ไลอ้อนแอร์
ไลอ้อนแอร์ (อังกฤษ: Lion Air) เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติอินโดนีเชีย โดยมีฐานการบินอยู่ที่จาการ์ตา ไลอ้อนแอร์เป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ มีจุดหมายปลายทางถึง 79 แห่งในประเทศอินโดนีเซีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, เวียดนาม, ซาอุดีอาระเบีย,[2] จีน และฮ่องกง[3]
| |||||||
ก่อตั้ง | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (25ปี)[1] | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 30 มิถุนายน ค.ศ. 2000 (24ปี) | ||||||
ท่าหลัก | จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา มากัซซาร์ สุราบายา | ||||||
ท่ารอง | บาลิกปาปัน เดนปาซาร์ มานาโด เมดัน ยอกยาการ์ตา–นานาชาติ | ||||||
เมืองสำคัญ | บาตัม ปาดัง ปาเล็มบัง เปกันบารู | ||||||
สะสมไมล์ | ไลอ้อนแอร์พาสปอร์ตคลับ | ||||||
บริษัทลูก | บาติกแอร์ บาติกแอร์ มาเลเซีย วิงส์แอร์ ไทยไลอ้อนแอร์ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 109 | ||||||
จุดหมาย | 48 | ||||||
บุคลากรหลัก | รุสดี คิรานา (ประธาน) เอ็ดเวิร์ด ซีเรท์ (ซีอีโอ) | ||||||
เว็บไซต์ | lionair |
ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1999 เป็นสายการบินที่เติบโตเร็วมาก มีเครื่องบินมากถึง 100 ลำ และสั่งซื้อไปถึง 500 ลำ มีสถิติการสั่งซื้อเครื่องบินมหาศาล อาทิ ใช้เงิน 24 พันล้านดอลลาร์ ซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ320 จำนวน 234 ลำ และใช้เงิน 22.4 พันล้านดอลลาร์ ซื้อเครื่องบินโบอิง 230 ลำ[2] แต่กระนั้น เที่ยวบินกลับล่าช้า (ดีเลย์) บ่อยครั้งในอินโดนีเซีย จึงได้รับการวิจารณ์ในแง่ลบอยู่บ่อยครั้งเช่นกัน[4][5]
จุดหมายปลายทาง
แก้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2014[update] สายการบินมีจุดหมายปลายทาง 120 แห่ง แบ่งเป็น ภายในประเทศ 100 แห่ง ภายนอกประเทศ 20 แห่ง
ฝูงบิน
แก้ฝูงบินปัจจุบัน
แก้ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 ไลอ้อนแอร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[6][7][8]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ330-300 | 8 | — | 440 | ||
แอร์บัส เอ330-900 | 8 | — | 436[9] | ||
โบอิง 737-800 | 27 | — | 189 | ||
โบอิง 737-900อีอาร์ | 63 | — | 215 | ลูกค้าเปิดตัว | |
โบอิง 737 แมกซ์ 9 | 3 | 188 | 220 | สั่งซื้อทั้งรุ่นแมกซ์ 8 และแมกซ์ 9 ลูกค้าเปิดตัวของรุ่น แมกซ์ 9 แมกซ์ 8 ของไลอ้อนแอร์ทั้งหมดโอนย้ายให้กับบาติกแอร์ มาเลเซีย[ต้องการอ้างอิง] | |
โบอิง 737 แมกซ์ 10 | — | 50[10] | รอประกาศ | ||
รวม | 109 | 238 |
ไลอ้อนแอร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 11.3 ปี
ฝูงบินในอดีต
แก้ไลอ้อนแอร์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
เครื่องบิน | จำนวน | เริ่มประจำการ | ปลดประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ310-300 | 1 | 2000 | 2002 | |
โบอิง 737-200 | 2 | 2001 | 2003 | |
โบอิง 737-300 | 2 | 2006 | 2014 | |
โบอิง 737-400 | 10 | 2004 | 2015 | |
โบอิง 747-400 | 2 | 2009 | 2019 | ทดแทนด้วยแอร์บัส เอ330-900 |
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-82 | 17 | 2002 | 2012 | หนึ่งลำตกในเที่ยวบินที่ 538 |
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-83 | 1 | 2003 | 2008 | |
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-90-30 | 5 | 2005 | 2012 | |
ยาโกเลฟ ยัค-42 | 5 | 2001 | 2002 |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 2013 Laureate Award Nominees, Aviation Week & Space Technology, 21 January 2013, p. 47
- ↑ 2.0 2.1 "Airbus-Boeing battle shifts to Indonesia | Inquirer Business". Business.inquirer.net. 24 March 2013. สืบค้นเมื่อ 7 April 2013.
- ↑ "Directory: World Airlines". Flight International. 3 April 2007. p. 106.
- ↑ "Gara-gara Sapi, Pesawat Lion Air Tergelincir di Bandara Gorontalo". liputan6.com. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
- ↑ "30-11-2004: Lion Air Tergelincir ke Pemakaman Umum". liputan6.com. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
- ↑ "AeroTransport Data Bank". สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
- ↑ "Lion Air Fleet Details and History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-20. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
- ↑ "Lion Airlines - ch-aviation.com". ch-aviation. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
- ↑ Gubisch, Michael. "PICTURE: Lion Air receives its first A330neo". FlightGlobal. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ "Lion Air Group Order 50 Units Boeing 737 MAX 10". www.lionair.co.id. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2018. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- (อินโดนีเซีย) (อังกฤษ) (จีน) (อาหรับ) (เวียดนาม) เว็บไซต์ทางการ