คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Faculty of Science, Prince of Songkla University) เป็นคณะที่ตั้งในวิทยาเขตหาดใหญ่ จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับอุดมศึกษา เป็นที่รู้จักแห่งหนึ่งในภาคใต้ ทั้งในด้านการเรียนการสอน งานวิจัยและบริการวิชาการ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่
Faculty of Science, Prince of Songkla University
ชื่อย่อวท. / SC
คติพจน์วิทยาศาสตร์สร้างค่าสร้างคน “สปิริต” งามล้นคนวิทยาฯ
สถาปนา8 เมษายน พ.ศ. 2511 (56 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณบดีศ.ดร.อัญชนา ประเทพ
ที่อยู่
เลขที่ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
สี  สีเหลือง
มาสคอต
อะตอม
เว็บไซต์www.sci.psu.ac.th

ประวัติ

แก้

คณะวิทยาศาสตร์ จัดตั้งขึ้นในปีเดียวกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัย พร้อมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2510 เพื่อรับภาระงานสอนรายวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นการเตรียมรับการขยายงานเพื่อก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่นๆ ของมหาวิทยาลัยในอนาคต โดยมีสำนักงานชั่วคราวที่ตึกคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) อย่างไรก็ตามคณะวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งเมื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2511 และมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 เมษายน ปีเดียวกัน คณะวิทยาศาสตร์จึงถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะอย่างเป็นทางการ และคณะได้จัดตั้งภาควิชาเคมี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ ขึ้นเป็นสามภาควิชาแรก

พ.ศ. 2512 คณะได้เริ่มรับนักศึกษาของคณะฯเองในสาขาวิชาเคมีและคณิตศาสตร์เป็นรุ่นแรก ในการเรียนการสอนนอกจากจะสอนโดยอาจารย์ของคณะฯ แล้ว ยังได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย ในปีเดียวกันนั้นคณะได้ก่อตั้งภาควิชาชีววิทยาขึ้นเป็นภาควิชาที่สี่

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 คณะวิทยาศาสตร์ได้ย้ายจากที่ทำการชั่วคราว มาดำเนินการสอน ณ ศูนย์ศึกษาอรรถกระวีสุนทร ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และในปีถัดมาคณะได้จัดตั้งหน่วยงานรวมทางด้านพรีคลินิก 5 หน่วยวิชา ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีวเคมี เภสัชวิทยา และสรีรวิทยา เพื่อบริการด้านการเรียนการสอนแก่นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ซึ่งเพิ่งได้รับการจัดตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 คณะได้เปิดรับนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นรุ่นแรก ในปีต่อมา คณะได้อนุมัติในการตั้งหน่วยงานทางพรีคลินิกทั้ง 5 หน่วย ขึ้นเป็นภาควิชา พร้อมกันนั้นได้มีการจัดตั้งหน่วยวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปขึ้น

ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในปี พ.ศ. 2529 คณะวิทยาศาสตร์จึงเปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยในขณะนั้น ภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบ และในอีกสองปีต่อมา ได้มีการการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับมหาวิทยาลัย โดยใช้ห้อง M101 อาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เป็นสถานที่ในการติดตั้งเครื่องแม่ข่าย นับว่าเป็นคณะแรกของประเทศไทยที่มีการติดตั้งระบบนี้ และในอีกห้าปีต่อมาคณะได้เปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

เนื่องด้วยการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์จึงได้เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ในปี พ.ศ. 2534 สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ในปี พ.ศ. 2536 สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2543 และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2548 นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) จากคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม วิทยาเขตภูเก็ต มาศึกษาที่วิทยาเขตหาดใหญ่ในชั้นปีที่ 3 และ 4 ภาควิชาดังกล่าวจึงเป็นภาควิชาเดียวในมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาจาก 2 วิทยาเขต เรียนร่วมกัน

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาตรี 12 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 19 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 11 สาขาวิชา[1]

คณะวิทยาศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของวิทยาเขตหาดใหญ่ นักศึกษาทุกคณะจะเรียนวิชาทางคณิตศาสตร์ที่อาคารของคณะ และนักศึกษาทุกคณะยกเว้นวิศวกรรมศาสตร์ จะเรียนวิชาพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ที่คณะเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ คณะยังให้บริการการเรียนการสอนในรายวิชาด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ อุตสาหกรรมเกษตร และการแพทย์แผนไทยอีกด้วย

สัญลักษณ์ประจำคณะวิทยาศาสตร์

แก้
  •  
    ตราสัญลักษณ์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยลัยสงขลานครินทร์
    ตราประจำคณะ ได้แก่
    • คลี่ลายจากโครงสร้างของศูนย์ปาฐกถา ประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) สัญลักษณ์อันโดดเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. อีกมุมมองหนึ่งเป็นภาพของดวงตาที่เปล่งประกาย สื่อถึงการมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
    • แถบโค้งที่เคลื่อนไหวประกอบรวมกันเป็นอักษร S จากคำว่า Science สื่อถึงความก้าวหน้าของคณะวิทยาศาสตร์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดนิ่ง สร้างความเป็นเลิศด้านการวิจัยเฉพาะทาง และมุ่งสู่มาตรฐานระดับสากล
    • เส้นโค้งที่เกี่ยวตวัดขึ้นไปสู่รูปทรงกลม สื่อถึงองค์รวมความรู้สูความสำเร็จ โลกของการศึกษาค้นคว้าสู่การเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าวิจัย การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมสมัยใหม่ สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและการบริการแก่สังคม
    • สีเหลือง เป็นสีประจำคณะวิทยาศาสตร์
    • สีน้ำเงิน เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    • สีส้ม สื่อถึงความทันสมัย ความกระตือรือร้น และพลังความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
  • ดอกไม้ประจำคณะ คือ ดอกบานบุรี
  • สีประจำคณะ คือ สีเหลือง หมายถึง การเป็นผู้มีความเจริญรุ่งเรือง ทางปัญญาความรู้ควบคู่กับมีศีลธรรม คุณธรรมอันล้ำเลิศ

ทำเนียบคณบดี

แก้
คณบดี ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
เรือเอก รศ.ดร.ประดิษฐ์ เชยจิตร ร.น. พ.ศ. 2510 - 2517
รศ.ดร.ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์ พ.ศ. 2517 - 2522
พันโท ศ.ดร.บุญพฤกษ์ จาฏามระ พ.ศ. 2522 - 2530
ผศ.ดร.เมธี สรรพานิช พ.ศ. 2530 - 2534
ผศ.จำนงค์ สุภัทราวิวัฒน์ พ.ศ. 2534 - 2538
ศ.พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ พ.ศ. 2538 - 2542
รศ.ดร.ธวัช ชิตตระการ พ.ศ. 2542 - 2549
รศ.ดร.จุฑามาส ศตสุข พ.ศ. 2549 - 2555
รศ.ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ พ.ศ. 2555 - 2561
รศ.ลัดดา เอกสมทราเมษฐ์ พ.ศ. 2561 - 2562 (รักษาการ)
ศ.ดร.อัญชนา ประเทพ พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

ภาควิชาและหลักสูตรการศึกษา

แก้
ภาควิชา ระดับปริญญาตรี
(วิทยาศาสตรบัณฑิต)
ระดับปริญญาโท
(วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต)
ระดับปริญญาเอก
(ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต)

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์

-
  • กายวิภาคศาสตร์
-

ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  • คณิตศาสตร์
  • สถิติ
  • คณิตศาสตร์และสถิติ
  • คณิตศาสตร์
  • คณิตศาสตร์
ภาควิชาเคมี
  • เคมี
  • เคมี
  • เคมี

ภาควิชาจุลชีววิทยา

  • จุลชีววิทยา
  • จุลชีววิทยา (นานาชาติ)
  • จุลชีววิทยา (นานาชาติ)
ภาควิชาชีวเคมี เก็บถาวร 2006-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน -
  • ชีวเคมี
  • ชีวเคมี

