สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์[1] (อังกฤษ: Panyapiwat Institute of Management) เดิมชื่อสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนทุนในการก่อตั้งจากบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อให้เปิดดำเนินการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2550

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
Logo PIM.png
ชื่อย่อพีไอเอ็ม / PIM
คติพจน์คำขวัญ
สร้างมืออาชีพด้วยมืออาชีพ

ปรัชญา
การศึกษาคือบ่อเกิดแห่งภูมิปัญญา

วิสัยทัศน์
สร้างบัณฑิตมืออาชีพด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา9 มีนาคม พ.ศ. 2550
ผู้สถาปนาบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะรังสรรค์
ที่ตั้ง
วิทยาเขตแจ้งวัฒนะ
85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
วิทยาเขตวิทยาเขตอีอีซี (อู่ตะเภา) ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
สี
  •   สีเขียว   สีทอง
เว็บไซต์www.pim.ac.th
Logo PIM-2.png

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ประจำปี 2021 ให้เป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยของเอเชียว่าเป็นมหาวิทยาลัยด้านความแข็งแกร่งของการเรียนการสอนในระดับ A[2]

สัญลักษณ์ประจำสถาบันแก้ไข

  • ช่อมะกอก โล่ ริบบิ้น เป็นตราประจำสถาบัน หมายถึง ความมีชัยเหนือสิ่งอื่นใด และ มงกุฎ หมายถึง การศึกษาแสดงถึงความสำเร็จสูงสุด และยิ่งใหญ่
  • สีเขียว/สีทอง    เป็นสีประจำสถาบัน โดยสีเขียวหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความงอกงาม ความสมบูรณ์ และ สีเหลืองทองหมายถึง ความเป็นเลิศทางวิชาการและถึงพร้อมด้วยคุณธรรม
  • ดอกบัวมังคลอุบล เป็นดอกไม้ประจำสถาบันซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของความเพียรพยายาม ความอดทน และ ความสำเร็จอันงดงาม

การศึกษาแก้ไข

รูปแบบการศึกษาแก้ไข

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ คือ สถาบันอุดมศึกษาเพียงหนึ่งเดียวที่เน้นเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานให้แก่นักศึกษาอย่างจริงจังและครบถ้วน เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพทั้งในเชิงวิชาการและสามารถปฏิบัติงานได้จริง โดยเน้นรูปแบบการเรียนทฤษฎีควบคู่กับการเรียนปฏิบัติ หรือฝึกงานที่ตรงกับสาขาวิชาที่เรียนจริงๆ (Work-based Education) และสถานที่ฝึกงานนั้น ก็เป็นองค์กรธุรกิจมืออาชีพที่เต็มไปด้วยมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพ ด้วยวิธีนี้จะทำให้จบการศึกษาพร้อมประสบการณ์การทำงานที่แท้จริง อีกทั้งยังรู้รอบถึงปัญหา และการแก้ไขในสายงานอาชีพนั้นๆ ด้วยการจัดการศึกษาแบบ Work-based Education (WBE) มี 3 องค์ประกอบที่สำคัญ

  1. Work-based Teaching (WBT) เป็นการเรียนภาคทฤษฎี หลักการทั่วไป และการเรียนรู้วิชาการศึกษาทั่วไปให้นักศึกษามีความสมบูรณ์ นอกจากเป็นความรู้จากตำราแล้ว ได้รับการเรียนรู้จากกรณีศึกษาจากผู้ปฏิบัติงานจริงในองค์กร เตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้ในส่วนที่สองคือ WBL
  2. Work-based Learning (WBL) เป็นการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติงานจริงอย่างมีแบบแผนรองรับกล่าวคือการจัดวางโปรแกรม ครูฝึก และมีระบบการติดตามประเมินอย่างเป็นระบบในองค์กร การจัดการเรียนการสอนจะมีการสลับกันระหว่างการเรียนรู้ในห้องเรียนกับการฝึกปฏิบัติงานตามโจทย์ที่กำหนดให้อย่างต่อเนื่องรวม 4 - 8 ครั้ง ตามความเหมาะสมของหลักสูตร และออกแบบสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการเพื่อทำให้มีการบูรณาการระหว่างทฤษฎีกับภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง ในกระบวนการนี้นักศึกษาสามารถเกาะติดและเรียนรู้เพิ่มเติมหรือแม้การทำการทดลองในสถานประกอบการจริงในโจทย์เดิมหรือศึกษาร่วมกับนักศึกษา คณาจารย์ข้ามสาขาวิชาจนได้ข้อสรุปเป็นโครงการหรือแม้แต่สร้างเป็นนวัตกรรมเพื่อเข้าสู่เวทีประกวดในระดับสถาบันและกลุ่มธุรกิจเพื่อสร้างความรู้ใหม่กลับไปสู่องค์กรได้อีกด้วย
  3. Work-based Researching (WBR) เป็นการศึกษาวิจัยของคณาจารย์จากปัญหาวิจัยจริงในองค์การที่ผลวิจัยพร้อมนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้โดยตรง และกลับมาสู่การเรียนการสอนในห้องเรียน การจัดการศึกษาแบบ WBE จะดำเนินการเป็นกระบวนการต่อเนื่องสำหรับหลักสูตรปริญญาตรี 4-5 ปี ทำให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเป็นเวลาร้อยละ 40 – 50 ของเวลารวมทั้งหมด

