นกจาบธรรมดา
นกกระจาบธรรมดา หรือ นกกระจาบอกเรียบ[2][3][4] (อังกฤษ: baya weaver, ชื่อวิทยาศาสตร์: Ploceus philippinus) เป็นนกขนาดเล็กในวงศ์นกกระจาบ (Ploceidae) ที่พบในเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ อาศัยในทุ่งหญ้า ไร่นา ป่าละเมาะ ป่าทุติยภูมิ พื้นที่ริมน้ำ เป็นนกที่รู้จักกันดีจากรังที่ถักสานอย่างประณีตเป็นรูปน้ำเต้าคอยาว ด้วยใบไม้และหญ้า มักสร้างเป็นหมู่ ปกติพบในต้นไม้มีหนามหรือที่ใบของไม้วงศ์ปาล์มรวมทั้งมะพร้าวและตาล บ่อยครั้งสร้างใกล้น้ำหรือห้อยเหนือน้ำที่สัตว์ล่าเหยื่อเข้าถึงยาก นกอยู่กระจายอย่างกว้างขวาง พบอย่างสามัญภายในเขตที่อยู่ แต่อาจอพยพตามฤดูขึ้นอยู่กับฝนและอาหาร ในประเทศไทยนกกระจาบธรรมดาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง ห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[3]
นกกระจาบธรรมดา (Baya weaver) | |
---|---|
นกสปีชีส์ย่อย P. p. philippinus ตัวผู้ (อินเดีย) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก Aves |
อันดับ: | Passeriformes Passeriformes |
วงศ์: | วงศ์นกจาบ Ploceidae |
สกุล: | นกจาบ Ploceus ([[คาโรลัส ลินเนียส|ลินเนียส]] - 12th edition of Systema Naturae 1766) |
สปีชีส์: | Ploceus philippinus |
ชื่อทวินาม | |
Ploceus philippinus ([[คาโรลัส ลินเนียส|ลินเนียส]] - 12th edition of Systema Naturae 1766) | |
ที่อยู่โดยประมาณ | |
ชื่อพ้อง | |
Loxia philippina (ลินเนียส, 1766) |
นกกระจาบธรรมดาแบ่งเป็น 5 ชนิดย่อยตามถิ่นที่อยู่และลักษณะที่ต่างกันเล็กน้อย ชนิดย่อยต้นแบบ คือ P. p. philippinus พบทั่วอนุทวีปอินเดีย และชนิดย่อย P. p. burmanicus พบทางทิศตะวันออกในเอเชียอาคเนย์ส่วนที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียมีสีเข้มกว่าชนิดย่อยอื่น จัดเป็นชนิดย่อย P. p. travancoreensis[5]
อนุกรมวิธาน
แก้ในปี 1760 นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส Mathurin Jacques Brisson ได้ระบุชนิดนกกระจาบธรรมดาในงานชื่อ Ornithologie โดยยกตัวอย่างที่เขาเชื่อว่ามาจากประเทศฟิลิปปินส์ และตั้งชื่อฝรั่งเศส Le gros-bec des Philippines ชื่อละตินว่า Coccothraustes Philippensis[6] ซึ่งชื่อละตินนี้ไม่เป็นไปตามหลักการตั้งชื่อทวินาม และองค์กรชื่อสัตว์สากล (International Commission on Zoological Nomenclature) ไม่ยอมรับชื่อนี้[7]
ในปี 1766 นักธรรมชาตินิยมชาวสวีเดนคาโรลัส ลินเนียส ได้ปรับปรุงหนังสือ ระบบธรรมชาติ (Systema Naturae) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 12 ซึ่งรวมสัตว์ 240 ชนิดที่ Brisson ได้จำแนกก่อนหน้า[7] หนึ่งในนั้นคือนกกระจาบธรรมดา ลินเนียสได้ให้คำพรรณนาสั้น ๆ และตั้งชื่อทวินาม Loxia philippina โดยอ้างอิงงานของ Brisson[8] ต่อมาพบว่า Brisson เข้าใจผิดว่าตัวอย่างนั้นมาจากฟิลิปปินส์ แต่แท้จริงมาจากศรีลังกา[9] ปัจจุบันนกกระจาบธรรมดาจัดอยู่ในสกุลนกกระจาบ (Ploceus) ที่นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส Georges Cuvier ในปี 1816[10]
นกมีชนิดย่อย 5 ชนิดดังต่อไปนี้[11]
- P. p. philippinus (ลินเนียส, 1766) – ปากีสถาน อินเดีย (ยกเว้นตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ) ศรีลังกา และเนปาลใต้
