒) (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี)
  10. [1]
  11. [2]
  12. [3]
  13. [4]
  14. [5]
  15. [6]
  16. [7]
  17. [8]
  18. [9]
  19. [10]
  20. [11]
  21. [12]
  22. [13]
  23. [14]
  24. คณะผู้บริหารของ NIDA
  25. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ [นายกำพล ปัญญาโกเมศ]
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เล่ม 139 ตอนพิเศษ 221ง วันที่ 19 กันยายน 2565
  27. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-08. สืบค้นเมื่อ 2021-08-29.
  28. http://gscm.nida.ac.th/home/th/index.php

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้