หลักสูตรที่เปิดสอนแก้ไข

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เปิดสอนใน 2 ระดับ คือ ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท และยังมีวิทยาลัยนานาชาติ เปิดสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

คณะบริหารธุรกิจ (Modern Trade Business Management )

  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (Modern Trade Business Management)
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (Modern Trade Business Management: International program)


คณะการจัดการธุรกิจอาหาร (Food Business Management )

  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร (Food Business Management)
  • สาขาการจัดการธุรกิจภัตตาคาร (Restaurant Business Management)


คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (Engineering and Technology)

  • สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ  (Digital and Information Technology)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (Computer Engineering and Artificial Intelligence)
  • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ  (Industrial Engineering and Intelligent Manufacturing)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์  (Automotive Manufacturing Engineering)
  • สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation Engineering)

คณะศิลปศาสตร์ (Liberal Arts )

  • สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ (Business Chinese)
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ (Business Japanese)
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ (Communicative English for Business)


คณะนิเทศศาสตร์ ( Communication Arts)

  • วิชาเอกการสื่อสารองค์กรและแบรนด์ (Corporate and Brand Communication)
  • วิชาเอกวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจ้นท์ (Convergent Journalism)


คณะวิทยาการจัดการ (Management Sciences )

  • สาขาวิชาการจัดการอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอาคาร (Real Estate and Property Management)
  • สาขาวิชาการบริหารคนและองค์การ (People and Organization Management)
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว (Hotel and Tourism Management)
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน (Aviation Business Management)


คณะเกษตรนวัตและการจัดการ

  • สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการเกษตร (Innovative Agricultural Management)


คณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Education Management)

  • สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (Teaching Chinese Language)
  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (English Language Teaching)


คณะอุตสาหกรรมเกษตร

  • สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม (Farm Technology Management) ) – English Program
  • สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร (Food Processing Technology Management) – English Program

คณะการจัดการโลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่ง (Logistics and Transportation Management)

  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่ง (Logistics and Transportation Management )

คณะบริหารธุรกิจ (หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต)

  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ Modern Trade Business Management (MBA - MTM)


คณะวิทยาการจัดการ (หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต)

  • สาขาวิชาการบริหารคนและกลยุทธ์องค์การ People Management and Organization Strategy (MBA - POS)

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ Master of Science Program in Information Technology (MBA-MSIT)


คณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ (หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต)

  • สาขาวิชาการจัดการการศึกษาและความเป็นผู้นำ (Educational Management and Leadership) M.Ed. (Educational Management and Leadership)


คณะนิเทศศาสตร์ (หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต)

  • สาขาวิชาการสื่อสารเชิงนวัตกรรมเพื่อองค์กรสมัยใหม่ Master of Communication Arts Program in Innovative Communication for Modern Organization


วิทยาลัยนานาชาติ International College

  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) Master of Business Administration Program in International Business (iMBA)


วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาจีน

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน) Master of Business Administration Program in Business Administration (Chinese Program)
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางศิลปะ (หลักสูตรภาษาจีน) Master of Arts Program in Arts Management (Chinese Program)

วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาจีน

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน) Doctor of Philosophy Program in Business Administration (Chinese Program)
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา (หลักสูตรภาษาจีน) Doctor of Philosophy Program in Educational Management (Chinese Program)

พื้นที่การศึกษาแก้ไข

 
ภาพมุมสูง บริเวณลานหูกระจงภายในสถาบันฯ อาคารด้านซ้ายชื่อ Convention Hall อาคารด้านขวาเป็นอาคารอำนวยการ อาคารที่หลบอยู่ด้านหลังเป็นอาคารเอนกประสงค์

แจ้งวัฒนะ (เปิดสอนทุกคณะ/สาขาวิชา)แก้ไข

ตั้งอยู่ที่ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0 2855 0000 ถึง 14 โทรสาร 0 2855 0391

หน่วยการเรียนทางไกลแก้ไข

เพื่อเป็นการตอบสนองการเรียนใกล้ภูมิลำเนาของตน สถาบันฯ ได้เปิดการเรียนการสอนในหน่วยการเรียนทางไกล ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนจ์ โดยรับส่งสัญญาณแบบเรียลไทม์ จากห้องเรียนในกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้

อ้างอิงแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข