เทศบาลนครรังสิต

เทศบาลนครในจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก เมืองรังสิต)

เทศบาลนครรังสิต เป็นเทศบาลนครในตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยเป็นเมืองปริมณฑลที่รองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานครในทางตอนเหนือ ในปัจจุบัน เขตเทศบาลนครรังสิตกลายเป็นจุดศูนย์กลางในการเดินทางต่อไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

เทศบาลนครรังสิต
ถนนพหลโยธินและทางยกระดับอุตราภิมุขในเขตเทศบาลนครรังสิต
ถนนพหลโยธินและทางยกระดับอุตราภิมุขในเขตเทศบาลนครรังสิต
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครรังสิต
ตรา
แผนที่
ทน.รังสิตตั้งอยู่ในจังหวัดปทุมธานี
ทน.รังสิต
ทน.รังสิต
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลนครรังสิต
ทน.รังสิตตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.รังสิต
ทน.รังสิต
ทน.รังสิต (ประเทศไทย)
พิกัด: 13°59′12.8″N 100°36′34.8″E / 13.986889°N 100.609667°E / 13.986889; 100.609667
ประเทศ ไทย
จังหวัดปทุมธานี
อำเภอธัญบุรี
จัดตั้ง
  •  • 31 สิงหาคม 2498 (สุขาภิบาลประชาธิปัตย์)
  •  • 2 ธันวาคม 2537 (ทต.ประชาธิปัตย์)
  •  • 2 พฤษภาคม 2546 (ทม.รังสิต)
  •  • 29 เมษายน 2554 (ทน.รังสิต)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง
พื้นที่
 • ทั้งหมด20.8 ตร.กม. (8.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด84,268 คน
 • ความหนาแน่น4,051.35 คน/ตร.กม. (10,492.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03130301
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 151 ถนนรังสิต-ปทุมธานี ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130
เว็บไซต์rangsit.org
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2498 จัดตั้ง สุขาภิบาลประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ตำบลประชาธิปัตย์ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือจนถึงคลองหนึ่ง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 74 ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498[2]
  • 5 มีนาคม พ.ศ. 2506 มีการขยายพื้นที่สุขาภิบาลประชาธิปัตย์ให้ครอบคลุมตำบลประชาธิปัตย์ทั้งตำบล ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 80 ตอนที่ 32 ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2506[3]
  • 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 สุขาภิบาลประชาธิปัตย์ได้ยกฐานะเป็น เทศบาลตำบลประชาธิปัตย์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 94 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537[4]
  • 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เทศบาลตำบลประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งเป็นเทศบาลเมือง และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เทศบาลเมืองรังสิต การจัดตั้งและเปลี่ยนชื่อเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนที่ 36 ก ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546[5]
  • 29 เมษายน พ.ศ. 2554 กระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะเทศบาลเมืองรังสิตขึ้นเป็น เทศบาลนครรังสิต ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 61 ง ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554[6]

ภูมิศาสตร์ แก้

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เทศบาลนครรังสิตมีเขตการปกครองครอบคลุมพื้นที่ตำบลประชาธิปัตย์ทั้งตำบล มีเนื้อที่ 20.80 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

ภูมิประเทศ แก้

 
ภาพถ่ายทางอากาศของคลองรังสิต

สภาพทั่วไปในเขตเทศบาลเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองรังสิตประยูรศักดิ์ผ่านกลาง แบ่งเขตพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ คลองรังสิตฝั่งเหนือ และ คลองรังสิตฝั่งใต้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ขุดคลองนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 โดยแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี ไปจนถึงเขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ความยาวโดยประมาณ 38.4 กิโลเมตร มีคลองซอย 14 คลอง อยู่ในเขตเทศบาลนครรังสิตจำนวน 3 คลองซอย ใช้สำหรับส่งน้ำเพื่อประโยชน์ทางกสิกรรมและคมนาคมขนส่ง

ภูมิอากาศ แก้

มีสภาพภูมิอากาศเหมือนกับจังหวัดทั่วไปในภาคกลาง แบ่งเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ระหว่าง 28–29 องศาเซลเซียส

สัญลักษณ์ แก้

สัญลักษณ์ดวงตราเทศบาลนครรังสิต เป็นรูปวงกลม ประกอบด้วยวลี "เทศบาลนครรังสิต" "จังหวัดปทุมธานี" รูปรวงข้าว ก๋วยเตี๋ยวเรือ และรูปดอกบัวหลวง โดยรวงข้าวแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์จากน้ำในคลองรังสิต ก๋วยเตี๋ยวเรือแสดงถึงวิถีการดำรงชีวิตของชาวคลองรังสิต รูปดอกบัวหลวงเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่กับคลองรังสิตมาแต่โบราณ นอกจากนี้ ด้านล่างยังมีเงาของสัตว์พื้นถิ่นปทุมธานีที่เคยพบในพื้นที่ของทุ่งรังสิตในอดีตและบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว ได้แก่ สมัน ช้างป่า ควายป่า และเสือ ซึ่งลงมาจากป่าเขาใหญ่เพื่อหาอาหารกินบริเวณทุ่งหญ้าอาณาเขตบริเวณรังสิต ซึ่งต่อมาพื้นที่บริเวณนี้ถูกเรียกว่าทุ่งหลวงและทุ่งรังสิต และยังกินพื้นที่ไปถึงเขตเทศบาลเมืองท่าโขลงในอำเภอคลองหลวง และอำเภอหนองเสือในปัจจุบัน

