สถาบันการอาชีวศึกษา

สถาบันการอาชีวศีกษา [1] (อังกฤษ: Vocational Education Institution) เป็นกลุ่มสถาบันรัฐในประเทศไทย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2555 เพื่อเปิดการสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และปริญญาตรี (ทล.บ.) โดยใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ

สถาบันการอาชีวศึกษา
ชื่อย่อสอ. / VEI
ประเภทสถาบันของรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ. 2555
เว็บไซต์ivec.vec.go.th

ประวัติ

แก้
ยุคก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิค ปี พ.ศ. 2495 - 2513

ในปี พ.ศ. 2495 กรมอาชีวศึกษาได้เริ่มจัดตั้ง วิทยาลัยเทคนิค 5 แห่งที่กรุงเทพ ต่อมาก็มีวิทยาลัยเทคนิคที่สงขลา นครราชสีมา เชียงใหม่ และธนบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2502 - 2512 โดยความช่วยเหลือจากประเทศเยอรมนี จึงมีการจัดตั้งโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในปัจจุบัน) ความช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่น ในการจัดตั้งศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปัจจุบัน), ความช่วยเหลือจากประเทศเยอรมนี ในการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ในปัจจุบัน) และความช่วยเหลือจากประเทศออสเตรีย ในการจัดตั้ง โรงเรียนเทคนิคสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สถานศึกษาหลายแห่งได้รับการพัฒนาและเปิดสอนจนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และในปี พ.ศ. 2512 วิทยาลัยพณิชยการพระนคร ได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัย แห่งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2522 กรมอาชีวศึกษามีวิทยาลัยอยู่ในสังกัด 159 แห่ง

นโยบายวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2514 - 2529

เมื่อมีพระราชบัญญัติ ปี พ.ศ. 2514 จึงมีการจัดตั้ง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า โดยรวมวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี, วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ในสังกัดกรมอาชีวศึกษาไปรวมเป็นสถาบัน และเปิดการสอนถึงระดับปริญญาตรี และในช่วงปี พ.ศ. 2515 - 2522 ก็มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของโรงเรียนอาชีวศึกษา โรงเรียนการช่าง และโรงเรียนเกษตรกรรมค่าง ๆ เป็นวิทยาลัย มีประกาศใช้หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) และหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องปริญญาตรี 2 ปี

นโยบายการอาชีพ ปี พ.ศ. 2530 - 2555

เริ่มจากปี พ.ศ. 2530 มีการจัดตั้ง "วิทยาลัยการอาชีพ" ในจังหวัดมุกดาหาร และแม่ฮ่องสอน เพื่อจัดการศึกษาทุกประเภทวิชาชีพและทุกหลักสูตร มีโรงเรียนสารพัดช่างวังไกลกังวลเป็ผู้นำทาง หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอีก 93 แห่ง ในช่วงปี 2535-2539 และในปี พ.ศ. 2540 กรมอาชีวศึกษาก็ได้จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพ 70 แห่ง วิทยาลัยเทคนิค 19 แห่ง และวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยว 2 แห่ง

นโยบายวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ปี พ.ศ. 2550

ปี พ.ศ. 2550 กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมกันทำ "โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง" เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีทักษะด้านช่าง ในปี พ.ศ. 2552 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยการอาชีพพานทองเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) เพื่อรองรับการขยายผลของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบของห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม (school in school)

สถาบันการอาชีวศึกษา

แก้

ในช่วงปี พ.ศ. 2555 - 2556 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศกฎกระทรวงให้สถาบันการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษารวมกัน [1] [2] เพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูง ผลิตบุคลากรสายอาชีพที่เชียวชาญ ชำนาญงาน เข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยรองรับการศึกษาขั้นสูงระดับปริญญาตรี สถาบันการอาชีวศึกษาในนโยบายใหม่นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

ในปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงมีสถาบันการศึกษาในสังกัด 2 กลุ่ม

  1. สถาบันการอาชีวศึกษา และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ซึ่งเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี
  2. วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ และวิทยาลัยอื่น ๆ ซึ่งเปิดสอนระดับชั้น ปวช. และ ปวส. เท่านั้น

ทั้งนี้ ทุกหลักสูตรที่เปิดสอนใช้กรอบมาครฐานการศึกษา ดังนี้


สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร

แก้
ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 "กฎกระทรวง การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. 2556" ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อจัดตั้ง "สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร" [2] เป็นการรวมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ให้เป็นหน่วยงานเดียวกัน โดยแยกตามภาค 4 ภาค

หลักสูตร

แก้

สถาบันการอาชีวศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร เปิดสอนหลักสูตร 3 ระดับชั้น ตามมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้แก่

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

แก้

ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2556 - 2561 กำหนดมาตรฐานหลักสูตรและสาขาวิชา 9 ประเภทวิชา 51 สาขาวิชา ดังนี้ [3]

