พรทิพย์ โรจนสุนันท์
บทความเชิงชีวประวัตินี้ มีแหล่งอ้างอิงอยู่แล้ว แต่ไม่น่าเชื่อถือ หรือต้องการเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ความถูกต้อง โปรดช่วยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่ขาดไปและที่เชื่อถือได้ เนื้อหาอันเป็นประเด็นถกเถียง โดยเฉพาะที่เป็นเชิงหมิ่นประมาท ใส่ความ หรือว่าร้าย ซึ่งไม่มีแหล่งอ้างอิงโดยสิ้นเชิง หรือมี แต่เชื่อถือมิได้นั้น ให้นำออกทันที |
แพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ หรือชื่อเดิมว่า พรทิพย์ ศรศรีวิชัย (เกิด 21 ธันวาคม พ.ศ. 2497) เป็นนักการเมืองและแพทย์สตรีชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 กรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค ของ วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม[3] คณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่าย (คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) ในส่วนของสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศที่ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศมอบหมาย[4]ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 45/2559 สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ นิติเวชแพทย์ชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย คนที่ 10 ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ ปี 2556 - ปัจจุบัน[5]
แพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., จ.ภ., จ.จ. | |
---|---|
![]() | |
ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556[1] | |
ถัดไป | เอนก ยมจินดา |
ดำรงตำแหน่ง 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557 [2] – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 | |
ก่อนหน้า | เอนก ยมจินดา |
ถัดไป | สุพจน์ นาคเงินทอง |
สมาชิกวุฒิสภาไทย | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (66 ปี) กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | วิชัย โรจนสุนันท์ |
ศาสนา | พุทธ |
ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ระหว่างช่วง 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรมระหว่าง 29 พฤษภาคม 2556 – 17 มิถุนายน 2557 และดำรงตำแหน่ง
ประวัติแก้ไข
พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ชื่อเล่น นาย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของว่าที่ร้อยตรี สาทร กับนางพิสมร ศรศรีวิชัย มีน้องอีกสามคน คือ ดอกเตอร์ พรรณทิพา วิเชียรสวรรค์, ดอกเตอร์ ฐิติมา ตั้งเลิศไพบูลย์ และอาชวิช ศรศรีวิชัย[6]
พรทิพย์ สมรสกับวิชัย โรจนสุนันท์ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 มีธิดา 1 คน ชื่อ ญารวี โรจนสุนันท์ ชื่อเล่น เท็น[6]
การศึกษาแก้ไข
พรทิพย์ โรจนสุนันท์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในระหว่างปี พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2522 และได้รับวุฒิบัตรผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2525 และในปี พ.ศ. 2538 ได้รับอนุมัติเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้แล้วยังได้รับวุฒิบัตรฯจากต่างประเทศ อีกด้วย
- พ.ศ. 2522 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2526 วุฒิบัตรสาขาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2538 อนุมัติบัตรสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2541 Forensic Anthropology, Armed Forces Institute of Pathology Washington DC สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2542 Forensic Pathology, Armed Forces Institute of Pathology Washington DC สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2546 หลักสูตรนักบริหารระดับสูง (นบส.1) รุ่นที่ 3
- พ.ศ. 2548 วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- พ.ศ. 2548 แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- พ.ศ. 2553 หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) รุ่นที่ 15
ประวัติการทำงานแก้ไข
พรทิพย์ โรจนสุนันท์ เคยรับราชการในตำแหน่งนายแพทย์ระดับสี่ ประจำโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 จึงย้ายมาเป็นอาจารย์และหัวหน้าหน่วยนิติเวชศาสตร์และหน่วยตรวจศพ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในระหว่างนั้นยังได้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภาคณาอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2541 และตำแหน่งประธานสภาอาจารย์รามาธิบดี พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2542 อีกด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้โอนมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการแพทย์ สถาบันพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง จังหวัดนนทบุรีและโฆษกกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2546 ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม และในปี พ.ศ. 2548 ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม กระทั่งในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (นักบริหารระดับสูง)และในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[7] ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรมและที่ปรึกษาคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[8]
ประวัติการทำงาน (โดยย่อ)
- พ.ศ. 2534 อาจารย์แพทย์ประจำ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2541 ประธานสภาอาจารย์รามาธิบดี
- พ.ศ. 2542 กรรมการแพทยสภา วาระปี 2542 – 2544
- พ.ศ. 2546 รองผู้อำนวยการ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2548 รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2551 ผู้อำนวยการ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2556 ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม และที่ปรึกษาคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ตำแหน่งทางวิชาการ (โดยย่อ)
- อาจารย์พิเศษ หลักสูตรอัยการและผู้พิพากษา
- อาจารย์แพทย์พิเศษ ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- อาจารย์พิเศษ ระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การภาคทัณฑ์แก้ไข
แพทยสภา หลังมีมติลงโทษภาคทัณฑ์จากการเปิดเผยรายงานตรวจพิสูจน์ศพ นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ[9]พญ.พรทิพย์ได้ร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้แพทยสภาทบทวน โดยอยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารมติแพทยสภาเพื่อยื่นร้องต่อศาลปกครอง
ผลงานแก้ไข
- การพิสูจน์ศพ “ห้างทอง ธรรมวัฒนะ”
- ร่วมชันสูตรชิ้นเนื้อและรวบรวมหลักฐานในคดีที่นายแพทย์วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ฆ่าหั่นศพแพทย์หญิงผัสพรภรรยาของตนเอง
- การพิสูจน์เอกลักษณ์ผู้ตาย ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ณ วัดย่านยาว อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
- การพิสูจน์ศพนิรนามในสุสาน จ.ปัตตานี
- การหาหลักฐานเพื่อค้นหาทนายสมชาย นีละไพจิตร
- การตรวจดีเอ็นเอ แด็ก บิ๊กแอส, ฝ้ายและน้องจัสติน
- การตรวจดีเอ็นเอ พิสูจน์ความเป็นพ่อของ มนต์สิทธิ์ คำสร้อย นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง
- นักเขียนคอลัมน์ "คุ้ยแคะความคิดกับหมอแพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์" ในเว็บไซต์เสถียรธรรมสถาน
- งานเขียนคอลัมน์พิเศษใน หนังสือพิมพ์ข่าวสด เรื่อง แกะรอยแก๊งส์โอรส วัยรุ่นนักเลงหรือผู้ป่วยทางจิต โดยใช้นามปากกาว่า ทิพย์ โอรส
- งานเขียน เช่น แกะรอย DNA, คิดทางขวาง, ใต้คมมีดหมอ, ทำเพื่อศพ, บันทึกสึนามิ, ป่วยเป็นศพ, เปรี้ยวหลบใน, รักเป็นศพ วัยรุ่น...วุ่นวาย...สดใสหรือแสบซ่า, ศพพูดได้, สอนด้วยศพ, สืบจากดวง, สืบจากศพ, สืบจากศพ ภาค 2, สู้เพื่อศพ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยแก้ไข
- พ.ศ. 2556 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2551 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2560 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[12]
- พ.ศ. 2546 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)[13]
- พ.ศ. 2553 - เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2549 - เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข
- The Royal Order of the North Star จากราชอาณาจักรสวีเดน พ.ศ. 2548
รางวัลเกียรติคุณแก้ไข
- ปี 2541 โล่สดุดีเกียรติคุณการส่งเสริมจริยธรรมนิสิตนักศึกษาแพทย์
- ปี 2540 รางวัลสาขาจรรยาบรรณวิชาชีพ
- ปี 2547 รางวัล Beauty of Science Award เพื่อเป็นการเชิดชูนักวิทยาศาสตร์สตรีผู้ที่นำมาซึ่งมิติใหม่แห่งวงการวิทยาศาสตร์
- ปี 2550 รางวัลสตรีนักส่งเสริมสิทธิมนุษยชนดีเด่น จากงานประกาศเกียรติคุณของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2556" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 130, ตอนพิเศษ 67 ง): 2. 2556-06-04. สืบค้นเมื่อ 2556-06-04. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอน 265 ง พิเศษ หน้า 4 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
- ↑ http://www.komchadluek.net/detail/20160322/224552.html
- ↑ นายกสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย พรทิพย์ โรจนสุนันท์ http://web.wattana.ac.th/pta53/porntip.html
- ↑ 6.0 6.1 "พรทิพย์ โรจนสุนันท์". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1271752304&grpid=04&catid=01
- ↑ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000060847
- ↑ "'หมอพรทิพย์'เตรียมร้องศาลปกครองทบทวนมติภาคทัณฑ์". ASTV ผู้จัดการ. 22 กรกฎาคม 2558. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2015-08-21. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help); Check date values in:|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย หน้า ๑๐ เล่ม ๑๓๐ เล่มที่ ๓๐ ข, ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย หน้า ๒๖ เล่ม ๑๒๕ เล่มที่ ๑๗ ข, ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรคุณาภรณ์ หน้า ๖ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข, ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า หน้า ๕ เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข, ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน หน้า ๒ เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๙ ข, ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรมาลาและจักรพรรดิมาลา หน้า ๘ เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข, ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