คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นหนึ่งในสี่คณะที่ก่อตั้งพร้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องการจะปรับปรุงการสถิติของชาติที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ[1]

คณะสถิติประยุกต์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
School of Applied Statistics (National Institute of Development Administration)
ชื่อย่อAS NIDA
สถาปนาพ.ศ. 2509
คณบดีรองศาสตราจารย์สุรพงค์
เอื้อวัฒนามงคล
ที่อยู่
เลขที่ 118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 (+66) 2727 3000
สี███ สีแสด
สถานปฏิบัติอาคาร 6 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เว็บไซต์as.nida.ac.th

ประวัติ แก้

 
อาคาร 2 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสร์

คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เริ่มก่อตั้งในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2509 เริ่มแรกยังไม่มีการรับนักศึกษาปริญญาโทแต่มีการฝึกอบรมวิชาการทางด้านสถิติประยุกต์ ซึ่งเป็นงานอบรมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และมีการสอนทางด้านสถิติประยุกต์ โดยเป็นนักเรียนของวิทยาลัยการสถิติปฏิบัติ คณะสถิติประยุกต์เริ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2510

ในปี พ.ศ. 2516 มีการแยกสาขาออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ สาขาสถิติ สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาการวิจัยดำเนินงาน และสาขาประชากรศาสตร์ และเริ่มเปิดหลักสูตรปริญญาเอก สาขาประชากรและการพัฒนา ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นการเปิดสอนในระดับปริญญาเอกครั้งแรกของคณะสถิติประยุกต์ ในปี พ.ศ. 2536 เริ่มเปิดปริญญาโท 2 หลักสูตรใหม่ คือ สาขาวิทยาการประกันภัยและสาขาการจัดการสารสนเทศ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อสาขาเป็นการจัดการระบบสารสนเทศ) ในปี พ.ศ. 2538 เปิดหลักสูตรปริญญาเอกอีก 1 หลักสูตร คือ สาขาสถิติ ในปี พ.ศ. 2545 เปิดหลักสูตรการสอนเพิ่มอีกคือหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาระบบสารสนเทศประยุกต์ มีการเปลี่ยนชื่อสาขาการวิจัยดำเนินงาน เป็นสาขาเทคโนโลยีการตัดสินใจและการจัดการ ในปี พ.ศ. 2546 และในปี พ.ศ. 2546 มีการปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโททุกหลักสูตรของคณะ ประกอบด้วย 7 สาขาวิชาเอก สาขาวิชาเอกสถิติ สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีการตัดสินใจ สาขาวิชาเอกวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สาขาวิชาเอกการวิจัยเพื่อการบริหารและการจัดการ สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเอกการจัดการระบบสารสนเทศ และสาขาวิชาเอกการพัฒนาซอฟต์แวร์ [2]

ในปี พ.ศ. 2552 มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่อีกครั้งโดยมีการเปิดสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมซอฟต์แวร์) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์)

ทำเนียบคณบดี แก้

รายนามคณบดีคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

ลำดับ รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1 รศ.ดร.ศรีปริญญา รามโกมุท ม.ค. 2509 - ม.ค. 2513
2 ศ.ดร.บุญเสริม วีสกุล ม.ค. 2513 - ก.ย. 2518
3 ศ.ดร.ประชุม สุวัตถี ต.ค. 2518 - พ.ค. 2522
4 รศ.ดร.อนุมงคล ศิริเวทิน ก.ค. 2522 - มี.ค. 2524
5 ศ.ดร.ประชุม สุวัตถี ก.ค. 2524 -มี.ค. 2526
6 อาจารย์ สุจินต์ พงษ์ศักดิ์ มี.ค. 2526 - ม.ค. 2529
7 ศ.ดร.ประชุม สุวัตถี ก.พ. 2529 - มี.ค. 2530
8 รศ.ดร.อนุมงคล ศิริเวทิน เม.ย. 2530 - เม.ย. 2532
9 ศ.ดร.ประชุม สุวัตถี เม.ย. 2532 - เม.ย. 2536
10 รศ.นรีวรรณ จินตกานนท์ 2536 - 2540
11 รศ.ดร.สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์ (วาระที่ 1) 9 เม.ย. 2540 - 8 เม.ย.2543
12 รศ.ดร.สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์ (วาระที่ 2) 9 เม.ย. 2543 - 1 ก.พ. 2544
13 รศ.ดร.จิราวัลย์ จิตรถเวช 19 ก.พ.2544 - 18 ก.พ. 2547
14 อ.ดร.เลอสรรค์ โบสุวรรณ 19 ก.พ. 2547 - 18 ก.พ. 2550
15 อ.ดร.เลอสรรค์ โบสุวรรณ (รักษาราชการ) 19 ก.พ. 2550 - 10 เม.ย. 2550
16 รศ.ดร.สุรพงค์ เอื้อวัฒนามงคล 11 เม.ย. 2550 - 10 เม.ย. 2553
17 อ.ดร.เลอสรรค์ โบสุวรรณ 2553 - 2555
18 รศ.ดร.ระวีวรรณ เอื้อพันธ์วิริยะกุล (รักษาราชการ) 2555 - 2556
19 ศ.ดร.สำรวม จงเจริญ (ปัจจุบัน) 2556 - ปัจจุบัน