- P. p. travancoreensis (Ali & Whistler, 1936) – อินเดียตะวันตกเฉียงใต้
- P. p. burmanicus (Ticehurst, 1932) – ภูฏาน อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ บังกลาเทศ ผ่านพม่าไปจนถึงจีนตะวันตกเฉียงใต้
- P. p. angelorum (Deignan, 1956) – ไทยและลาวตอนใต้
- P. p. infortunatus (Hartert, 1902) – เวียดนามใต้ คาบสมุทรมลายู เกาะบอร์เนียวและสุมาตรา เกาะชวาและบาหลี
ลักษณะ
แก้นกกระจาบธรรมดามีขนาดเท่านกกระจอก (จากหัวถึงโคนหาง 15 ซม.) มีปากแข็งหนารูปกรวย มีหางสี่เหลี่ยมสั้น บินโฉบเหมือนนกแอ่น และบินตรงตามธรรมดา
มีสีขน 2 ชุด นอกฤดูผสมพันธุ์ ทั้งตัวผู้ตัวเมียมีสีขนไม่ต่างกัน ซึ่งคล้ายกับสีขนของนกกระจอกใหญ่ตัวเมีย ส่วนบนเป็นแถบน้ำตาลอ่อนสลับลายน้ำตาลเข้ม มีลายจากขอบขนสีอ่อน ส่วนล่างเป็นสีน้ำตาลอ่อนออกขาว ไร้ลาย มีแถบคิ้วยาวสีเหลืองส้มอ่อน ปากสีเนื้อ ข้างแก้มเรียบไม่มีแถบสีเข้ม ช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีสีเหลืองสดที่กระหม่อม หน้าผาก จนถึงท้ายทอย แก้มสีน้ำตาลเข้ม ปากออกน้ำตาลดำ ส่วนบนสีน้ำตาลเข้มสลับลายเหลืองจากขอบขน อกเหลือง ส่วนล่างสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเหลืองหม่น[12][13]
พฤติกรรมและนิเวศวิทยา
แก้เป็นนกที่ชอบอยู่เป็นฝูงหากิน เมล็ด พืช ทั้งบนไม้และบนพื้น บินต่อกันเป็นฝูง บ่อยครั้งเปลี่ยนทิศทางได้อย่างสลับซับซ้อน มักกินข้าวเปลือกและธัญพืชอื่น ๆ ในไร่นาที่เก็บแล้ว และบางครั้งสร้างความเสียหายแก่พืชเพาะปลูกที่กำลังโตได้ บางครั้งจึงจัดเป็นสัตว์รังควาน[14] นกกระจาบธรรมดานอนที่รังซึ่งทำจากหญ้า (กกและอ้อ) ใกล้น้ำ จึงต้องพึ่งหญ้าต่าง ๆ (เช่น Panicum maximum) ต้องพึ่งพืชเพาะปลูกเช่นข้าวทั้งเพื่อเป็นอาหาร (กินเมล็ดในระยะงอกและเมื่อเป็นเมล็ดในระยะต้น ๆ[15]) และเป็นวัสดุทำรัง ยังกินแมลง (เช่น ผีเสื้อ[16]) และบางครั้งแม้แต่กินกบเล็ก ๆ[17] จิ้งจก[18] และมอลลัสกาโดยเฉพาะเพื่อเลี้ยงลูก[19] การอพยพในแต่ฤดูขึ้นอยู่กับปริมาณอาหาร มักร้องต่อ ๆ กันเป็นเสียงจิ๊ด จิ๊ด จิ๊ด โดยตัวผู้ที่ร้องประสานเสียงกันบางครั้งยุติเป็นเสียงลั่นดัง จี๊ เสียงร้องในนอกฤดูผสมพันธุ์จะเบากว่า[20]
บางครั้งนกกระจาบธรรมดาลงมาที่พื้นเพื่ออาบฝุ่น[21] การศึกษานกที่เลี้ยงพบว่ามีลำดับชั้นทางสังคม (pecking order) ในแต่ละตัว[22]
การผสมพันธุ์
แก้นกผสมพันธุ์ในฤดูมรสุม[5] ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่เริ่มการผสมพันธุ์รวมทั้งระยะเวลาช่วงกลางวันโดยจบลงเมื่อถึงปลายฤดูร้อน ปกติหลังฤดูผสมพันธุ์ นกซึ่งได้รับอิทธิพลทางการผสมพันธุ์จากแสงอาทิตย์เกิดภาวะดื้อแสง (photorefractoriness) คือไม่ตอบสนองทางการผสมพันธุ์ต่อแสงแม้วันก็ยังยาวอยู่ นกในเขตอบอุ่นหมดภาวะนี้ก็ต่อเมื่อได้อยู่ในช่วงวันที่สั้น ๆ 4-6 เดือน แต่นกกระจาบธรรมดาหาเป็นเช่นนี้ไม่ เพราะภาวะนี้สามารถหมดไปได้เอง (spontaneous) ซึ่งเชื่อว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะทางนิเวศต่าง ๆ ได้ดีกว่า[23] นกมักทำรังเป็นหมู่โดยปกติมากถึง 20-30 รังใกล้ ๆ แหล่งอาหาร วัสดุทำรัง และน้ำ
