เทศบาลนครขอนแก่น

เทศบาลนครในจังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย

เทศบาลนครขอนแก่น เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองจาก เทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลนครนครราชสีมา และใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2561 มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 118,080 คน[1] คิดเป็น 2,566.96 คน ต่อตารางกิโลเมตร โดยอาณาเขตทั้งหมด อยู่ในตำบลในเมือง

เทศบาลนครขอนแก่น
ภาพตัวเมืองขอนแก่นในมุมสูง
ภาพตัวเมืองขอนแก่นในมุมสูง
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครขอนแก่น
ตรา
ทน.ขอนแก่นตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น
ทน.ขอนแก่น
ทน.ขอนแก่น
ที่ตั้งของเทศบาลนครขอนแก่น
ทน.ขอนแก่นตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.ขอนแก่น
ทน.ขอนแก่น
ทน.ขอนแก่น (ประเทศไทย)
พิกัด: 16°26′N 102°50′E / 16.433°N 102.833°E / 16.433; 102.833พิกัดภูมิศาสตร์: 16°26′N 102°50′E / 16.433°N 102.833°E / 16.433; 102.833
ประเทศ ไทย
จังหวัดขอนแก่น
อำเภอเมืองขอนแก่น
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด46.0 ตร.กม. (17.8 ตร.ไมล์)
ความสูง162 เมตร (531 ฟุต)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด120,143 คน
 • ความหนาแน่น2,611.80 คน/ตร.กม. (6,764.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03400102
สนามบินท่าอากาศยานขอนแก่น
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ถนนประชาสำราญ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
เว็บไซต์www.kkmuni.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เทศบาลนครขอนแก่น เดิมได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง โดยพระราชกฤษฎีกา การจัดตั้งเทศบาลเมืองขอนแก่น มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2478 นายกเทศมนตรีคนแรก คือ พระเสนาราชภักดี เข้าดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2478 ก่อนได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองตามพระราชกฤษฎีกา 2 เดือน ศาลาเทศบาลเมืองขอนแก่นตั้งอยู่ในที่ดินราชพัสดุแปลงที่ตั้งศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ในขณะนั้นอยู่ทางทิศใต้ด้านตะวันตกของถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ตรงข้ามกับสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2492 จึงได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ในที่ดินแปลงที่ตั้งสถานีอนามัยและสถานีดับเพลิงด้านตะวันออกของถนนกลางเมือง อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน มาจนถึง พ.ศ. 2508 เป็นเวลา 16 ปี ต่อมากระทรวงมหาดไทย ให้สำนักงานเทศบาลเมืองขอนแก่นใช้อาคารร่วมกับอำเภอเมืองขอนแก่น ซึ่งได้ย้ายมาอยู่ ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2508 จนถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2527 รวมเป็นเวลา 19 ปี ใน พ.ศ. 2527 จึงได้ย้ายสำนักงานมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบันและได้เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2527 เป็นต้นมา

ภูมิอากาศ แก้

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครขอนแก่น (2504-2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 36.2
(97.2)
41.0
(105.8)
41.1
(106)
42.6
(108.7)
41.2
(106.2)
39.4
(102.9)
38.0
(100.4)
37.0
(98.6)
36.3
(97.3)
35.4
(95.7)
35.0
(95)
35.8
(96.4)
42.6
(108.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.3
(86.5)
32.7
(90.9)
35.2
(95.4)
36.4
(97.5)
34.5
(94.1)
33.2
(91.8)
32.7
(90.9)
32.0
(89.6)
31.6
(88.9)
31.4
(88.5)
30.7
(87.3)
29.7
(85.5)
32.53
(90.56)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 22.8
(73)
25.5
(77.9)
28.4
(83.1)
29.9
(85.8)
29.0
(84.2)
28.5
(83.3)
28.0
(82.4)
27.5
(81.5)
27.0
(80.6)
26.4
(79.5)
24.7
(76.5)
22.6
(72.7)
26.69
(80.05)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.2
(61.2)
19.3
(66.7)
22.3
(72.1)
24.5
(76.1)
24.8
(76.6)
24.8
(76.6)
24.4
(75.9)
24.2
(75.6)
23.7
(74.7)
22.5
(72.5)
19.6
(67.3)
16.4
(61.5)
21.89
(71.41)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 5.7
(42.3)
10.4
(50.7)
11.1
(52)
16.4
(61.5)
19.8
(67.6)
20.7
(69.3)
20.9
(69.6)
21.0
(69.8)
19.3
(66.7)
15.9
(60.6)
9.4
(48.9)
5.6
(42.1)
5.6
(42.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 4.4
(0.173)
14.7
(0.579)
34.7
(1.366)
66.4
(2.614)
173.6
(6.835)
179.5
(7.067)
165.8
(6.528)
196.0
(7.717)
246.1
(9.689)
107.3
(4.224)
55.8
(2.197)
3.3
(0.13)
1,247.6
(49.118)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 1 2 4 7 14 15 16 18 18 10 2 1 108
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 279.0 248.6 251.1 252.0 238.7 180.0 182.9 164.3 171.0 232.5 255.0 266.6 2,721.7
แหล่งที่มา 1: NOAA (temperature data)[2]
แหล่งที่มา 2: หอสังเกตการณ์ฮ่องกง[3]

