ไฮดรอกซิซีน

(เปลี่ยนทางจาก ไฮดร๊อกซิซีน)

ไฮดรอกซิซีน (Hydroxyzine) เป็นสารต้านฮิสตามีนรุ่นแรกที่อยู่ในกลุ่ม diphenylmethane และ piperazine ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยบริษัทเบลเยียม (Union Chimique Belge) ในปี 2499[7] และยังเป็นยาที่ใช้อย่างกว้างขวางทุกวันนี้ เนื่องจากฤทธิ์ต้านหน่วยรับความรู้สึกหลายอย่างในสมอง ยาจึงมีฤทธิ์คลายกังวลที่มีกำลัง ต้านความหมกมุ่น และรักษาโรคจิตอย่างอ่อน ๆ[8] ทุกวันนี้ มันมักจะใช้โดยหลักเพื่อคลายกังวลและความเครียดที่สัมพันธ์กับโรคจิตประสาท (psychoneurosis) และเป็นยาเพิ่ม (adjunct) ในโรคทางกายอื่น ๆ ที่คนไข้รู้สึกกังวล เนื่องจากฤทธิ์ต้านฮิสตามีน จึงสามารถใช้รักษาความคัน ภาวะรู้สึกเจ็บมากกว่าปรกติ (hyperalgesia) และความคลื่นไส้ที่เกิดจากการป่วยจากการเคลื่อนไหว (เช่นเมารถเมาเรือ) และยังใช้ในบางกรณีเพื่อบรรเทาผลการขาดยากลุ่มโอปิออยด์[9][10] แม้ว่ามันจะมีฤทธิ์ระงับประสาท (sedative) ให้นอนหลับ (hypnotic) และคลายกังวล (anxiolytic) แต่มันไม่มีลักษณะของสารที่ใช้เสพติด รวมทั้งการติดและโอกาสเป็นพิษเหมือนกับยาอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์คล้าย ๆ กัน ยาสามารถใช้เพิ่มผลระงับความเจ็บปวดของยากลุ่มโอปิออยด์ต่าง ๆ และบรรเทาผลข้างเคียงของพวกมัน เช่น ความคัน ความคลื่นไส้ และการอาเจียน การซื้อยาในบางประเทศต้องอาศัยใบสั่งยาจากแพทย์ โดยขายในสองรูปแบบ คือ pamoate และ hydrochloride salt ยาที่คล้าย/สัมพันธ์กับไฮดร๊อกซิซีนรวมทั้ง ไซคลิซีน, บิวคลิซีน และ meclizine ซึ่งมีประโยชน์ ข้อบ่งใช้ ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงเหมือนกับไฮดร๊อกซิซีน

ไฮดรอกซิซีน
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/hˈdrɒksɪzn/
ชื่อทางการค้าAtarax, Vistaril,[2] อื่น ๆ
ชื่ออื่นUCB-4492
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682866
ข้อมูลทะเบียนยา
Dependence
liability
ไม่มี [1]
ช่องทางการรับยาทางปาก, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ประเภทยายาต้านฮิสทามีนรุ่นแรก[3]
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • In general: ℞ (Prescription only)
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผลสูง
การจับกับโปรตีน93%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยาเซทิริซีน, อื่น ๆ
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพผู้ใหญ่: 20.0 ชั่วโมง[4][5]
ผู้สูงอายุ: 29.3 ชั่วโมง[6]
เด็ก: 7.1 ชั่วโมง[4]
การขับออกปัสสาวะ, อุจจาระ
ตัวบ่งชี้
  • (±)-2-(2-{4-[(4-chlorophenyl)-phenylmethyl]piperazin-1-yl}ethoxy)ethanol
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.000.630
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC21H27ClN2O2
มวลต่อโมล374.91 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Clc1ccc(cc1)C(c2ccccc2)N3CCN(CC3)CCOCCO
  • InChI=1S/C21H27ClN2O2/c22-20-8-6-19(7-9-20)21(18-4-2-1-3-5-18)24-12-10-23(11-13-24)14-16-26-17-15-25/h1-9,21,25H,10-17H2 checkY
  • Key:ZQDWXGKKHFNSQK-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

