ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย หรือ สนามบินเชียงราย (อังกฤษ: Mae Fah Luang – Chiang Rai International Airport) (IATA: CEIICAO: VTCT) ตั้งอยู่เลขที่ 404 หมู่ 10 ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ห่างจากถนนพหลโยธิน (เชียงราย - แม่จัน) ทางทิศตะวันออกประมาณ 2.6 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองเชียงราย ประมาณ 8 กิโลเมตร โดยมีเส้นทางหลักคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1418 มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 3,042 ไร่ เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[1] และเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 1 ใน 6 แห่ง ที่บริหารงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสนามบินพาณิชย์ / ศุลกากร
ผู้ดำเนินงานบมจ.ท่าอากาศยานไทย / สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)
พื้นที่บริการจังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา
ที่ตั้งเลขที่ 404 หมู่ 10 ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
ฐานการบินไทยเวียดเจ็ทแอร์
ไทยแอร์เอเชีย
ผู้บัญชาการสมชนก เทียมเทียบรัตน์
เหนือระดับน้ำทะเล1,280 ฟุต / 390 เมตร
พิกัด19°57′08″N 99°52′58″E / 19.95222°N 99.88278°E / 19.95222; 99.88278
เว็บไซต์chiangrai.airportthai.co.th
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
03/21 9,843 3,000 ยางมะตอย
สถิติ (2562)
ผู้โดยสาร2,928,884
เที่ยวบิน20,128
แหล่งข้อมูล: https://www.airportthai.co.th/
ภายในอาคารท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

ข้อมูลทั่วไป

แก้

ท่าอากาศยานเชียงรายเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2535 สังกัดกรมการบินพาณิชย์ (บพ.) กระทรวงคมนาคม ใช้ชื่อว่า "สนามบินบ้านดู่"[2] ต่อมา บพ.ได้ถูกโอนมาขึ้นอยู่กับการบริหารของ "การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และ "การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามแนวนโยบายของรัฐบาล ภายใต้ชื่อ "บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.)” เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 ถึงปัจจุบัน[3]

ต่อมา คณะกรรมการ ทอท. มีมติเห็นชอบให้เพิ่มชื่อท่าอากาศยานเชียงรายเป็น ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดีที่มีต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตามที่ได้มีการร้องขอจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในจังหวัดเชียงราย ดังนั้น ทอท. จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา[4]

ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เป็นสนามบินที่มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคนต่อปี และสามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่ เช่น Boeing 777, Boeing 787, Airbus A330 series, Airbus A340 series และอากาศยานขนาดใหญ่มาก เช่น Boeing 747 series ในอดีต บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เคยนำเครื่องบินขนาดใหญ่แบบ แอร์บัส เอ340 Airbus A340-642 และขนาดใหญ่มากแบบ Boeing 747 ทำการบินจาก ท่าอากาศยานดอนเมือง ไป-กลับ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย อีกด้วย

ปัจจุบันมีสายการบินให้บริการที่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย จำนวน 6 สายการบิน แบ่งเป็นเส้นทางภายในประเทศ 5 สายการบิน (สายการบิน การบินไทย, ไทยเวียดเจ็ทแอร์, ไทยไลออนแอร์, ไทยแอร์เอเชีย, และสายการบินนกแอร์) และระหว่างประเทศ 1 สายการบิน ได้แก่แอร์เอเชีย

โดยตารางบินข้างต้นอาจเพิ่มหรือลดได้ตามตารางบินของสายการบินนั้น ทั้งนี้ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงรายมีศักยภาพพร้อมที่จะรองรับสายการบินระหว่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการค้าและเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย

Boeing 737 ของสายการบินนกแอร์ ที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

รายชื่อสายการบิน

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
ภูเก็ต ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทเป-ไถหนาน (เช่าเหมาลำ 1 เที่ยวบิน/เดือน) ระหว่างประเทศ
แอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์ ระหว่างประเทศ
 