นกรู้จักดีที่สุดเพราะตัวผู้ทำรังถักอย่างพิสดาร รังห้อยเช่นนี้มีรูปเป็นหลอดแก้วคอยาว (สำหรับกลั่นในห้องทดลอง) มีช่องรังอยู่ตรงกลาง โดยมีท่อต่อจากข้างช่องยาวเป็นแนวตั้งลงไปยังทางออกด้านล่าง รังถักด้วยเศษยาว ๆ จากใบข้าว ใบหญ้าหยาบ และใบของไม้วงศ์ปาล์ม (เช่นต้นมะพร้าว) ใบอาจยาวระหว่าง 20-60 ซม. ตัวผู้อาจต้องบินไปหาวัสดุถึง 500 ครั้งจนกว่าจะทำรังเสร็จ
นกใช้ปากที่แข็งแรงฉีกใบจากไม้วงศ์ปาล์มให้เป็นเศษยาว[24] แล้วนำมาถักและผูกทำรัง บ่อยครั้งห้อยเหนือน้ำ[25] บ่อยครั้งห้อยจากต้นอาเคเชียที่มีหนาม และบางครั้งจากสายโทรศัพท์[26][27][28][29][30] แม้นกชอบไม้หนาม แต่บางครั้งก็ใช้ต้นไม้ริมถนนในเขตเมือง[31] รังมักอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นไม้ ซึ่งเชื่อว่าช่วยป้องกันมรสุมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ แต่นกที่ผสมพันธุ์ทีหลังก็มีโอกาสสร้างรังในทิศอื่น ๆ ของต้นไม้มากกว่า[32]
รังที่ทิ้งแล้ว หนูเล็ก ๆ (เช่น Mus booduga)[33] และนกอื่น ๆ (เช่น Lonchura) อาจเข้าไปอยู่[34][35]
แม้รังโดยหลักสร้างเป็นหมู่ แต่ที่สร้างเดี่ยว ๆ ก็มีอยู่[36] รังบ่อยครั้งสร้างมาจากใบของต้นอาเคเชียหรือไม้วงศ์ปาลม์ (โดยหลักอินทผลัมไทย[37]) และห้อยอยู่เหนือน้ำโล่ง[22] นกตัวผู้อายุน้อย ๆ อาจลองสร้างรังตามหญ้า[38] ในพม่า นกบ่อยครั้งสร้างรังใต้ชายคาตึกและบ้าน แต่นี่ไม่สามัญในอินเดีย[39]
ตัวผู้ใช้เวลาประมาณ 18 วันเพื่อสร้างรังให้เสร็จ โดยรังระยะ "หมวก" เสร็จในประมาณ 8 วัน[40] รังสร้างเสร็จเป็นบางส่วนก่อนตัวผู้เริ่มแสดงให้ตัวเมียที่บินผ่านโดยกระพือปีกร้องเมื่อเกาะอยู่ที่รัง ตัวเมียตรวจดูรังแล้วแสดงการยอมรับกับตัวผู้เมื่อจับคู่แล้ว ตัวผู้สร้างรังให้เสร็จโดยเพิ่มปล่องทางเข้า ตัวผู้สร้างรังเองเกือบทั้งหมด แม้คู่ตัวเมียอาจช่วยแต่งบ้าง โดยเฉพาะข้างใน ตัวเมียอาจเปลี่ยนรังข้างในหรือเติมก้อนโคลน[41]
งานศึกษาหนึ่งพบว่า ที่ตั้งสำคัญกว่าโครงสร้างของรังเมื่อตัวเมียเลือกรังและคู่[42] เพราะชอบรังที่อยู่บนไม้สูงกว่า อยู่เหนือพื้นแห้ง และอยู่บนสาขาไม้เล็ก ๆ[43]
ทั้งตัวผู้ตัวเมียไม่ได้จับคู่เดียวตลอดชีวิต ตัวผู้อาจสร้างรังเป็นบางส่วนหลายรังแล้วเริ่มเกี้ยวตัวเมีย โดยทำรังให้เสร็จก็ต่อเมื่อหาคู่ได้ ตัวเมียวางไข่สีขาว 2-4 ใบแล้วฟักเป็นเวลา 14-17 วัน[44] ตัวผู้บางครั้งช่วยเลี้ยงลูก ลูกนกออกจากรังหลังจากประมาณ 17 วัน[20]
หลังจากผสมพันธุ์กับตัวเมีย ตัวผู้ปกติเกี้ยวตัวเมียอื่น ๆ ที่รังซึ่งสร้างไว้ส่วนหนึ่งในที่อื่น ๆ การออกไข่ให้นกตัวอื่น (พันธุ์เดียวกัน) ฟักแล้วเลี้ยงก็มีด้วยเหมือนกัน[45]
ลูกนกออกจากรังเมื่อยังมีขนลูกนก เปลี่ยนเมื่อสลัดขนหลังจากนั้นเมื่ออายุ 4-6 เดือน แล้วไปหาที่อยู่ใหม่ไม่ไกลจากรังเก่าโดยพบไกลจนถึง 2 กิโลเมตร[46] ตัวเมียพร้อมผสมพันธุ์ในปีถัดมา แต่ตัวผู้จะใช้เพียงครึ่งปีมา นกมักสลัดขนก่อนผสมพันธุ์ นกโตแล้วยังสลัดขนเป็นครั้งที่สองหลังผสมพันธุ์ ดังนั้นจึงสลัดขนสองครั้งต่อปี[47] งานศึกษาทางมิญชเคมี (histochemical) พบเมทาบอลิซึมของลิพิดที่สูงขึ้นที่ยอดหัวตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์สันนิษฐานว่า ลิพิดมีส่วนในการขนส่งสารสีแคโรทีนอยด์สีเหลืองไปที่ยอดศีรษะ แล้วสลายหลังฤดูผสมพันธุ์[48]
