สรรพสินค้าเซ็นทรัล
บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด (อังกฤษ: Central Department Store Company Limited) หรือ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เป็นห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ขนาดใหญ่ที่มีสาขามากที่สุดของประเทศไทยก่อตั้งกิจการขึ้นโดยชาวไทยเชื้อสายจีน คุณเตียง จิราธิวัฒน์ เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2490 ด้วยการเป็นร้านขายหนังสือและนิตยสารนำเข้า ของชำและสินค้าเบ็ดเตล็ดเล็ก ๆ ก่อนที่สัมฤทธิ์ (บุตรชาย) จะเริ่มดำเนินการยกระดับกิจการขึ้นจนเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เริ่มเปิดดำเนินกิจการสาขาแรกเมื่อปี พ.ศ. 2499 ตั้งอยู่ที่ย่านวังบูรพา[1] และยังคงพัฒนากิจการอยู่ตลอดมาจนกลายมาเป็นกลุ่มห้างสรรพสินค้านานาชาติชั้นนำของโลกในปัจจุบัน
ประเภท | พาณิชย์ |
---|---|
อุตสาหกรรม | บริการ |
รูปแบบ | บริษัทจำกัด |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2490 |
ผู้ก่อตั้ง | เตียง จิราธิวัฒน์ |
สำนักงานใหญ่ | 22 อาคารสำนักงานเซ็นทรัลชิดลม ชั้น 9 ซอยสมคิด ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
บุคลากรหลัก | ณัฐธีรา จิราธิวัฒน์ บุญศรี (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม) |
บริการ | ห้างสรรพสินค้า, สินเชื่อบัตรเครดิต, บริการด้านการเงิน |
เว็บไซต์ | http://www.central.co.th |
ประวัติ
แก้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เกิดขึ้นจากการขยายกิจการร้านขายของชำเล็ก ๆ ของ นี่เจียง แซ่เจ็ง ชายหนุ่มที่เดินทางมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อมาตั้งรกรากในไทยพร้อมกับ หวาน แซ่เจ็ง ผู้เป็นภรรยาและ ฮกเส่ง แซ่เจ็ง หรือ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ บุตรชาย โดยเริ่มแรกเตียงเปิดร้านขายกาแฟ และร้านขายของชำเล็ก ๆ ที่ย่านบางมด ก่อนจะขยายมาเป็นร้านขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า เข่งเซ่งหลี ที่ย่านบางขุนเทียน โดยเป็นร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านของใช้ ร้านตัดเสื้อ ร้านตัดผม และที่อยู่อาศัยไว้ในหนึ่งเดียว จากความคิดนี้ทำให้ ฮกเส่ง อยากขยายกิจการของครอบครัวของตัวเองให้กว้างมากขึ้น โดยเริ่มจากการรับหนังสือมาขายต่อ จนกระทั่งสามารถเปิดร้านหนังสือที่ย่านสี่พระยาได้ด้วยเงินทุน 2,000 บาท ก่อนที่จะมาทำห้างสรรพสินค้าครบวงจรเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลในเริ่มแรก นี่เจียงมีความคิดที่จะใช้ชื่อว่า "ตงเอียง" ซึ่งมีความหมายว่า "กลาง" ในภาษาจีน โดยสื่อความหมายว่าสถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางแห่งสินค้าและบริการ แต่แล้วฮกเส่งผู้เป็นลูกชาย กลับอยากใช้ชื่อว่า "เซ็นทรัล" ที่มีความหมายว่า "ที่เป็นใจกลาง ที่เป็นศูนย์กลาง" มากกว่า ต่อมา ฮกเส่ง ก็สามารถเปิดห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสาขาแรกได้เป็นผลสำเร็จที่วังบูรพา ก่อนจะขยายกิจการของครอบครัวด้วยการพัฒนาเป็นห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้าขนาดใหญ่และทันสมัยของประเทศไทย[2]
ซื้อกิจการห้างสรรพสินค้าโรบินสัน