ภายในอาคารท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
 
ภายนอกอาคารท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

เส้นทางบินที่เคยให้บริการ

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
การบินไทย ดอนเมือง,เชียงใหม่
แองเจิลแอร์ไลน์ ดอนเมือง
ภูเก็ตแอร์ไลน์ ดอนเมือง
วัน-ทู-โก ดอนเมือง
โอเรียนต์ไทยแอร์ไลน์ ดอนเมือง
นกมินิ เชียงใหม่
กานต์แอร์ เชียงใหม่
สายการบินทีเวย์ อินชอน (Chartered Flight)
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ คุณหมิง
ไทยแอร์เอเชีย สุวรรณภูมิ,ภูเก็ต,หาดใหญ่,มาเก๊า,สิงคโปร์,กัวลาลัมเปอร์,เซินเจิ้น
ฮ่องกงเอ็กซเพรส ฮ่องกง
ไห่หนานแอร์ไลน์ ไหโข่ว
เป่ยจิงแคปิตอลแอร์ไลน์ ไหโข่ว
บางกอกแอร์เวย์ สุวรรณภูมิ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ อุดรธานี,หาดใหญ่
ไทยไลอ้อนแอร์ ฉางชา
รุ่ยลี่แอร์ไลน์ เชียงรุ่ง
เสฉวนแอร์ไลน์ เฉิงตู
ไทยสมายล์ สุวรรณภูมิ

สถิติ

แก้
ข้อมูลการจราจรในแต่ละปีปฏิทิน
ปี (พ.ศ.) ผู้ใช้บริการ (คน) เปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน
2551 682,512
2552 718,536   05.28%
2553 726,127   01.06%
2554 818,163   12.67% 5,819
2555 986,436   20.57%
2556 1,089,202   10.42%
2557 1,291,708   18.59% 10,029
2558 1,639,829   26.98% 12,799
2559 2,059,675   21.74% 14,590
2560 2,503,375   21.51% 17,661
2561 2,867,289   14.54% 20,072
2562 2,928,884   02.15% 20,128
2563 1,513,047   51.66% 12,126
2564 710,408   53.06% 9,337
2565 1,686,726   137.43% 11,920
2566 1,920,228   13.84% 12,485
ม.ค.-ก.ค. 2567 1,115,134   0.94% 7,017
ที่มา: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)[5]

ข้อมูลจำเพาะของท่าอากาศยาน

แก้
  • ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ตั้งอยู่ละติจูดที่ 19 องศา 57 ลิปดา 8 ฟิลิปดาเหนือ ลองติจูด 99 องศา 52 ลิปดา 59 ฟิลิปดาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,279 ฟุต หรือ 390.23 เมตร
  • เปิดบริการ 24 ชั่วโมง.

ทางวิ่งอากาศยาน (RUN WAY)

แก้

ทางวิ่งมีหนึ่งเส้นทาง เป็นแอสฟัลติกคอนกรีตในทิศทาง 03/21 ค่าความแข็งของพื้นผิวทางวิ่ง PCN 84/F/D/X/T มีความยาว 3,000 เมตร กว้าง 45 เมตร ไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และ STOP WAY ปลายทางวิ่งทั้ง 2 ด้าน ยาวด้านละ 60 เมตร[6] สามารถรองรับอากาศยาน CODE E (กางปีกตั้งแต่ 52 เมตร ไม่เกิน 65 เมตร ฐานล้อหลักกว้างตั้งแต่ 9 ถึง 14 เมตร) เช่น B-777, B-787 and A330

รหัสอักษร ระยะระหว่างปลายปีก ระยะห่างพวงล้อหลัก แบบของเครื่องบิน
A < 15 ม. < 4.5 ม. PIPER PA-31/CESSNA 404 Titan
B 15 ม. แต่ < 24 ม. 4.5 ม. แต่ < 6 ม. BOMBARDIER Regional Jet CRJ-200/DE HAVILLAND CANADA DHC-6
C 24 ม. แต่ < 36 ม. 6 ม. แต่ < 9 ม. BOEING 737-700/AIRBUS A-320/EMBRAER ERJ 190-100
D 36 ม. แต่ < 52 ม. 9 ม. แต่ < 14 ม. B767 Series/AIRBUS A-310
E 52 ม. แต่ < 65 ม. 9 ม. แต่ < 14 ม. B777 Series/B787 Series/A330 Family/A340 Family/A350 Family
F 65 ม. แต่ < 80 ม. 14 ม. แต่ < 16 ม. BOEING 747-8/AIRBUS A-380-800