เพราะรังห้อยจากไม้มีหนามและเหนือน้ำ จึงกันสัตว์ล่าเหยื่อหลายอย่างได้ แต่การถูกกาล่าก็เป็นเรื่องปกติ ไข่ทั้งหมดอาจถูกกินโดยกิ้งก่าเช่นกิ้งก่าสวน[44] หรือโดยสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู Vandeleuria oleracea ซึ่งอาจยึดรังเลยก็ได้[22] นกกระติ๊ด เช่น Euodice malabarica ก็อาจยึดรัง[49]
-
รังห้อยจากใบต้นปาลม์ (สกุลฟีนิกซ์)
-
รังห้อยอยู่เหนือน้ำ
-
นกสปีชีส์ย่อย burmanicus ตัวผู้อยู่ที่รังยังสร้างไม่เสร็จในระยะ "หมวก" ยังไม่ทำปล่องทางเข้า
-
รังห้อยบนต้นตาล
-
นกสปีชีส์ย่อย burmanicus ตัวเมียกำลังเลี้ยงลูก
-
นกกระติ๊ดตะโพกขาว (Lonchura striata) ใช้รังนกที่ทิ้งแล้ว
วัฒนธรรม
แก้อินเดียมีความเชื่อพื้นบ้านว่า นกติดหิ่งห้อยกับโคลนที่ฝารังเพื่อทำแสงไฟในช่วงกลางคืน[50] แม้ดินเหนียวก็พบในรังนกด้วยเหมือนกัน ตัวผู้อาจเติมก้อนโคลนและมูลสัตว์ในช่องรังก่อนจับคู่กับตัวเมีย[50] ซึ่งอาจช่วยต้านลม[51]
ในกาลก่อน เคยฝึกนกให้เล่นแสดง มันสามารถคาบวัตถุขึ้นได้ตามคำสั่ง[52] อาจฝึกให้ยิงปืนใหญ่เด็กเล่น ร้อยลูกปัด เก็บเหรียญหรือวัตถุอื่น ๆ ตามนักสัตววิทยาชาวอังกฤษผู้หนึ่ง (Edward Blyth 1810-1873) "แท้จริงแล้ว นกกระจาบธรรมดาที่ฝึกแล้วความสามารถที่มหัศจรรย์มาก และต้องเห็นจึงเชื่อ สันนิษฐานว่านักแสดงได้นำนกไปทั่วประเทศ (อินเดีย) และการเล่นปกติอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อมีสตรีและได้สัญญาณจากเจ้าของ นกจะคาบของหวานไว้ในปาก แล้ววางใส่ปากของผู้หญิง และทำอย่างนี้สำหรับสตรีทุก ๆ คน โดยทำตามสัญญาณตาและทีท่าของเจ้าของ แล้วนำปืนใหญ่จำลองออกมา ซึ่งนกบรรจุด้วยดินปืนหยาบ ๆ ..." นักธรรมชาตินิยมชาวอังกฤษผู้หนึ่ง (Robert Tytler 1818-1872) ได้เห็นการแสดงที่นกหมุนไม้เล็ก ๆ ติดไฟที่ข้างทั้งสองเหนือหัวตนเอง[53]
นกนักเล่นแสดงได้บันทึกไว้ตั้งแต่สมัยของจักรพรรดิอักบัร (1542-1605) แห่งจักรวรรดิโมกุลแล้ว คือ
นกกระจาบธรรมดาเหมือนกับนกกระจอกป่าแต่สีเหลือง ฉลาดมาก เชื่อฟัง และเชื่อง มันนำเหรียญจากมือไปให้เจ้าของ มาจากที่ไกล ๆ เมื่อเรียก รังของมันสร้างอย่างแยบยลเทียบได้กับช่างฝีมือ[54]
พุทธศาสนา
แก้คัมภีร์พุทธศาสนากล่าวถึงนกกระจาบไว้หลายแห่ง ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
ในสัมโมทมานชาดก (ชาดกว่าด้วยความพร้อมเพรียงกัน) พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
นกทั้งหลายพร้อมเพรียงกันพากันเอาข่ายไป เมื่อใด พวกมันทะเลาะกัน เมื่อนั้น พวกมันจักตกอยู่ในอำนาจของเรา
พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ชาดกนี้กล่าวเพื่อปรารภเหตุการณ์ที่พระญาติฝ่ายเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองโกลิยะทะเลาะกันเพราะเหตุแห่งน้ำ เป็นการแสดงโทษของการทะเลาะวิวาทและประโยชน์ของความพร้อมเพรียงกัน เรื่องในชาดกคือพระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกกระจาบ ออกอุบายชักชวนให้หมู่นกพร้อมเพรียงกันยกตาข่ายที่ทอดลงบนฝูงนกขึ้น บินไปที่อื่นพร้อมกับตาข่าย พาดตาข่ายไว้บนไม้มีหนามแล้วหนีออกจากส่วนล่างของตาข่ายได้ นายพรานผู้จับนกไม่ได้จึงได้กล่าวกับภรรยาของตนตามพุทธพจน์นี้ ภายหลัง นกเริ่มทะเลาะวิวาทกันเพราะการเหยียบหัวกันอย่างไม่ได้ตั้งใจ ต่อมาลุกลามจนไม่สามารถพร้อมเพรียงกันยกตาข่ายหนีนายพรานไปได้ จึงถูกนายพรานจับขายเพื่อนำไปเลี้ยงชีพอีก[55]
