คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Faculty of Pharmaceutical Sciences, Prince of Songkla University) เป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูงในสาขาเภสัชศาสตร์ ที่ดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นแห่งแรกในภาคใต้

คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่
Faculty of Pharmaceutical Sciences, Prince of Songkla University
ชื่อย่อภ. / PS
สถาปนา26 ธันวาคม พ.ศ. 2521 (45 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณบดีรศ.ภก.ดร.นิมิตร วรกุล
ที่อยู่
เลขที่ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112
วารสารวารสารเภสัชกรรมไทย
สี  สีเขียวมะกอก
มาสคอต
ถ้วยยาไฮเกีย, โกร่งบดยา, เรซิพี (℞)และเฉลว
สถานปฏิบัติสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 1, ร้านยาโอสถศรีตรัง
เว็บไซต์pharmacy.psu.ac.th

ประวัติ

แก้

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 110/5 หมู่ 3 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นับเป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูงในสาขาเภสัชศาสตร์ ที่ดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นแห่งแรกในภาคใต้ โดยเริ่มจัดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามการอนุมัติของรัฐบาลใน พ.ศ. 2515 คณะเภสัชศาสตร์ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร. สุนาลินี นิโครธานนท์ เป็นคณบดีคนแรก เริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เมื่อปีการศึกษา พ.ศ. 2522 จำนวน 19 คน โดยนักศึกษาในรุ่นแรกนี้ เป็นนักศึกษาที่รับจากการสอบตรงทั้งหมด นับถึงปีการศึกษา พ.ศ. 2556 คณะฯ ได้รับนักศึกษามาแล้ว 36 รุ่น และได้ผลิตเภสัชกรออกไปทำงานรับใช้สังคมประมาณ 3,177 คน[1]

หน่วยงาน

แก้

หน่วยงานภายในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[2]

กลุ่มบริการวิชาการ

แก้

กลุ่มงานวิจัย

แก้

อื่นๆ

แก้

สาขาวิชา[3]

แก้
  1. เภสัชกรรมคลินิก
  2. เภสัชเคมี
  3. เภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
  4. บริหารเภสัชกิจ
  5. เทคโนโลยีเภสัชกรรม

หลักสูตร

แก้
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มวิชา/ภาควิชา/สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

กลุ่มงานวิชาการ

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.

  • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
  • สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม

หลักสูตรเภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต (ภ.ม.)

  • สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
  • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
  • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางค์(หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุมนไพร (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
  • สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม

ทำเนียบคณบดี

แก้

รายนามคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

ทำเนียบคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[4]
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1.รองศาสตราจารย์. ดร. ภญ. สุนาลินี นิโครธานนท์ พ.ศ. 2522-2530
2.พันโท ศาสตราจารย์ ดร. ภก. สามารถ อังศุสิงห์ พ.ศ. 2530-2533
3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก. ณรงค์ สุภาวิตา พ.ศ. 2533-2533 (รักษาการในตำแหน่ง)
4.รองศาสตราจารย์. ดร. ภก. ปิติ ทฤษฎิคุณ พ.ศ. 2533-2541
5.รองศาสตราจารย์. ดร. ภญ. วิมล ตันติไชยากุล พ.ศ. 2541-2545
6.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก. นิวัติ แก้วประดับ พ.ศ. 2545-2552 (1 มิถุนายน 2552)
7.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ. สิริรัศมิ์ ปิ่นสุวรรณ พ.ศ. 2552-2560
8.รองศาสตราจารย์. ดร. ภก. นิมิตร วรกุล พ.ศ. 2560 (1 ตุลาคม 2560)-ปัจจุบัน

อันดับของคณะ

แก้

จากผลการรายงาน 50 อันดับของคณะทางสาขาชีวการแพทย์ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2552 โดยประเมินคุณภาพของการเรียนการสอนและงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้อันดับที่ 40 ในสาขาด้านชีวการแพทย์ทั้งหมด เป็นอันดับที่ 7 ในคณะเภสัชศาสตร์ทั้งหมดและเป็นอันดับ 1 ของคณะเภสัชศาสตร์ในภาคใต้[5][6][7] ในส่วนผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยสภาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีร้อยละของนิสิตผู้สอบผ่านมากเป็นอันดับต้นๆ ของคณะเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศ โดยสถิติตั้งแต่ปี 2552 โดยสภาเภสัชกรรม มีดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2552 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 94.3 (อันดับที่ 1)[8]
  • ปี พ.ศ. 2553 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 77.6 (อันดับ 5)[9]
  • ปี พ.ศ. 2554 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 90.0 (อันดับ 4)
  • ปี พ.ศ. 2555 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 80.0 (อันดับ 8)[10]
  • ปี พ.ศ. 2556 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 87.7 (อันดับ 9)[11]
  • ปี พ.ศ. 2560 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 90.1 (อันดับ 9)[12]
  • ปี พ.ศ. 2561 มีนิสิตผ่านร้อยละ 80.43 (อันดับ 13)[13]

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติคณะเภสัชศาสตร์. 2 ตุลาคม 2564.
  2. หน่วยงานภายในคณะเภสัชศาสตร์ มอ. 2 ตุลาคม 2564.
  3. สาขาวิชา คณะเภสัชศาสตร์. 2 ตุลาคม 2564.
  4. ทำเนียบคณบดีคณะเภสัชศาสตร์. 2 ตุลาคม 2564.
  5. จัดอันดับคุณภาพคณะชีวการแพทย์ 50 อันดับแรก สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564
  6. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 50 อันดับคณะชีวการแพทย์ สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564
  7. เปิด 50 อันดับสาขาด้าย "วิจัย-สอน" สืบค้นเมื่อวันที่2 ตุลาคม พ.ศ. 2564
  8. Unigang เก็บถาวร 2011-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สภาเภสัชฯห่วงคุณภาพ 'หมอยา'ไทยชี้บัณฑิตเภสัชฯม.เอกชนห่วย-ส่อเค้าสั่งห้ามผลิต สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564
  9. Unigang เก็บถาวร 2012-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมปี 2553 สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564
  10. Unigang เก็บถาวร 2012-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลสอบใบประกอบวิชาชีพ เภสัช 2555 !! ! สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564
  11. KM มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอแสดงความยินดีกับผลสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ปี 2556 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564
  12. tobepharmacist ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ปี 2560 สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564
  13. tobepharmacist ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ปี 2561 สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้