สารต้านฮิสตามีนรุ่นสองคือ เซทิไรซีน จริง ๆ ก็คือ เมแทบอไลต์ของไฮดร๊อกซิซีนที่เกิดในร่างกายมนุษย์ แต่ว่าโดยที่ไม่เหมือนกับไฮดร๊อกซิซีน เซทิไรซีนดูเหมือนจะไม่ข้ามตัวกั้นเลือด-สมอง (blood-brain barrier) อย่างสำคัญ แม้ว่าจะมีรายงานว่ามีผลต่อกล้ามเนื้อและมีฤทธิ์ระงับประสาท ดังนั้น ทำให้เป็นสารต้านฮิสตามีนที่ดี เพราะมีผลระงับความกังวลและฤทธิ์ต่อจิตใจอย่างอื่น ๆ น้อยลง แต่ว่าก็ยังสามารถมีผลต่อกล้ามเนื้อและทำให้ง่วงนอนสำหรับคนไข้บางคนได้

เคมี แก้

 
การสังเคราะห์ไฮดร๊อกซิซีน

ไฮดร๊อกซิซีนสามารถสังเคราะห์ได้โดยกระบวนการเพิ่มกลุ่ม alkyl (alkylation) ของ 1-(4-chlorobenzohydril)piperazine ต่อ 2-(2-hydroxyethoxy)ethylchloride[11]

เภสัชวิทยา แก้

ฤทธิ์หลักของยาก็คือเป็นตัวทำการผกผัน (inverse agonist) ของ H1 receptor (หน่วยรับ H1) ที่มีกำลัง (ที่ความเข้มข้น Ki = 2 nM)[12][13][14][15] แต่ไม่เหมือนกับสารต้านฮิสตามีนรุ่นแรกหลายอย่าง มันมีสัมพรรคภาพ (affinity) ที่ต่ำกับ mACh receptor (Ki = >10,000 nM)[13][14][15][16][17] และดังนั้น จึงมีโอกาสให้ผลข้างเคียงแบบ anticholinergic น้อยกว่า (เช่น ร่างกายทำงานไม่ประสาน สมองเสื่อม เป็นต้น)[15][18][19] นอกจากฤทธิ์ต้านสฮิสตามีน ยายังมีผลเป็นตัวต้าน (antagonist) ของ 5-HT2A receptor (Ki = ~50 nM), D2 receptor (Ki = 378 nM) และ α1-adrenergic receptor (Ki = ~300 nM) อีกด้วย[13][14][16]

ฤทธิ์ต้านระบบเซโรโทนิน (antiserotonergic) ของยาน่าจะเป็นเหตุให้ยามีฤทธิ์คลายกังวล (anxiolytic)[20] เพราะว่า สารต้านฮิสตามีนอย่างอื่นที่ไม่มีคุณสมบัตินี้ จะไม่มีผลบำบัดความกังวล[21]

การใช้ แก้

ไฮดร๊อกซิซีนใช้เป็นสารต้านฮิสตามีน ยาคลายกังวล (anxiolytic) และยาสงบประสาท (tranquilizer) ซึ่งสามัญเป็นพิเศษในทันตแพทยศาสตร์แต่สามัญน้อยกว่าในการแพทย์ ที่หลายปีมักใช้ยาร่วมกับยากลุ่มโอปิออยด์เพราะสามารถยับยั้งผลข้างเคียงของยาโอปิออยด์ที่เป็นยาแก้ปวด คือ ระงับความคันและความคลื่นไส้ และเพราะมีผลระงับประสาทที่เสริมกับผลระงับปวดของยาโอปิออยด์[ต้องการอ้างอิง]

หมอจะสั่งยาเมื่อโรคที่มีเหตุจากโครงสร้างและเนื้อเยื่อมีอาการกังวล เช่น โรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD) หรือในโรคจิตประสาท (psychoneurosis) ที่รุนแรง เพื่อให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ ยามีหลักฐานว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ เบ็นโซไดอาเซพีน และ bromazepam ในการรักษา GAD[22] แต่ก็มีงานปริทัศน์เป็นระบบที่ไม่แนะนำให้ใช้ยาสำหรับ GAD แม้ว่าเมื่อเทียบกับยาคลายกังวลอื่น ๆ (รวมทั้ง เบ็นโซไดอาเซพีน และ buspirone) แล้ว ยามีประสิทธิภาพ มีความยอมรับได้ และมีความอดทนใช้ยาได้เท่าเทียมกัน[23]