# กลุ่ม / ประเภทวิชา สาขาวิชา
1 อุตสาหกรรม
  • ช่างยนต์
  • ช่างกลโรงงาน
  • ช่างซ่อมบำรุง
  • ช่างต่อเรือ
  • ช่างเขียนแบบเครื่องกล
  • ช่างเชื่อมโลหะ
  • ช่างไฟฟ้ากำลัง
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์
  • โทรคมนาคม
  • มคคาทรอนิกส์
  • ช่างก่อสร้าง
  • สถาปัตยกรรม
  • สำรวจ
  • โยธา
  • ช่างเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน
  • ช่างพิมพ์
  • อุตสาหกรรมยาง
  • เทคนิคแว่นตาและเลนส์
  • เทคนิคคอมพิวเตอร์
  • สุตสาหกรรมฟอกหนัง
2 พาณิชยกรรม
  • การบัญชี
  • การตลาด
  • การเลขานุการ
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • ธุรกิจค้าปลีก
  • ธุรกิจสถานพยาบาล
  • การประชาสัมพันธ์
  • ภาษาต่างประเทศ
  • การจัดการด้านความปลอดภัย
3 ศิลปกรรม
  • วิจิตรศิลป์
  • การออกแบบ
  • ศิลปหัตกรรม
  • อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  • ศิลปกรรมเซรามิก
  • การถ่ายภาพและะวีดีทัศน์.
  • เทคโนโลยีศิลปกรรม
  • คอมพิวเตอร์กราฟิก
  • ศิลปการดนตรี
  • ศิลปหัตถกรรมรูปพรรณและเครื่องประดับ
  • เครื่องประดับอัญมณี
  • ช่างทองหลวง
  • การพิมพ์สกรีน
  • ออกแบบนิเทศศิลป์
4 คหกรรม
  • แฟชั่นและสิ่งทอ
  • อาหารและโภชนาการ
  • คหกรรมศาสตร์
  • เสริมสวย
  • ธุรกิจคหกรรม
5 เกษตรกรรม
  • เกษตรศาสตร์
6 ประมง
  • เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • แปรรูปสัตว์น้ำ
7 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
  • การโรงแรม
  • การท่องเที่ยว
8 อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • เทคโนโลยีสิ่งทอ
  • เคมีสิ่งทอ
  • เทคโนโลยีเครื่องนุ่งห่ม
9 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
เชิงอรรถ

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

แก้

ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ 552/2557 ปี พ.ศ. 2557 [4] กำหนดมาตรฐานหลักสูตรและสาขาวิชา และการปรับปรุงเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2558 - 2561 มี 9 ประเภทวิชา และสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้

