นกกระจอกใหญ่
นกกระจอกใหญ่ | |
---|---|
เพศผู้ในออสเตรเลีย | |
เพศเมียในอังกฤษ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Passeriformes |
อันดับย่อย: | Passeri |
วงศ์: | Passeridae |
สกุล: | Passer |
สปีชีส์: | P. domesticus |
ชื่อทวินาม | |
Passer domesticus (Linnaeus, 1758) | |
ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ (สีเขียวเข้ม) และถูกนำเข้าไป (สีเขียวอ่อน) | |
ชื่อพ้อง | |
|
นกกระจอกใหญ่ (อังกฤษ: House Sparrow) เป็นนกจับคอนในวงศ์นกกระจอก มีชื่อต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น English Sparrow, Indian Sparrow, และ Spatzie หรือ Spotsie ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติส่วนใหญ่อยู่ในแถบยุโรปบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและในเอเชียบางส่วน มีการนำนกเข้าสู่พื้นที่ในหลายๆส่วนบนโลกทั้งแบบตั้งใจหรือเป็นอุบัติเหตุ ทำให้นกกระจอกใหญ่มีการกระจายพันธุ์เกือบทั่วโลก มันสามารถปรับตัวเข้ากับถิ่นอาศัยของมนุษย์ได้ง่าย นกกระจอกใหญ่เป็นนกขนาดเล็กตัวอ้วนกลม มีสีขนน้ำตาลถึงเทา
ลักษณะ
แก้นกกระจอกใหญ่เป็นนกอ้วนกลม[2] ปกติมีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 16 ซม.[3] หรืออยู่ในช่วง 14-18 ซม. มีหัวกลมใหญ่ หางสั้น ปากหนา[2] มีน้ำหนัก 24-39.5 กรัม[4] ขึ้นอยู่กับเพศ ซึ่งโดยปกติเพศเมียมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้[4] นกวัยอ่อนจะมีขนาดเล็กกว่า เพศผู้จะตัวใหญ่ขึ้นในฤดูหนาว เพศเมียจะตัวใหญ่ขึ้นในฤดูผสมพันธุ์[5] ขึ้นอยู่กับชนิดย่อย และสิ่งแวดล้อม[5]
นกเพศผู้มีขนคลุมหลังไหล่สีน้ำตาลมีลายดำ ส่วนหลังตอนล่าง ตะโพกและหางสีน้ำตาลแกมเทา กระหม่อมสีเทาค่อนข้างเข้ม ขณะที่แก้มและขนคลุมลำตัวด้านล่างเป็นสีเทาอ่อนกว่า บริเวณระหว่างปากจนถึงตา ตา คอและขนคลุมอกส่วนบนสีดำ ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ปากจะเป็นสีดำ แต่นอกฤดูผสมพันธุ์จะเป็นสีเนื้อๆและขนอกส่วนบนที่เป็นสีดำสนิทจะจางลง นกเพศเมียมีขนคลุมลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีคิ้วสีเนื้อ ปากสีเนื้อ คล้ายนกกระจอกตาลเพศเมีย[6] แต่มีลายขีดสีน้ำตาลจางๆที่หลัง
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
แก้นกชนิดนี้มีแหล่งกำเนิดในตะวันออกกลางและกระจายออกไปพร้อมๆกับการเกษตรไปยังส่วนใหญ่ของยูเรเชีย และบางส่วนของอาฟริกาเหนือ[7] ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 นกก็กระจายตัวอยู่เกือบทั่วโลก ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มนุษย์นำเข้าไปอย่างตั้งใจ และยังมีจากการเดินทางของนกเองตามธรรมชาติ[8] นกกระจอกใหญ่ถูกนำเข้าไปยังทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ อาฟริกาใต้ บางส่วนของอาฟริกาตะวันตก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาะต่างๆทั่วโลก จัดเป็นนกในธรรมชาติที่มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางมากที่สุดในโลก ในบางที่นกชนิดนี้กลายเป็นสัตว์รบกวน และไปรุกรานนกเจ้าถิ่นจนแทบสูญพันธุ์
อ้างอิง
แก้- ↑ BirdLife International (2008). "Passer domesticus." เก็บถาวร 2010-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2008 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2008.
- ↑ 2.0 2.1 "House Sparrow". All About Birds. Cornell Lab of Ornithology. สืบค้นเมื่อ 24 November 2009.
- ↑ Summers-Smith 1988, pp. 116–117
- ↑ 4.0 4.1 Clement, Harris & Davis 1993, p. 446
- ↑ 5.0 5.1 Summers-Smith 1988, pp. 118–121
- ↑ หมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย ISBN 978-974-619-181-4
- ↑ Anderson 2006, pp. 5, 9–12
- ↑ Summers-Smith 1988, pp. 129–137, 280–283
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Passer domesticus ที่วิกิสปีชีส์
- House Sparrow at All About Birds
- House Sparrow at ARKive เก็บถาวร 2011-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- House Sparrow at Royal Society for the Protection of Birds
- House Sparrow at the Internet Bird Collection
- Guide to House Sparrow ageing and sexing เก็บถาวร 2011-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Indian Sparrow เก็บถาวร 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and House Sparrow เก็บถาวร 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Birds of Kazakhstan