ในวัฏฏกชาดก พระพุทธองค์ตรัสว่า
บุรุษเมื่อไม่คิดก็ย่อมไม่ได้ผลพิเศษ ท่านจงดูผลแห่งอุบายที่เราคิดเถิด เราพ้นจากการถูกฆ่าและจองจำก็ด้วยอุบายนั้น
พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ชาดกนี้กล่าวในเหตุการณ์ที่บุตรคหบดีปรารภทุกข์เพราะถูกปรักปรำว่าทำผิดเนื่องกับการอยู่ครองเรือน ภายหลังออกบวชบรรลุเป็นพระอรหันต์จึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นการชี้ว่าเมื่อมีทุกข์แล้วควรคิดถึงอุบายแล้วทำตามเพื่อให้พ้นออกจากทุกข์ เรื่องในชาดกคือพระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกกระจาบ ถูกจับพร้อมกับฝูงนก จึงออกอุบายไม่กินข้าวให้ซูบผอมทำให้นายพรานขายไม่ได้ ต่อมานายพรานนำออกจากกรงวางบนมือเพื่อตรวจดูว่านกเป็นเช่นไร รู้ว่านายพรานเผลอจึงบินหนีไปได้ ภายหลังนกโพธิสัตว์เล่าเหตุการณ์นี้ให้นกอื่นฟังแล้วกล่าวคาถานี้[56]
ในอรรถกถาซึ่งอธิบายปัจเจกพุทธาปทาน (สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน) พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า พระโพธิสัตว์ผู้ได้รับพยากรณ์ว่าจะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เกิดด้วยฐานะอันไม่ควร 18 อย่างรวมทั้งเกิดเป็นสัตว์เล็กกว่านกกระจาบ คือ
จำเดิมแต่สำเร็จอภินิหารแล้ว พระโพธิสัตว์นั้นไม่เป็นคนบอด ไม่เป็นคนหนวกมาแต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนบ้า ๑ ไม่เป็นคนใบ้ ๑ ไม่เป็นง่อยเปลี้ย ไม่เกิดขึ้นในหมู่คนมิลักขะคือคนป่าเถื่อน ๑ ไม่เกิดในท้องนางทาสี ๑ ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิคือคนมีมิจฉาทิฏฐิอันดิ่ง ๑ ท่านจะไม่กลับเพศ ๑ ไม่ทำอนันตริยกรรมห้า ๑ ไม่เป็นคนมีโรคเรื้อน ๑ ในกำเนิดดิรัจฉานจะไม่มีร่างกายเล็กกว่านกกระจาบ จะไม่ใหญ่โตกว่าช้าง ๑ จะไม่เกิดขึ้นในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌามตัณหิกเปรต ๑ จะไม่เกิดขึ้นในพวกกาลกัญชิกาสูร ๑ ไม่เกิดในอเวจีนรก ๑ ไม่เกิดในโลกันตนรก ๑ อนึ่ง จะไม่เป็นมาร ๑ ในชั้นกามาวจรทั้งหลาย ในชั้นรูปาวจรทั้งหลาย จะไม่เกิดในอสัญญีภพ ๑ ไม่เกิดในชั้นสุทธาวาส ๑ ไม่เกิดในอรูปภพ ไม่ก้าวล้ำไปยังจักรวาลอื่น ๑
— วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาอปทาน[57]
นอกจากนั้นยังกล่าวถึงนกกระจาบไว้ในที่อื่น ๆ รวมทั้ง
- วัฏฏกชาดก (อีกชาดกหนึ่ง) - กล่าวถึงความสันโดษ มักน้อย และรู้ประมาณในอาหาร[58]
- กล่าวถึงนกต่าง ๆ รวมทั้งนกกระจาบในกุณาลชาดก[59] ในเวสสันดรชาดก มหาวนวรรณนา[60]
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ BirdLife International (2012). "Ploceus philippinus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2013.
- ↑
"กระจาบ", พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒,
น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Ploceidae มี ๓ ชนิด คือ กระจาบธรรมดา หรือ กระจาบอกเรียบ (Ploceus philippinus) กระจาบอกลาย (P. manyar) ทำรังด้วยหญ้าห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรือพืชน้ำ ปากรังอยู่ด้านล่าง และกระจาบทอง (P. hypoxanthus) ทำรังด้วยหญ้า โอบหุ้มกิ่งไม้หรือใบพืชน้ำ ปากรังอยู่ด้านล่าง มักอยู่รวมกันเป็นหมู่ กินเมล็ดพืช.
