เตลังคานา (ฮินดี: तेलंगाना; เตลูกู: తెలంగాణ; อูรดู: تلنگانہ) เป็นรัฐในประเทศอินเดียตั้งอยู่ทางใต้ตอนกลางของประเทศ[9] รัฐเตลังคานามีพื้นที่ 114,840 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 12 และมีประชากร 35,286,757 คน (เมื่อปี 2554) มากเป็นอันดับที่ 12 ของอินเดีย รัฐเตลังคานามีชายแดนติดกับรัฐอานธรประเทศทางทิศใต้และทิศตะวันออก รัฐมหาราษฏระทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐกรณาฏกะทางทิศตะวันตกและรัฐฉัตตีสครห์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2014 รัฐเตลังคานาได้แยกตัวออกจากส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐอานธรประเทศ เป็นรัฐใหม่ลำดับที่ 29 โดยมีเมืองไฮเดอราบาดเป็นเมืองหลวง เมืองสำคัญอื่น ๆ เช่น วรังคัล, นิซามาบาด, ขัมมัม, กริมนคร เป็นต้น

เตลังคานา
สถานที่ในเตลังคานา: จารมินาร์, ป้อมวรังคัล, ไฮเดอราบาดซิตี, สถานีรถไฟนิซามาบาด, น้ำตกกุนตลา, วังฟาลักนุมา
เพลง: ชย ชย เฮ เตลังคานา ชนนี
(ไชโยแด่มารดาเตลังคานา!)
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
พิกัด (Telangana): 17°21′58″N 78°28′30″E / 17.366°N 78.475°E / 17.366; 78.475
ประเทศ อินเดีย
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดไฮเดอราบาด[1]
อำเภอ33
การปกครอง
 • องค์กรรัฐบาลรัฐเตลังคานา
 • ผู้ว่าราชการรัฐทมิฬิไส สุนทรราชัน[1] (Tamilisai Soundararajan)
 • Chief ministerเค. จันทรเศกร ราว (K. Chandrashekar Rao) (TRS)
 • นิติบัญญัติสองสภา (119 + 43 seats)
 • โลกสภาราชยสภา 7
โลกสภา 17
 • ศาลสูงศาลสูงรัฐเตลังคานา
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด112,077 ตร.กม. (43,273 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 11
ประชากร
 (2011)[2]
 • ทั้งหมด35,193,978 คน
 • อันดับที่ 12
 • ความหนาแน่น307 คน/ตร.กม. (800 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวเตลังคานา (Telanganite) / ชาวเตลูกู
GDP (2019–20)[3][4]
 • รวม9.7 แลกห์โคร (4.1 ล้านล้านบาท)
 • ต่อหัว228,216 (97,000 บาท)
ภาษา
 • ทางการภาษาเตลูกู[5]
 • ทางการเพิ่มเติมภาษาอูรดู[5][6]
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-TG
ทะเบียนพาหนะTS-
เอชดีไอ (2018)เพิ่มขึ้น 0.669[7] กลาง · ที่ 22
การรู้หนังสือ (2011)66.46%
^† เมืองหลวงร่วมกับรัฐอานธรประเทศชั่วคราว ไม่ถึง 10 ปี
สัญลักษณ์ของรัฐเตลังคานา
ตรากกาติยกาลโตรณัม, จารมินาร์
เพลงชย ชย เฮ เตลังคานา ชนนี ชยเกฐานัม[8]
สัตว์
Chital
Chital
กวางดาว[8]
สัตว์ปีก
Pala Pitta
Pala Pitta
นกตะขาบทุ่ง[8]
ดอกไม้
Tangedu Puvvu
Tangedu Puvvu
Senna auriculata[8]
ผลไม้
Mango tree
Mango tree
ต้นมะม่วง
ต้นไม้
Jammi Chettu
Jammi Chettu
Prosopis cineraria[8]
กีฬา
Kabaddi Game
Kabaddi Game
Kabaddi

การปรับปรุงรัฐ

แก้

ในเดือนธันวาคม 2496 คณะกรรมการปรับปรุงรัฐ (States Reorganisation Commission หรือ SRC) ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อจัดตั้งรัฐโดยคำนึงถึงภาษา[10] ต่อมา มีข้อตกลงระหว่างผูของเตลังคานาและอานธรประเทศเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2499 ให้ผนวกดินแดนเตลังคานาและอานธรประเทศด้วยความปรารถนาที่จะปกป้องผลประโยชน์ของเตลังคานาจนเกิดเป็นรัฐอานธรประเทศ

ด้วยข้อตกลงสุภาพบุรุษ รัฐบาลกลางจึงผนวกรัฐอานธรประเทศเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2499

ขบวนการเตลังคานา

แก้

มีความพยายามยับยั้งการผนวกดินแดนเตลังคานาเข้ากับอานธรประเทศในปี 2512, 2519 และ 2552 ส่งผลให้เกิดแรงกระตุ้นในการตั้งรัฐเตลังคานาเป็นเอกเทศจากรัฐอานธรประเทศ[11] จนในที่สุดรัฐบาลกลางอินเดียประกาศแผนการในการจัดตั้งรัฐเตลังคานาในที่สุดเมื่อ 9 ธันวาคม 2552

กระนั้น การเคลื่อนไหวหลากรูปแบบก็ยังเกิดขึ้นในนครไฮเดอราบาดและเขตอื่น ๆ ในเตลังคานา[12] มีผู้เสียชีวิตจากการการฆ่าตัวตายนับร้อยคน การนัดหยุดงานประท้วง และการจลาจลเพื่อเรียกร้องชีวิตของประชาชนที่เสียชีวิตเพื่อเรียกร้องการแยกรัฐดังกล่าว

การแยกตัวออกจากรัฐอานธรประเทศ

แก้

30 กรกฎาคม 2556 คณะทำงานของรัฐสภา (Congress Working Committee) มีมติเอกฉันท์ให้เสนอแยกเตลังคานาออกจากรัฐอานธรประเทศ[13] มีการนำร่างรัฐบัญญัติปรับปรุงอานธรประเทศ 2014 (Andhra Pradesh Reorganisation Act, 2014 ) เข้าสู่รัฐสภาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ร่างรัฐบัญญัติได้รับอนุมัติในเดือนเดียวกันเพื่อจัดตั้งรัฐเตลังคานาอันประกอบไปด้วยเขต 10 แห่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐอานธรประเทศ ร่างรัฐบัญญัตินั้นได้รับการลงนามจากประธานาธิบดีและเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 1 มีนาคม 2557

รัฐเตลังคานาได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2557 โดยมีการเฉลิมฉลองทั้งการจุดพลุตลอดคืน การแสดงจากกลุ่มวัฒนธรรม และการขับร้องเพลง "ชยชยเหเตลังคานา" (జయజయహే తెలంగాణ; Jaya jaya he Telangana) ซึ่งเป็นเพลงประจำรัฐ มากกว่า 150 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม เมืองไฮเดอราบาดยังคงเป็นเมืองหลวงร่วมกันระหว่างรัฐเตลังคานาและรัฐอานธรประเทศต่อไปอีกอย่างน้อย 10 ปี[14]

อ้างอิง

แก้
  1. "New Governors Appointed In 5 States, Tamil Nadu BJP Chief Gets Telangana". NDTV.com. 1 September 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
  2. 2.0 2.1 "Telangana Statistics". Telangana state portal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2015. สืบค้นเมื่อ 14 December 2015.
  3. "Telangana Budget Analysis 2018–19" (PDF). Telangana Finance department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-26. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
  4. "MOSPI Gross State Domestic Product" (XLS). Ministry of Statistics and Programme Implementation, Government of India. 1 March 2019. สืบค้นเมื่อ 14 June 2019.
  5. 5.0 5.1 "Urdu is Telangana's second official language". The Indian Express. 16 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2018. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
  6. "Urdu is second official language in Telangana as state passes Bill". The News Minute. 17 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2018. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
  7. "Sub-national HDI – Area Database". Global Data Lab. Institute for Management Research, Radboud University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "Telangana State Symbols". Telangana State Portal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2017. สืบค้นเมื่อ 15 May 2017.
  9. "Telangana".
  10. "History of India", Indian Saga. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2557.
  11. "How Telangana movement has sparked political turf war in Andhra". Rediff.com. 5 กันยายน 2554. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2555.
  12. "Pro-Telangana AP govt employees threaten agitation". The Economic Times. 10 กุมภาพันธ์ 2555. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2555.
  13. "Creation of a new state of Telangana by bifurcating the existing State of Andhra Pradesh". กระทรวงเพื่อมาตุภูมิแห่งรัฐบาลอินเดีย สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2556.
  14. Amid chaos and slogans, Rajya Sabha clears Telangana bill – NDTV, 20 กุมภาพันธ์ 2557