โรงเรียนสตรีนครสวรรค์

โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประจำจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่หลังโรงพยาบาลปากน้ำโพ เปิดสอนในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 โดยชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมี 13 ห้องเรียน และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมี 13 ห้องเรียน โดยในอดีตได้ก่อตั้งอยู่บนที่ราชพัสดุตรงข้ามธนาคารไทยพาณิชย์สาขาตลาดปากน้ำโพในปัจจุบัน

โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
Satri Nakhon Sawan School
ที่ตั้ง
แผนที่
312 ถนนสวรรค์วิถี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000
พิกัด15°41′40″N 100°07′32″E / 15.6944375°N 100.1254219°E / 15.6944375; 100.1254219
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.น.
S.N.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญความรู้ดุจอาภา จรรยาดุจอาภรณ์
Open your mind
Brush up you Brains Expand your Horizon
สถาปนา2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 (112 ปี 256 วัน)[1]
ผู้ก่อตั้ง สมเด็จพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
เขตการศึกษามัธยมศึกษาเขตที่ 42
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส07600102
ผู้อำนวยการนายวิฑูรย์ งามนิธิจารุเมธี
จำนวนนักเรียน2,954 คน
(ปีการศึกษา 2567)
สี  น้ำเงิน
  เหลือง
เพลงมาร์ชสตรีนครสวรรค์[2]

รำวง ส.น.[3]

อาลัย ส.น.[4]
เว็บไซต์www.sns.ac.th

ประวัติโรงเรียน

แก้
 
พระวิมาดาเธอ[5] ( หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ )

โรงเรียนสตรีนครสวรรค์เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เริ่มก่อตั้งเมื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2455 บนที่ราชพัสดุตรงข้ามธนาคารไทยพาณิชย์ ตลาดปากน้ำโพในปัจจุบัน เดิมชื่อว่า ”โรงเรียนสตรีปากน้ำโพ” เป็นโรงเรียนสหศึกษา สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

ปี พ.ศ. 2457 พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้ประทานเงินจำนวน 5,000 บาทเพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ โดยรื้ออาคารเรียนหลังเก่า

ปี พ.ศ. 2460 ได้เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 รับเฉพาะนักเรียนหญิง และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำมณฑลแผนกสตรี

ปี พ.ศ. 2471 ได้เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และรับนักเรียนหญิงที่มีสอบไล่ได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากอำเภอต่าง ๆ เข้ามาเป็นนักเรียนฝึกหัดครู รับเป็นนักเรียนประจำโดยให้ความรู้สามัญร่วมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และเรียนวิชาครูควบคู่ไปด้วย เมื่อเรียนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และวิชาครูแล้ว ได้รับประกาศนียบัตร “ครูประกาศนียบัตรมลฑล” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ครูประกาศนียบัตรจังหวัด”

ปี พ.ศ. 2473 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ประทานเงินบำรุงแก่โรงเรียนสตรีประจำมณฑลนครสวรรค์ 200 บาท เนื่องในการที่บรรดาครูและนักเรียนโรงเรียนสตรีประจำมณฑล ได้พร้อมใจกันแสดงละครร้องถวายทอดพระเนตร ณ สโมสรข้าราชการ เมื่อคืนวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2473[6]

ปี พ.ศ. 2475 โรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครสวรรค์” เพราะมลฑลนครสวรรค์เปลี่ยนเป็นจังหวัดนครสวรรค์

ปี พ.ศ. 2482 กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั้งยุบโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูประกาศนียัตรจังหวัด

ปี พ.ศ. 2491 กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งให้ตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นในโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครสวรรค์ โดยให้ครูใหญ่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครสวรรค์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนอนุบาลด้วย เปิดทำการสอนในระดับอนุบาล – ประถมปีที่ 4

ปี พ.ศ. 2494 หลังจากก่อสร้างมาประมาณ 40 ปี ได้ย้ายมาปลูกสร้างในสถานที่ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสตรีนครสวรรค์” สร้างอาคารเรียนเป็นตึกชั้นเดียวบนพื้นที่ 10 ไร่ 3 งาน 77 ตารางวา

ปี พ.ศ. 2505 ได้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกศิลป์ รับนักเรียนทั้งชาย-หญิง

ปี พ.ศ. 2507 โรงเรียนอนุบาลได้แยกไปอยู่ในที่ใหม่ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์

ปี พ.ศ. 2522 โรงเรียนได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก 5 ไร่ 57 ตารางวา

ปี พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณสร้างหอประชุมขนาดใหญ่ และรื้อทิ้งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2536 เพื่อใช้พื้นที่ในการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 5 ชั้นในปี2536

ปี พ.ศ. 2525 โรงเรียนมีนโยบายงดรับนักเรียนชาย และ ได้รับงบประมาณ 3,120,000 บาท ต่อสร้างโรงฝึกงานแบบพิเศษ 3 ชั้น 6 หน่วย ตั้งชื่อว่า "อาคารมาลัยพิรุณ"