แก้ในช่วง พ.ศ. 2538 กลุ่มเซ็นทรัลเล็งเห็นถึงการเติบโตของธุรกิจห้างสรรพสินค้า จึงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในห้างสรรพสินค้าโรบินสันของ มานิต อุดมคุณธรรม ที่กำลังประสบปัญหาธุรกิจในขณะนั้น และก้าวขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของห้างสรรพสินค้าโรบินสันนับแต่นั้น กลุ่มเซ็นทรัลใช้วิธีการวางตำแหน่งให้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลทำการตลาดสินค้าในระดับกลางค่อนบนถึงตลาดสินค้าแบรนด์เนมและลักชัวรี ส่วนห้างสรรพสินค้าโรบินสันวางตำแหน่งทางการตลาดเป็นห้างสรรพสินค้าราคาประหยัดที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าได้อย่างทั่วถึง ด้วยการวางตำแหน่งทางการตลาดแบบใหม่ ทำให้ห้างสรรพสินค้าโรบินสันสามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่นั้น และทำให้เป็นห้างสรรพสินค้าที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศไทย
ควบกิจการเป็นหนึ่งเดียว
แก้พ.ศ. 2563 ภายหลังจากที่เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าซื้อกิจการห้างสรรพสินค้าโรบินสันทั้งหมด กลุ่มเซ็นทรัลได้มีการปรับแผนทางการตลาดครั้งใหม่ โดยให้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลรับโอนกิจการห้างสรรพสินค้าโรบินสันทั้งหมด และทยอยปรับปรุงโรบินสันบางสาขาควบคู่กับการจัดรายการส่งเสริมการขายร่วมกัน เริ่มจากสาขาเมกาซิตี้ บางนาเป็นสาขานำร่องโครงการ
ในส่วนของ บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) หรือในชื่อเดิมคือ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) นั้น จะเข้าสู่การชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการ ภายหลังจากที่ทำการปรับปรุงสาขาโรบินสันให้กลายเป็นสาขาเซ็นทรัลทั้งหมดแล้ว
สาขา
แก้เซ็นทรัล
แก้เรียงตามวันที่เริ่มเปิดดำเนินการ
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
แก้ชื่อสาขา | วันที่เปิดบริการ | จังหวัดที่ตั้ง | ตั้งอยู่ใน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ชิดลม | 23 มกราคม พ.ศ. 2517 | กรุงเทพมหานคร | สถานที่ของตนเอง เชื่อมต่อกับ เซ็นทรัล เอ็มบาสซี | |
ลาดพร้าว | 30 เมษายน พ.ศ. 2526 | เซ็นทรัล ลาดพร้าว | ||
เซ็นทรัลเวิลด์ | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2532 | เซ็นทรัลเวิลด์ | ||
สีลมคอมเพล็กซ์ | 10 เมษายน พ.ศ. 2534 | สีลมคอมเพล็กซ์ | ||
รามอินทรา | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 | เซ็นทรัล รามอินทรา | ||
บางนา | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2536 | เซ็นทรัล บางนา | ||
รังสิต | 17 มีนาคม พ.ศ. 2538 | จังหวัดปทุมธานี | ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต | |
ปิ่นเกล้า (ถนนบรมราชชนนี) | 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 | กรุงเทพมหานคร | เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า | |
พระราม 3 | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | เซ็นทรัล พระราม 3 | ||
พระราม 2 | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2545 | เซ็นทรัล พระราม 2 | ||
แจ้งวัฒนะ | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | จังหวัดนนทบุรี | เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ | |
ศาลายา (ถนนบรมราชชนนี) | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | จังหวัดนครปฐม | เซ็นทรัล ศาลายา | |
เวสต์เกต (บางใหญ่) | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558 | จังหวัดนนทบุรี | เซ็นทรัล เวสต์เกต | |
อีสต์วิลล์ (เลียบด่วนรามอินทรา) | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 | กรุงเทพมหานคร | เซ็นทรัล อีสต์วิลล์ | |
เอาท์เล็ต สุวรรณภูมิ | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 | จังหวัดสมุทรปราการ | เซ็นทรัล วิลเลจ ลักซูรี่ เอาท์เล็ต | ประกอบด้วยร้านค้าที่เป็นแผนกย่อยจำนวน 2 ร้าน ได้แก่ ลักซ์ แกลอรี และโฮม แอนด์ ลิฟวิ่ง |
เมกาบางนา | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 | เซ็นทรัล เมกาบางนา | ||
แฟชั่นไอส์แลนด์ | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 | กรุงเทพมหานคร | แฟชั่นไอส์แลนด์ | |
เวสต์วิลล์ (ราชพฤกษ์) | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 | จังหวัดนนทบุรี | เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ | |
นครปฐม | 30 มีนาคม พ.ศ. 2567 | จังหวัดนครปฐม | เซ็นทรัล นครปฐม | |
บางรัก | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 | กรุงเทพมหานคร | โรงแรมเซ็นเตอร์พอยท์ สีลม | |
สุขุมวิท | พ.ศ. 2568 [3] | โรงแรมเดอะเวสทินแกรนด์ สุขุมวิท | โครงการปรับปรุง | |
พระราม 9 | พ.ศ.2568 [3] | กรุงเทพมหานคร | เซ็นทรัล พระราม 9 | กำลังปรับปรุง |
ภูมิภาค
แก้ชื่อสาขา | วันที่เริ่มเปิดบริการ | จังหวัดที่ตั้ง | ตั้งอยู่ใน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ภูเก็ต ฟลอเรสต้า | พ.ศ. 2547 | จังหวัดภูเก็ต | เซ็นทรัล ภูเก็ต - ฟลอเรสต้า | |
เฟสติวัล พัทยา บีช | 23 มกราคม พ.ศ. 2552 | จังหวัดชลบุรี | เซ็นทรัล พัทยา | |
เฟสติวัล เชียงใหม่ | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 | จังหวัดเชียงใหม่ | เซ็นทรัล เชียงใหม่ | |
เฟสติวัล หาดใหญ่ | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | จังหวัดสงขลา | เซ็นทรัล หาดใหญ่ | |
เฟสติวัล สมุย | 29 มีนาคม พ.ศ. 2557 | จังหวัดสุราษฎร์ธานี | เซ็นทรัล สมุย | |
นครราชสีมา | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 | จังหวัดนครราชสีมา | เซ็นทรัล โคราช | |
ภูเก็ต ป่าตอง | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 | จังหวัดภูเก็ต | สถานที่ของตัวเอง | |
เซ็นทรัล ดีเอฟเอส พัทยา-อู่ตะเภา | 10 เมษายน พ.ศ. 2562 | จังหวัดระยอง | อาคารผู้โดยสาร 2 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา | |
อุดรธานี | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | จังหวัดอุดรธานี | เซ็นทรัล อุดร | |
ขอนแก่น | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | จังหวัดขอนแก่น | เซ็นทรัล ขอนแก่น | |
นครสวรรค์ | 31 มกราคม พ.ศ. 2567 | จังหวัดนครสวรรค์ | เซ็นทรัล นครสวรรค์ | |
เชียงใหม่ แอร์พอร์ต | พ.ศ. 2568[ต้องการอ้างอิง] | จังหวัดเชียงใหม่ | เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต | กำลังปรับปรุง |
ต่างประเทศ
แก้ชื่อสาขา | วันที่เริ่มเปิดบริการ | ประเทศที่ตั้ง | เปิดร่วมกับ |
---|---|---|---|
เซ็นทรัล อินโดนีเซีย | พ.ศ. 2557 | กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย | แกรนด์ อินโดนีเซีย ชอปปิง ทาวน์ |
โรบินสัน
แก้สาขาที่ปิดกิจการ
แก้เซ็นทรัล
แก้ชื่อสาขา | วันที่เริ่มเปิดบริการ | วันที่ปิดบริการ | จังหวัดที่ตั้ง | สถานะในปัจจุบัน |
---|---|---|---|---|
เยาวราช | พ.ศ. 2505 | พ.ศ. 2507 | กรุงเทพมหานคร | ห้างขายทอง ฮั่วเซ่งเฮง สาขาสำเพ็ง ถนนเยาวราช |
ราชประสงค์ | พ.ศ. 2507 | พ.ศ. 2516 | ที่ตั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้านของศูนย์การค้าราชประสงค์ ต่อมาได้ถูกรื้อทิ้งและก่อสร้างเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งปัจจุบันคือศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ | |
วงศ์สว่าง | เมษายน พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2538 | ย้ายสาขาเซ็นทรัลไปยังเซ็นทรัล ลาดพร้าว และปรับปรุงเป็นบิ๊กซี สาขาวงศ์สว่าง และมาร์เก็ตเพลส วงศ์สว่าง (เดิมชื่อ วงศ์สว่าง ทาวน์ เซ็นเตอร์) | |
ลาดหญ้า | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2539 | ปรับปรุงเป็นห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาลาดหญ้า และโครงสร้างปัจจุบันปรับปรุงเป็นศูนย์การค้าแพลตฟอร์ม วงเวียนใหญ่ | |
เซน แอท ซีคอนสแควร์ | พ.ศ. 2536 | ราว ๆ พ.ศ. 2543 | ที่ตั้งเดิมปรับปรุงจากแผนกสินค้ากีฬา เครื่องเขียน เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซึ่งอยู่ชั้น 3 ของอาคาร ก่อนทำการยุบรวมแบรนด์เป็น ซูเปอร์สปอร์ต บีทูเอส และเพาเวอร์บายตามลำดับ เพื่อเพิ่มกลุ่มสินค้าเพื่อกลุ่มคนรุ่นใหม่ และสินค้าสำหรับตกแต่งภายในบ้านโดยเฉพาะ ต่อมาได้ปรับปรุงกลับเป็นแผนกสินค้าภายในบ้านของห้างสรรพสินค้าโรบินสันแทน | |
หัวหมาก | พ.ศ. 2531 | พ.ศ. 2543 | ปรับปรุงเป็นบิ๊กซี สาขาหัวหมาก และหัวหมาก ทาวน์ เซ็นเตอร์ | |
วังบูรพา | พ.ศ. 2499 | พ.ศ. 2550 | ปรับปรุงเป็นศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์ บริหารงานโดย กลุ่มเซ็นทรัล | |
สีลม | พ.ศ. 2511 | พ.ศ. 2550 | ย้ายสาขาเซ็นทรัลไปยังสีลมคอมเพล็กซ์ ส่วนสาขาเดิมปรับปรุงเป็นท็อปส์ สีลม และอาคารเซ็นทรัล สีลม ทาวเวอร์ ส่วนงานบริหารบริษัทภายในกลุ่มเซ็นทรัลหลังที่ 3 | |
หาดใหญ่ (ตรงข้ามโรงแรม ลี การ์เด้นส์ พลาซ่า) | พ.ศ. 2537 | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563 | จังหวัดสงขลา | ย้ายสาขาไปยัง เซ็นทรัล หาดใหญ่ (เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ เดิม) |
กาดสวนแก้ว เชียงใหม่ | พ.ศ. 2535 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | จังหวัดเชียงใหม่ | ย้ายสาขาไปยัง เซ็นทรัล เชียงใหม่ (เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ เดิม) ส่วนสาขาเดิมเปิดให้บริการต่อภายใต้แบรนด์ เซ็นทรัล เอาท์เล็ต ตั้งแต่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563[4] จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ก่อนปิดให้บริการพร้อมกับศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว |
โรบินสัน
แก้รางวัล
แก้ปี | รางวัล | สาขา | ผล |
---|---|---|---|
2566 | Thailand Zocial Awards 2023[5] | Best Brand Performance by Meta สาขา Best Campaign Innovation แบรนด์ที่ทำแคมเปญยอดเยี่ยม | ชนะ |
อ้างอิง
แก้- ↑ Herehor2009 (May 28, 2014). "แฟนพันธุ์แท้ 2003 : ห้างสรรพสินค้า". แฟนพันธุ์แท้ 2003.
- ↑ "ประวัติและความเป็นมาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล". newswit.com. 28 October 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
- ↑ 3.0 3.1 "ปี 2567 นี้ถือเป็นปีแห่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล". facebook.com. สืบค้นเมื่อ 22 January 2024.
- ↑ Nwdnattawadee, Nwdnattawadee. ""เซ็นทรัล" เปิดตัวโมเดลธุรกิจใหม่ "ห้างเซ็นทรัลเอาต์เล็ต" (CENTRAL OUTLET) ที่ศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว เพื่อคนเชียงใหม่ ใจกลางเมือง พร้อมช้อปกับโปรโมชั่นสุดพิเศษ 15 ก.ย. 53 นี้ | CM108 เชียงใหม่108" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.