ประชากร แก้

ประชากรเทศบาลนครขอนแก่น
ปีประชากร±%
2537 123,674—    
2540 133,182+7.7%
2543 129,290−2.9%
2546 132,750+2.7%
2549 120,957−8.9%
2552 116,157−4.0%
2555 110,686−4.7%
2558 119,537+8.0%
2561 118,080−1.2%
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[4]

ประชากรในจังหวัดขอนแก่น มาจากเผ่าพันธุ์เดียวกันเป็นส่วนใหญ่ คนในพื้นที่เป็นชาวพื้นเมืองเดิมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์คาบเกี่ยวกับสมัยประวัติศาสตร์ มีร่องรอยทางโบราณคดีปรากฏ เช่น ชุมชนโบราณโนนนกทาบ้านนาดี ตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ และที่โนนเมืองบ้านนาโพธิ์ อำเภอชุมแพมีอายุอยู่ประมาณ 3,000 ปีเศษ ต่อมาในสมัย และสมัยลพบุรีได้พบโครงกระดูก และเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในยุคสมัยนั้นไม่ทราบว่าเป็นเผ่าพันธุ์หรือชาติพันธุ์ใดแน่นอน เพราะดินแดนที่ราบสูงกว้างใหญ่มีชนชาติโบราณเข้ามาอาศัยอยู่นานแล้วเช่นชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น

พื้นที่จังหวัดขอนแก่นเดิมเคยอยู่ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อนมีโบราณสถานศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ปรากฏอยู่ทั่วไป จากนั้นจึงตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ประชาชนลาวได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่ราบสูงการอพยพของประชากรปรากฏชัดยิ่งขึ้น ในสมัยธนบุรี และต้นสมัยรัตนโกสินทร์

การอพยพของประชากรเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองอยู่ในเขต จังหวัดขอนแก่น แบ่งเป็นเส้นทางใหญ่ได้สามทางคือ อพยพมาจากแขวงหลวงพระบาง, แขวงเวียงจันทน์ และแขวงจำปาศักดิ์[5]

นอกจากประชากรดั้งเดิมแล้ว ในเขตเมืองขอนแก่นยังมีชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นชุมชนใหญ่และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก รวมถึงชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม และชาวต่างชาติอื่น ๆ ซึ่งย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดขอนแก่น

ชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่นมีทั้งสิ้น 82 ชุมชน แบ่งออกเป็น 4 เขต

ในปัจจุบันแนวโน้มของจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครขอนแก่นมีจำนวนลดลง เนื่องจากการขยายตัวของเขตที่อยู่อาศัยชิดเขตเทศบาลในรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างปี พ.ศ. 2546-2549 อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน เขตเมืองขอนแก่น (ในเขตเทศบาลนครรวมถึงพื้นที่ติดกับเขตเทศบาล ซึ่งได้แก่ เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลตำบลบ้านเป็ด เทศบาลตำบลเมืองเก่า และเทศบาลตำบลพระลับ) มีจำนวนประชากรจดทะเบียน รวมถึงประชากรแฝงรวมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและหนาแน่นประมาณ 450,000 คน โดยประมาณ


การขนส่ง แก้

เทศบาลนครขอนแก่นมีเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงกับเมืองอื่น ๆ หลายทางได้แก่ ทางบก และทางอากาศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ทางบก แก้

ทางหลวงแผ่นดิน

ทางหลวงแผ่นดินในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ได้แก่

ทางรถไฟ

จากสถานีรถไฟกรุงเทพมีรถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน โดยมีจุดจอดรับ – ส่ง ผู้โดยสารที่ สถานีขอนแก่น

ระบบขนส่งมวลชน
  • รถโดยสารประจำทาง ขอนแก่นซิตี้บัส ท่าอากาศยานขอนแก่น - รอบเมือง -สถานีขนส่ง บขส.3 (อัตราค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย)
  • รถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) ประเภท TRAM สายสีแดงเหนือ-ใต้ (สำราญ-ท่าพระ) โดยบริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS)[6] มีทั้งหมด 16 สถานี เป็นโครงสร้างยกระดับ 6 สถานีและระดับดิน 10 สถานี รวมระยะทาง 22.8 กิโลเมตร กำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานจัดสร้าง

ทางอากาศ แก้

การศึกษา แก้

สถาบันอุดมศึกษา แก้

  1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  3. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  4. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  5. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  6. มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น
  7. วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
  8. สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ศูนย์ขอนแก่น
  9. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  10. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓

โรงเรียนในสังกัด แก้

วัฒนธรรม แก้

งานประเพณีและงานเทศกาลท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่

  • งานประเพณีทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี
  • งานประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสานเทศกาลดอกคูน – เสียงแคน และถนน ข้าวเหนียว โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 5 – 15 เมษายน ของทุกปี
  • งานประเพณีวันเข้าพรรษา โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันเข้าพรรษาของทุกปี
  • งานประเพณีออกพรรษา ไต้ประทีปบูชา พุทธกตัญญู โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันออกพรรษาของทุกปี
  • งานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด จัดขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม ของทุกปี

ภาพ แก้

ภาพพาโนรามาเมืองขอนแก่น

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "Climate Normals for Mae Hong Son". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
  3. "Climatological Information for Khon Kaen, Thailand". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 29 March 2012.
  4. เทศบาลนครขอนแก่น. "เทศบาลนครขอนแก่น | ข้อมูลประชากร". www.kkmuni.go.th.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-23.
  6. http://www.kkts.co.th

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   คู่มือการท่องเที่ยว Khon Kaen จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)