- ↑ 3.0 3.1 "สัตว์ป่าคุ้มครอง". โลกสีเขียว. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2015.
- ↑ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (2003). "บัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง 2546". มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2017.
- ↑ 5.0 5.1 Rasmussen, P.C. & Anderton, J.C. (2005). The Birds of South Asia. The Ripley Guide. Volume 2. Smithsonian Edition and Lynx Edicions. p. 579.
- ↑ Brisson, Mathurin Jacques (1760). Ornithologie, ou, Méthode contenant la division des oiseaux en ordres, sections, genres, especes & leurs variétés (ภาษาฝรั่งเศส และ ละติน). Vol. 3. Paris: Jean-Baptiste Bauche. pp. 232–235, Plate 12 fig 1. The two stars (**) at the start of the section indicates that Brisson based his description on the examination of a specimen.
- ↑ 7.0 7.1 Allen, J.A. (1910). "Collation of Brisson's genera of birds with those of Linnaeus". Bulletin of the American Museum of Natural History. 28: 317–335. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2019.
- ↑ Linnaeus, Carl (1766). Systema naturae : per regna tria natura, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาละติน). Vol. 1 (12th ed.). Holmiae (Stockholm): Laurentii Salvii. pp. 305–306.
- ↑ Mayr, Ernst; Greenway, James C. Jr, บ.ก. (1962). Check-list of birds of the world. Vol. 15. Cambridge, Massachusetts: Museum of Comparative Zoology. p. 53.
- ↑ Cuvier, Georges (1816). Le Règne animal distribué d'après son organisation : pour servir de base a l'histoire naturelle des animaux et d'introduction a l'anatomie comparée (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. 1. Paris: Déterville. p. 383.
- ↑ Gill, Frank; Donsker, David, บ.ก. (2018). "Old World sparrows, snowfinches, weavers". World Bird List Version 8.1. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2018.
- ↑ Salim, Ali (2002). The Book of Indian Birds (Third ed.). Oxford University Press. pp. 64, 283. ISBN 0-19-566523-6.
- ↑ "นกกระจาบ ราชาแห่งนกสานรัง". ปศุสัตว์.คอม. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2019. อ้างอิง
- วันชัย สุขเกษม (2014). การพัฒนาสื่อการสอน (พิพิธภัณฑ์ในกล่อง) เรื่องนกกระจาบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย.
- ↑ Sengupta, S (1974). "The Common Baya (Ploceus philippinus) - a serious pest of agriculture". Current Science. 43 (4): 24–125.
- ↑ Ali, Mir Hamid; Singh, T.G. Manmohan; Banu, Aziz; Rao, M. Anand; Janak, A.T. Sainath (1978). "Observations on the food and feeding habits of Baya Weaver Ploceus philippinus". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 75: 1198–1204.
- ↑ Ambedkar, V. C. (1972). "The Baya [Ploceus philippinus (Linn.)] feeding nestlings with butterflies". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 69 (3): 653–654.
- ↑ George, N.J. (1973). "Baya (Ploceus philippinus) feeding on frogs". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 70 (2): 381–382.
- ↑ Varu, SN (2002). "Food habits of the Baya Weaver Ploceus philippinus (Linn.)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 99 (2): 320.
- ↑ Mukherjee, A.K.; Saha, B.C. (1974). "Study on the stomach contents of Common Baya, Ploceus philippinus (Linnaeus)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 71 (2): 308.
- ↑ 20.0 20.1 Ali, S & Ripley, SD (1999). Handbook of the birds of India and Pakistan. Vol. 10 (2nd ed.). Oxford University Press. pp. 92–97. ISBN 0-19-562063-1.
- ↑ Ganguli, Usha (1968). "Dust bathing by Common Baya (Ploceus philippinus)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 65 (3): 780.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 Crook, John Hurrell (1960). "Studies on the reproductive behaviour of the Baya Weaver". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 57 (1): 1–44.
- ↑ Bisht, M.; Chandola-Saklani, A. (1992). "Short-day experience is not a preprequisite for the termination of photorefractoriness in the reproductive cycle of Baya Weaver, Ploceus philippinus". Journal of Biosciences (Bangalore). 17 (1): 29–34. doi:10.1007/BF02716770.
- ↑ Davis, T.A. (1985). "Palms are preferred hosts for Baya Weaverbird colonies". Principes. 29: 115–123.
- ↑ Borkar, M.R.; Komarpant, N. (2003). "Observations on the nesting ecology of Baya Weaver bird (Ploceus philippinus, Linn.) in South Goa, with notes on aberrant nest designs Ecology". Environment and Conservation. 9 (2): 217–227. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-21. สืบค้นเมื่อ 2019-08-17.
- ↑ Davis, T. Antony (1974). "Selection of nesting trees and the frequency of nest visits by Baya weaverbird". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 71 (3): 356–366.
- ↑ Venkataramani, K (1981). "Nests of Weaver Birds on telegraph wires". Newsletter for Birdwatchers. 21 (9–10): 18.