ภาควิชาชีววิทยา

  • ชีววิทยา
  • ชีววิทยา (นานาชาติ)
  • นิเวศวิทยา (นานาชาติ)
  • พฤกษศาสตร์
  • สัตววิทยา
  • ชีววิทยา (นานาชาติ)
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและชีวสารสนเทศ
  • เทคโนโลยีชีวภาพ
  • ชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ (นานาชาติ)
  • ชีววิทยาโมเลกุลและชีวสารสนเทศ (นานาชาติ)
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เก็บถาวร 2018-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรต่อเนื่อง)
- -
ภาควิชาฟิสิกส์
  • ฟิสิกส์
  • ฟิสิกส์ (นานาชาติ)
  • ธรณีฟิสิกส์
  • ฟิสิกส์ (นานาชาติ)
  • ธรณีฟิสิกส์
ภาควิชาเภสัชวิทยา -
  • เภสัชวิทยา
-
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
  • เคมี-ชีววิทยา
  • นิติวิทยาศาสตร์
-
ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ
  • วัสดุศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
  • วัสดุศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
ภาควิชาสรีรวิทยา

-

  • สรีรวิทยา
  • สรีรวิทยา

หน่วยวิจัย

แก้

สถานที่ภายใน

แก้
  • อาคารสำนักงานบริหารคณะ เดิมอาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี แต่เมื่อมีการสร้างสำนักงานอธิการบดีบริเวณด้านหลังพระบรมรูปสมเด็จพระบรมราชชนก อาคารดังกล่าวจึงได้รับการโอนเป็นสมบัติของคณะวิทยาศาสตร์ ภายในมีห้องประชุม, ห้องสัมมนา, หน่วยงานต่างๆ ของคณะ และห้องพักคณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี[2]
  • อาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) เป็นสถาปัตยกรรมประธานของคณะ ออกแบบโดยอาจารย์ อมร ศรีวงศ์ ภายในประกอบด้วยห้องบรรยาย 5 ห้อง คือห้องบรรยาย L1 ความจุ 500 ที่นั่ง และห้องบรรยาย L2-L5 ความจุห้องละ 300 ที่นั่ง อาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตรใช้เป็นสถานที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทุกคณะในวิทยาเขตหาดใหญ่ โดยบริเวณชั้นล่างของอาคารเป็นที่ตั้งของหน่วยกิจการนักศึกษา, สมาคมนักศึกษาเก่า, หน่วยอาคารและสถานที่ และหน่วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
  • อาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์ เดิมอาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ แต่เมื่อภาควิชาดังกล่าวโอนไปสังกัดคณะศิลปศาสตร์ และย้ายสำนักงานของภาควิชาไปยังอาคารของคณะ อาคารดังกล่าวจึงได้รับการปรับปรุงเป็นอาคารของภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งย้ายมาจากอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ ภายในมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาทั้งภายในคณะและต่างคณะ
  • อาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เป็นอาคาร 3 ชั้น ยกพื้นสูงจากระดับปกติ เป็นที่ตั้งของภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ โดยบริเวณลานใต้อาคารเป็นที่ตั้งของโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์, ชุมนุมวิชาการ, ชุมนุมคอมพิวเตอร์, ชุมนุมคณิตศาสตร์และสถิติ, ชุมนุมดนตรีสากล และสำนักงานสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์อีกด้วย
