คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (อังกฤษ: NIDA Business School) เป็นหนึ่งในสี่คณะที่ก่อตั้งพร้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ในปี 2509 เป็นบัณฑิตวิทยาลัยด้านบริหารธุรกิจ (Business School) ที่ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย[1] นอกจากนี้ คณะบริหารธุรกิจ นิด้า ยังเป็นสถาบันแห่งแรกที่ได้รับการรับรองจาก AACSB (Association to Advance Collegiate School of Business) ในหลักสูตรการเรียนการสอนที่เป็นภาษาไทย[2]

คณะบริหารธุรกิจ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
NIDA Business School
สถาปนาพ.ศ. 2509
คณบดีรศ.ดร.ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์
ที่อยู่
อาคารบุญชนะ อัตถากร ชั้น 8 เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
วารสารNIDA MBA
สี  สีแดง
เว็บไซต์mba.nida.ac.th
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ประวัติ

แก้

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ เมื่อราว พ.ศ. 2503 ได้ทรงปรารภกับ นายเดวิด รอกกิเฟลเลอร์ ชาวอเมริกัน ถึงเรื่องที่จะปรับปรุงการสถิติของชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ และในที่สุดได้มีการจัดทำโครงการเสนอรัฐบาล โดยให้ตั้ง “สถาบันพัฒนาการบริหาร” (Graduate Institute of Development Administration - GIDA) ขึ้น ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2509 โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ หรือ “พระองค์วรรณ” (พระนามเดิมคือหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร) รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการจัดตั้ง

ช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง ดร.อำนวย วีรวรรณ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมีแนวคิดที่จะดำเนินการสร้างบัณฑิตวิทยาลัยด้านบริหารธุรกิจที่มีรูปแบบการดำเนินการแบบเดียวกับ Business School ในสหรัฐอเมริกา ที่มุ่งเน้นการสอนให้เป็นผู้บริหารโดยตรง แทนการสอนให้ไปทำงานตามวิชาชีพบัญชี (Accountancy) หรือการพาณิชย์ (Commerce) แบบดั้งเดิมที่เคยได้มีการก่อตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาของไทยมาแล้วในอดีต การก่อตั้งคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ “NIDA Business School” จึงถือได้ว่าเป็นการริเริ่มดำเนินการเปิดสอนปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ (MBA - Master of Business Administration) เป็นแห่งแรกของไทย และเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการก่อตั้งนิด้า

ช่วงระยะเริ่มแรกของการก่อตั้งคณะได้ดำเนินการจัดเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เนื่องจากคณาจารย์ที่มาสอนเป็นอาจารย์ที่มาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับการประสานมาตามความช่วยเหลือของมูลนิธิฟอร์ด [3]

 
นิด้า ในปี พ.ศ. 2566

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “NIDA Business School” ได้รับการยอมรับเสมอมาว่าเป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจชั้นนำของประเทศ และได้ผลิตนักบริหารหรือผู้ประกอบการที่มีบทบาทสำคัญในแวดวงธุรกิจเป็นจำนวนมากให้จบการศึกษาจากคณะออกไปเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป็นผู้บริหารระดับแถวหน้าอยู่ในหลายอุตสาหกรรมด้วยกัน ทั้งในภาคการเงินการลงทุน การธนาคาร ภาคการผลิต หรือในภาคบริการต่างๆ

คณะยังได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก AACSB และมีการปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้มีความทันสมัย ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจและเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา

นอกจากนี้คณะยังได้มีข้อตกลงความร่วมมือและเป็นพันธมิตรกับสถาบันการศึกษาธุรกิจชั้นนำในต่างประเทศหลายแห่ง อาทิเช่น Wharton School[4] มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย, Kelly School of Business[5] มหาวิทยาลัยอินเดียนา, มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[6] หรือกับ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์[7] เป็นต้น

ในปัจจุบัน คณะบริหารธุรกิจ นิด้า ถือเป็นสถาบันการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจระดับแนวหน้าของประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

การประกันคุณภาพ

แก้
 

NIDA Business School ได้รับการรับรองมาตรฐาน AACSB (The Association to Advance Collegiate Schools of Business)[8] ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสูงสุดของวิทยาลัยบริหารธุรกิจ ที่ทั่วโลกให้การยอมรับมากที่สุด สำหรับในประเทศไทย มีอยู่เพียง 4 แห่งที่ได้รับการรับรอง AACSB คือ คณะบริหารธุรกิจ นิด้า, สถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [9] โดยที่คณะบริหารธุรกิจ นิด้า นับเป็นแห่งแรกของการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจที่เป็นภาษาไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสถาบันดังกล่าว

สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาในประเทศ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้รับการรับรองด้วยคะแนนสูงสุดในประเทศ จาก สมอ สมศ และ กพร [10] [11] โดยคณะบริหารธุรกิจมีคะแนนการประกันคุณภาพเป็นอันดับที่ 1 ของ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

หลักสูตรการศึกษา

แก้

ระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA)

แก้


 
NIDA Business School

ระดับปริญญาเอกบริหารธุรกิจ (Ph.D. and DBA)

แก้


 

ทำเนียบคณบดี

แก้

รายนามคณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

ลำดับ รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1 รศ.ดร.ศรีปริญญา รามโกมุท 26 ธ.ค.2511 - 12 มี.ค. 2512, 19 ม.ค. 2514 - 6 ส.ค. 2518
2 รศ.ดร.วีรวัฒน์ กาญจนดุล 7 ส.ค. 2518 - 22 ธ.ค. 2520
3 รศ.ดร.ประวิตร นิลสุวรรณากุล 27 มี.ค. 2521 - 1 มี.ค. 2522
4 ผศ.ดร.ไพจิตร เอื้อทวีกุล (รักษาราชการ) 2 มี.ค. 2522 - 3 มิ.ย. 2522
5 ศาสตราภิชาน ดร.ทนง พิทยะ 4 มิ.ย.2522 - 13 ม.ค. 2523
6 รศ.ดร.บุญเสริม วีสกุล (รักษาราชการ) 14 ม.ค. 2523 - 31 ก.ค. 2523
7 รศ.ดร.อัศวิน จินตกานนท์ 1 ส.ค. 2523 - 29 ม.ค. 2524, 30 ม.ค. 2524 - 15 มี.ค. 2525
8 รศ.ดร.วีรศักดิ์ สุขอานารักษ์ 7 เม.ย. 2525 - 6 เม.ย. 2527
9 รศ.ดร.นิกร วัฒนพนม 7 เม.ย. 2527 - 1 เม.ย. 2528, 13 มี.ค. 2535 - 12 มี.ค. 2537, 13 มี.ค. 2537 - 1 มี.ค. 2538
10 รศ.ดร.ปรีชา จรุงกิจอนันต์ 18 เม.ย. 2528 - 17 เม.ย. 2530, 18 เม.ย. 2530 - 17 เม.ย. 2532
11 รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ 18 เม.ย. 2532 - 1 ธ.ค. 2532, 27 มิ.ย. 2538 - 26 มิ.ย. 2541
12 รศ.ดร.สิงหา เจียมศิริ 13 มี.ค. 2533 - 12 มี.ค. 2535
13 รศ.วัฒนา ณ ระนอง 27 มิ.ย. 2541 - 26 มิ.ย. 2544
14 อ.ดร.ถกล นันธิราภากร 27 มิ.ย. 2544 - 26 มิ.ย. 2547, 27 มิ.ย. 2547 - 30 ก.ย. 2548
15 รศ.ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ 1 ต.ค. 2548 - 12 มี.ค. 2550
16 รศ.ดร. เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ 4 เม.ย. 2550 - 3 เม.ย. 2553
17 รศ.ดร.บุญชัย หงส์จารุ 4 เม.ย. 2553 - 3 เม.ย 2556
18 ผศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล 4 เม.ย 2556 - ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะบริหารธุรกิจจนถึงปัจจุบัน คณะบริหารธุรกิจได้ผลิตบุคลากรที่เป็นผู้บริหารชั้นนำของประเทศ อาทิเช่น

 
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เผยแพร่แนวคิด การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (value investing) คนแรกในประเทศไทย

รายนามอดีตคณาจารย์

แก้

อดีตคณาจารย์จากคณะบริหารธุรกิจที่ทำงานและสร้างชื่อเสียง อาทิเช่น

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.nida.ac.th
  2. https://web.archive.org/web/20180612154735/https://www.aacsb.net/eweb/DynamicPage.aspx?Site=AACSB&WebKey=00E50DA9-8BB0-4A32-B7F7-0A92E98DF5C6
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
  4. NIDA-Wharton Executive Leadership Program[1]
  5. Sub-agreementhttps://global.iu.edu/partnerships/registry/282
  6. https://nida.ac.th/university-innovation-fellows/
  7. https://mba.nida.ac.th/en/cec/project/detail/20181116090639
  8. http://www.aacsb.edu
  9. http://www.aacsb.edu/accreditation/accreditedmembers.asp
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-30. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.