ยาสามารถใช้รักษาอาการภูมิแพ้ เช่น ลมพิษ ผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้ (atopic dermatitis) ผิวหนังอักเสบเหตุถูกสัมผัส (contact dermatitis) และอาการคันที่อำนวยโดยฮิสตามีน[24] และได้ยืนยันแล้วว่า ยาไม่มีผลที่ไม่ต้องการต่อตับ เลือด ระบบประสาท หรือระบบปัสสาวะ[25] การให้เป็นยานำ (premedication) เพื่อระงับประสาทไม่มีผลต่อยากลุ่ม tropane alkaloid เช่น อะโทรปีน แต่หลังจากการให้ยาสลบ (general anesthesia) อาจเพิ่มฤทธิ์ของยาเพทิดีน (ยากลุ่มโอปิออยด์) และ barbiturate และดังนั้น การใช้เป็นยาเสริมก่อนวางยาสลบควรจะเปลี่ยนแปลงตามสภาพคนไข้[26]

ในบางกรณี ยาอาจใช้เป็นยานอนหลับที่ไม่ใช่ในกลุ่ม barbiturate[27] ใช้ในการระงับประสาทก่อนผ่าตัด หรือรักษาโรคทางประสาท เช่น โรคจิตประสาท (psychoneurosis) และรูปแบบอื่น ๆ ของความวิตกกังวลหรือความเครียด[27] สำหรับทันตกรรม สูติกรรม กรรมวิธีต่าง ๆ และในกรณีที่มีการเจ็บปวดมากอย่างฉับพลันเช่นในอุบัติเหตุ ยาสามารถใช้เป็นยาคลายกังวลอันดับแรก (first line) และยาเสริมยากลุ่มโอปิออยด์ (ยาแก้ปวด) เพราะว่ามันไม่เป็นทั้งปฏิปักษ์ ทั้งไม่เสริมยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน และ scopolamine ดังนั้นจึงสามารถใช้ยาเหล่านั้นพร้อมกันหรือภายหลังเมื่อจำเป็น[ต้องการอ้างอิง]

งานวิจัยพฤติกรรมสัตว์ แก้

ยาสามารถลดระดับความล้มเหลวในการหลบหนีของหนู (คืออาจลดความกลัว/ความกังวล) ในการทดลองที่ฝึกให้สัตว์รู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้ (learned helplessness paradigm)[28]

คำอธิบายทางคลินิก แก้

เมแทบอลิซึมและเภสัชจลนศาสตร์ แก้

ยาสามารถให้ทางปากหรือทางการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เมื่อให้ทางปาก ก็สามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วผ่านกระเพาะอาหาร-ลำไส้ ซึ่งฤทธิ์สามารถสังเกตเห็นได้ภายใน 30 นาที

ทางเภสัชจลนศาสตร์ ยาดูดซึมได้อย่างรวดเร็วทั้งทางปากและทางการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยมีเมแทบอลิซึมในตับ เมแทบอไลต์หลัก (45%) คือ เซทิไรซีน เกิดจากการออกซิเดชันของส่วนที่เป็นแอลกอฮอล์ไปเป็นกรดคาร์บอกซิลิกโดยอาศัยเอนไซม์ alcohol dehydrogenase และผลโดยทั่วไปจะสามารถเห็นได้ภายใน 1 ชม. หลังให้ยา ระยะครึ่งชีวิตของยาเฉลี่ยประมาณ 3 ชม. ในผู้ใหญ่ โดยวัดในผิวหนังได้มากกว่าในเลือด เซทิไรซีน แม้ว่าจะมีฤทธิ์ระงับประสาทน้อยกว่า แต่ว่าไตจะไม่กำจัดยาออกจากเลือด โดยมีคุณสมบัติต้านฮิสตามีนที่คล้ายกัน เมแทบอไลต์อย่างอื่นรวมทั้ง N-dealkylated metabolite และ O-dealkylated 1/16 metabolite ที่มีระยะครึ่งชีวิตในเลือดนาน 59 ชม. วิถีเมแทบอลิซึมของยาอำนวยโดยระบบ CYP3A4 และ CYP3A5 ในตับเป็นหลัก[29] ในสัตว์ ไฮดร๊อกซิซีนและเมแทบอไลต์ของมันจะขับออกทางอุจจาระโดยการกำจัดน้ำดี[30][31]