- ↑ Subramanya, S (1982). "Baya nests on telegraph wires". Newsletter for Birdwatchers. 22 (3–4): 6–7.
- ↑ Ambedkar, V.C. (1969). "Nests of the Baya, Ploceus philippinus (Linnaeus) on telegraph wires". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 66 (3): 624.
- ↑ Kirkpatrick, K.M. (1952). "Baya (Ploceus philippinus Linn.) nests on telegraph wires". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 50 (3): 657.
- ↑ Gupta, K.K. (1995). "A note on Baya, Ploceus philippinus nesting on Krishnachuda (Delonix regia) tree". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 92 (1): 124–125.
- ↑ Sharma, Satish Kumar (1990). "Orientation of nest colonies by Baya Weaver Birds". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 87 (3): 454–455.
- ↑ Akhtar, S Asad; Tiwari, JK (1992). "Brood of the Indian Field Mouse Mus booduga in an abandoned Baya nest". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 89 (2): 245.
- ↑ Mishra, Veer Vaibhav (2001). "Munias accept abandoned nest of Baya". Newsletter for Birdwatchers. 41 (1): 13.
- ↑ Regupathy, D.; Davis, T.A. (1984). "Mouse, a nest-parasite of Baya Weaver Bird (Ploceus philippinus L.)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 81 (1): 200–202.
- ↑ Pandey, Deep Narayan (1991). "Nest site selection by Baya Ploceus philippinus (Linn.)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 88 (3): 458.
- ↑ Sharma, Satish Kumar (1989). "Host plants used by Baya Weaver Bird Ploceus philippinus (L.) for nesting in Udaipur District, Rajasthan". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 86 (3): 453–454.
- ↑ Abdulali, Humayun; Ambedkar, V. C. (1984). "Some notes on the breeding of the Common Baya (Ploceus philippinus)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 81 (3): 701–702.
- ↑ Davis, T.A. (1971). "Baya Weaverbird nesting on human habitations". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 68 (1): 246–248.
- ↑ Asokan, S.; Mohamed Samsoor; Ali A.; Nagarajan, R. (2008). "Studies on nest construction and nest microclimate of the Baya weaver, Ploceus philippinus (Linn.)". Journal of Environmental Biology. 29 (3): 393–396. PMID 18972698.
- ↑ Ali, S. (1931). "The nesting habits of the Baya (Ploceus philippinus)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 34 (4): 947–964.
- ↑ Quader, Suhel (เมษายน 2006). "What makes a good nest? Benefits of nest choice to female Baya weavers (Ploceus philippinus)". The Auk. Oxford University Press. 123 (2): 475–486. JSTOR 4090676.
- ↑ Quader, Suhel (2003). "Nesting and Mating Decisions and their Consequences in the Baya Weaverbird Ploceus philippinus" (PDF). Ph.D. Dissertation. University of Florida. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2012.
- ↑ 44.0 44.1 Ali, Salim; Ambedkar, Vijaykumar C (1957). "Further notes on the Baya Weaver Bird Ploceus philippinus Linn". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 54 (3): 491–502.
- ↑ Dhindsa, M.S. (1990). "Intraspecific brood parasitism in the Baya Weaverbird (Ploceus philippinus)". Bird Behavior. 8 (2): 111–113. doi:10.3727/015613890791784326.
- ↑ Mathew, D.N. (1972). "The ecology of the Baya in Rajampet, Cuddapah Dt., Andhra Pradesh". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 69 (1): 188–191.
- ↑ Mathew, D.N. (1977). "Moult in the Baya Weaver Ploceus philippinus Linnaeus". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 74 (2): 233–245.
- ↑ Narasimhacharya, A. V. R. L.; Kotak, V. C. (1989). "Histochemical observations on the crown skin of male baya: Lipids, lipase and phosphomonoesterases". J. Biosci. 14 (4): 385–390. doi:10.1007/BF02703424.
- ↑ Dhindsa, M. S.; Sandhu, P. S. (1988). "Response of the Baya Weaverbird (Ploceus philippinus) to eggs of the White-throated Munia (Lonchura malabarica) : relation to possible incipient brood parasitism". Zool. Anz. 220: 216–222.
- ↑ 50.0 50.1 Davis, T. Antony (1973). "Mud and dung plastering in Baya nests". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 70 (1): 57–71.
- ↑ Wood, C. A. (1926). "The nest of the Baya weaver bird" (PDF). The Auk. 43 (3): 295–302. doi:10.2307/4075422.
- ↑ Khan, At'har Ali (1799). "On the Baya, or Indian Gross-beak". Asiatic Researches. 2: 109–110.
- ↑ Duncan, Peter Martin, บ.ก. (1894). Cassell's Natural History. Volume IV. London: Cassell and Company. p. 103.
- ↑ Yule, Henry (1903). Crooke, William (บ.ก.). Hobson-Jobson: A glossary of colloquial Anglo-Indian words and phrases, and of kindred terms, etymological, historical, geographical and discursive (New ed.). J. Murray, London.
- ↑ 55.0 55.1 "พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๑ สัมโมทมานชาดก", E-Tipitaka 3.0.7, 2018
- ↑ 56.0 56.1 "พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕๖ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๒ วัฏฏกชาดก", E-Tipitaka 3.0.7, 2018
- ↑ "พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๗๐ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๘ ภาคที่ ๑ ปัจเจกพุทธาปทาน (อปทานที่ ๒)", E-Tipitaka 3.0.7, 2018
- ↑ "พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕๙ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๕ วัฏฏกชาดก", E-Tipitaka 3.0.7, 2018
- ↑ "พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๖๒ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๑ กุณาลชาดก", E-Tipitaka 3.0.7, 2018
- ↑ "พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๖๔ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๓ เวสสันดรชาดก", E-Tipitaka 3.0.7, 2018
อ้างอิงอื่น ๆ
แก้- โอภาส ขอบเขตต์, รศ. คู่มือดูนกหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 1.
- Alexander, Horace (1972) Nest building of the Baya Weaver Bird. Newsletter for Birdwatchers . 12(9) :12.
- Ali, Salim; Ambedkar, Vijaykumar C. (1956). "Notes on the Baya Weaver Bird, Ploceus philippinus Linn". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 53 (3): 381–389.
- Ambedkar, V.C. (1978). "Abnormal nests of the Baya Weaver Bird Ploceus philippinus (Linn.)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 75 (Supplement): 1205–1211.
- Ambedkar, V. C. (1958). "Notes on the Baya: Breeding season 1957". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 55 (1): 100–106.
- Anon. (1981) Multiple Baya nests. Newsletter for Birdwatchers . 21(1) :2-4.
- Davis, T. A. (1985). ""Blind" or "closed" nests of Baya Weaverbird". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 82 (3): 658–660.
- Davis, T. A. (1966) Nesting Behaviour of the Baya (Ploceus philippinus, L.). (Technical Report No. Nat 4/66.) Research and Training School, Indian Statistical Institute, Calcutta. 28 pages.
- Dewar, Douglas (1909). "The nesting habits of the Baya". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 19 (3): 627–634.
- Khacher, Lavkumar (1977). "Note on the Baya Weaver bird Ploceus philippinus (Linn.)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 74 (3): 533.
- Mathew,DN (1971) Ecology and biology of the Baya Weaver Bird Ploceus philippinus. Ph.D. Dissertation, University of Bombay, Bombay.
- Mohan, D. (1991) Common baya weaver bird - nest building habits. Newsletter for Birdwatchers . 31(9-10) :2-4.
- Punde, A.B. (1912). "Migration of the Baya (Ploceus baya)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 21 (2): 675–676.
- Serrao, J.S. (1971) Nesting of the Baya Weaver Bird Ploceus philippinus. Newsletter for Birdwatchers . 11(10) :11.
- Sharma, S.K. (1995) Nests of Baya used as filling fibre in southern Rajasthan. Newsletter for Birdwatchers . 35(3) :57-58.
- Sharma, Satish Kumar (1987). "Host plants used by Baya Weaver Bird (Ploceus philippinus Linn.) for nesting in eastern Rajasthan (Breeding period 1982)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 84 (1): 218–220.
- Sharma, Satish Kumar (1988). "Buttressed nests of Baya Weaver Bird Ploceus philippinus (Linn.)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 85 (2): 432.
- Sharma, Satish Kumar (1985) A study of qualitative aspect of abnormal nesting in Baya Weaver Bird the Ploceus philippinus and P. benghalensis. J. Southern Forest Ranger's College 61:50-54.
- Sharma, Satish Kumar (1991). "Nests of Baya Weaver Birds Ploceus philippinus and wintering Arthropods". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 88 (2): 289–290.
- Sharma, Satish Kumar (1995). "A study of abnormal nests of Baya Weaver Bird Ploceus philippinus (Linn.) in Rajasthan". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 92 (1): 67–76.
- Sidhartha, D. (1981) Baya nests in October. Newsletter for Birdwatchers . 21(1) :8.
- Singh, T. G. M. (1980) An observation on the behaviour of Indian Baya (Ploceus phillipinus) in captivity during solar eclipses. Mayura 1(2) :20-21.
- Stairmand, D.A. (1971) Pre-monsoon breeding of the Baya Ploceus philippinus. Newsletter for Birdwatchers . 11(9) :12.
- Thapliyal, J. P.; Tewary, P. D. (1964) Effect of light on the pituitary, gonad and plumage pigmentation in the Avadavat (Estrilda amandava) and Baya Weaver (Ploceus philippinus). Proc. Zool. Soc. London 142, 67-71.
- Vardhani, B. P.; Rao, P. S.; Srimannarayana,G. (1992) The efficacy of certain plant extracts as repellents against House Sparrow, Passer domesticus and Baya Weaver Bird Ploceus philippinus. J. Appl. Zool. Res. 3(2) :193-194.
- Letitia Landon refers to the baya in 'Kishen Kower' from 'The Zenana' - "And the hues of the bayas like sunbeams combined;" She describes them in a note as 'Small crested sparrows, with bright yellow breasts'.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ploceus philippinus ที่วิกิสปีชีส์
- Baya weaver media ที่ the Internet Bird Collection