หน่วยงาน แก้

คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีการจัดโครงสร้างองค์กรในการบริหารแบ่งออกเป็น 3 หน่วยงานหลัก[3] ดังต่อไปนี้

  1. งานวิชาการ
  2. งานบริหาร
  3. งานวางแผนและพัฒนา

นอกจากนี้ยังมีสำนักงานเลขานุการ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานใหญ่ในการสนับสนุนการทำงานของคณะสถิติประยกต์ และมีการแบ่งส่วนงานออกเป็น 5 กลุ่มงาน ดังนี้

1. กลุ่มงานบริหารและธุรการ แบ่งออกเป็น 2 งานหลัก
  • หน่วยสารบรรณและการเจ้าหน้าที่
  • หน่วยอาคารสถานที่และยานพาหนะ
2. กลุ่มงานคลังและพัสดุ แบ่งออกเป็น 2 งานหลัก
  • หน่วยการเงินและและบัญชี
  • หน่วยพัสดุ
3. กลุ่มงานการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 งานหลัก
  • หน่วยทะเบียนและประเมินผลการศึกษา
  • หน่วยส่งเสริมและพัฒนาทางวิชาการ
4. กลุ่มงานนโยบายและแผน แบ่ง ออกเป็น 2 งานหลัก
  • หน่วยจัดทำแผนและอัตรากำลัง
  • หน่วยประเมินผลและพัฒนาระบบการบริหาร
5. กลุ่มงานบริการและปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 งานหลัก
  • หน่วยพัฒนาโปรแกรม
  • หน่วยบริการและเทคนิค

บุคลากร แก้

คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์มีบุคลากรทั้งสิ้นจำนวน 53 คน ประกอบด้วย

การเรียนการสอน แก้

หลักสูตร แก้

คณะสถิติประยุกต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เปิดให้มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก[4] ดังนี้

ระดับปริญญาโท(ภาคปกติและภาคพิเศษ) ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

 
งานบริการนักศึกษา ภาคพิเศษ

การรับบุคคลเข้าศึกษา แก้

คณะสถิติประยุกต์ มีการเปิดรับบุคคลเข้าทำการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ของคณะดังต่อไปนี้ [5]

สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโททุกสาขาวิชาเอก ภาคปกติ มีการพิจารณารับนักศึกษา ปีการศึกษาละ 6 ครั้ง ซึ่งแบ่งเป็นภาคการศึกษาละ 3 ครั้ง โดยภาคการศึกษาที่ 1 เปิดรับสมัครในเดือนตุลาคม เดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ภาคการศึกษาที่ 2 เปิดรับสมัครในเดือนเมษายน – พฤษภาคม เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม และเดือนสิงหาคม

สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโททุกสาขาวิชาเอก ภาคพิเศษมีการพิจารณารับนักศึกษาปีการศึกษาละ 2 ครั้ง ซึ่งแบ่งเป็นภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง โดยภาคการศึกษาที่ 1 เปิดรับสมัครประมาณเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ซึ่งจะเรียนในวันจันทร์ – ศุกร์ นอกเวลาราชการ และภาคการศึกษาที่ 2 เปิดรับสมัครประมาณเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม จะเรียนในวันเสาร์ - อาทิตย์

หลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาสถิติ หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการพิจารณารับนักศึกษาปีการศึกษาละ 2 ครั้ง

ระบบการศึกษา แก้

ระบบการศึกษาของคณะสถิติประยุกต์ปีการศึกษาหนึ่งมี 2 ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาที่ 1 จะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคม และภาคการศึกษาที่ 2 เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 16 สัปดาห์ สำหรับการศึกษาภาคฤดูร้อน อาจมีได้สำหรับวิชาเสริมพื้นฐาน มีระยะเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นการศึกษาแบบหน่วยกิต

รายวิชาหนึ่งกำหนดเนื้อหา มากน้อยตามจำนวนหน่วยกิต (Credit) 1 หน่วยกิต หมายถึงการบรรยาย 1 ชั่วโมง หรือการปฏิบัติทดลองไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง หรือการฝึกงานไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ต่อภาคการศึกษาปกติ[6]