ปี พ.ศ. 2536 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์ 5 ชั้น 1 หลัง ราคา 25 ล้านบาท มีห้องเรียน 40 ห้อง ชั้นบนเป็นโรงยิมเนเซียม หรือ อาคาร6 นภคุณหยาดเพชร ชั้นล่างโล่ง

ปี พ.ศ. 2540 มีนโยบายรับนักเรียนชายและเป็นโรงเรียนสหศึกษา และในปีเดียวกันนี้ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 2 ชั้น ราคา 15 ล้านบาท ด้านหน้าโรงเรียน อาคารเฉลิมพระเกรียติ 6 รอบ พระชนม์พรรษา

ปี พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้ขอพระราชทานชื่ออาคารและขออนุญาตเชิญตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ประดิษฐานที่ป้ายชื่ออาคารและสำนักราชเลขาธิการพระบรมมหาราชวังมีหนังสือแจ้งกลับว่าสมควรให้ใช้ชื่ออาคารว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดอาคารเรียน “อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา” เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ในครั้งนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นราชพฤกษ์ ต้นไม้ประจำโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ พระราชทานแก่โรงเรียน บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสตรีนครสวรรค์

แก้
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 ครูมาลี พ.ศ. 2455 – 2456
2 ครูจ๋วน กิจวรวัฒน์ พ.ศ. 2456 – 2465
3 ครูลาภ มานะเศวต พ.ศ. 2465 – 2466
4 ครูมานพ สุวรรณเกษร พ.ศ. 2466 – 2466
5 ครูน้อม กสิรักษ์ พ.ศ. 2466 – 2470
6 นางตาบทิพย์ รัตนวราหะ พ.ศ. 2470 – 2480
7 นายเติมมา ณ มหาไชย พ.ศ. 2480 – 2502
8 นางไพฑูรย์ เที่ยงศิริ พ.ศ. 2502 – 2521
9 นางพะเยีย อุทยานิน พ.ศ. 2521 – 2524
10 นางพวงเพชร ธนะเพทย์ พ.ศ. 2524 – 2538
11 นางเพ็ญศรี พืชพันธ์ พ.ศ. 2538 – 2542
12 นางสาวบุบผา เสนาวิน พ.ศ. 2543 – 2546
13 นายวิวัฒน์ อนิวรรตกูล พ.ศ. 2546 – 2549
14 นายปรีชา ทานะมัย พ.ศ. 2549 - 2553
15 ดร.วินัย ทองมั่น พ.ศ. 2554-2556
16 นางสาวจุไรรัตน์ มณีรัตน์ พ.ศ. 2557-2560
17 นางสาวสุดสวาท ยังแจ่ม พ.ศ. 2560-2563
18 นายชาญชัย ชนิดสะ พ.ศ. 2563-2566
19 นายไพบูลย์ เขียนประเสริฐ พ.ศ. 2566 - 2567
20 นายวิฑูรย์ งามนิธิจารุเมธี พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน

แผนการเรียน

แก้

อ้างอิง: [7][8]

(อดีต) มัธยมศึกษาตอนต้น

แก้
  • ห้อง 1-6และ8 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ห้อง 7 แผนการเรียนรู้ EP
  • ห้อง 9-12 แผนการเรียนศิลป์-ภาษา

(ปัจจุบัน) มัธยมศึกษาตอนต้น

แก้
  • ห้อง 1 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE)
  • ห้อง 2,3,4,5,6,8 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ห้อง 7 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษ English Program (EP)
  • ห้อง 9,10,11,12 แผนการเรียนศิลป์-ภาษาอังกฤษ
  • ห้อง 13 แผนการเรียนศิลปะ-กีฬา

(อดีต) มัธยมศึกษาตอนปลาย

แก้
  • ห้อง 1 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
  • ห้อง 2-4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ห้อง 5-6 แผนการเรียนศิลป์-คณิตศาสตร์
  • ห้อง 7 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษEnglish Program (EP) (จีน-ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส)
  • ห้อง 8-9 แผนการเรียนภาษาจีน-ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส-เกาหลี
  • ห้อง 10-11 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ
  • ห้อง 12-13 แผนการเรียนทั่วไป

(ปัจจุบัน) มัธยมศึกษาตอนปลาย

แก้
  • ห้อง 1 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE)
  • ห้อง 2,3,4,5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ห้อง 6,8,9 แผนการเรียนศิลป์-ภาษาอังกฤษ
  • ห้อง 7 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษ English Program (EP)(จีน - ญี่ปุ่น - ฝรั่งเศส)
  • ห้อง 10 แผนการเรียนศิลป์-ภาษาจีน-ฝรั่งเศส
  • ห้อง 11 แผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น-เกาหลี
  • ห้อง 12 แผนการเรียนศิลปะ-กีฬา
  • ห้อง 13 แผนการเรียนศิลป์-ทั่วไป

อาคารและสถานที่

แก้

อาคารเรียนของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์มีทั้งหมด 10 อาคาร ดังนี้

  • อาคารอัจฉราลัย เป็นหอประชุมของโรงเรียน ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร
  • อาคารไพจิตรเวหาส (ตึก 1) เป็นอาคารเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
  • อาคารโอภาสรวี (ตึก 2) เป็นอาคารเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และศิลปะ ในอดีตอาคารนี้เคยเป็นที่ตั้งของสำนักงานผู้อำนวยการ และห้องประชุมกีรตยานุสรณ์
  • อาคารรัศมีดารา (ตึก 3) เป็นอาคารเรียนวิชาภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และฝรั่งเศส
  • อาคารจันทราอำไพ (ตึก 4) เป็นอาคารเรียนคณิตศาสตร์ ห้องพยาบาล และห้องลูกเสือ
  • อาคารมาลัยพิรุณ (ตึก 5) เป็นอาคารเรียนวิชาคหกรรม งานช่าง อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ ศูนย์AFSเขตนครสวรรค์ ศูนย์อาเซียนศึกษา ห้องกลุ่มบริหารกิจการพิเศษ และศูนย์การเรียนรู้ไร้พรมแดน เป็นห้องประชุมขนาดเล็ก (ห้องมาลัย1 และห้องมาลัย2)
  • อาคารนพคุณหยาดเพชร (ตึก 6) สร้างขึ้นเมื่อปี 2536 ได้รับเกียรติจาก ผ.อ.พวงเพชร ธนะแพทย์ เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ของอาคาร
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (ตึก 7) สร้างขึ้นเมื่อปี 2541 เป็นอาคารเรียนโครงการ 2 ภาษา ซึ่งมีห้องสมุดและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 และในคราวเดียวกันทรงปลูกต้นราชพฤกษ์พระราชทานบริเวณด้านหน้าอาคาร
  • อาคาร8 (ตึก 8) สร้างขึ้นเมื่อปี 2561 อาคาร8 ยังไม่มีการตั้งชื่ออาคารอย่างเป็นทางการ เป็นอาคารเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
  • สระบัว เป็นอ่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ก่อขึ้นมาระหว่างอาคารโอภาสรวีและอาคารรัศมีดารา ในอดีตมีบัวหลากหลายสายพันธุ์ แต่หลังจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี 2554 ทำให้บัวหลายสายพันธุ์สูญหายและไม่สามารถทนต่อสภาพน้ำได้ จึงทำให้ในปัจจุบันยังคงมีแค่บัวหลวงปทุมเท่านั้นที่เหลือรอดมาจากเหตุการณ์น้ำท่วม นอกจากบัวแล้วในสระยังมีปลาและหอยหลายสายพันธุ์ เช่นหอยเชอรี่ ในช่วงหลังจากประกาศผลสอบแอดมิดชั่นหรือรับตรงเข้ามหาวิทยาลัยมักจะมีนักเรียน ม.6 ที่ประสบความสำเร็จในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากระโดดสระบัว วิ่งรอบสระบัวเป็นธรรมเนียมประเพณีที่สืบต่อกันมานาน
  • สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
  • หอพระ อาคารทรงปราสาทจตุรมุข มียอด1ยอด หลังคาซ้อนสองชั้น ประดับใบระกาหางหงส์ สร้างขึ้นในสมัยของผู้อำนวยการเพ็ญศรี พืชพันธุ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศรีสวรรค์ และสมเด็จพระโพธิญาณ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน
  • ลานลีลาวดี ในอดีตใช้เป็นลานฝึกสอนวิชานาฏศิลป์ ปัจจุบันได้ปรับปรุงภูมิทัศน์เป็นสวนหย่อมภายในมีต้นลีลาวดีขนาดใหญ่ และเสาอิฐของอาคารเรียนหลังแรกเป็นอนุสรณ์ พื้นที่นี้ใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งในบางสาขาวิชา
  • โดมร่มเย็น สร้างขึ้นเมื่อปี 2559
  • โดมร่มเย็น(ช่วงที่2) ต่อเติมเพิ่มจากโดมเก่า สร้างเมื่อปี 2566

คณะสี

แก้
ชื่อคณะสี สีประจำคณะ
ไพจิตรเวหาส สีเขียว  
โอภาสรวี สีแดง  
รัศมีดารา สีฟ้า  
จันทราอำไพ สีเหลือง  
มาลัยพิรุณ สีน้ำเงิน  

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

ภาษาที่มีการเรียนการสอน

แก้

  ภาษาไทย

   ภาษาอังกฤษ

  ภาษาฝรั่งเศส

  ภาษาจีน

  ภาษาญี่ปุ่น

  ภาษาเกาหลี

ตราสัญลักษณ์EPและศิลป์ภาษา

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ข้อมูลพื้นฐาน
  2. มาร์ช สตรีนครสวรรค์, สืบค้นเมื่อ 2023-02-11
  3. รำวง ส.น. (โรงเรียนสตรีนครสวรรค์), สืบค้นเมื่อ 2023-02-11
  4. อาลัยส.น. (โรงเรียนสตรีนครสวรรค์), สืบค้นเมื่อ 2023-02-11
  5. ประวัติโรงเรียนสตรีนครสวรรค์
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/3392.PDF
  7. http://www.sns.ac.th/imageboss/vichakan/1.pdf
  8. http://www.sns.ac.th/imageboss/vichakan/1.pdf