อุดมศึกษา
อุดมศึกษา หมายถึง ระดับการศึกษาต่อเนื่องจากระดับมัธยมศึกษา คำว่า อุดมศึกษา มีรากศัพท์มาจากศัพท์ภาษาบาลี "อุตม" หมายถึง สูงสุด และศัพท์ภาษาสันสกฤต ศิกฺษา หมายถึง การเล่าเรียน ดังนั้น คำว่า "อุดมศึกษา" จึงหมายถึง การเรียนขั้นสูงสุด
การอุดมศึกษาในประเทศไทย
แก้การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยนั้น เริ่มขึ้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ก่อตั้งโรงเรียนกฎหมาย โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนช่างไหม รวมถึงโรงเรียนมหาดเล็ก แต่ยังไม่สามารถให้การศึกษาถึงขั้นปริญญาได้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ในปัจจุบัน การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด 157 แห่งทั่วประเทศ (พ.ศ. 2553)[1] โดยแบ่งเป็น
- สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
- กลุ่มมหาวิทยาลัย 8 แห่ง
- กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง
- กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 8 แห่ง
- กลุ่มสถาบัน 7 แห่ง (รวมสถาบันวิทยาลัยชุมชนแล้ว)
- สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
- กลุ่มในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 25 แห่ง (รวมราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์แล้ว)
- กลุ่มในกำกับกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง
- กลุ่มในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 23 แห่ง
- สถาบันอุดมศึกษาเอกชน 74 แห่ง
นอกจากนี้ ยังมีการจัดการศึกษาโดย มหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือ บัณฑิตวิทยาลัย ที่อาจจะไม่ได้อยู่ในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เช่น วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ กระทรวงกลาโหม นอกจากนี้โรงเรียนสาธิตก็ยังสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาอีกด้วย
รูปแบบสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
แก้รูปแบบสถาบันอุดมศึกษาของไทยนั้น มีหลากหลายชื่อเรียกขาน แต่หากเปรียบเทียบแล้วมีฐานะเดียวกันหากแตกต่างเฉพาะชื่อเรียกและตำแหน่งบริหารเท่านั้น อธิบายได้ดังนี้
เทียบเท่ามหาวิทยาลัย
แก้หน่วยงาน | ตำแหน่งหัวหน้าบริหาร | ตำแหน่งหัวหน้าวิชาการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
มหาวิทยาลัย | อธิการบดี | นายกสภามหาวิทยาลัย | มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่เปิดส่วนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี โท เอก |
สถาบัน | อธิการบดี/ผู้อำนวยการสถาบัน | นายกสภาสถาบัน | สถาบันมีฐานะเที่ยบกับมหาวิทยาลัย โดยมีศักดิ์ละสิทธิให้ปริญญาบัตรตามกฎหมายเช่นกัน สถานศึกษาที่ใช้ชื่อ "สถาบัน" เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, สถาบันการอาชีวศึกษา 23 แห่ง |
วิทยาลัย | อธิการบดี/ผู้อำนวยการวิทยาลัย | นายกสภาวิทยาลัย | วิทยลัย มีฐานะเที่ยบกับคำว่า สถาบัน, มหาวิทยาลัย โดยมีศักดิ์ละสิทธิให้ปริญญาบัตรตามกฎหมายเช่นกัน สถานศึกษาที่ใช้ชื่อ "วิทยาลัย" เช่น วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก, วิทยาลัยดุสิตธานี เป็นต้น โดยวิทยาลัยเหล่านี้มีความเป็นเอกเทศ (ระวังสับสนกับ วิทยาลัยที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของสถาบันอุดมศึกษาหรือเรียกว่าเทียบเท่า คณะวิชาหนี่ง) |
เทียบเท่าคณะ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "รายชื่อสถาบันต่าง ๆ ที่อยู่สังกัด สกอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2009-11-28.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เก็บถาวร 2006-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน