ควายป่า หรือภาษาทางการว่า มหิงสา มีอีกชื่อว่า ควายป่าเอเชีย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bubalus arnee มีลักษณะคล้ายควายบ้าน (B. bubalis) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ควายป่ามีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี (V) ควายป่ามีเขาทั้ง 2 เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตร ความยาวหัวและลำตัว 2.40–2.80 เมตร ความยาวหาง 60–85 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม

ควายป่า
ที่อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix III (CITES)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: สัตว์กีบคู่
Artiodactyla
วงศ์: วงศ์วัวและควาย
Bovidae
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยวัวและควาย
Bovinae
สกุล: Bubalus
Bubalus
(Kerr, 1792)
สปีชีส์: Bubalus arnee
ชื่อทวินาม
Bubalus arnee
(Kerr, 1792)
ชนิดย่อย
  • B. a. arnee
  • B. a. fulvus
  • B. a. septentrionalis
  • B. a. migona
การกระจายพันธุ์ของควายป่า
ชื่อพ้อง

Bubalus bubalis arnee

มีการกระจายพันธุ์จากประเทศเนปาลและอินเดีย ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยในอดีตเคยมีอยู่มากและกระจัดกระจายออกไป โดยพบมากที่บ้านลานควาย หรือบ้านลานกระบือ (ปัจจุบัน คือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร) แต่สถานะในปัจจุบันเหลืออยู่แค่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น ประชากรในปัจจุบันมีประมาณ 3,400 ตัว ในจำนวนนี้มี 3,100 ตัว (91%) อาศัยอยู่ในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะในรัฐอัสสัม[2] และมีความเป็นไปได้มากที่สุดว่าควายป่าเป็นบรรพบุรุษของควายบ้าน[3][4]

หากินในเวลาเช้าและเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปลักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราว ๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 10 เดือน ควายป่ามีนิสัยดุร้ายโดยเฉพาะตัวผู้และตัวเมียที่มีลูกอ่อน แต่ดุร้ายน้อยกว่ากระทิง เมื่อพบศัตรูจะตีวงเข้าป้องกันลูกอ่อนเอาไว้ มีอายุยืนประมาณ 20–25 ปี โดยควายป่ามักตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะเสือโคร่ง ในอินเดีย ควายป่ามักอาศัยอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกับแรดอินเดีย ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย แม้จะเป็นสัตว์กินพืชเหมือนกัน แต่ก็มักถูกแรดอินเดียทำร้ายอยู่เสมอ ๆ จนเป็นบาดแผลปรากฏตามร่างกาย[5]

สถานภาพในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2535[6]

การอนุรักษ์

แก้

ควายป่าได้รับการบรรจุลงใน CITES Appendix III และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในประเทศภูฏาน อินเดีย เนปาล และไทย[1]

ใน ค.ศ. 2017 มีการนำควายป่า 15 ตัวไปที่อุทยานแห่งชาติจิตวันในประเทศเนปาล เพื่อสร้างประชากรย่อยที่มีศักยภาพเป็นอันดับสองในประเทศ[7]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Kaul, R.; Williams, A.C.; rithe, k.; Steinmetz, R. & Mishra, R. (2019). "Bubalus arnee". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T3129A46364616. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-1.RLTS.T3129A46364616.en. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022.
  2. Choudhury, A. (2010). The vanishing herds: the wild water buffalo. Gibbon Books, Rhino Foundation, CEPF & COA, Taiwan, Guwahati, India.
  3. Lau, C. H.; Drinkwater, R. D.; Yusoff, K.; Tan, S. G.; Hetzel, D. J. S.; Barker, J. S. F. (1998). "Genetic diversity of Asian water buffalo (Bubalus bubalis): mitochondrial DNA D-loop and cytochrome b sequence variation" (PDF). Animal Genetics. 29 (4): 253–264. doi:10.1046/j.1365-2052.1998.00309.x. PMID 9745663.
  4. Groves, C. P. (2006). "Domesticated and Commensal Mammals of Austronesia and Their Histories". ใน Bellwood, P.; Fox, J. J.; Tryon, D. (บ.ก.). The Austranesians. Canberra: Research School of Pacific Studies, The Australian National University. pp. 161–176.
  5. "เรื่องเล่าข้ามโลก: ควายป่าเอเชีย". now26. 9 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-04. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
  6. กองทุนสัตว์ป่าโลก. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : ไซรัสการพิมพ์, 2543. 256 หน้า. หน้า 140. ISBN 974-87081-5-2
  7. Dhungel G. & Thanet D.R. (2019). "Investigating Habitat Suitability and Conservation Issues of Re-introduced Wild Water Buffalo in Chitwan National Park, Nepal". Forestry: Journal of Institute of Forestry, Nepal. 16 (16): 1–13. doi:10.3126/forestry.v16i0.28350. S2CID 216528987.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้