เซ็นทรัล ภูเก็ต

เซ็นทรัล ภูเก็ต (อังกฤษ: Central Phuket) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่และศูนย์การค้าที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดบนเกาะภูเก็ตของกลุ่มเซ็นทรัล ภายใต้กรอบแนวคิด "จังหวะหัวใจของภูเก็ต" (The Beating Heart of Phuket) โดยมีพื้นที่โครงการรวมกว่า 100 ไร่ ประกอบไปด้วยอาคารศูนย์การค้า 3 อาคาร

เซ็นทรัล ภูเก็ต
เซ็นทรัล ภูเก็ต logo
ที่ตั้ง74, 75 หมู่ที่ 5 ถนนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
เปิดให้บริการ9 กันยายน พ.ศ. 2547 (เฟสติวัล)
24 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (บีเอ็นบี โฮม)
10 กันยายน พ.ศ. 2561 (ฟลอเรสต้า)
ผู้บริหารงานบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด
พื้นที่ชั้นขายปลีก120,000 ตารางเมตร (เฟสติวัล)
16,000 ตารางเมตร (บีเอ็นบี โฮม)
300,000 ตารางเมตร (ฟลอเรสตา)
เว็บไซต์www.centralphuket.com

เริ่มแรกโครงการดังกล่าวบริหารงานโดยห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โดยตั้งเป้าให้เป็นจุดศูนย์รวมของความบันเทิงอันครบครันในเมืองภูเก็ต และต่อมา บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด จึงเข้ามาขยายรูปแบบกิจการให้เป็นศูนย์การค้าแบบครบวงจร โดยเพิ่มอาคารศูนย์การค้าหลังที่สองที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามเข้ามา แต่หลังจากการปรับผังองค์กรใหม่ใน พ.ศ. 2557 อาคารดังกล่าวก็ถูกโอนให้เข้าไปเป็นความรับผิดชอบของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลตามเดิม

ต่อมาใน พ.ศ. 2558 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศตั้งงบลงทุน 6,360 ล้านบาท ในการซื้อกิจการเซ็นทรัลเฟสติวัล ภูเก็ต ด้วยการซื้อสิทธิ์การเช่าที่ดินและอาคารในกรอบระยะเวลา 41 ปี ซึ่งการซื้อขายแล้วเสร็จเป็นของบริษัทในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558

วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ บริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัล ภูเก็ต โดยไฟไหม้เวลาประมาณ 10.30 น.บริเวณ ลานด้านนอกศูนย์การค้าซึ่งเป็นสวนสนุกที่กำลังก่อสร้างไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[1]

เซ็นทรัล ภูเก็ต มียอดใช้จ่ายของลูกค้าเฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 1 ของศูนย์การค้าในเครือเซ็นทรัลพัฒนา[2]

การจัดสรรพื้นที่

แก้

โครงการเซ็นทรัล ภูเก็ต เป็นโครงการขนาดใหญ่มีพื้นที่รวมกว่า 100 ไร่ ประกอบไปด้วยอาคารศูนย์การค้าทั้งหมด 3 อาคาร ได้แก่ อาคาร "เฟสติวัล" หรือ เซ็นทรัลเฟสติวัล ภูเก็ต เดิม, อาคาร "อีสต์" หรือ เซ็นทรัลเฟสติวัล ภูเก็ต อีสต์ เดิม และอาคาร "ฟลอเรสต้า" ซึ่งเป็นอาคารหลังสุดท้ายของโครงการที่เซ็นทรัลพัฒนาได้สร้างขึ้นใหม่ โดยเมื่อเสร็จสิ้นทั้งโครงการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 โครงการเซ็นทรัล ภูเก็ต จะเป็นโครงการเดียวที่ทำให้ผู้มาใช้บริการ สามารถสัมผัสได้ถึงความแตกต่างของทั้งสามอาคาร ภายใต้ชื่อบริหารเพียงชื่อเดียว คือ เซ็นทรัล ภูเก็ต โดยรายละเอียดของแต่ละอาคาร มีดังนี้

เฟสติวัล

แก้

อาคารเฟสติวัล เป็นอาคารศูนย์การค้าที่ได้รับการออกแบบให้เป็น "จุดมุ่งหมายของการจับจ่ายใช้สอยและรูปแบบชีวิตนานาชาติที่ดีที่สุดในภาคใต้" ภายใต้แนวความคิดที่ถือว่าเป็นศูนย์การค้าที่ทุกคนสามารถมาท่องเที่ยวและผ่อนคลายได้มากยิ่งขึ้น ทั้งจับจ่ายใช้สอย สังสรรค์ ชมงานศิลปะ และออกกำลังกายภายในโครงการเดียว โดยนำแนวความคิดของศูนย์การค้าเซ็นทรัล อีสต์วิลล์ มาปรับใช้

อาคารเฟสติวัลมีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 4 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารอีสต์ที่ชั้น 3 และเชื่อมต่อกับอาคารฟลอเรสตาที่ชั้น 2 ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้