การให้ยากับผู้สูงอายุต่างจากคนอายุน้อยกว่า ตามองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) โดยปี 2547 ก็ยังไม่มีงานศึกษาสำคัญที่รวมผู้มีอายุมากกว่า 65 ซึ่งเป็นขีดแบ่งผู้สูงอายุจากกลุ่มอื่น แต่ยาควรให้แก่ผู้สูงอายุอย่างระมัดระวังเพราะการขจัดยาออกจากร่างกายอาจทำได้น้อยกว่า[32]

โดยนัยเดียวกัน การใช้ยาระงับประสาทพร้อมกับยาสามารถทำให้มีฤทธิ์ระงับประสาทเกินและเกิดความสับสนถ้าให้มากพอ ดังนั้น การรักษาพร้อมกับยาระงับประสาทควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์[27][32]

ข้อห้ามใช้ แก้

การให้ไฮดร๊อกซิซีนในปริมาณสูงไม่ว่าจะรับประทานหรือฉีดในกล้ามเนื้อเมื่อเริ่มมีครรภ์อาจเป็นเหตุให้ทารกพิการ เพราะว่า เมื่อทดลองในหนู หนูหริ่ง และกระต่าย ยาทำให้เกิดความผิดปกติเช่น อวัยวะเพศทำงานน้อยกว่าปกติ (hypogonadism) แต่การทดลองก็ใช้ยาขนาดสูงกว่าที่ใช้รักษาในมนุษย์อย่างสำคัญ[26] ส่วนในมนุษย์ งานศึกษายังไม่ได้กำหนดขนาดสำคัญ แต่ FDA ก็ได้ระบุข้อห้ามใช้สำหรับยาไว้แล้ว[26]

โดยนัยเดียวกัน การให้ยาสำหรับบุคคลที่เสี่ยงหรือมีอาการแพ้ยาก็เป็นข้อห้ามใช้ด้วย[26] ยาห้ามให้โดยหลอดเลือดดำ (IV) เพราะว่า สามารถเป็นเหตุของการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis)

ข้อห้ามใช้อีกอย่างรวมทั้งการให้ยากับยาแก้ซึมเศร้าและสารอื่น ๆ ที่มีผลต่อระบบประสาทกลาง[26] และถ้าจำเป็น ก็ควรให้ทีละหน่อย ๆ กับยาอื่น[26] ถ้าให้อย่างที่ว่ากับยาอื่น คนไข้ควรเว้นจากปฏิบัติการกับเครื่องยนต์ที่สามารถเกิดอันตราย รถยนต์ และงานอื่น ๆ ที่ต้องใช้สมาธิ ตามที่กำหนดโดยกฎหมายความปลอดภัย[26]

งานศึกษายังแสดงด้วยว่า การให้ยานาน ๆ สามารถนำไปสู่อาการยึกยือเหตุยา (tardive dyskinesia) หลังจากใช้ยาเป็นปี ๆ แต่อาการก็มีรายงานเป็นกรณี ๆ หลังจากใช้ยาเพียง 7 เดือนครึ่ง[33] อาการเช่น การบิดศีรษะ (head rolling) เลียปาก และรูปแบบอื่น ๆ ของการเคลื่อนไหวแบบ athetoid คือ การเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ไม่ได้ตั้งใจ บิดไปบิดมา ของนิ้วมือ มือ นิ้วเท้า เท้า และในบางกรณี แขน ขา คอ และลิ้น[34] ในบางกรณี การได้ยาอนุพันธ์ของ phenothiazine หรือยารักษาโรคจิต (neuroleptic) มาก่อนแล้วของคนไข้สูงอายุ อาจมีส่วนเป็นเหตุอาการยึกยือเหตุยาเมื่อให้ไฮดร๊อกซิซีน เพราะไวต่ออาการหลังจากที่ได้ยามาเป็นเวลานาน[33] ดังนั้น จึงมีข้อบ่งห้ามบางอย่างที่จะให้ยาแม้ในระยะสั้นสำหรับคนไข้ที่เคยได้ phenothiazine มาก่อน[33]

ผลที่ไม่ต้องการ แก้

มีอาการหลายอย่างที่ระบุในใบรายละเอียดของยา รวมทั้ง นอนหลับสนิท ร่างกายทำงานไม่ประสาน ง่วงนอน ใจเย็น และคลื่นไส้ ที่พบทั้งในเด็กและผู้หใญ่ โดยยังมีอาการอื่น ๆ รวมทั้งความดันโลหิตต่ำ เสียงในหู และปวดหัว[35] ผลต่อกระเพาะอาหาร-ลำไส้ และผลที่เบา ๆ เช่น คอแห้งและท้องผูกที่เกิดจากฤทธิ์ antimuscarinic ของยา ก็พบด้วย[35] ปัญหาต่อระบบประสาทกลางเช่นประสาทหลอนและความสับสนยังพบในกรณีที่น้อยมาก โดยมากเพราะใช้ยาเกินขนาด[32][35] แต่ก็มีกรณีเช่นนี้ทั้งในคนไข้ที่มีโรคจิตประสาท (neuropsychological disorders) และในกรณีที่คนไข้ใช้ยาเกิน

แม้จะมีรายงานถึงฤทธิ์ทำให้ประสาทหลอน หรือการสะกดจิต (hypnotic) แต่การทดลองทางคลินิกไม่แสดงหลักฐานเช่นนี้จากการใช้ยาเพียงอย่างเดียว แต่ก็แสดงผลว่าเกิดความสงบทั่วไปผ่านการเร้าเขตสมอง formatio reticularis ดังนั้น ฤทธิ์ประสาทหลอนและสะกดจิต ยกว่าเป็นผลเพิ่มการระงับระบบประสาทกลางพร้อมกับยาระงับประสาทอื่น ๆ รวมทั้ง lithium และเอทานอล[36]

ยังมีการทดสอบไฮดร๊อกซิซีนเกี่ยวกับความจำของมนุษย์ เปรียบเทียบกับยาที่ค่อนข้างปลอดภัยเช่น ลอราเซแพม เพื่อแสดงผลของยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ซึ่งเชื่อว่ามีผลที่ไม่ต้องการเกี่ยวกับความจุของระบบความจำ แล้วพบว่า ไฮดร๊อกซิซีนไม่มีผลที่ไม่ต้องการต่อระบบความทรงจำเทียบกับ ลอราเซแพม ซึ่งมีผลต่อความจุของความจำ[37]

ในงานศึกษาที่เปรียบเทียบกับ ลอราเซแพม ในผลต่อความทรงจำ ไฮดร๊อกซิซีนออกฤทธิ์ระงับประสาทเช่นทำให้ง่วงนอน แต่คนไข้ก็รู้สึกว่าตนเองตื่นตัวพอ และสามารถที่จะทำบททดสอบต่อไปได้ในสถานการณ์เช่นนี้[38] โดยนัยตรงกันข้าม คนที่ทานยา ลอราเซแพม ไม่สามารถทำบททดสอบต่อไปได้เพราะผลของยา คนไข้ 8 ใน 10 รู้สึกว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการทรงร่างกายและการเคลื่อนไหวแบบง่าย ๆ[38] อาการง่วงซึม (somnolence) ที่มีหรือไม่มีความฝัน อาจเกิดกับคนไข้ที่ไวสารต้านฮิสตามีนเมื่อใช้ร่วมกับยากดระบบประสาทกลางอื่น ๆ

ไฮดร๊อกซิซีนมีฤทธิ์คลายกังวลและระงับประสาทในคนไข้จิตเวชเป็นจำนวนมาก งานศึกษาอื่นแสดงว่า ไฮดร๊อกซิซีนเป็นยานอนหลับที่มีกำลัง คือ ทำให้หลับได้ไวขึ้นและเพิ่มเวลาการนอน แต่ก็ทำให้ง่วงนอนด้วย โดยหญิงตอบสนองต่อฤทธิ์เช่นนี้มากกว่าชาย[39] เพราะอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่านี้ ไฮดร๊อกซิซีนแนะนำให้เลี่ยงในคนสูงอายุ[40]