ทางขับ (TAXI WAY)

แก้

TAXIWAY มี 7 เส้นทาง คือ TAXI WAY A, B, C, D, E, F และ P โดย TAXI WAY P เป็นทางขับคู่ขนานไปกับ RUNWAY 21 ไปทางทิศเหนือ โดยอยู่ทางด้านขวาของ RUNWAY 21

Taxiway width, surface and strength

  1. Taxiway A: 27.5 M, Concrete surface, PCN 85/R/B/X/T
  2. Taxiway B: 30 M, Concrete surface, PCN 85/R/B/X/T
  3. Taxiway C: 35 M, Concrete surface, PCN 85/R/B/X/T
  4. Taxiway D: 23 M, Concrete surface, PCN 85/R/B/X/T
  5. Taxiway E: 23 M, Concrete and Asphalt surface, PCN 84/F/D/X/T
  6. Taxiway F: 23 M, Concrete and Asphalt surface, PCN 84/F/D/X/T
  7. Taxiway P: 23 M, Concrete surface, PCN 85/R/B/X/T

ลานจอดอากาศยาน

แก้

มีจำนวนเนื้อที่โดยประมาณ 45,330 ตารางเมตร ขนาด 120 x 337 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของทางวิ่ง ห่างจาก RUN WAY CENTER LINE 280 เมตรพื้นผิวเป็นคอนกรีต ค่าความแข็ง 73 R/D/X/T มีจำนวน หลุมจอดอากาศยาน จำนวน 7 หลุมจอด และมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 12 หลุมจอด[7]

หลุมจอดอากาศยาน

แก้

จำนวน 7 หลุมจอด แบ่งเป็น[8]

  • CONTACT GATE มีจำนวน 3 หลุมจอด สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่สุดถึง B-737, A-320
  • REMOTE มีจำนวน 4 หลุมจอด สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่สุดถึง B-747
  • ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 12 หลุมจอด

อาคารผู้โดยสาร

แก้

เป็นอาคารเดี่ยวคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น พื้นที่ขนาด 60 x 180 เมตร พื้นที่ใช้ประโยชน์ 22,960 ตารางเมตร ลักษณะอาคารเป็นแบบ Linear Terminal ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนอาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน (อดีตคือกรมการบินพานิชย์/กรมการบินพลเรือน) อาทิ สนามบินอุดรธานี อุบลราชธานี นครรศรีธรรมราช กระบี่ ขอนแก่น ฯลฯ ซึ่งคาดว่าจะใช้แบบการก่อสร้างอาคารใกล้เคียงกัน ตั้งแต่สมัยอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการบินพานิชย์ (บพ.) ลักษณะพิเศษของอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย คือ ผู้โดยสารขาเข้าและผู้โดยสารขาออกจะต้องใช้พื้นที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารร่วมกัน (ขาเข้าเดินจากบนลงล่าง ขาออกเดินจากล่างขึ้นบน) ประกอบกับถูกออกแบบมาให้มีห้องรับรองพิเศษอยู่ตรงกึ่งกลางอาคาร (อาคารผู้โดยสารปัจจุบันมีอายุการใช้งาน 31 ปี) สามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงคับคั่งได้ถึง 1,250 คน โดยพื้นที่ใช้ประโยชน์ประกอบด้วย[9]

พื้นที่รวม 22,960 ตารางเมตร
ห้องผู้โดยสารขาเข้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ 1,520 ตารางเมตร
ห้องผู้โดยสารขาออกภายในประเทศและระหว่างประเทศ 1,520 ตารางเมตร
สำนักงานท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย 470 ตารางเมตร
พื้นที่เช่าผู้ประกอบการ 1,730 ตารางเมตร
พื้นที่สำนักงานเจ้าหน้าที่หน่วยราชการ 250 ตารางเมตร
พื้นที่สาธารณะอื่น ๆ 17,927 ตารางเมตร