  • อาคารกิจกรรมนักศึกษา ตั้งอยู่ระหว่างอาคารคณิตศาสตร์และอาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นที่ตั้งของชุมนุมสังกัดคณะ รวม 6 ชุมนุม ได้แก่ ชุมนุมผู้นำเชียร์, ชุมนุมภาษาต่างประเทศ, ชุมนุมกีฬา, ชุมนุมเทคโนโลยีชีวภาพ, ชุมนุมศิลปวัฒนธรรมและการดนตรี และชุมนุมโสตทัศนศึกษา
  • อาคารฟิสิกส์ เป็นอาคาร 4 ชั้น อยู่บริเวณเดียวกับอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เป็นที่ตั้งของภาควิชาฟิสิกส์ โดยบริเวณชั้น 3 เป็นที่ตั้งของสำนักงานภาควิชาฟิสิกส์ และบริเวณชั้น 4 เป็นที่ตั้งของสถานวิจัยการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอเซนเซอร์
  • ลานบานบุรี อยู่ระหว่างอาคารฟิสิกส์กับอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เดิมเรียกว่า "ลานฟิสิกส์" เป็นที่จัดกิจกรรมภายในคณะ
  • อาคารเคมี เป็นอาคาร 5 ชั้น ทอดตัวยาวจากอาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์จนถึงอาคารชีววิทยา เป็นที่ตั้งของภาควิชาเคมี โดยบริเวณชั้น 1 ของอาคารเป็นที่ตั้งของสำนักงานภาควิชาเคมี, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของคณะ, หน่วยคอมพิวเตอร์ และชุมนุมเคมีสัมพันธ์อีกด้วย
  • อาคารชีววิทยา เป็นอาคาร 4 ชั้น อยู่ข้างสนามวิดยาดินแดง เชื่อมต่อกับอาคารเคมี เป็นที่ตั้งของภาควิชาชีววิทยา โดยบริเวณชั้น 1 เป็นที่ตั้งของสำนักงานภาควิชาชีววิทยา, ห้องหัวหน้าภาควิชา, ห้องบรรยาย B101 และห้องปฏิบัติการอนุกรมวิธานของพืช, บริเวณชั้น 2 เป็นที่ตั้งห้องประชุมภาควิชา, ห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาของพืช และหน่วยวิจัยแพลงก์ตอน, บริเวณชั้น 3 เป็นที่ตั้งของชุมนุมชีววิทยา, ห้องบรรยาย B307, หน่วยวิจัยสาหร่ายและหญ้าทะเล และหน่วยวิจัยแมลง และบริเวณชั้น 4 เป็นที่ตั้งของพิพิทธภัณฑ์พืช หน่วยวิจัยพรรณพฤกษชาติในคาบสมุทรไทย-มาเลย์ และห้องปฏิบัติการสัณฐานวิทยาของพืชและสาหร่ายอีกด้วย
  • สนามวิดยาดินแดง เป็นสนามหญ้าที่สามารถใช้เล่นกีฬาได้ เช่น ฟุตบอล เป็นสนามหญ้าที่รายล้อมด้วยอาคาร 4 อาคาร ได้แก่ อาคารฟิสิกส์, อาคารเคมี, อาคารชีววิทยา และอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ และบริเวณกลางสนามมีต้นไม้ใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ เป็นที่จัดกิจกรรมของคณะ โดยเฉพาะกิจกรรมประชุมเชียร์ และกีฬาภายในภาควิชา
  • อาคารพรีคลินิก เป็นอาคารสูง 5 ชั้น อยู่บริเวณเดียวกับอาคารเคมี โดยมีทางเชื่อมระหว่างอาคาร เป็นที่ตั้งของภาควิชา ได้แก่ ชั้น 1 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์, ชั้น 2 ภาควิชาเภสัชวิทยา, ชั้น 3 ภาควิชาสรีรวิทยา, ชั้น 4 ภาควิชาชีวเคมี และชั้น 5 ภาควิชาจุลชีววิทยา
  • อาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เป็นอาคารสูง 6 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารพรีคลินิก โดยบริเวณชั้น 1 ของอาคารเป็นที่ตั้งของห้องบรรยาย วท 1-3, บริเวณชั้นที่ 2 ที่ตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุและภาควิชาชีววิทยา (บางส่วน) ห้องปฏิบัติการสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและนิเวศวิทยา, ห้องปฏิบัติการสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก, หน่วยวิจัยปะการังและสัตว์พื้นทะเล, บริษัท มารีน อีโคเสิร์ช แมเนจเมนท์ จำกัด และหน่วยวิจัยค้างคาว, ชั้นที่ 3 ที่ตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ, ชั้นที่ 4 ที่ตั้งภาควิชาชีวเคมี และชั้นที่ 5-6 ที่ตั้งภาควิชาจุลชีววิทยา
  • พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี เป็นอาคารเชื่อมระหว่างอาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับอาคารปฏิบัติการรวมใหม่ ภายในจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมชาติ, การกำเนิดของโลก, พืช, สัตว์ในประเทศไทย และกลไกการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ นอกจากนี้บริเวณหน้าอาคารยังจัดแสดงหินชนิดต่างๆ และมีประติมากรรมไดโนเสาร์รูปแบบจำลอง 3 ตัว
  • อาคารปฏิบัติการรวม (ML) เป็นอาคาร 3 ชั้น ภายในมีห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติการทางพรีคลินิกและวัสดุศาสตร์ หน่วยรับบริจาตร่างกายเพื่อการศึกษา และศูนย์ฝึกผ่าตัดอาจารย์ใหญ่ อยู่ด้านหลังอาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และอยู่ติดกับอาคารบ่อดองผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "อาจารย์ใหญ่" ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์
  • อาคารปฏิบัติการรวมใหม่ (NML) เป็นอาคารสูง 5 ชั้น โดยบริเวณชั้น 1 เป็นที่ตั้งของห้องบรรยาย NML 1-3 และห้องเก็บตัวอย่างอ้างอิงของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี, บริเวณชั้น 2 เป็นห้องปฏิบัติการทางมหกายวิภาคศาสตร์, บริเวณชั้น 3 เป็นห้องปฏิบัติการทางสรีรวิทยาและห้องปฏิบัติการทางเภสัชวิทยา, บริเวณชั้น 4 เป็นห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา และชั้น 5 เป็นห้องปฏิบัติการทางชีวเคมีและห้องปฏิบัติการทางเคมีอินทรีย์ โดยเฉพาะบริเวณชั้น 2 เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการทางมหกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งนักศึกษาทางด้านสายวิทยาศาสตร์สุขภาพจะมีโอกาสศึกษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "อาจารย์ใหญ่" และคณะวิทยาศาสตร์จะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติทุกปี
  • อาคารเรียนและปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (BSc) เป็นอาคารสูง 10 ชั้น เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 แล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 โดยบริเวณชั้น 1 ของอาคารมีห้องกระจกสำหรับแสดงนิทรรศการต่างๆของคณะ, ลานอเนกประสงค์ และเซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven), ชั้น 2 ห้องบรรยาย และที่ตั้งภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและสารสนเทศ, ชั้น 3 ห้องบรรยาย, บริเวณชั้น 4 ห้องบรรยายและห้องเรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ชั้น 5 ห้องเรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสำนักงานภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์, ชั้น 6 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ชั้น 7 ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์, ชั้น 8 ห้องปฏิบัติการชีววิทยา และห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์, ชั้น 9 ห้องปฏิบัติการเคมี และชั้น 10 ที่ตั้งภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและสารสนเทศ

กิจกรรมที่สำคัญ

แก้

กิจกรรมประชุมเชียร์

แก้

จัดขึ้นในช่วงสองสัปดาห์แรกของภาคการศึกษาที่ 1 โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์[3] ได้แก่

  • การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน และมีเจตนาที่ดีระหว่างกัน
  • การปรับตัวเข้าหากันในสถานการณ์ และโอกาสที่ต่างกัน
  • การทำงานร่วมกันภายใต้อิทธิพลกลุ่ม
  • การสร้างความคุ้นเคย และความไว้วางใจซึ่งกันและกันในหมู่นักศึกษา
  • การสร้างความสามัคคี และการช่วยเหลือกันในปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
  • การได้รู้จักกับนักศึกษาใหม่ซึ่งอาจจะไม่รู้จักกันมาก่อนและพร้อมที่จะเป็นเพื่อนกัน คอยช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ตักเตือน และสนับสนุนกัน

โดยใช้ห้อง L1 อาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร, ลานด้านล่างอาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร และสนามวิดยาดินแดงในการจัดกิจกรรม

สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

แก้

จัดขึ้นในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ซึ่งตรงกับวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยคณะวิทยาศาสตร์เป็นศูนย์ในการจัดงานของภาคใต้ กิจกรรมภายในงาน[4] ได้แก่

กิจกรรมวันเปิดกระปุกออมสิน

แก้
คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับสมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินการโครงการวันละสิบบาทเพื่อน้อง ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2546 และได้จัดงานเปิดกระปุกออมสิน เป็นประจำทุกปี โดยเริ่มครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2547 และนำเงินที่ได้จัดตั้งเป็นกองทุนย่อย “วันละสิบบาทเพื่อน้อง” เงินกองทุนฯ นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเงินทุนสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมฯ โดยทางสมาคมฯ สามารถยืมเงินเพื่อนำไปเป็นเงินทดรองจ่ายในการจัดกิจกรรมของสมาคมฯ ได้โดยไม่คิดดอกเบี้ย[9]

ค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท

แก้

เริ่มจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 โดยจัดขึ้นในช่วงปิดภาคการศึกษาที่ 1[10] มีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เพื่อให้นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ ฝึกการทำงานโดยการปฏิบัติจริง ทั้งในด้านวิชาและด้านการปฏิบัติ
  • สร้างค่านิยมด้านความร่วมมือ ความสามัคคีในหมู่คณะ รู้และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนรู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น
  • ฝึกให้นักศึกษาทำงานอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนและขั้นตอนในการทำงานตลอดจนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในงานที่ทำร่วมกัน
  • เสริมสร้างพื้นฐานทางการศึกษาของชุมชนที่ห่างไกลความเจริญ ทั้งในด้านวิชาการและอุปกรณ์การเรียนการสอน

โดยกิจกรรมหลักของค่ายคือการสร้างสาธารณสมบัติ เช่น อาคาร สื่อการเรียนการสอน สำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลน รวมถึงกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านในชุมชนกับนักศึกษา

งานลอยกระทง

แก้
มหาวิทยาลัยกำหนดให้สระหน้าอาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร เป็นสถานที่ในการลอยกระทง[11]

กีฬาประเพณีวิดยา-ศึกษา-วิดยา

แก้
เดิมเรียกว่า กีฬาสัมพันธ์ ม.อ.- มศว เป็นการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยทักษิณ) ต่อมาเมื่อ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เข้าร่วมการแข่งขัน จึงมีการเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็นชื่อที่ใช้อยู่ปัจจุบัน โดยทั้งสามคณะจะหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพทุกปี[12]

โครงการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงาน

แก้
เป็นการจัดฝึกอบรมเสริมความรู้ให้กับว่าที่บัณฑิตเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ชีวิตคนทำงาน[13]

งานเลี้ยงอำลาพี่ปี 4

แก้
จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อแสดงความยินดีแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา โดยในระยะแรกใช้สถานที่บริเวณลานหินแตก (ลานด้านบนอาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร ) บริเวณหน้าตึกเคมี สลับกับลานบานบุรี เป็นสถานที่จัดกิจกรรม ต่อมาเมื่อมีการสร้างเวทีถาวรที่ลานบานบุรี จึงใช้ลานดังกล่าวเป็นสถานที่จัดกิจกรรมจนถึงปัจจุบัน โดยในงานจะมีการแสดงจากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 แต่ละภาควิชา การแสดงจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รวมถึงการประกวดชุดแต่งกายสวยงามของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่เข้าร่วมงาน[14]

ผลงานวิจัยและประดิษฐ์ที่สำคัญ

แก้

สาขาวิชาเคมี

แก้
การพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยโดย รศ.ดร.เพริศพิชญ์ คณาธารณา ภาควิชาเคมี[15]

สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์

แก้
การค้นพบสารเอสโตรเจนในน้ำมะพร้าวอ่อน โดย รศ.ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด ภาควิชากายวิภาคศาสตร์[16]

สาขาวิชาชีวเคมี

แก้
ครีมผิวขาวจากน้ำยางพารา โดย ศ.ดร.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล ภาควิชาชีวเคมี[17]

