ราชพฤกษ์

ชนิดของพืช
(เปลี่ยนทางจาก ต้นราชพฤกษ์)

ราชพฤกษ์, คูน, (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย ศรีลังกา พม่า และไทย นอกจากนี้ราชพฤกษ์ยังเป็นดอกไม้และต้นไม้ประจำชาติของประเทศไทย และเป็นดอกไม้ประจำรัฐเกรละของประเทศอินเดียอีกด้วย[3]

ราชพฤกษ์
ต้นราชพฤกษ์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: ถั่ว
Fabales
วงศ์: ถั่ว
Fabaceae
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยราชพฤกษ์
Caesalpinioideae
สกุล: Cassia
Cassia
L.
สปีชีส์: Cassia fistula
ชื่อทวินาม
Cassia fistula
L.
ชื่อพ้อง[2]
  • Bactyrilobium fistula Willd.
  • Cassia bonplandiana DC.
  • Cassia excelsa Kunth
  • Cassia fistuloides Collad.
  • Cassia rhombifolia Roxb.
  • Cathartocarpus excelsus G.Don
  • Cathartocarpus fistula Pers.
  • Cathartocarpus fistuloides (Collad.) G.Don
  • Cathartocarpus rhombifolius G.Don

ลักษณะ

แก้

ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10–20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20–40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4–7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30–62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5–2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก

เกี่ยวกับชื่อ

แก้

ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง, ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์, ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า ลักเกลือ หรือลักเคย และกะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียกว่า กุเพยะ, ชาวมอญเรียกว่า ปะกาวซังกราน[4] เนื่องจากออกดอกในช่วงเทศกาลสงกรานต์

การปลูก

แก้

ในช่วงแรก ๆ ต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตได้ช้าในระยะเวลาประมาณ 1–3 ปีแรก หลังจากนั้นต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตเร็วขึ้น เปลือกจะเป็นสีน้ำตาลเรียบ มีรากแก้วยาวสีเหลือง และ มีรากแขนงเป็นจำนวนมาก เมื่อต้นราชพฤกษ์มีอายุ 4–5 ปี จึงออกดอกและเมล็ดและเจริญเติบโตต่อไป


สรรพคุณ

แก้

นอกจากนั้น ราชพฤกษ์ยังเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธี

สารสกัดจากฝักด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้[5]

ความเชื่อ

แก้

ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพีธีที่สำคัญ เช่น พีธีเสาไม้หลักเมือง เป็นส่วนประกอบในการทำคฑาจอมพล และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ทำพิธีปลูกบ้าน ฯลฯ

คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น[6]

คนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม[7]

ภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Botanic Gardens Conservation International (BGCI) & IUCN SSC Global Tree Specialist Group (2018). "Cassia fistula". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T136142327A136142329. สืบค้นเมื่อ 7 May 2022.
  2. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ June 19, 2014.
  3. "Early konna blooms in Kochi set off alarm bells". February 14, 2019.
  4. องค์ บรรจุน (2014). ข้างสำรับมอญ. สำนักพิมพ์มติชน. p. 99. ISBN 978-974-02-1284-3.
  5. ศานิต สวัสดิกาญจน์ สุวิทย์ เฑียรทอง เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์ สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ และวริสรา ปลื้มฤดี. 2553. ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. 3-5 ก.พ. 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 412-421
  6. หลักการเลือกพันธุ์ไม้ให้เหมาะสมกับทิศ
  7. "การเป็นมงคล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-04. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Cassia fistula
  • Database on state of environment, Kerala (2008): Kerala Symbols