บริการที่จอดรถยนต์

แก้
  • พื้นที่รองรับการจอดรถ 1,200 คัน
อัตราค่าบริการจอดรถยนต์
ระยะเวลาใช้บริการ รถยนต์ 4 ล้อ รถยนต์ 6 ล้อขึ้นไป
1 ชั่วโมง 10 บาท 20 บาท
2 ชั่วโมง 20 บาท 40 บาท
3 ชั่วโมง 35 บาท 70 บาท
4–24 ชั่วโมง 150 บาท 200 บาท
หมายเหตุ เศษของชั่วโมงตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไปคิดเป็น 1 ชั่วโมง[10]

โครงการพัฒนาท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

แก้

ในปัจจุบัน อาคารผู้โดยสารถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับผู้โดยสารสูงสุดคือ 3,000,000 คนต่อปี ซึ่งในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีปริมาณผู้โดยสารสูงสุดเกือบ 3,000,000 คนส่งผลทำให้เกิดความหนาแน่น แอดอัด คับคั่ง และความไม่สะดวกต่อการให้บริการผู้โดยสารและสายการบินที่เข้ามาใช้บริการ

ดังนั้น จึงได้มีการวางแผนพัฒนาขยายขีดความสามารถของท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงรายเพื่อให้สามารถรองรับต่อการให้บริการในอนาคตข้างหน้าที่คาดว่าจะสามารถรองรับ ผดส.ได้สูงสุด คือ 8 ล้านคนต่อปี ใน พ.ศ. 2578 โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ

แผนพัฒนาระยะที่หนึ่ง ปี พ.ศ. 2564-2568

แก้
  • สร้างทางขับคู่ขนานทางทิศเหนือ*
  • ปรับปรุง RESA**
  • ก่อสร้างอาคารดับเพลิงกู้ภัยอากาศยาน
  • ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร ห้องน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ
  • ก่อสร้างอาคาร VIP
  • ก่อสร้างอาคารสำนักงาน (ย้ายสำนักงานออกนอกอาคารผู้โดยสาร เพิ่มพื้นที่ให้ผู้โดยสาร)

*สมชนก เทียมเทียบรัตน์ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ผชร.) เปิดเผยว่า เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตหลายด้าน ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงรายจึงมีโครงการก่อสร้างระบบทางขับขนานด้านทิศเหนือและปรับปรุงทางขับซ้ายหลุมจอด พร้อมทางขับเอและบี เริ่มก่อสร้าง 4 ต.ค. 64

ทชร.ได้ทำสัญญากับผู้รับเหมา เมื่อช่วงเดือน ก.พ. 64 ที่ผ่านมา โดยมีระยะเวลาสัญญาก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 660 วัน (4 ต.ค. 64–26 ก.ค. 66) รายละเอียดโครงการประกอบด้วยการปรับปรุงพื้นผิวทางวิ่งเดิม (Existing taxiways), เส้นนำจอด (Apron taxilane) และทางวิ่งคู่ขนาน (Parallel taxiway) พร้อมจุดเชื่อมต่อกับทางวิ่งหลัก โดยมีกรอบการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (ในการก่อสร้างบางพิ้นที่อาจจะมีการปิดสนามบินช่วงเวลา 15.01–22.59 ของทุกวัน ทำให้ตารางบินอาจมีการเปลี่ยนแปลง)

  1. ระยะที่ 1 (Phase 1, ช่วงเวลาก่อสร้าง 3 เดือนหลังจากเริ่มก่อสร้าง) ทำการปรับระดับพื้นผิวก่อสร้างและถอดถอนอุปกรณ์บางส่วนของทางวิ่งหมายเลข 21 (RWY 21) เช่น ไฟสัญญาณ PAPI (Precision Approach Path Indicator), ระบบ AWOS (Automated Weather Observing System)
  2. ระยะที่ 2 (Phase 2, ช่วงเวลาก่อสร้าง 12 เดือน หลังจากเสร็จระยะที่ 1) ทำการก่อสร้างทางขับ (Taxiway) A, B, C, D, P และ G โดยที่ C คือทางขับออกด่วน (Rapid exit taxiway) และ P คือทางขับคู่ขนาน (Parallel taxiway), ระบบท่อระบายน้ำ, ระบบไฟสัญญาณ รวมถึงการถอดถอนและติดตั้งอุปกรณ์บางส่วนของทางวิ่งหมายเลข 21 (RWY 21)
  3. ระยะที่ 3 (Phase 3, ช่วงเวลาก่อสร้าง 7 เดือน หลังจากเสร็จระยะที่ 2) ทำการปรับปรุงและก่อสร้างเพิ่มเติมทางขับประชิด (Closer taxiway) E, F และ G รวมถึงทำการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น ไฟสัญญาณ, PAPI และระบบท่อระบายน้ำ

