กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

หน่วยงานราชการ

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (อังกฤษ: Ministry of Digital Economy and Society) หรือ กระทรวงดีอีเอส เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การอุตุนิยมวิทยา การสถิติ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เครื่องหมายราชการของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม[1]
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง16 กันยายน พ.ศ. 2559; 7 ปีก่อน (2559-09-16)[2]
หน่วยงานก่อนหน้า
  • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี ฝั่งเหนือ ชั้น 6-9 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี5,172.8517 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[3]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์www.mdes.go.th

ประวัติ แก้

 
เครื่องหมายราชการในยุคกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เดิมชื่อว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[6] จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอุตุนิยมวิทยา และการสถิติ

ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดตั้ง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาแทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 ส่งผลให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องสิ้นสุดลง และจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นแทน กระทรวงเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 ใช้อักษรย่อ ดศ.

ต่อมาในวันที่ 15 กันยายน 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 โดยมีสาระสำคัญคือให้ยกเลิกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  และให้จัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาแทน (เปลี่ยนชื่อกระทรวง)

ต่อมาในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ[7] จึงเท่ากับให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ ปลัดคนแรกของกระทรวงได้แก่ นางทรงพร โกมลสุรเดช[8] ดำรงตำแหน่ง 1 เดือน 20 วันก่อน ไปได้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[9]

ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 มีประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2560 แต่งตั้ง วิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยให้มีผลในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป

ในวันที่ 1 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิด ศูนย์ป้องกันข่าวปลอม ขึ้นในกระทรวง หรือที่รู้จักใน ศูนย์เฟคนิวส์[10]

รายนามปลัดกระทรวง แก้

รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. คุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547
2. ไกรสร พรสุธี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
3. สือ ล้ออุทัย 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553
4. จีราวรรณ บุญเพิ่ม 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555
5. ไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556
6. ดร. สุรชัย ศรีสารคาม 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557
7. ดร.[11]เมธินี เทพมณี 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 15 กันยายน พ.ศ. 2559
8. ทรงพร โกมลสุรเดช 16 กันยายน พ.ศ. 2559 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[12]
9. วิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560
10. อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565
11. วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

หน่วยงานในสังกัด แก้

ส่วนราชการ แก้

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีหน่วยงานระดับกรมในสังกัด 5 หน่วยงาน ได้แก่

รัฐวิสาหกิจ แก้

องค์การมหาชน แก้

นิติบุคคลที่กำกับดูแล แก้

หน่วยงานในอดีต แก้

โครงการ แก้

  • โครงการไซเบอร์คลีน เป็นโครงการความร่วมมือ ระหว่าง กระทรวงไอซีที ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) (บางแห่ง) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ โทรคมนาคมแห่งชาติ)[16] ในการให้บล็อกเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม และร่วมกับเว็บมาสเตอร์ในการรับแจ้ง โดยมุ่งหวังเพื่อช่วยกันยุติสิ่งไม่เหมาะสมบนเว็บไซต์ แต่ทั้งนี้เนื่องจากความร่วมมือในการบล็อกเว็บไซต์นั้นทำได้เฉพาะหากเข้าผ่านผู้ให้บริการเพียงบางรายเท่านั้น ทำให้เป็นการปิดกั้นข่าวสารแก่บางกลุ่ม ซึ่งได้รับการร้องเรียนว่าน่าจะเป็นการละเมิดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และเป็นการปิดกั้นโดยเกิดความไม่เท่าเทียมกัน ขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยและขัดรัฐธรรมนูญ
  • โครงการเครือข่ายยุติธรรม (ดี เอส ไอ ไซเบอร์ฟอร์ซ - DSI Cyberforce) เป็นโครงการความร่วมมือของ ดี เอส ไอ (DSI) ภายใต้สำนักคดีเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสืบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม เพื่อขยายเครือข่ายสอดส่อง ป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต และสกัดกั้นภัยคุกคาม รวมทั้งอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยให้นักเรียน นักศึกษา, บุคคลทั่วไป และอาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน สอดส่อง แจ้งภัย และเป็นศูนย์กลางในการต่อต้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ภาคประชาชน เว็บไซต์โครงการเครือข่ายยุติธรรม เก็บถาวร 2006-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 เว็บไซต์วิดีโอ ยูทูบ ได้ถูกบล็อกภายหลังจากที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สิทธิชัย โภไคยอุดม กล่าวว่าได้ถูกปฏิเสธการนำภาพตัดต่อที่หมิ่นพระบรมฉายาลักษณ์ออกจากระบบ ที่อัปโหลดไว้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550[17]

หมายเหตุ แก้

  1. ย้ายมาจากกระทรวงคมนาคม จากการปฏิรูประบบราชการ แต่เมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้แปรสภาพเป็นหน่วยงานอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญ ในชื่อ สำนักงานคณะกรรมกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2547 และในปี พ.ศ. 2553 ได้เปลี่ยนสถานะเป็นสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จนถึงปัจจุบัน
  2. ได้ถูกโอนย้ายไปสังกัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2559 ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559
  3. ถูกยุบเลิกเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 ตาม พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๖๒ ที่กำหนดให้ยุบเลิกสำนักงานเมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับและให้โอนกิจการ เงินและทรัพย์สิน สิทธิ หนี้และงบประมาณของสำนักงานไปเป็นของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ [15]
  4. 4.0 4.1 ควบรวมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จัดตั้งเป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 291). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 10ง วันที่ 11 มกราคม 2560 หน้า 7-8
  2. พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 เก็บถาวร 2016-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 80 ก หน้า 1 วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559
  3. พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 91 ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  4. เช็ก มติ ครม. แต่งตั้งครบทุกตำแหน่งที่นี่
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก วันที่ 2 ตุลาคม 2545
  7. การประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559
  8. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66/2559 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
  9. ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  10. "ได้ฤกษ์เปิดพ.ย.นี้ เน้นชี้ทำความเข้าใจแจงปชช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-10-18.
  11. ฐานข้อมูลประวัติเมธินี
  12. ประกาศแต่งตั้ง ทรงพร โกมลสุรเดช
  13. องค์การมหาชนที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ. เฉพาะ
  14. "พระราชบัญญัติสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ หมวด ๕ การกำกับดูแลของรัฐ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๑๐ ก หน้า ๑ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐
  16. "การปิดกั้นเนื้อหา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-29. สืบค้นเมื่อ 2007-06-28.
  17. YouTube disappears from Thai Internet[ลิงก์เสีย] ข่าวจากบางกอกโพสต์ (อังกฤษ)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°53′09″N 100°34′33″E / 13.88587°N 100.575939°E / 13.88587; 100.575939