ในสื่อ แก้

Hydroxyzine เป็นคำเดียวในภาษาอังกฤษที่มีอักษร x y z เรียงต่อกัน[41]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Hubbard JR, Martin PR (2001). Substance Abuse in the Mentally and Physically Disabled. CRC Press. p. 26. ISBN 9780824744977.
  2. "Drugs@FDA: FDA-Approved Drugs". U.S. Food and Drug Administration (FDA). สืบค้นเมื่อ 5 August 2020.
  3. "Hydroxyzine". pubchem.ncbi.nlm.nih.gov. สืบค้นเมื่อ 4 March 2020.
  4. 4.0 4.1 Paton DM, Webster DR (1985). "Clinical pharmacokinetics of H1-receptor antagonists (the antihistamines)". Clin. Pharmacokinet. 10 (6): 477–97. doi:10.2165/00003088-198510060-00002. PMID 2866055. S2CID 33541001.
  5. Simons FE, Simons KJ, Frith EM (1984). "The pharmacokinetics and antihistaminic of the H1 receptor antagonist hydroxyzine". J. Allergy Clin. Immunol. 73 (1 Pt 1): 69–75. doi:10.1016/0091-6749(84)90486-x. PMID 6141198.
  6. Simons KJ, Watson WT, Chen XY, Simons FE (January 1989). "Pharmacokinetic and pharmacodynamic studies of the H1-receptor antagonist hydroxyzine in the elderly". Clin Pharmacol Ther. 45 (1): 9–14. doi:10.1038/clpt.1989.2. PMID 2562944. S2CID 24571876.
  7. Shorter, Edward (2009). Before Prozac: the troubled history of mood disorders in psychiatry. Oxford [Oxfordshire]: Oxford University Press. ISBN 0-19-536874-6.
  8. SCHRAM, WS (March 1959). "Use of hydroxyzine in psychosis". Diseases of the Nervous System. 20 (3): 126–9. PMID 13639831.
  9. "HYDROXYZINE PAMOATE - hydroxyzine pamoate capsule (American Health Packaging)". NIH. สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
  10. "Hydroxyzine Facts and Comparisons at Drugs.com".
  11. H. Morren, U.S. Patent 2,899,436 (1959) ; H. Morren, DE 1049383  (1954) ; H. Morren, DE 1061786  (1954) ; H. Morren, DE 1068262  (1954) ; H. Morren, DE 1072624  (1954) ; H. Morren, DE 1075116  (1954).
  12. Gillard M, Van Der Perren C, Moguilevsky N, Massingham R, Chatelain P (February 2002). "Binding characteristics of cetirizine and levocetirizine to human H(1) histamine receptors: contribution of Lys (191) and Thr (194)". Molecular Pharmacology. 61 (2): 391–9. doi:10.1124/mol.61.2.391. PMID 11809864.[ลิงก์เสีย]
  13. 13.0 13.1 13.2 Snowman, AM; Snyder, SH (December 1990). "Cetirizine: actions on neurotransmitter receptors". The Journal of Allergy and Clinical Immunology. 86 (6 Pt 2): 1025–8. doi:10.1016/S0091-6749(05)80248-9. PMID 1979798.
  14. 14.0 14.1 14.2 Kubo N, Shirakawa O, Kuno T, Tanaka C (March 1987). "Antimuscarinic effects of antihistamines: quantitative evaluation by receptor-binding assay". Japanese Journal of Pharmacology. 43 (3): 277–82. doi:10.1254/jjp.43.277. PMID 2884340.
  15. 15.0 15.1 15.2 White RP, Boyajy LD (September 1960). "Neuropharmacological comparison of atropine, scopolamine, banactyzine, diphenhydramine and hydroxyzine". Archives Internationales de Pharmacodynamie et de Thérapie. 127: 260–73. PMID 13784865.
  16. 16.0 16.1 Haraguchi K, Ito K, Kotaki H, Sawada Y, Iga T (June 1997). "Prediction of drug-induced catalepsy based on dopamine D1, D2, and muscarinic acetylcholine receptor occupancies". Drug Metabolism and Disposition: the Biological Fate of Chemicals. 25 (6): 675–84. PMID 9193868. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-28. สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
  17. Orzechowski RF, Currie DS, Valancius CA (January 2005). "Comparative anticholinergic activities of 10 histamine H1 receptor antagonists in two functional models". European Journal of Pharmacology. 506 (3): 257–64. doi:10.1016/j.ejphar.2004.11.006. PMID 15627436.
