ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ

พลโท ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ (12 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตเจ้ากรมการรักษาดินแดน[1]

ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ
เจ้ากรมรักษาดินแดน
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2523
ก่อนหน้าพล.ท. เอื้อม จิระพงศ์
ถัดไปพล.ท. เทียนชัย สิริสัมพันธ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กรกฎาคม พ.ศ. 2464
อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
เสียชีวิต12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (86 ปี)
คู่สมรสนางสุรางค์ สวัสดี
บุตร4 คน
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2482 – พ.ศ. 2524
ยศ พลโท
บังคับบัญชากรมการรักษาดินแดน
สงคราม/การสู้รบกรณีพิพาทอินโดจีน
สงครามมหาเอเซียบูรพา
สงครามเวียดนาม

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ เกิดวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 ณ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของขุนชำนาญสัตว์รักษ์ (ช่วง มหารักขกะ) และคุณแม่ถนอมศรี มหารักขกะ (สกุลเดิม คราประยูร)[2]

พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ สมรสกับนางสาวสุรางค์ มหารักขกะ (สกุลเดิม สวัสดี) มีบุตรทั้งหมด 4 คน คือ

  1. พ.อ.พิเศษ นเรนทร์ฤทธิ์ มหารักขกะ
  2. พ.ต.อ. นรินทร์ฤทธิ์ มหารักขกะ
  3. นางวรรษมน มหารักขกะ
  4. พ.อ.พิเศษ นิรันดร์ฤทธิ์ มหารักขกะ

การศึกษา

แก้

ก่อนรับราชการ

แก้

พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ ได้จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ในปี พ.ศ. 2481 และศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2483

หลังรับราชการ

แก้

พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ จบการศึกษาดังนี้[2]

การทำงาน

แก้

ราชการสงคราม

แก้

สงครามเวียดนาม

แก้

28 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 พ.อ.พิเศษ ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ (ยศในขณะนัั้น) ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 กองพลทหารอาสาสมัคร เข้าเหยียบแผ่นดินเวียดนามใต้ครั้งแรก และมีวีรกรรมการรบในช่วงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2512 พ.อ.พิเศษ ณรงค์ฤทธิ์ ได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปอำนวยการรบ สั่งการให้ปืนใหญ่ทำการยิง และสั่งให้เครื่องบินโจมตีทางอากาศ ต่อฝ่ายข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่า ซึ่งพยายามที่จะโจมตีทหารราบ 2 กองร้อย ที่อยู่ในการบังคับบัญชา หลังจากเสร็จสิ้นการโจมตีทางอากาศ พ.อ.พิเศษ ณรงค์ฤทธิ์ ได้ลงจากเฮลิคอปเตอร์ และนำหน่วยทหารภาคพื้นดินของตัวเองเข้าโจมตี และสามารถจับเชลยศึกได้ 3 คน ทั้งนี้ พ.อ.พิเศษ ณรงค์ฤทธิ์ มีความกล้าหาญไม่ย่อท้อต่อศัตรู ทำให้ พ.อ.พิเศษ ณรงค์ฤทธิ์ ได้รับเหรียญซิลเวอร์สตาร์ จากกองทัพสหรัฐ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512[2]

ตำแหน่งราชการ

แก้

พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่อไปนี้[2]

ราชการทหาร

แก้
  • 4 เมษายน พ.ศ. 2512 : ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 2 ส่วนที่ 1
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 : ผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ[3] และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเพชรบุรี
  • 15 มีนาคม พ.ศ. 2520 : ผู้บัญชาการศูนย์การฝึกกำลังทดแทน
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 : เจ้ากรมการรักษาดินแดน[1]

ราชการพิเศษ

แก้

การถึงแก่อนิจกรรม

แก้

พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 23.30 น. ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลับ สิริอายุได้ 86 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2513 –   เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นที่ 5
    • พ.ศ. 2512 –   แกลแลนทรีครอส ประดับใบปาร์ม
    • พ.ศ. 2513 –   ซิฟเวิลแอคเชิน ยูนิท ไซเทเชิน
    • พ.ศ. 2513 –   เหรียญรณรงค์เวียดนาม
    • พ.ศ. 2513 –   เหรียญปฏิบัติการจิตวิทยา ชั้นที่ 1
  •   สหรัฐ :

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. ผู้บังคับบัญชา
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 (2551). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลโท ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ ป.ช., ป.ม. ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2551. ม.ป.พ.
  3. ศูนย์การทหารราบ. อดีตผู้บังคับบัญชา
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๔๕ ก หน้า ๑, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๑๑๔ ก หน้า ๑, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๓๗, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๓๒, ๑๘ เมษายน. ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ง หน้า ๔๕๒๖, ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๓ ง หน้า ๓๕๕๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง หน้า ๒๓๗, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
  13. HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS