สังคมนิยมแรงงาน

องค์กรสังคมนิยมแรงงาน (อสร.)[1][2] หรือชื่อเดิมคือ กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน (กปร.) เป็นองค์กรทางการเมืองมาร์กซิสต์(ลัทธิมาร์กซ์)ในประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2541

โดยแนวคิดสังคมนิยมของมาร์กซ์มองว่า ความไม่เท่าเทียมกันของสังคม ไม่ใช่สิ่งธรรมชาติที่คงอยู่มาแต่เดิม แต่เป็นผลมาจากสังคมชนชั้นและสังคมทุนนิยม ในสังคมทุนนิยมนั้นมีอยู่ด้วยกันสองชนชั้น คือชนชั้นแรงงาน และชนชั้นนายทุน ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่สร้างความเหลื่อมล้ำเพราะเอื้อให้นายทุนสร้างกำไรผ่านการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากการทำงานของแรงงาน (เช่น พนักงานขายสามารถทำรายได้ให้กิจการได้วันละ 1000 บาทต่อวัน แต่ได้รับค่าแรง 300 บาทต่อวัน ซึ่งเป็นค่าแรงขั้นต่ำ มูลค่าอีก 700 บาทที่เหลือนั้นจะเป็นกำไรของนายจ้าง) ในสังคมทุนนิยมนั้น ชนชั้นนายทุนใช้อำนาจทางเศรษฐกิจของตนเองในการสร้างอำนาจทางการเมืองและครอบงำโครงสร้างรัฐเพื่อจะสร้างผลประโยชน์ให้ชนชั้นนายทุน และกดขี่ชนชั้นแรงงาน

องค์กรสังคมนิยมแรงงานและนักสังคมนิยมโดยทั่วไปมิได้มองว่า ระบบสังคมนิยมนั้นขัดต่อธรรมชาติของมนุษย์แต่อย่างใด เพราะระบบทุนนิยมถือกำเนิดเพียงเมื่อ 200-500 ปีที่แล้วเพียงเท่านั้น นักสังคมนิยมมีมุมมองว่า ลักษณะนิสัยใจคอของมนุษย์นั้นถูกกำหนดจากสภาพวัตถุ หรือสภาพแวดล้อมทางสังคม การปลูกฝัง และการเลี้ยงดู และมนุษย์มักมีนิสัยที่ขัดกับระบบทุนนิยมอยู่เสมอ และเมื่อในสมัยสังคมบรรพกาลนั้น ไม่มีระบบทุนนิยม ไม่มีระบบสังคมแบบชนชั้น ไม่มีรัฐบาล

องค์กรสังคมนิยมแรงงานเชื่อในทฤษฎีปฏิวัติถาวร และเชื่อว่าสังคมนิยมเป็นทางออกสำหรับวิกฤติทุนนิยมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ปัจจุบันกลุ่มประชาธิปไตยแรงงานยังคงเคลื่อนไหวอย่างเข้มแข็งโดยได้ผลิตสื่อ หนังสือ และผลงานทางวิชาการออกมาเป็นจำนวนมาก พร้อมกับจัดสัมมนาและกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและในสหภาพแรงงานอย่างต่อเนื่อง

จุดยืนและแนวคิดขององค์กรสังคมนิยมแรงงาน มีดังต่อไปนี้

  1. สังคมนิยมคือประชาธิปไตยทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ
  2. สนับสนุนความเท่าเทียมและความเสมอภาคในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เพศสภาพ
  3. สนับสนุนการกระทำของรัสเซียในสงครามรัสเซีย-ยูเครน
  4. สนับสนุนการปลดแอกชาวปาเลสไตน์ของกลุ่มฮะมาส
  5. สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกลุ่ม BRN

ทั้งนี้ องค์กรนี้สนับสนุนแนวคิดเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ ตามแบบของ พล พต อดีตผู้นำของกัมพูชาประชาธิปไตย[3]

อ้างอิง แก้

  1. สังคมนิยมแรงงาน : เกี่ยวกับเรา
  2. กลุ่ม ‘สังคมนิยมแรงงาน’ แถลง 7 ข้อเนื่องในวันกรรมกรสากล ชี้ยุคโควิดคนจนกระทบหนักสุด
  3. "เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพคือก้าวต่อไปในการสร้างสังคมใหม่". สังคมนิยมแรงงาน. 2023-09-29.