** ช่วงปลายปี 2565 ทอท.ได้มีการอนุมัติเพิ่มเติมโครงการก่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (Runway End Safety Area: RESA) ซึ่งเป็นหนึ่งในกายภาพของสนามบินที่มีวัตถุประสงค์ไว้เพื่อลดความเสี่ยง (Risk) ที่จะเกิดความเสียหาย (Severity) ของอากาศยานที่ลงถึงก่อนทางวิ่ง (Undershooting) หรือร่อนลงบนทางวิ่งแล้ววิ่ง ทะลุออกนอกทางวิ่งด้านหัว/ปลาย (Overrunning) ออกไป ซึ่งโครงการได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ต้นปี 2566 โดยระยะที่ 1 จะทำการก่อสร้างที่ปลาย Runway 21 ก่อน จากนั้นในระยะที่ 2 จะดำเนินการก่อสร้างที่ปลาย Runway 03 ถัดไป โดยจะทำการขยายระยะทางจากปลาย Runway แต่ละด้านออกไปด้านละ 240 เมตร ทั้งนี้แผนการดำเนินการดังกล่าวมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน พ.ย. 66

แผนพัฒนาระยะที่สอง ปี พ.ศ. 2568-2571

แก้
  • ทางขับขนานด้านทางทิศใต้
  • เพิ่มลานจอดอากาศยานด้านทิศใต้ และระบบเติมน้ำมันอากาศยานทางท่อ
  • สร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ
  • ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิมเป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
  • สร้างอาคารจอดรถยนต์
  • สร้างอาคารศูนย์ซ่อมแซมอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น
  • สร้างลานจอดอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น Ground Support Equipment

แผนพัฒนาระยะที่สาม ปี พ.ศ. 2576-2578

แก้
  • เพิ่มลานจอดอากาศยานด้านทิศใต้ และระบบเติมน้ำมันอากาศยานทางท่อ
  • ปรับปรุงและต่อเติมอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และต่างประเทศ (โครงการต่อเนื่อง)
  • รองรับเที่ยวบินได้ 30 เที่ยวบิน/ชั่วโมง
  • หลุมจอดอากาศยาน 13 หลุมจอด
  • งานปรับปรุงอาคารจอดรถ
  • งานปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค

ในขณะเดียวกันเมื่อช่วงปี 2563 ทอท. ได้อนุมัติสัญญาเช่าระยะยาวให้แก่บริษัท เชียงราย เอเวชั่น โฮลดิ้ง จำกัด (Chiang Rai Aviation Holding Co., Ltd. : CAH) เพื่อก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul : MRO) เครื่องบินลำตัวแคบ (Narrowbody) ประกอบด้วยอาคารซ่อมบำรุงอากาศยาน จำนวน 2 หลัง แต่ละหลังมี 4 หลุมจอด, ลานจอดอากาศยานภายนอก 7 หลุมจอด, อาคาร Workshop และอาคารสำนักงาน บนพื้นที่ 50 ไร่ บริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ทชร. ภายใต้กรอบการพัฒนาร่วมของ ทอท. โดยได้มีการเริ่มดำเนินการปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 65 คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในปี 2568 (ณ วันที่ 5 ส.ค. 67 ยังอยู่ในขั้นตอนการจัดทำ EIA คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ EIA)

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง รายชื่อสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport) พ.ศ. ๒๕๖๖
  2. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินบ้านดู่ ในท้องที่อำเภอเชียงราย และอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๕
  3. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน เก็บถาวร 2015-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนชื่อสนามบินอนุญาตตามนามพระราชทาน (ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย)
  5. "Air Transport Statistic" (xlsx). Airports of Thailand PLC. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2021.
  6. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน เก็บถาวร 2015-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน เก็บถาวร 2015-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน เก็บถาวร 2015-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน เก็บถาวร 2015-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ที่จอดรถ เก็บถาวร 2015-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้