สาขาวิชาฟิสิกส์

แก้
  • หุ่นยนต์กู้ระเบิด โดย ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์ ภาควิชาฟิสิกส์[18]
  • งานวิจัยเรื่อง สมบัติให้ความร้อนเอ็นทีซี พีพีซี การเก็บประจุไฟฟ้าของอิเล็กทรอนิกส์เซรามิกส์และการประยุกต์ใช้ โดย รศ.ธงชัย พันธ์เมธาฤทธิ์ ภาควิชาฟิสิกส์ (รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2549[19])
  • การพัฒนาชุดตรวจน้ำปนเปื้อนด้วยเทคโนโลยีไบโอเซ็นเซอร์ โดย รศ.ดร.ปณต ถาวรังกูร ภาควิชาฟิสิกส์[20]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้
  • พล.ต.ต.นพ.พงศ์ธร สุโฆสิต (เคมี) ศัลยแพทย์เชี่ยวชาญ สาขากุมารศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ
  • พล.ต.ต.สุเมธ พงษ์ลิมานนท์ (เคมี) อดีตผู้บังคับการศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10
  • จารุวรรณ จันทิมาพงษ์ (เคมี รุ่น 1) รองอธิบดีกรมธนารักษ์
  • ดร.นพวรรณ ตันพิพัฒน์ (เคมี รุ่น 10) รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • ผศ.ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ (ฟิสิกส์ รุ่น 24) ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ วิชาการ.คอม
  • ดร.รอยล จิตรดอน (คณิตศาสตร์ รุ่น 2) ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ปฐมา จันทรักษ์ (คณิตศาสตร์ รุ่น 17) รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
  • สาธิต วงศ์สัมพันธ์ (โบ้) (ชีววิทยา รุ่น 25) นักดนตรีวงลำดวน
  • ศ.ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น (เคมี) นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาชีวเคมี ประจำปี พ.ศ. 2548 และประจำปี พ.ศ. 2546
  • ผศ.ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง (เคมี) นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2547
  • “ครูก้อย” นัชชา ลอยชูศักดิ์ (ฟิสิกส์) ครูวิทยาศาสตร์ที่ปรึกษาผู้มีบุตรยากและผู้ก่อตั้งเพจ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติ/พันธกิจ/วิสัยทัศน์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-28. สืบค้นเมื่อ 2018-06-01.
  2. "ประมวลภาพย้อนรำลึกถึงอดีต..." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  3. ข่าวกิจกรรมประชุมเชียร์ จากหน่วยกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์[ลิงก์เสีย]
  4. เว็บไซต์งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2548[ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  6. "การบรรยาย :"เศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-21. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  7. "การบรรยาย : "จะอยู่อย่างไรกับโลกร้อน?"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-21. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  8. "การบรรยาย : "เตรียมตัวอย่างไรกับการเรียนคณะวิทยาศาสตร์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-21. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  9. "งานเปิดกระปุกออมสิน ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2551". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  10. ข่าวค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท ครั้งที่ 30[ลิงก์เสีย]
  11. ข่าวงานประเพณีลอยกระทง[ลิงก์เสีย]
  12. ข่าวกิจกรรมกีฬาประเพณีวิดยา-ศึกษา-วิดยา จากหน่วยกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์[ลิงก์เสีย]
  13. "โครงการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  14. ข่าวงานเลี้ยงอำลาพี่ปี 4[ลิงก์เสีย]
  15. [1][ลิงก์เสีย]
  16. ค้นพบ เอสโตรเจนในน้ำมะพร้าวอ่อนชะลอ อัลไซเมอร์ จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2549[ลิงก์เสีย]
  17. ครีมผิวขาวจากน้ำยางพารา[ลิงก์เสีย]
  18. มอ.สร้างหุ่นกู้ระเบิด 3 จว.ภาคใต้ จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ[ลิงก์เสีย]
  19. นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับรางวัลผลงานวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
  20. การพัฒนาชุดตรวจน้ำปนเปื้อนด้วยเทคโนโลยีไบโอเซ็นเซอร์[ลิงก์เสีย]