  18. Berger, F. M. (1957). "THE CHEMISTRY AND MODE OF ACTION OF TRANQUILIZING DRUGS". Annals of the New York Academy of Sciences. 67 (10): 685–700. doi:10.1111/j.1749-6632.1957.tb46006.x. ISSN 0077-8923.
  19. Tripathi, KD (2013). Essentials of Medical Pharmacology. JP Medical Ltd. p. 165. ISBN 978-93-5025-937-5.
  20. Rothbaum, Barbara Olasov; Stein, Dan J; Hollander, Eric (2009). Textbook of Anxiety Disorders. American Psychiatric Publishing, Inc. ISBN 1-58562-254-0.
  21. Lamberty Y, Gower AJ (September 2004). "Hydroxyzine prevents isolation-induced vocalization in guinea pig pups: comparison with chlorpheniramine and immepip". Pharmacology, Biochemistry, and Behavior. 79 (1): 119–24. doi:10.1016/j.pbb.2004.06.015. PMID 15388291.
  22. Llorca PM, Spadone C, Sol O (November 2002). "Efficacy and safety of hydroxyzine in the treatment of generalized anxiety disorder: a 3-month double-blind study" (PDF). J Clin Psychiatry. 63 (11): 1020–7. doi:10.4088/JCP.v63n1112. PMID 12444816.
  23. Guaiana, Giuseppe; Barbui, Corrado; Cipriani, Andrea (2010-12-08). "Hydroxyzine for generalised anxiety disorder". The Cochrane Library. Cochrane Depression, Anxiety and Neurosis Group. doi:10.1002/14651858.CD006815.pub2.
  24. VISTARIL (hydroxyzine pamoate), pp. 1
  25. United States Food & Drug Administration, (2004), p1
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 26.5 26.6 VISTARIL (hydroxyzine pamoate), p. 2
  27. 27.0 27.1 27.2 Dolan, C. M. (June 1958). "MANAGEMENT OF EMOTIONAL DISTURBANCES—Use of Hydroxyzine (Atarax®) in General Practice". Calif Med. 88 (6): 443–444. PMC 1512309. PMID 13536863.
  28. Porsolt, Roger D; Martin, P; Lenégre, A; Fromage, S; Giurgea, CE (1989). "Prevention of "learned helplessness" in the rat by hydroxyzine". Drug Development Research. 17 (3): 227–236. doi:10.1002/ddr.430170306.
  29. "Ucerax (hydroxyzine hydrochloride) 25 mg film-coated tablets. Summary of product characteristics" (PDF). Irish Medicines Board. สืบค้นเมื่อ 2014-02-09.
  30. "Vistaril". The extent of renal excretion of VISTARIL has not been determined
  31. "US Prescription Information - Vistaril" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-03. สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
  32. 32.0 32.1 32.2 VISTARIL (hydroxyzine pamoate), p. 3
  33. 33.0 33.1 33.2 Clark, B. G.; M. Araki; H. W. Brown (1982). "Hydroxyzine-Associated Tardive Dyskinesia". Ann. Neurol. 11 (4): 435. doi:10.1002/ana.410110423. PMID 7103423.
  34. H Kenneth Walker, บ.ก. (1990). "70: Involuntary Movements". Clinical Methods: The History, Physical, and Laboratory Examinations (3rd ed.). Boston: Butterworths. PMID 21250235.
  35. 35.0 35.1 35.2 UCB South-Africa, et al., (2004)
  36. Anderson, Philip O.; James E. Knoben; William G. Troutman (2002). Handbook of Clinical Drug Data. McGraw-Hill Medical. pp. 794–796. ISBN 0-07-136362-9.
  37. de Brabander, A., Debert, W., (1990), p1
  38. 38.0 38.1 de Brabander, A., Debert, W., (1990), p3
  39. Alford C, Rombautt N, Jones J, Foley S, Idzikowskit C, Hindmarch I (January–February 1992). "Acute Effects of Hydroxyzine on Nocturnal Sleep and Sleep Tendency the Following Day: a C-EEG Study". Human Psychopharmacology. 7 (1): 25–35. doi:10.1002/hup.470070104. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  40. "NCQA's HEDIS Measure: Use of High Risk Medications in the Elderly" (PDF).
  41. "Unique Words". dictionary.reference.com.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

งานพิมพ์ แก้

เว็บไซต์ แก้