ประชากร แก้

เทศบาลนครรังสิตมีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 84,268 คน แยกเป็นประชากรชายจำนวน 39,105 คน ประชากรหญิงจำนวน 45,163 คน ความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ย 4,051.35 คน ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพที่ผสมผสานระหว่างการเกษตร การอุตสาหกรรม การบริการ และการพาณิชย์ ปัจจุบันการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม การพาณิชย์ และการบริการอยู่ในอัตราที่สูง ทำให้มีผู้สนใจภาคการเกษตรในอัตราที่น้อยลง

ในด้านศาสนานั้น เทศบาลนครรังสิตมีวัดจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ วัดแสงสรรค์ วัดคลองหนึ่ง และวัดจันทรสุข

การศึกษา แก้

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครรังสิต 5 แห่ง คือ
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครรังสิต (เทพธัญญะอุปถัมภ์)
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครรังสิต (สิริเวชชะพันธ์)
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครรังสิต (รัตนโกสินทร์)
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครรังสิต (เอื้ออาทรรังสิต)
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครรังสิต (สินสมุทร)
  • โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จำนน 2 แห่ง คือ
  • โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 3 แห่ง คือ
    • โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร
    • โรงเรียนทองพูลอุทิศ
    • โรงเรียนวัดแสงสรรค์
  • โรงเรียนเอกชน 13 แห่ง คือ
    • โรงเรียนศิริศึกษา
    • โรงเรียนแก้วสว่างวิทยาม
    • โรงเรียนทิพพากรวิทยาการ
    • โรงเรียนอุดมศึกษา
    • โรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์รังสิต
    • โรงเรียนอนุบาลรังสิต
    • โรงเรียนรัตนโกสินทร์รังสิต
    • โรงเรียนอนุบาลบรรจบรักษ์
    • โรงเรียนอนุบาลรังสฤษฎ์
    • โรงเรียนอนุบาลฟ้าสิรินทร์
    • โรงเรียนธัญวิทย์
    • โรงเรียนอนุบาลบ้านวังทอง
    • โรงเรียนบ้านวังทองวัฒนา
  • โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครรังสิต 7 แห่ง คือ
    • โรงเรียนมัธยมนครรังสิต
    • โรงเรียนดวงกมล
    • โรงเรียนนครรังสิต รัตนโกสินทร์
    • โรงเรียนนครรังสิต สิริเวชชะภัณฑ์
    • โรงเรียนนครรังสิต สิเทพธัญญะอุปถัมภ์
    • โรงเรียนเพียรปัญญา
    • โรงเรียนนครรังสิต เปรมปรีดิ์

สาธารณสุข แก้

เทศบาลนครรังสิตมีศูนย์บริการสาธารณสุขจำนวน 3 แห่งและยังอยู่ในการดำเนินก่อสร้างอีก 1 แห่ง

การขนส่ง แก้

 
รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้มที่สถานีรังสิต

ถนนในเขตเทศบาลนครรังสิตมีจำนวน 41 สาย รวมเป็นระยะทาง 53,670 เมตร ประชาชนโดยส่วนใหญ่ใช้ถนนเป็นเส้นทางคมนาคม ถนนสายสำคัญในเขตเทศบาลนครรังสิต ได้แก่ ถนนพหลโยธิน ถนนรังสิต-นครนายก(ทล.305) ถนนรังสิต-ปทุมธานี(ทล.346) ถนนเลียบคลองสาม (ถนนรังสิต-นครนายก 67) เส้นทางคมนาคมรองลงมาคือทางน้ำ ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญมากในอดีต ในปัจจุบันยังมีการคมนาคมขนส่งทางน้ำบ้างสำหรับติดต่อภายในเขตนครรังสิตและพื้นที่ใกล้เคียง เส้นทางน้ำที่สำคัญ ได้แก่ คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองหนึ่ง คลองสอง และ คลองสาม ส่วนทางรถไฟสามารถขึ้นรถไฟจากสถานีรถไฟกรุงเทพแล้วลงที่สถานีรถไฟรังสิตได้ และต่อมาในวันที่ 2 สิงหาคม 2564 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ทำให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครรังสิตและพื้นที่ใกล้เคียง สามารถเลือกใช้บริการระบบรถไฟฟ้าเพื่อเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้โดยตรง ผ่านการใช้บริการที่สถานีรถไฟรังสิต โดยเลือกใช้บริการที่ชั้นที่ 3 ซึ่งเป็นชานชาลาของรถไฟฟ้าสายสีแดง

อ้างอิง แก้

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลนครรังสิต". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 20–21. 17 กันยายน 2498.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญญบุรี จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (32 ง): 873–874. 2 เมษายน 2506.
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (49 ก): 33–36. 2 พฤศจิกายน 2537.
  5. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองรังสิต พ.ศ. ๒๕๔๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (36 ก): 18–20. 1 พฤษภาคม 2546. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลนครรังสิต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (พิเศษ 61 ง): 42. 1 มิถุนายน 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2019-08-03.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้