  • ร้านค้าในกลุ่มเซ็นทรัล
    • ท็อปส์ (เดิมคือเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์)
    • เพาเวอร์บาย
    • ออฟฟิศเมท
    • บีทูเอส
    • ซูเปอร์สปอร์ต
  • ศูนย์อาหารในกลุ่มเซ็นทรัล
    • ศูนย์อาหารฟู้ดพาทิโอ
    • ศูนย์อาหารฟู้ดพาร์ค (เดิมชื่อศูนย์อาหารฟู้ดเทอร์เรส)
  • พลับบลิค เฮาส์
  • สถานออกกำลังกาย เจ็ทส์ ฟิตเนส (เปิด 24 ชั่วโมง)
  • โรงภาพยนตร์เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า จำนวน 8 โรง เป็นโรงภาพยนตร์ Zigma Cinestadium by C2 1 โรง, โรงภาพยนตร์ในรูปแบบ Multi Seat 5 โรง, โรงภาพยนตร์ปกติ 2 โรง (เดิมชื่อเอสเอฟเอ็กซ์ โคลีเชี่ยม ซีเนม่า)

บีเอ็นบี โฮม

แก้

อาคารบีเอ็นบี โฮม (เดิมอาคารอีสต์, อาคารบ้านแอนด์บียอนด์) เป็นอาคารศูนย์การค้าหลังที่สองที่ปรับมาจากโฮมเวิร์ค สาขาภูเก็ตเดิม (โฮมเวิร์คได้เปลี่ยนเป็นบ้านแอนด์บียอนด์) เมื่อ พ.ศ. 2556 เพื่อเป็นการรองรับกลุ่มลูกค้าที่เติบโตขึ้น โดยเพิ่มร้านค้าต่าง ๆ กว่า 100 ร้าน และเพิ่มพื้นที่จอดรถให้กับโครงการกว่า 1,000 คัน มีพื้นที่สำคัญดังนี้

  • บีเอ็นบี โฮม (เดิมโฮมเวิร์ค ภูเก็ต, บ้านแอนด์บียอนด์)
  • เพาเวอร์บาย
  • ออโต้วัน

ฟลอเรสต้า

แก้

อาคารฟลอเรสต้า เป็นอาคารศูนย์การค้าหลังที่สามที่เซ็นทรัลพัฒนาก่อสร้างขึ้นมาใหม่ โดยอาคารดังกล่าวจะเป็นอาคารศูนย์การค้าระดับบนที่เทียบเท่ากับศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี เพื่อตอบรับต่อกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง และเป็นอาคารศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของโครงการเซ็นทรัล ภูเก็ต ซึ่งอาคารดังกล่าวเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

ภายในอาคารฟลอเรสต้า มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 5 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน และเชื่อมต่อกับอาคารเฟสติวัลที่ชั้น 2 มีพื้นที่สำคัญดังนี้

  • เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท ภูเก็ต (ย้ายมาจากอาคารเฟสติวัล)
  • ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์
    • ไทยเฟเวอริท บาย ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์
  • เทลส์ ออฟ ไทยแลนด์
  • บีทูเอส (เป็นสาขาที่ 2 ต่อจากอาคารเฟสติวัล)
  • สวนนิทรรศการ ไตรภูมิ (โครงการร่วมลงทุนระหว่าง บจก.บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ กับไร้ท์แมน)[3]
  • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ อควาเรีย เซ็นทรัล ภูเก็ต
พื้นที่จัดสรรในอนาคต
  • โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ภูเก็ต เซ็นทรัล ภูเก็ต
  • โรงแรมโคซิ ภูเก็ต เซ็นทรัล ภูเก็ต

พื้นที่จัดสรรในอดีต

แก้
  • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาเซ็นทรัล ภูเก็ต อาคารเฟสติวัล ได้ย้ายไปยังอาคารฟลอเรสต้า
  • ท็อปส์ สาขาเซ็นทรัล ภูเก็ต อาคารบ้านแอนด์บียอนด์ (อาคารภูเก็ต อีสต์เดิม) ได้ย้ายไปยังท็อปส์ สาขาเซ็นทรัล ภูเก็ต อาคารเฟสติวัล
  • ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ สาขาเซ็นทรัล ภูเก็ต อาคารเฟสติวัล ได้ปรับปรุงเป็นท็อปส์และได้ย้ายไปยังท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ สาขาเซ็นทรัล ภูเก็ต อาคารฟลอเรสต้า
  • ศูนย์อาหารฟู้ดเทอร์เรส สาขาเซ็นทรัล ภูเก็ต อาคารเฟสติวัล ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์อาหารฟู้ดพาร์ค
  • แฟมิลี่มาร์ท
  • ไทวัสดุ สาขาเซ็นทรัล ภูเก็ต อาคารบ้านแอนด์บียอนด์ (อาคารภูเก็ต อีสต์เดิม) ได้ย้ายไปยังสาขาฉลอง ในชื่อ ไทวัสดุ x บีเอ็นบีโฮม

รางวัล

แก้
  • BCI ASIA Top 10 Developers Awards 2017 (เฉพาะอาคารฟลอเรสตา)[4][5]

อ้างอิง

แก้
  1. https://mgronline.com/south/detail/9610000097465
  2. "CPN ดัน "ภูเก็ต" เทียบชั้น "ริเวียร่า-ฮาวาย" ลักส์ชูรี่ปักหมุด "ฟลอเรสต้า"". mgronline.com. 2024-06-24.
  3. แจ้งการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน - เซ็นทรัลพัฒนา
  4. ซีพีเอ็น คว้ารางวัลใหญ่ระดับเอเชีย ด้านพัฒนาศูนย์การค้าที่โดดเด่น ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกของประเทศ
  5. "The BCI Asia Top 10 Awards: Top 10 Developers Awards 2017 - Thailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-04-27.