การประกันคุณภาพการศึกษา แก้

คณะสถิติประยุกต์ ได้พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยอิงแนวคิดของหน่วยงานที่พิจารณางบประมาณ สนับสนุนแก่สถาบันอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ และสอดคล้องกับประเด็นการพิจารณาของมหาวิทยาลัยในประเทศ แคนาดา และออสเตรเลีย ในระบบประกันคุณภาพการศึกษาของคณะได้พิจารณา 5 ประเด็นหลัก คือ

  1. หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร
  2. ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอนและการวิจัย
  3. การสนับสนุนและให้คำแนะนำนักศึกษา
  4. คุณภาพและการเพิ่มคุณภาพการศึกษา
  5. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและความสำเร็จของผู้สำเร็จการศึกษา

โดยในแต่ละประเด็นได้สร้างตัวชี้วัดและจัดระบบสารสนเทศของคณะ, ระบบสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และตามระบบการตรวจสอบของหน่วยงานภายนอก ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ[7]

งานวิจัย แก้

กิจกรรม แก้

สัมมนานักศึกษาปริญญาโทภาคปกติ แก้

 
บรรยายกาศงานสัมมนา
 
มีผู้สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

การสัมมนานักศึกษาในหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะ และพบปะพูดคุย ร่วมแสดงความคิดเห็นกับคณาจารย์ประจำสาขาวิชา รวมทั้งพบปะสังสรรค์ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างรุ่นน้องกับรุ่นพี่ในคณะสถิติประยุกต์[8]

Orange Night Party แก้

สมาคมศิษย์เก่าคณะสถิติประยุกต์ ได้ร่วมกับ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และมูลนิธิส่งเสริมคณะสถิติประยุกต์ ขอเชิญศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันคณะสถิติประยุกต์เข้าร่วมงาน Orange Night Party 2009 [9]

สัมมนา Enhancing Corporate Value through Enterprise Risk Management แก้

หลักสูตรชั้นปริญญาโทภาคพิเศษ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้จัดงานสัมมนา Enhancing Corporate Value through Enterprise Risk Management เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552 โดยผู้บริหารขององค์กรชั้นนำในประเทศไทยได้ให้เกียรติมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม

ในช่วงบ่ายมีการสัมมนาย่อยหัวข้อเรื่อง Enhancing Corporate Value through Information Technology บรรยายพิเศษเรื่อง Improving Business Operations through OR Methods และเรื่อง Enhancing Corporate Value through Logistics Management [10]

การเดินทาง แก้

 
ป้ายรถเมลล์บริเวณหน้าสถาบันบัณฑิพัฒนบริหารศาสร์

ท่านสามารถเดินทางมานิด้าได้โดยสะดวกในหลายเส้นทาง

รถประจำทางที่ผ่านหน้าสถาบัน ได้แก่

  • รถประจำทาง ขสมก. หมายเลข 36ก[11], 44[12], 60[13], 71[14], 134 ก,151[15], ปอ. 60, ปอ. 501[16]
  • รถไมโครบัส หมายเลข ปอพ. 3
  • รถมินิบัส หมายเลข 27

หรือเดินทางโดยทางเรือ คลองแสนแสบ โดยขึ้นที่ท่าวัดศรีบุญเรือง

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สบพ.ในอดีต เก็บถาวร 2009-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  2. ประวัติคณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เก็บถาวร 2009-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  3. โครงสร้างองค์กรคณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  4. หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เก็บถาวร 2009-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  5. การรับนักศึกษา คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เก็บถาวร 2009-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  6. การจัดการศึกษา ระบบการศึกษา คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เก็บถาวร 2009-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  7. การประกันคุณภาพ คณะสถิติประยุต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เก็บถาวร 2009-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์คณะสถิติประยุต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  8. กิจกรรมสำหรับนักศึกษาคณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  9. Orange Night Party, Applied Statistics@NIDA เก็บถาวร 2009-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  10. กิจกรรมของคณะสถิติประยุกต์ ปี 2552, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เก็บถาวร 2009-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  11. ขสมก.สายรถ 36ก[ลิงก์เสีย], จากเว็บไซต์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
  12. ขสมก.สายรถ 44[ลิงก์เสีย], จากเว็บไซต์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
  13. ขสมก.สายรถ 60[ลิงก์เสีย], จากเว็บไซต์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
  14. ขสมก.สายรถ 71 เก็บถาวร 2011-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซต์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
  15. ขสมก.สายรถ151[ลิงก์เสีย], จากเว็บไซต์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
  16. ขสมก.สายรถ ปอ.501[ลิงก์เสีย], จากเว็บไซต์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้