# กลุ่ม / ประเภทวิชา สาขาวิชา
1 อุตสาหกรรม
  • เทคนิคเครื่องกล [a]
  • เทคนิคการผลิต [b]
  • ไฟฟ้า [c]
  • อิเล็กทรอนิกส์ [d]
  • ช่างก่อสร้าง
  • อุตสาหกรรมเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน
  • เทคนิคสถาปัตยกรรม
  • สำรวจ
  • เทคนิคพลังงาน
  • เทคนิคกายอุปกรณ์
  • โยธา
  • เทคโนโลยียาง
  • เทคนิคโลหะ
  • เขียนแบบเครื่องกล
  • เทคนิคอุตสาหกรรม
  • การพิมพ์
  • เทคโนโลยีการต่อเรือ
  • เทคโนโลยีโทรคมนาคม
  • เครื่องมือวัดและควบคุม
  • เคมีอุตสาหกรรม
  • ปิโตรเคมี
  • ช่างอากาศยาน [e]
  • เมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
  • เทคโนโลยีปิโตรเลียม
  • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • การตรวจสอบโดยไม่ทำลาย [f]
  • ช่างเทคนิคระบบขนส่งทางราง [f]
  • เทคนิคขึ้นรูปพลาสติก [f]
  • เทคนิคเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ [g]
2 บริหารธุรกิจ
  • การบัญชี
  • การตลาด [h]
  • การเลขานุการ
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • การจัดการธุรกิจค้าปลีก
  • การจัดการโลจิสติกส์
  • การจัดการสำนักงาน
  • การเงินและการธนาคาร
  • การจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • ธุรกิจสถานพยาบาล
  • ภาษาต่างประเทศธุรกิจ
  • การจัดการทั่วไป
  • ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
3 ศิลปกรรม
  • วิจิตรศิลป์
  • การออกแบบ
  • ศิลปหัตกรรม
  • เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  • เทคโนโลยีเซรามิก
  • การถ่ายภาพและมัลติมีเดีย
  • เทคโนโลยีศิลปกรรม
  • คอมพิวเตอร์กราฟิก
  • ศิลปหัตถกรรมรูปพรรณและเครื่องประดับ
  • เครื่องประดับอัญมณี
  • การออกแบบเครื่องประดับและอัญมณี
  • ช่างทองหลวง
  • ดนตรีและเทคโนโลยี
  • การพิมพ์สกรีน บรรณาธิการกิจ
  • ออกแบบนิเทศศิลป์ บรรณาธิการกิจ
4 คหกรรม
  • เทคโนโลยีแฟชั่นและสิ่งทอ
  • เทคโนโลยีการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ
  • เทคโนโลยีสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม
  • อาหารและโภชนาการ [i]
  • เพิ่มเติมสาขางานเชพอาหารนานาชาติ
  • อุตสาหกรรมอาหาร
  • การบริหารงานคหกรรมศาสตร์
  • เทคโนโลยีความงาม
  • ธุรกิจคหกรรม
  • การดูแลผู้สูงอายุ
  • เชฟอาหารไทย
5 เกษตรกรรม
  • เกษตรศาสตร์
  • พืชศาสตร์
  • สัตวศาสตร์
  • สัตวรักษ์
  • ช่างกลเกษตร
  • อุตสาหกรรมเกษตร
  • เกษตรอุตสาหกรรม
  • เทคโนโลยีภูมิทัศน์
  • ธุรกิจเกษตรและสหกรณ์ บรรณาธิการกิจ
6 ประมง
  • เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • แปรรูปสัตว์น้ำ
7 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
  • การโรงแรม
  • การท่องเที่ยว
  • การจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเกษตรเชิงนิเวศ
  • การจัดประชุมและนิทรรศการ
  • การโรงแรม [j]
  • สปาและความงาม
8 อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • เทคโนโลยีสิ่งทอ
  • เคมีสิ่งทอ
  • เทคโนโลยีเครื่องนุ่งห่ม [k]
  • เทคโนโลยีการทอผ้าไหมและผ้าพื้นเมือง
9 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์
  • ซอฟต์แวร์ระบบสมองกลฝังตัว
  • คอมพิวเตอร์เกมและแอนิเมชัน
เชิงอรรถ
  1. เทคนิคเครื่องกล : สาขางานเทคนิคเครื่องกลระบบขนส่งทางราง
  2. เทคนิคการผลิต : สาขางานผลิตเครื่องจักรกล
  3. ไฟฟ้า : สาขางานบำรุงรักษาระบบไฟในระบบขนส่งทางราง, สาขางานรถไฟความเร็วสูง
  4. อิเล็กทรอนิกส์ : สาขางานอิเล็กทรอนิกส์การแพทย์
  5. สาขาวิชาที่ปรับปรุง พ.ศ. 2559
  6. 6.0 6.1 6.2 สาขาวิชาที่เพิ่มเติม พ.ศ. 2559)
  7. เพิ่มเติม พ.ศ. 2561
  8. การตลาด : สาขางานธุรกิจการบริการยานยนต์
  9. อาหารและโภชนาการ : สาขางานการประกอบอาหารในเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ
  10. การโรงแรม : สาขางานธุรกิจสนามกอล์ฟ, บริการบนเรือสำราญ
  11. เทคโนโลยีเครื่องนุ่งห่ม หรือ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป

หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ

แก้

การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ในสถาบันการอาชีวศึกษา ใช้มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ปัจจุบันเปิดสอน 6 สาขาวิชา ดังนี้ [5]

# กลุ่มสาขาวิชา สาขาวิชา ชื่อย่อปริญญา
ไทย อังกฤษ
1 อุตสาหกรรม เทคโนโลยียานยนต์ ทล.บ. (เทคโนโลยียานยนต์) B.Tech. (Automotive Technology)
เทคโนโลยีไฟฟ้า ทล.บ. (เทคโนโลยีไฟฟ้า) B.Tech. (Electrical Technology)
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ทล.บ. (บัญชี) B.Tech. (Electronics Technology)
2 บริหารธุรกิจ การตลาด ทล.บ. (การตลาด) B.Tech. (Marketing)
บัญชี ทล.บ. (บัญชี) B.Tech. (Accounting)
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ทล.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) B.Tech. (Business Computer)
3 เกษตรกรรม เทคโนโลยีการผลิตพืช ทล.บ. (เทคโนโลยีการผลิตพืช) B.Tech. (Plant Production Technology)
เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ทล.บ. (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์) B.Tech.
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทล.บ. (เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) B.Tech. (Aquaculture Technology)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 ราชกิจจานุเบกษา การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕, กฎกระทรวง มาตรา เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๕๖ ก ประกาศใช้เมื่อ 27 มิถุนายน 2555. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561.
  2. 2.0 2.1 2.2 ราชกิจจานุเบกษา การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๖, กฎกระทรวง มาตรา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๔๐ ก ประกาศใช้เมื่อ 9 พฤษภาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561.
  3. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา http://bsq2.vec.go.th/course/2556/course56new.html หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 - 2561
  4. คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ 552/2557 และปรับปรุงเพิ่มเติม ที่ 145/2559, 436/2559, 234/2559, 2025/2559, 2202/2559, 419/2560, 1323/2560.
  5. "หลักสูตรระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พุทธศักราช 2557". สำนักมาตราฐานอาชีวศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้